เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227651 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 14:52

อะฮ้า ตกใจ   กามนิตหนุ่มแห่งทุ่งรังสิตนี่เยี่ยมยุทธ์ยิ่งนัก  ขอชมเชย
เอกสารนี้แล  ที่ท่านผู้อาวุโสต้องประสงค์ มีรายละเอียดถี่ยิบ
แม้กระทั่งการชื่อหัวเมืองชั้นต่างๆ ในสมัยอยุธยา ยิ้มเท่ห์




น้อมรับคำรับชมจากใต้เท้าด้วยความยินดียิ่ง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 14:57

พราหมณ์ในรัชกาลปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 18:07

ในรัชกาลที่ ๖ มีพราหมณ์ ๒ พวก คือ พราหมณ์พิธีมีบรรดาศักดิ์เป็นพระมหาราชครู  พระราชครู และพระครู ตามลำดับ  อีกประเภทเรียกว่า พราหมณ์พฤฒิบาศ  รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระ หลวง ขุน เช่นข้าราชการทั่วไป


สำหรับคำตอบของคุณ D:D ที่ว่า ปัจจุบัน "พระมหาราชครูอัษฎาจารย์ (พราหมณ์ ละเอียด รัตนพราหมณ์) ดำรงตำแหน่ง ประธานพราหมณ์" นั้น  มีข้อสงสัยว่า ท่านผู้นี้ได้เป็นถึง "พระมหาราชครู" หรือ? 
ผมเคยพบและสนทนากับท่านเมื่อหลายปีมาแล้ว  เวลานั้นท่านยังเป็น "พระราชครู" หัวหน้าพราหมณ์พิธี  และไม่เคยได้ยินข่าวว่าท่านได้เป็น "พระมหาราชครู"  เพราะตามธรรมเนียมแล้วผู้ที่จะได้เป็นพระมหาราชครูนั้นต้องเป็นผู้อ่านโองการเบิกเขาไกรลาศ  และเป็นผู้ถวายน้ำสรงและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ซึ่งพระมหาราชครูในรัชกาลปัจจุบันนั้นมีเพียงท่านเดียวและถึงแก่กรรมไปนานแล้ว  เคยคุยกับพระราชครูวามเทพมุนีหัวหน้าพราหมณ์คนปัจจุบัน  ท่านก็เล่าว่า พระราชครูวามเทพมุนี (สมจิตต์  พราหมณกุล) บิดาของท่านก็ได้เป็นเพียงพระราชครูเพราะมิได้เป็นผู้ประกอบพิธีในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภาพนี้เป็นภาพ พระมหาราชครูพิธี (อุ่ม  คุรุกุล) เจ้ากรมพราหมณ์พิธี  กระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ ๖
 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 18:18

ในความเห็นที่ ๑๔ คุณ Siamese กล่าวถึงแถบหมายยศบนผ้านุ่งของพราหมณ์พิธีไว้  เพื่อให้เห็นภาพชัดขอนำภาพเสื้ออาจารย์และเสื้อครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงกำหนดไว้  ก่อนที่จะทรงพระราชดำริเสื้อครุยเนติบัณฑิต  ซึ่งต่อมาเสื้อครุยทั้ง ๒ แบบนั้นได้เป็นต้นแบบของเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(ภาพบน) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย  มาลากุล) แต่งเครื่องแบบปกติข้าราชการพลเรือน  สวมเสื้ออาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
(ภาพกลาง) หุ้มแพร ขุนประทักษ์สุนทรวิท (กระจ่าง  สิงหเสนี) แต่งเครื่องแบบเต็มยศข้าราชการกรมมหาดเล็ก ยศชั้นหุ้มแพร  สวมครุยครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวง
(ภาพล่าง) นายพลตรี พระยาเทพาธิบดี (เจิ่น  บุนนาค) แต่งเครื่องแบบเต็มยศนายพลตรี ทหารบก สวมครุยเนติบัณฑิต





บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 22:26

ข้อมูลจากราชกิจจานุเบกษา 22 ธันวาคม 2542 ค่ะ... ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 22:46

และข้อมูลล่าสุดค่ะ .... ยิงฟันยิ้ม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้ง พระราชครูวามเทพมุนี เป็น พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบุลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์ ตำแหน่งประธานพระครูพราหมณ์ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554....

ท่านV_Mee คงต้องรีบไปแสดงความยินดีกับพระมหาราชครู แล้วหละค่ะ... ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 07:35

ขอบพระคุณ คุณ D:D ครับ
พระมหาราชครูวามเทพมุนีนี้เป็นพระมหาราชครูท่านที่สองในสกุลรังสิพราหมณกุล  ท่านแรกดป็นคุณปู่ของท่านปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 14:28

ระหว่างที่รอเอกสารในคำถามแรก

ท่านผู้อาวุโสคนเ้ดิม  เคยถามผมไว้หลายเดือนล่วงมาแล้วว่า

"เออ  คุณพอรู้เรื่องการเข้าเวรนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง
ในเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตามหัวเมืองบ้างหรือไม่
เขาวางคนเข้านอนประจำซองในพระบรมมหาราชวังกันตรงใดบ้าง
เกณฑ์คนเพื่อการนี้มากน้อยสักเท่าไร "



หยิบหนังสือธรรมเนียมวัง สมัยกรุงศรีอยุธยามาปัดฝุ่น ดูว่าการรักษาพระนครเวลาเสด็จไม่อยู่ ทำกันอย่างไร (สมัยอยุธยา)

๑. กรมล้อมพระราชวัง พระเพ็ชรพิชัยตั้งกองซุ่มอยู่จวนท้องสนามกลาง ขุนหมื่นขึ้นรักษาเชิงเทินรอบพระราชวัง

๒. กรมวังนอกอยู่ทิมดาบชาววัง หลวงราชฤทธานนท์ หลวงนนทเสน ขุนหมื่นชาววังนอก เหล่า ๑

๓. กรมวังเกณฑ์ ขุนอินอาญา ๑ ขุนเทพสุภา ๑ ขุนพรหมสุภา ๑ อยู่ประจำหล่อประตูท่าสิบเบี้ย

๔. พนักงานอยู่รักษากรุง ตระเวนนอกที่ห้าม ตั้งกองซุ่ม รักษากรุงตามอำเภอ ๘ กอง นอกกรุง ๘ กอง

๕. ขุนสัสดี ขุนสารวัตร นายตำรวจซ้าย นายธำรงค์ นายบัญชีกลาง ไพร่สม ๘๐ รักษาผู้ร้าย ๘ คุก

๖. พระยายมราช หลวงขุนหมื่น เสมืยนทนาย ไพร่สม ๒๐๐ ต้้งกองขัดตาทัพที่สนามหน้าพระศพ และเวลากลางคืนให้เดินตระเวนทั่วกรุง

๗.หลวงรองเมือง เสมืยนทนาย ไพร่สม ๕๐ ให้คุมป้อมเพ็ชรบางกะจะ

๘. ขุนเทพผลู เสมียนทนาย ไพร่สม รวม ๕๐ ประจำสะพานลำเหย

๙. รักษาการอำเภอ ๘๘ คน

๑๐. ตระเวนนอกกรุง ๘๘ คน

รวมพนักงานที่เข้ามาเกณฑ์รักษาพระนคร เป็นนาย ๖๑ ไพร่ ๕๒๒ รวม ๕๘๓ คน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 14:38



อ้างถึงระเบียบการแต่งกายในราชสำนัก เวลาเข้ารับราชการมีการแต่งกายดังนี้
๑. เสื้อผ้าขาวรูปแบบราชการ

๒. แผ่นทาบบนคอเสื้อพื้นกำมะหยี่ขาว เครื่องประกอบเป็นสีทอง

๓. ผ้าขาวนุ่งจีบชาย ๑ โจงชาย ๑ มีริมแบ่งได้ตามชั้นดังนี้
๓.๑ พราหมณ์สามัญ ริมเส้นแดง ๑ เส้น กว้าง ๑ เซนติเมตร
๓.๒ ชั้นตรี (รองเสวก) เส้นทองใหญ่ ๑ เส้น กว้าง ๑ เซนติเมตร
๓.๓ ชั้นโท (เสวก) เส้นทอง ๒ เส้น ๆ ใหญ่ กว้าง ๑ เซนติเมตรอยู่ริม เส้นทองเล็กกว้าง ๐.๕ เซนติเมตรอยู่ใน
๓.๔ ชั้นเอก (มหาเสวก) เส้นทองใหญ่ ๓ เส้น ๆ ใหญ่กว้าง ๑ เซนติเมตรอยู่ ๒ ข้าง เส้นทองเล็กขนาด ๐.๕ เซนติเมตร อยู่กลาง


ท่านผู้อาวุโสทราบแล้ว  บอกว่า คุณหนุ่มสยามนี่ค้นเก่งนัก
ที่ตอบมานั้นชัดเจนดีทุกประการ

พราหมณ์ในที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในรัชกาลปัจจุบัน  ขอให้สังเกตว่า
มีบรรดาศักดิ์ต่างจากพราหมณ์ในรัชกาลก่อน  กล่าวคือ  เดิมพราหมณ์
ในราชสำนัก มีที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนหลวงพระเช่นเดียวกับข้าราชการทั่วไป
ส่วน บรรดาศักดิ์ พระครู พระราชครู พระมหาราชครู เป็นตำแหน่งพราหมณ์ชั้นสูง

แต่เมื่อขึ้นรัชกาลปัจจุบัน  บรรดาศักดิ์ที่ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจะได้รับ
พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระครุทั้งหมด  แม้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เป็นขุนหลวงอะไรมาก่อน  เมื่อถึงรัชกาลนี้  เปลี่ยนเป็นพระครู

ตามที่เล่ากันมา  พราหมณ์ที่ได้รับดปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระมหาราชครูพิธี
มักเป็นพราหมณ์หัวหน้าคณะพราหมณ์ที่ได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  หากเป็นหัสหน้าคณะที่ได้ไม่ได้เป็น
หัวหน้าคณะพราหมณ์ที่ได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ก็มักจะได้รับ
พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชครู  กรณีพระมหาราชครูพิธีคนปัจจุบัน
ต้องนับเป็นกรณีพิเศษ


อ้อ   ท่านอาวุโสถามว่า มีใครหาข้อมูลเรื่องนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง
มาตอบหรือยัง   ท่านว่าท่านเคยเห็นแว้บๆ ที่ไหนจำไม่ได้


แล้วท่านก็ฝากถามมาด้วยว่า  

"เคยได้ยินเรื่องรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ละครฉลองสมโภชต้นไม้ต้นหนึ่ง
ในพระราชวังดุสิตไหม  พอทราบไหมว่า  ต้นไม้ที่โปรดเกล้าฯ ให้ฉลองสมโภช
คือต้นไม้อะไร อยู่ตรงไหนในพระราชวังดุสิต ทำการฉลองสมโภชเพราะเหตุใด
ละครที่เล่นฉลองเล่นเรื่องอะไร  ใครเป็นเจ้าของคณะละครนั้น  และเหตุการณ์ดังกล่าว
เกิดขึ้นเมื่อวันเดือนปีอะไร"

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 14:52


๓. กรมวังเกณฑ์ ขุนอินอาญา ๑ ขุนเทพสุภา ๑ ขุนพรหมสุภา ๑ อยู่ประจำหล่อประตูท่าสิบเบี้ย


"ประจำหล่อ"

อันนี้คือ "จำหล่อ" หรือไม่  ฮืม

ลักขณะนี้ย่อมต้องเขียนว่า "ประจำจำหล่อ" กระละมั้ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 15:48

แล้วท่านก็ฝากถามมาด้วยว่า  

"เคยได้ยินเรื่องรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ละครฉลองสมโภชต้นไม้ต้นหนึ่ง
ในพระราชวังดุสิตไหม  พอทราบไหมว่า  ต้นไม้ที่โปรดเกล้าฯ ให้ฉลองสมโภช
คือต้นไม้อะไร อยู่ตรงไหนในพระราชวังดุสิต ทำการฉลองสมโภชเพราะเหตุใด
ละครที่เล่นฉลองเล่นเรื่องอะไร  ใครเป็นเจ้าของคณะละครนั้น  และเหตุการณ์ดังกล่าว
เกิดขึ้นเมื่อวันเดือนปีอะไร"



ลิ้นจี่ออกดอกติดลูกจ๊ะ

พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังดุสิตและโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นไม้ดอกไม้ผลหลายอย่างโดยมีเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์เป็นผู้ดูแล
ต้นไม้ ต้นไม้ทุกต้นออกดอกตามฤดูกาล ยกเว้นต้นลิ้นจี่ที่ออกช่อครั้งใดก็ร่วงหมด จนพ.ศ. 2451 ต้นลิ้นจี่ก็ไม่ติดลูก พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ถ้าต้นลิ้นจี่มีลูกวันใดจะหาละครหม่อมหลวงต่วนมาเล่น
ทำขวัญ

กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเล่าถึงการก่อตั้งคณะละครนฤมิตรขึ้นใหม่ว่า

ในปี พ.ศ. 2451 บังเอิญลิ้นจี่ออกดอกเต็มต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสให้กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจไปตรัสบอกหม่อมหลวงต่วนให้เตรียมละคร
ไปเล่นทำขวัญต้นลิ้นจี่ หม่อมหลวงต่วนทูลขัดข้องเพราะได้เลิกละครแล้ว ด้วยเหตุที่ เสด็จในกรมทรงติดราชการจึงมีพระราชดำรัสแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ว่า ให้หม่อมหลวงต่วนควบคุมละครขึ้นอีก ถ้าขัดข้องอะไรจะพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ให้เลือกเรื่องและฝึกหัดตัวละครใหม่ให้ได้เล่นทำขวัญต้นลิ้นจี่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์รับพระบรมราชโองการมาแจ้งแก่หม่อมหลวงต่วนและทรงรับช่วยหาตัวละครและแต่งบทใหม่ ส่วนเรื่องที่จะเล่นนั้น หม่อมหลวงต่วนกราบทูล
ปรึกษาและเลือกเอาเรื่องพระลอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์จึงทรงแต่งบทพระลอตอนกลางสำหรับเล่นคราวนั้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 16:07



นางละครผู้มีชื่อเสียงนั้น  มีเสน่ห์ดึงดูดจิตใจให้ชวนมองมากกว่าสตรีงามทั่วไป

เคยเห็นรูปถ่ายหม่อมหลวงต่วน  นั่งบนแท่นเอียงหน้าเล็กน้อย  และทอดแขนซ้าย

ตอนนั้นท่านสูงอายุแล้ว     แต่งามพิศ  งามจริต  งามท่า  จริงๆ

หนังสือของกรมศิลปแจกหลาน ๆ ไปหมดแล้วค่ะ   จำไม่ได้ว่าอยู่เล่มไหน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 16:18



ลิ้นจี่ออกดอกติดลูกจ๊ะ

พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังดุสิตและโปรดเกล้าฯ
ให้ปลูกต้นไม้ดอกไม้ผลหลายอย่างโดยมีเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์เป็นผู้ดูแล
ต้นไม้ ต้นไม้ทุกต้นออกดอกตามฤดูกาล ยกเว้นต้นลิ้นจี่ที่ออกช่อครั้งใดก็ร่วงหมด
จนพ.ศ. 2451 ต้นลิ้นจี่ก็ไม่ติดลูก พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ถ้าต้นลิ้นจี่
มีลูกวันใดจะหาละครหม่อมหลวงต่วนมาเล่นทำขวัญ

กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงเล่าถึงการก่อตั้งคณะละครนฤมิตรขึ้นใหม่ว่า

ในปี พ.ศ. 2451 บังเอิญลิ้นจี่ออกดอกเต็มต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำรัสให้กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจไปตรัสบอกหม่อมหลวงต่วนให้เตรียมละคร
ไปเล่นทำขวัญต้นลิ้นจี่ หม่อมหลวงต่วนทูลขัดข้องเพราะได้เลิกละครแล้ว ด้วยเหตุที่
เสด็จในกรมทรงติดราชการจึงมีพระราชดำรัสแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ว่า ให้หม่อมหลวงต่วนควบคุมละครขึ้นอีก ถ้าขัดข้องอะไรจะพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
ให้เลือกเรื่องและฝึกหัดตัวละครใหม่ให้ได้เล่นทำขวัญต้นลิ้นจี่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์รับพระบรมราชโองการมาแจ้งแก่หม่อมหลวงต่วน
และทรงรับช่วยหาตัวละครและแต่งบทใหม่ ส่วนเรื่องที่จะเล่นนั้น หม่อมหลวงต่วนกราบทูล
ปรึกษาและเลือกเอาเรื่องพระลอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
จึงทรงแต่งบทพระลอตอนกลางสำหรับเล่นคราวนั้น


คุณหนุ่มสยาม  ตอบว่าต้นลิ้นจี่ติดผลถูกต้องครับ แต่ต้นลิ้นจี่ปลูกตรงใดของพระราชวังดุสิตยังไม่ได้ตอบ
ละครหม่อมหลวงต่วนศรี  ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ถูกต้องครับ
เล่นเรื่องพระลอ พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ถูกต้องครับ

ส่วนวันที่เกิดเหตุการณ์เมื่อใดนั้น ปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ นั้น ถูกต้อง แต่ยังไม่ได้วันกับเดือน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 16:55

ท่านผู้อาวุโสท่านอ่านเรือนไทย  เห็นกระทู้ว่าด้วยราชสกุลนพวงศ์
เลยถามผู้เขียนว่า   " ราชสกุลนพวงศ์มีหม่อมราชวงศ์อะไรบ้าง"

ควานอยู่สักเพลาหนึ่งจึงได้ข้อมูลมาตอบท่านดังนี้

ข้อมูลเก่าอยู่สักหน่อย  ปี ๒๔๖๘

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช  มีบุตรธิดา  ดังนี้

๑.ม.ร.ว.อุบล  นพวงศ์  เกิด ๑๕ พ.ย. ๒๔๐๐

๒.ม.ร.ว.กลาง  นพวงศ์  เกิด ๒๓ มิ.ย. ๒๔๑๑

๓.ม.ร.ว.จงกล  พรหมปิณฑะ  ภรรยาจ่าใจแกว่น (สวัสดิ์  พรหมปิณฑะ)
เกิด ๒๑ เม.ย. ๒๔๑๒

๔.หลวงศิวพันธุ์นิภาธร  (ม.ร.ว.ส่อศรี  นพวงศ์) เกิด  ๑๐ ต.ค. ๒๔๑๔

๕.ม.ร.ว.รวย  นพวงศ์  เกิด ๒๙ ก.ย. ๒๔๑๘





ม.จ.ถนอม  นพวงศ์  มีบุตรธิดา  ดังนี้

๑.พระยาภักดีศรีนครานุรักษ์ (ม.ร.ว.ชุบ  นพวงศ์) เกิด  ๒๑  ก.พ. ๒๔๑๑

๒.พระญาณวราภรณ์ สุนทรธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิำฎกธารี
ธรรมวาทียติคณิศร  บวรสังฆาราม  คามวาสี  (ม.ร.ว.ชื่น  นพวงศ์)
เกิด  ๒๒  พ.ย. ๒๔๑๕

๓.พระยารัตนโกษา (ม.ร.ว.ใหม่  นพวงศ์) เกิด ๒ ส.ค. ๒๔๑๖

๔.หลวงบวรวาที (ม.ร.ว.โต๊ะ  นพวงศ์) เกิด ๒๐ เม.ย. ๒๔๑๘

๕.พระยารามราชเดช (ม.ร.ว.ปาล  นพวงศ์) เกิด ๔ เม.ย. ๒๔๑๙

๖.พระยาวิเศษภักดี (ม.ร.ว.กมล  นพวงศ์) เกิด ๑๓ ต.ค. ๒๔๒๒

๗.หลวงประสานคดี (ม.ร.ว.สกล หรือ ถกล  นพวงศ์)
เกิด  ๘  ก.ค. ๒๔๒๔

๘.ม.ร.ว.โต๊ะ  นพวงศ์  เกิด ๕ ม.ค. ๒๔๒๔

๙.ม.ร.ว.ฉัตร  นพวง์  เกิด ๑๒ ธ.ค. ๒๔๒๖

๑๐.ม.ร.ว.สั้น  นพวงศ์  เกิด ๗ ก.ค. ๒๔๒๗

๑๑.หลวงพาหิรวาทกิจ (ม.ร.ว.เป้า  นพวงศ์) เกิด ๒๐ ธ.ค. ๒๔๓๑

๑๒.ม.ร.ว.ประอร  หงสไกร ภรรยาหลวงกล้ากลางสมร (มงคล  หงสไกร)
เกิด ๒๘ ม.ค. ๒๔๓๓

๑๓.ม.ร.ว.จำลอง  นพวงศ์ เกิด ๑ มิ.ย. ๒๔๕๘
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:05


๓. กรมวังเกณฑ์ ขุนอินอาญา ๑ ขุนเทพสุภา ๑ ขุนพรหมสุภา ๑ อยู่ประจำหล่อประตูท่าสิบเบี้ย


"ประจำหล่อ"

อันนี้คือ "จำหล่อ" หรือไม่  ฮืม

ลักขณะนี้ย่อมต้องเขียนว่า "ประจำจำหล่อ" กระละมั้ง

คุณอาร์ทแห่งทุ่งรังสิตทักท้วงได้ถูกต้องเหมาะสม
 
แต่อยากทราบว่า "จำหล่อ" มีลักษณะอย่างไร
คุณอาร์ทคุณหนุ่มสยามตอบได้ไหม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 20 คำสั่ง