อ้า รวดเร็วว่องไวปานกามนิตหนุ่มแห่งทุ่งรังสิต
นั่นก็เป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่ผมเอาไปตอบท่านอาวุโส
ผมยื่นเอกสารชิ้นนี้ให้ท่านดูก่อน ท่านบอกว่า มีเอกสารที่เก่ากว่านี้ไหม
นี่ถ้าผมเตรียมการมาไม่ดี เห็นทีจะเสียท่าท่านผู้อาวุโสได้
ว่าแล้วก็ยื่นเอกสารให้ท่านอีกชิ้นหนึ่ง ท่านรับแล้วอ่าน
ฉับพลันทันใด ท่านอาวุโสก็เอามือตบที่ตัก ว่าอุเหม่ อันนี้แหละที่ต้องการ
ครบถ้วนดีจริงเจียวพ่อคุณ
เอกสารที่ว่านั้นคือเอกสารอะไร
เชิญกามนิตแห่งทุ่งรังสิตและท่านทั้งหลายที่เยี่ยมกรายไปมา
ช่วยกันหาเถิด

เอาเถิด
หากอยากใดเอกสารอ้างอิงเก่ากว่าสมัย "บ้านเมืองยังดี" ครั้งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้วไซร้
กระผมในฐานะผู้น้อย ย่อมสนองคุณผู้ใหญ่อย่างคุณหลวงด้วยกำลังอันเต็มความสามารถ
พระราชกำหนดเก่า ข้อที่ ๓๓วันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๑ ปีเถาะเอกศก เพลาเช้า พระยาพระคลัง ผู้ว่าราชการ ณ ที่สมุหนายก
ออกนั่งว่าราชการ ณ ตึกป่าตะกั่ว หลวงมงคลรัตน์ บ้านอยู่บางเอียนเขียนเอาตำราค่าตั้งตราผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ
ณ หัวเมือง มาแต่หอหลวง เรียนแก่ ฯพณฯ เจ้าท่าน สั่งให้นายเวรลอกไว้ และในตำรานั้นว่า
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานค่าตั้งค่าตราผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการและพระ หลวง ขุนหมื่น เจ้ากรมปลัดกรม
กรมการหัวเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวา แก่เจ้าพนักงานผู้ใดเป็นเมืองขึ้นทั้งปวงในนี้
เมืองเอก เมืองพิษณุโลก เมือง ๑ เมืองนครศรีธรรมราช เมือง ๑ รวม ๒ หัวเมือง
เจ้าเมือง ค่าตั้ง ๕ ชั่ง ค่าตรา ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง รวม ๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ปลัด ค่าตั้ง ๓ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง รวม ๔ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
กรมการที่ พล มหาดไทย สัสดี เมือง วัง คลัง นา ค่าตั้ง ๒ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง รวม ๓ ชั่ง
เมืองโท เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองนครราชสีมา ๑
เมืองเพชรบูรณ์ ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ รวม ๖ หัวเมือง
ผู้รักษาเมือง ค่าตั้ง ๓ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง รวม ๔ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ปลัด ค่าตั้ง ๒ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง รวม ๓ ชั่ง
ยกกระบัตร มหาดไทย พล สัสดี เมือง วัง คลัง นา ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๑๕ ตำลึง รวม ๒ ชั่ง ๕ ตำลึง
เมืองตรี เมืองพิชัย ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ เมืองจันทบูร ๑ เมืองไชยา ๑
เมืองชุมพร ๑ เมืองพัทลุง ๑ รวม ๗ หัวเมือง
ผู้รักษาเมือง ค่าตั้ง ๒ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง รวม ๓ ชั่ง
ปลัด ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๑๕ ตำลึง รวม ๒ ชั่ง ๕ ตำลึง
พล ยกกระบัตร มหาดไทย สัสดี เมือง วัง คลัง นา ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ค่าตรา ๑๐ ตำลึง รวม ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
เมืองจัตวา เมืองบัวชุม ๑ เมืองไชยบาดาล ๑ เมืองระยอง ๑ เมืองชลบุรี ๑ เมืองสมุทรสาคร ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑
เมืองบางละมุง ๑ เมืองกุย ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองนนทบุรี ๑ เมืองชัยนาท ๑ เมืองอุทัยธานี ๑ เมืองมโนรมย์ ๑ เมืองสรรค์บุรี ๑
เมืองสิงห์บุรี ๑ เมืองอินทบุรี ๑ เมืองพรหมบุรี ๑ เมืองลพบุรี ๑ เมืองสุพรรณบุรี ๑ เมืองศรีสวัสดิ์ ๑ เมืองไทรโยค ๑
เมืองฉะเชิงเทรา ๑ เมืองนครชัยศรี ๑ เมืองราชบุรี เมืองวิเศษไชยชาญ ๑ เมืองเพชรบุรี ๑ เมืองสมุทรสงคราม ๑ เมืองปราจีนบุรี ๑
เมืองนครนายก ๑ เมืองสระบุรี ๑ รวม ๓๐ หัวเมือง
ผู้รักษาเมือง ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๑๕ ตำลึง รวม ๒ ชั่ง ๕ ตำลึง
ปลัด ยกกระบัตร จ่าเมือง แพ่ง ศุภมาตรา ค่าตั้ง ๑๕ ตำลึง ค่าตรา ๗ ตำลึง ๒ บาท รวม ๑ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท
รองปลัด รองจ่าเมือง รองแพ่ง รองศุภมาตรา ค่าตั้ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๕ ตำลึง รวม ๑๕ ตำลึง
ถ้าเป็นผู้รั้งเมือง ให้เอาค่าตรา ค่าตั้ง ที่ผู้รักษาเมืองนั้นตั้งเป็น ๓ ส่วน ลดเสียส่วนหนึ่ง ให้เอาแต่ ๒ ส่วน
นายเวร และเสมียน และผู้แต่งตรา ได้รับพระราชทาน
ค่ารับสั่ง ๑ ตำลึง ค่าแต่ง ๑ บาท ๒ สลึง ค่าเขียน ๑ บาท ค่าตราครั่ง ๑ บาท ๒ สลึง ค่าทูลฉลองได้แก่เจ้าตรา ๓ ตำลึง
ค่าตรา ๑ ตำลึง ๒ บาท ค่าทนายได้ค่าสั่ง ค่ายกเจียด ๑ บาท รวม ๗ ตำลึง ๑ บาท
ค่าตราคุ้มห้าม
ค่ารับสั่ง ๑ ตำลึง ค่าแต่ง ๓ บาท ค่าเขียน ๑ บาท ค่าตราใหญ่ ๓ ตำลึง ค่าตราครั่ง ๑ บาท ๒ สลึง ค่ายกเจียด ๑ บาท
ค่าทูลฉลอง ๓ ตำลึง ค่าสั่ง ๒ บาท รวม ๙ ตำลึง ๒ สลึง