เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 228491 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:10

- พระยาเสนาสงคราม (มรว.อี๋ นพวงศ์)
- มรว.จำนง นพวงศ์ (2422-2498) บุตรหม่อมเจ้าสำเนียง  นพวงศ์ (เป็นหม่อมอนุวัตรวรพงศ์เมื่อ 8 ม.ค.2448)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:16

ม.จ.สำเนียง  นพวงศ์  มีบุตรธิดา  ดังนี้

๑.ม.ร.ว.เสงี่ยม  นพวงศ์ เกิด  ๒๙  มี.ค.  ๒๔๑๓

๒.พระยามหานามราช (ม.ร.ว.จำนง  นพวงศ์) เปรียญ เกิด ๖ ม.ค. ๒๔๒๒

๓.ม.ร.ว.ลมุน  ปิยะรัตน์ ภรรยาหลวงบรรโณวาทวิจิตร์ (หรุ่น  ปิยะรัตน์)
เกิด  ๓๑ ต.ค. ๒๔๒๗




ม.จ.เจ๊ก  นพวงศ์  มีบุตรธิดา  ดังนี้

๑.พระประมาณธนสิทธิ์  (ม.ร.ว.เจิม  นพวงศ์) เกิด ๓ มี.ค. ๒๔๓๙

๒.พระยาพิบูลย์ไอศวรรย์ (ม.ร.ว.เล็ก  นพวงศ์) เกิด ๑๑ ก.ย. ๒๔๒๑

๓.ม.ร.ว.สุภา  เสวีกุล  ภรรยาพระราชมัณฑาดุลย์ประคุณเสวี (โชติ์  เสวีกุล)  
เกิด ๒๓  ก.ค. ๒๔๒๙

๔.ม.ร.ว.ชาติ์เฉลิม  นพวงศ์  เกิด  ๓๑  ม.ค.  ๒๔๔๑
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:21

ม.จ.กรรเจียก  นพวงศ์  มีธิดา  ดังนี้

๑.ม.ร.ว.อรุณ  อิศรเสนา  ภริยาเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น  อิศรเสนา)
เกิด  ๓๑ ต.ค. ๒๔๒๓

๒.ม.ร.ว.สังวาลย์  นพวงศ์  เกิด  ๑๕  ส.ค. ๒๔๒๕





ม.จ.อบเชย  นพวงศ์  มีบุตร  ดังนี้

๑.พระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว.อี๋  นพวงศ์) เกิด ๑ ต.ค. ๒๔๓๐





ม.จ.เล็ก  นพวงศ์  มีบุตรธิดา  ดังนี้

๑.ม.ร.ว.เกยูร  จูตะเสน  ภรรยานายร้อยโทปาล  จูตะเสน
เกิด  ๑๓ มี.ค. ๒๔๓๕

๒.ม.ร.ว.อโนทัย  นพวงศ์  เกิด  ๒๑  ก.ค.  ๒๔๔๔

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:33


๓. กรมวังเกณฑ์ ขุนอินอาญา ๑ ขุนเทพสุภา ๑ ขุนพรหมสุภา ๑ อยู่ประจำหล่อประตูท่าสิบเบี้ย


"ประจำหล่อ"

อันนี้คือ "จำหล่อ" หรือไม่  ฮืม

ลักขณะนี้ย่อมต้องเขียนว่า "ประจำจำหล่อ" กระละมั้ง

คุณอาร์ทแห่งทุ่งรังสิตทักท้วงได้ถูกต้องเหมาะสม
  
แต่อยากทราบว่า "จำหล่อ" มีลักษณะอย่างไร
คุณอาร์ทคุณหนุ่มสยามตอบได้ไหม

อันกระผมผู้น้อยเป็นชาวเมืองประทุมธานี หาได้เป็นชาวกรุงเก่าสำเนียงหลวง จึงมิอาจจะแก้คำถามของใต้เท้าได้ถนัดนัก
จึงกราบเรียนขอให้เจ้าคุณกรุงช่วยแก้กระทู้ข้อนี้ให้ ดังท่านมีอรรถาธิบายใจความว่า

"ค่ายผนบ หนังสือบางเรื่องเรียกว่าจำหล่อ แต่ก่อนเคยเห็นมีตามทางเข้าวัดที่อยู่ตามดอน เป็นเครื่องกีดกั้นขวางทาง คือปักเสาสูงราว ๒ ศอก
มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเรียกว่าราว เป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง ตามปกติเมื่อผู้ใดเดินไปถึงจำหล่อจำเป็นต้อง
เดินอ้อมจากปลายราวข้าง ๑ ไปออกปลายราวข้าง ๑ ถ้าเป็นโจรผู้ร้ายถูกไล่วิ่งหนีมาถึงจำหล่อก็จำเป็นต้องหลุดชะงักทำให้ช้าลง
ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตามจำหล่อว่ามีกองตระเวนอยู่ประจำรักษาการ ดังปรากฎในเพลงยาวของนายจุ้ย ฟันขาว กวีแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่งไว้ความว่า
คืนวันหนึ่งไปหาผู้หญิงที่บ้านแต่เข้าบ้านผู้หญิงไม่ได้ คอยจนดึกหมดหวังก็เดินกลับมาตามถนน ถึงจำหล่อเขาปิดเพราะเกินยาม ๑ แล้ว จึงต้องปีนข้าม
มีกลอนในตอนกลางเพลงยาวว่า ดังนี้"

"แต่เดินครวญป่วนใจจนใกล้รุ่ง
เสียดายมุ่งหมายมือที่ถือถนอม
คิดใคร่คืนหลังง้อไปขอจอม
เกลือกมิยอมยกหน้าก็ท่าอาย
ยิ่งคิดอั้นอกโอ้อาลัยเหลือ
คนึงเนื้อหอมใจยังไม่หาย
พี่เดินดึ่งไปจนถึงจำหล่อราย
เขาปิดตายมิให้เดินด้วยเกินยาม
ก็ยึดราวก้าวโผนพอโจนพ้น
จึ่งปะคนที่เขาเกณฑ์ตระเวนถาม
ไม่ตอบสนองเขามามองตระหนักนาม
ครั้นแน่เนตรเขาก็ขามด้วยเคยกลัว"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 19:42

ให้คุณ Art47 แขวงเมืองปทุม ผู้เลี้ยงนกยักษ์มิเคยอิ่ม ได้ดูภาพเครื่องกั้นอีกลักษณะหนึ่ง เป็นไม้ไผ่สานตาขนาดใหญ่ และท่อนไม้สักวางกั้นถนนท่าแพ คราวปราบพวกเงี้ยว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 20:31

ต้นลิ้นจี่นั้นปลูกไว้บริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ ครับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 20:47

ให้คุณ Art47 แขวงเมืองปทุม ผู้เลี้ยงนกยักษ์มิเคยอิ่ม ได้ดูภาพเครื่องกั้นอีกลักษณะหนึ่ง เป็นไม้ไผ่สานตาขนาดใหญ่ และท่อนไม้สักวางกั้นถนนท่าแพ คราวปราบพวกเงี้ยว

เคยผ่านตามาอีกภาพ ในคราวปราบเงี้ยวเช่นเดียวกัน แต่เป็นภาพตรงหน้าวัดพระสิงห์  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 07:05

เมื่อมีข่าวกบฏเงี้ยวยกขึ้นมาตีลำปางและจะยกมาตีเชียงใหม่ต่อไปนั้น  ดร.แฮร์ริส ครูใหญ่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้บันทึกไว้ว่า กบฏเงี้ยวคราวนั้นมุ่งทำร้ายแต่เฉพาะคนไทยเท่านั้น  ชาวต่างชาติและชาวพื้นเมืองพวกเงี้ยวจะไม่ข้องแวะด้วยเลย  ซึ่งก็ตรงกับที่คุณลาภ  วสุวัต ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นได้บันทึกไว้ว่า  เวลานั้นครอบครัวคนไทยซึ่งประกอบด้วยสตรีและเด็กซึ่งมีบ้าน้รือนอยู่ที่ริมน้ำปิง  ได้อพยพเข้าไปตั้งมั่นอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงซึ่งเวลานั้นเป็นวัดธรรมยุติเพียงวัดเดียวในเชียงใหม่  ส่วนข้าราชการและพ่อค้าชาวไทยคงเตรียมรับมือพวกเงี้ยวที่ที่ว่าการมณฑลพายัพริมน้ำปิง  แนวป้องกันที่คุณ Siamese กล่าวถึงนั้นจึงน่าจะอยู่ที่หน้าวัดเจดีย์หลวงมากกว่าที่หน้าวัดพระสิงห์ครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 08:43


อันกระผมผู้น้อยเป็นชาวเมืองประทุมธานี หาได้เป็นชาวกรุงเก่าสำเนียงหลวง จึงมิอาจจะแก้คำถามของใต้เท้าได้ถนัดนัก
จึงกราบเรียนขอให้เจ้าคุณกรุงช่วยแก้กระทู้ข้อนี้ให้ ดังท่านมีอรรถาธิบายใจความว่า

"ค่ายผนบ หนังสือบางเรื่องเรียกว่าจำหล่อ แต่ก่อนเคยเห็นมีตามทางเข้าวัดที่อยู่ตามดอน เป็นเครื่องกีดกั้นขวางทาง คือปักเสาสูงราว ๒ ศอก
มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเรียกว่าราว เป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง ตามปกติเมื่อผู้ใดเดินไปถึงจำหล่อจำเป็นต้อง
เดินอ้อมจากปลายราวข้าง ๑ ไปออกปลายราวข้าง ๑ ถ้าเป็นโจรผู้ร้ายถูกไล่วิ่งหนีมาถึงจำหล่อก็จำเป็นต้องหลุดชะงักทำให้ช้าลง
ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตามจำหล่อว่ามีกองตระเวนอยู่ประจำรักษาการ ดังปรากฎในเพลงยาวของนายจุ้ย ฟันขาว กวีแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแต่งไว้ความว่า
คืนวันหนึ่งไปหาผู้หญิงที่บ้านแต่เข้าบ้านผู้หญิงไม่ได้ คอยจนดึกหมดหวังก็เดินกลับมาตามถนน ถึงจำหล่อเขาปิดเพราะเกินยาม ๑ แล้ว จึงต้องปีนข้าม
มีกลอนในตอนกลางเพลงยาวว่า ดังนี้"

"แต่เดินครวญป่วนใจจนใกล้รุ่ง
เสียดายมุ่งหมายมือที่ถือถนอม
คิดใคร่คืนหลังง้อไปขอจอม
เกลือกมิยอมยกหน้าก็ท่าอาย
ยิ่งคิดอั้นอกโอ้อาลัยเหลือ
คนึงเนื้อหอมใจยังไม่หาย
พี่เดินดึ่งไปจนถึงจำหล่อราย
เขาปิดตายมิให้เดินด้วยเกินยาม
ก็ยึดราวก้าวโผนพอโจนพ้น
จึ่งปะคนที่เขาเกณฑ์ตระเวนถาม
ไม่ตอบสนองเขามามองตระหนักนาม
ครั้นแน่เนตรเขาก็ขามด้วยเคยกลัว"


คุณพนายอาร์ทแห่งทุ่งรังสิต  ตอบได้กระนั้น  เสียดายว่าหามีรูปจำหล่อให้ชมด้วยไม่
จำได้ว่า จอมพล เจ้าพระยาคนหนึ่งเคยเล่าไว้ในประวัติของท่านว่า ครั้งหนึ่งท่านขี่ม้า
ม้าที่ขี่เกิดตื่นด้วยเหตุอันใดอันหนึ่ง ทำให้บังคับม้านั้นมิได้  แลว่าม้าดังกล่าววิ่งเตลิดไป
จนกระทั่งท่านชนราวจำหล่อที่ใดสักแห่งในพระนคร 

อ้อเพิ่งระลึกขึ้นได้ว่า  คุณเอนก  นาวิกมูลเคยเขียนบทความเรื่องจำหล่อลงในเนชั่นสุดสัปดาห์
เมื่อ ๑-๒ ปีมานี้  มีภาพจำหล่อที่ถ่ายจากจิตรกรรมฝาผนังในวัดหลายแห่งมาประกอบไว้ด้วย

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 09:55

ลองวาดภาพประกอบดู "จำหล่อ" เป็นเครื่องกีดขวางทาง เพื่อให้เดินเลี่ยงเบี่ยงออกไป ทำให้การเดินอ้อมปลายทั้งสองฝั่งไม้ จะได้เดินช้าลง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 10:03

รอยอินท่านว่าคำนี้อาจเขียนได้หลายอย่าง จังหล่อ, จำหล่อ, จั้นหล่อ มาจากภาษาจีนว่า จั้งโหล่ว (จั้ง - กีด, ขวาง, โหล่ว - ถนน)

อาจารย์กาญจนา นาคสกุล อธิบายเพิ่มเติมว่า

จังหล่อ-จำหล่อ

จังหล่อ หรือ จำหล่อ เป็นคำเก่าที่มีความหมายว่า เครื่องกีดกั้นทาง.

วิธีทำจังหล่อนั้นเจ้าหน้าที่จะปักไม้เป็นเสาสูงประมาณ ๒ ศอกขวางทางไว้, มีไม้ราวตีทับหลัง. ไม้ที่ปักนี้ทำเป็น ๒ แนว วางเหลื่อมกัน. เมื่อคนเดินมาถึงจังหล่อจะผ่านไปไม่ได้ต้องเดินไปจนสุดแนวข้างหนึ่ง, แล้วย้อนกลับไปทางปลายของอีกแนวหนึ่ง จึงจะผ่านไปได้. จุดประสงค์ที่มีจังหล่อก็เพื่อตรวจตราผู้ที่สัญจรผ่านไปมา เป็นต้น.

ปัจจุบันไม่มีใครใช้คำนี้ ใช้แต่คำว่า ที่กั้น เครื่องกั้น ไม้กั้น เช่น ที่กั้นถนนตรงทางรถไฟ. น่าจะนำคำว่า จังหล่อ มาใช้เพื่อรักษาศัพท์ไว้.

ผู้เขียน  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  ประเภทวรรณศิลป์  สาขาวิชาภาษาไทย สำนักศิลปกรรม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 14:04

รอยอินท่านว่าคำนี้อาจเขียนได้หลายอย่าง จังหล่อ, จำหล่อ, จั้นหล่อ มาจากภาษาจีนว่า จั้งโหล่ว (จั้ง - กีด, ขวาง, โหล่ว - ถนน)

อาจารย์กาญจนา นาคสกุล อธิบายเพิ่มเติมว่า

จังหล่อ-จำหล่อ

จังหล่อ หรือ จำหล่อ เป็นคำเก่าที่มีความหมายว่า เครื่องกีดกั้นทาง.

วิธีทำจังหล่อนั้นเจ้าหน้าที่จะปักไม้เป็นเสาสูงประมาณ ๒ ศอกขวางทางไว้, มีไม้ราวตีทับหลัง. ไม้ที่ปักนี้ทำเป็น ๒ แนว วางเหลื่อมกัน. เมื่อคนเดินมาถึงจังหล่อจะผ่านไปไม่ได้ต้องเดินไปจนสุดแนวข้างหนึ่ง, แล้วย้อนกลับไปทางปลายของอีกแนวหนึ่ง จึงจะผ่านไปได้. จุดประสงค์ที่มีจังหล่อก็เพื่อตรวจตราผู้ที่สัญจรผ่านไปมา เป็นต้น.

ปัจจุบันไม่มีใครใช้คำนี้ ใช้แต่คำว่า ที่กั้น เครื่องกั้น ไม้กั้น เช่น ที่กั้นถนนตรงทางรถไฟ. น่าจะนำคำว่า จังหล่อ มาใช้เพื่อรักษาศัพท์ไว้.

ผู้เขียน  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  ประเภทวรรณศิลป์  สาขาวิชาภาษาไทย สำนักศิลปกรรม

 ยิงฟันยิ้ม


ดีครับ  แต่ที่กั้นถนนตรงทางรถไฟ  คงจะเรียกว่า  จำหล่อ  ไม่ได้หรอกครับ  วิธีใช้งานต่างกัน
จำหล่อ ใช้เพื่อชะลอความเร็วของสิ่งที่จะพุ่งมาไม่ให้ผ่านเข้าไปตรงๆ ไม่ใช่ใช้กั้นเพื่อห้ามเข้าห้ามผ่าน
จำหล่อนี้  คงทำหน้าที่คล้ายกับรั้วไม้ที่ทหารใช้วางตรงทางเข้าเขตทหารเพื่อให้รถที่จะเข้าออก
ชะลอความเร็วและแล่นอ้อมก่อนที่จะเข้าไปภายในเขตทหาร
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 14:16

ต้นลิ้นจี่นั้นปลูกไว้บริเวณพระที่นั่งวิมานเมฆ ครับ

ท่านผู้อาวุโสท่านว่าตอบมายังไม่ตรงใจ ท่านขี้เกียจรอคำตอบนานๆ
เลยเฉลยไว้ให้ทราบว่า  ต้นลิ้นจี่นี้อยู่ที่สวนแง่เต๋ง พระราชวังดุสิต
และการโปรดเกล้าฯ ให้ละครฉลองต้นลิ้นจี่นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์
แรม ๑๐ ค่ำ  เดือน ๕ ปีวอกสัมฤทธิศก  ๑๒๗๐
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 07:31

ให้คุณ Art47 แขวงเมืองปทุม ผู้เลี้ยงนกยักษ์มิเคยอิ่ม ได้ดูภาพเครื่องกั้นอีกลักษณะหนึ่ง เป็นไม้ไผ่สานตาขนาดใหญ่ และท่อนไม้สักวางกั้นถนนท่าแพ คราวปราบพวกเงี้ยว

เคยผ่านตามาอีกภาพ ในคราวปราบเงี้ยวเช่นเดียวกัน แต่เป็นภาพตรงหน้าวัดพระสิงห์  ยิ้มเท่ห์

จัดมาให้ตามคำเรียกร้อง


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 ก.พ. 12, 10:48

ท่านผู้อาวุโสอารมณ์ดีมีคำถามมาถามผมว่า

"ในเรือนไทยนี่มีคนที่รู้เรื่องลัทธิพิธีของพราหมณ์หลายคนนะ
อย่างนั้นถามหน่อยสิว่า อัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ หมายถึงอะไร
ทำไมพราหมณ์ต้องทำอัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ ก่อนประกอบพิธีกรรมตามลัทะิ
และอัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์ มีลักษณะวิธีการอย่างไร"

โอียๆ  คุณท่านถามยากอย่างนี้ จะมีใครตอบท่านได้ล่ะครับ
ท่านผู้ผ่านไปผ่านมาล่ะครับทราบไหมว่า อัตมสูทธิ์ กรสูทธิ์
คืออะไร  ทำอย่างไร  ถ้าได้ภาพประกอบด้วยจะดีมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง