เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227643 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 19 ก.พ. 12, 12:15

เมื่อหลายวันก่อน  ผมได้สนทนากับท่านผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ชื่นชอบหนังสือเก่า
ช่วงหนึ่งของการสนทนา  ท่านผู้อาวุโสถามผมว่า

"คุณรู้ไหมว่า  ข้าราชการสมัยก่อนนั้น ถ้าอยากจะเป็นเจ้าเมืองหรือกรมการเมือง
ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ  ต้องเสียเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการที่จะได้ดำรงตำแหน่งเท่าไรบ้าง
เอาเฉพาะที่เป็นทางการ  เงินที่เป็นเบี้ยบ้ายรายทาง เงินจ่ายใต้เสื่อใต้ถุนเรือนร้านใต้เตียงใต้ตั่ง
อย่างนั้นไม่เอานะ  เอาที่เป็นค่าใช้จ่ายเป็นทางการ  คิดไม่ออก ตอบเดี๋ยวนี้ไม่ได้
ผมให้เวลาคิดหาคำตอบ ๗ วัน  พ้นกำหนด  หากหาคำตอบให้ไม่ได้
ต้องจ่ายไขค่าคำตอบเป็นหนังสือเก่า หรือกลางเก่ากลางใหม่ จำนวน ๕ เล่ม"

ผมเพียรหาคำตอบอยู่หลายวัน  จึงได้คำตอบไปตอบท่านอาวุโสได้
และถูกต้องตามที่ท่านต้องการ  จึงไม่ต้องเสียหนังสือเป็นค่าไขคำตอบ

ผมจึงอยากถามท่านทั้งหลายในเรือนไทย  ว่าพอทราบไหมว่า
คนที่เขาได้เป็นเจ้าเมืองและกรมการเมืองสมัยก่อน
เขาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการที่จะได้เป็นเจ้าเมืองและกรมการเมือง
มากน้อยเท่าใดบ้าง

 ฮืม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 12:27

เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงเก่า
(ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒)

"อนึ่งผู้เปนเจ้าพระยานครศรีธรรมราช เสียค่าธรรมเนียมในนี้ อาลักษณ์ จารึกชื่อตามบันดาศักดิเสมอนาร้อยละสลึง
กรมอาลักษณ์ ผู้แต่งตราพระราชโองการได้ค่าธรรมเนียม ๑๒๐ บาท กรมแสงในได้ค่าธรรมเนียมรักษาตรา พระราชโองการแลตราพระครุธพ่าห์ ๑๒๐ บาท
สนมผู้เชิญตราพระราชโองการแลตราพระครุธพ่าห์ ๔๐ บาท คนหามเสลี่ยงแลแตรสังข์แลเทียวแห่มาแต่โรงแสงเสมอคนละ ๑ บาท
อนึ่งค่าตำแหน่งศักดิผู้รักษาเมืองผู้รั้ง แลข้าหลวงกรมการนายระวางนายพขนอนด่านคอยสิบร้อยอายัด แลแขวงนายบ้านนายอำเภอ
แลพระหลวงขุนหมื่นวิเศษข้าส่วย แลส่วยซ่องกองช้างทั้งปวงกราบถวายบังคม เสียค่าชักม่านค่าปี่กลองเปนค่าตำแหน่งศักดิขุนขนอน ๖ บาท
ค่าชักม่านหนึ่งเฟื้อง ปี่กลองหนึ่งเฟื้อง แตรหนึ่งเฟื้อง ช่องขนอน ๓ บาท ชักม่านหนึ่งเฟื้อง แตรหนึ่งเฟื้อง แลพระหลวงขุนหมื่นกรมการ
แลนายระวางนายบ้านนายอำเภอ แลข้าหลวงขุนหมื่นวิเศษ ข้าส่วยซ่องกองช้างทั้งปวง เสียค่าถวายบังคมแลค่าชักม่าน ค่าปี่กลอง
เปนค่าตำแหน่งศักดิตามบันดาศักดิแต่นา ๑๐๐ ขึ้นไป เสียค่าตำแหน่งศักดิ ๑๐๐ ละ ๒ สลึง แลนา ๑๐๐ ขึ้นไปถึงนา ๑๐๐๐ เสมอ ๑๐๐ ละ ๒ สลึง
แลเสียค่าชักม่านแลปี่กลองแลแตรเหมือนกันทุกคน"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 12:34

อ้า   รวดเร็วว่องไวปานกามนิตหนุ่มแห่งทุ่งรังสิต
นั่นก็เป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่ผมเอาไปตอบท่านอาวุโส
ผมยื่นเอกสารชิ้นนี้ให้ท่านดูก่อน   ท่านบอกว่า  มีเอกสารที่เก่ากว่านี้ไหม
นี่ถ้าผมเตรียมการมาไม่ดี  เห็นทีจะเสียท่าท่านผู้อาวุโสได้
ว่าแล้วก็ยื่นเอกสารให้ท่านอีกชิ้นหนึ่ง  ท่านรับแล้วอ่าน
ฉับพลันทันใด  ท่านอาวุโสก็เอามือตบที่ตัก  ว่าอุเหม่  อันนี้แหละที่ต้องการ
ครบถ้วนดีจริงเจียวพ่อคุณ 

เอกสารที่ว่านั้นคือเอกสารอะไร
เชิญกามนิตแห่งทุ่งรังสิตและท่านทั้งหลายที่เยี่ยมกรายไปมา
ช่วยกันหาเถิด ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 15:15

ระหว่างที่รอเอกสารในคำถามแรก

ท่านผู้อาวุโสคนเ้ดิม  เคยถามผมไว้หลายเดือนล่วงมาแล้วว่า

"เออ  คุณพอรู้เรื่องการเข้าเวรนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง
ในเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตามหัวเมืองบ้างหรือไม่
เขาวางคนเข้านอนประจำซองในพระบรมมหาราชวังกันตรงใดบ้าง
เกณฑ์คนเพื่อการนี้มากน้อยสักเท่าไร "

ยัง  ยังไม่หมด  หลายสัปดาห์ก่อน  ท่านถามผมว่า

"เอ  พราหมณ์ที่ประกอบพระราชพิธีและพิธีต่างๆ ของหลวง 
เขามีเครื่องแบบที่เป็นระเบียบแบบแผนในการแต่งกาย
ในการเข้าพิธีต่างๆ หรือเปล่า  หรือว่าแต่งอย่างไรก็ได้
เพราะเท่าที่เห็นพราหมณ์แต่ละคนแต่งกายไม่เหมือนกัน"

ท่านทั้งหลาย  พอจะช่วยผมหาคำตอบได้บ้างไหม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 15:18

อืมมมม....



เยอะจริงๆ



 ตกใจ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 16:22

ระหว่างที่รอเอกสารในคำถามแรก

ท่านผู้อาวุโสคนเ้ดิม  เคยถามผมไว้หลายเดือนล่วงมาแล้วว่า

"เออ  คุณพอรู้เรื่องการเข้าเวรนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง
ในเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตามหัวเมืองบ้างหรือไม่
เขาวางคนเข้านอนประจำซองในพระบรมมหาราชวังกันตรงใดบ้าง
เกณฑ์คนเพื่อการนี้มากน้อยสักเท่าไร "


ท่านทั้งหลาย  พอจะช่วยผมหาคำตอบได้บ้างไหม ฮืม ฮืม


ท่านอาวุโสนั้นช่างน่านับถือมาก นับถือในการคิดที่จะอนุรักษ์สมบัติแห่งชาติที่สูญหายไปมาก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 16:35

ในรัชกาลพระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ปรากฏว่า ได้ทรงสร้างโรงชนิดหนึ่ง เรียกว่า โรงทาน   โรงทานนี้เป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาด้วย จะเห็น ได่จากคำประกาศเรื่องโรงทานในรัชกาลพระบาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า“โรงทานนี้        พระบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย     ได้ทรงสร้างขึ้นไว้ให้มีเจ้าพนักงานจัดอาหารและสำรับคาวหวานเลี้ยงพระสงฆ์สามเณร   และข้าราชการที่ มานอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง    กับทั้งบริจาคพระราชทรัพย์แจกคนชราพิการ     และมีพระธรรมเทศนาและสอนหนังสือวิชาการต่าง ๆ    โดยพระบรมราชประสงค์จะให้เป็นหิตานุหิต     ประโยชน์แก่ชนทั้งหลายทั้งปวงในอิธโลกและปรโลกนั้นด้วย”

ที่มา http://www.moe.go.th/main2/his_edu.htm

ผมคาดว่าเมื่อมีการตั้งกรมทหารมหาดเล็ก มีการก่อสร้างออฟฟิศทหารวัง และโรงทหารวัง พวกท่านเหล่านี้คงจะมาพักนอนในที่แห่งนี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 17:25

ตำแหน่งพราหมณ์ในราชสำนักไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ

๑. พระมหาราชครู
๒. พระราชครู
๓. พระครู
๔. พราหมณ์

โดยพราหมณ์นั้นมีด้วยกันอยู่หลายตระกูล ในราชสำนักไทยเน้นให้ความสำคัญกับพราหมณ์สายนครศรีธรรมราชมากกว่าสายอื่น ๆ

การแต่งกายของพราหมณ์คือ การไว้มวยผม และนุ่งขาวตลอดชีวิต ยกเว้นในการประกอบพิธีกรรมจะนุ่งโจงขาว สวมเสื้อแขนยาวคอตั้ง สวมถุงเท้าขาว รองเท้าขาว ห่มผ้าเฉียงไหล่ มีผ้าขาวคาดเอว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 19:59

อ้า   รวดเร็วว่องไวปานกามนิตหนุ่มแห่งทุ่งรังสิต
นั่นก็เป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่ผมเอาไปตอบท่านอาวุโส
ผมยื่นเอกสารชิ้นนี้ให้ท่านดูก่อน   ท่านบอกว่า  มีเอกสารที่เก่ากว่านี้ไหม
นี่ถ้าผมเตรียมการมาไม่ดี  เห็นทีจะเสียท่าท่านผู้อาวุโสได้
ว่าแล้วก็ยื่นเอกสารให้ท่านอีกชิ้นหนึ่ง  ท่านรับแล้วอ่าน
ฉับพลันทันใด  ท่านอาวุโสก็เอามือตบที่ตัก  ว่าอุเหม่  อันนี้แหละที่ต้องการ
ครบถ้วนดีจริงเจียวพ่อคุณ  

เอกสารที่ว่านั้นคือเอกสารอะไร
เชิญกามนิตแห่งทุ่งรังสิตและท่านทั้งหลายที่เยี่ยมกรายไปมา
ช่วยกันหาเถิด ยิงฟันยิ้ม



เอาเถิด
หากอยากใดเอกสารอ้างอิงเก่ากว่าสมัย "บ้านเมืองยังดี" ครั้งพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแล้วไซร้
กระผมในฐานะผู้น้อย ย่อมสนองคุณผู้ใหญ่อย่างคุณหลวงด้วยกำลังอันเต็มความสามารถ  เจ๋ง

พระราชกำหนดเก่า ข้อที่ ๓๓

วันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๑ ปีเถาะเอกศก เพลาเช้า พระยาพระคลัง ผู้ว่าราชการ ณ ที่สมุหนายก
ออกนั่งว่าราชการ ณ ตึกป่าตะกั่ว หลวงมงคลรัตน์ บ้านอยู่บางเอียนเขียนเอาตำราค่าตั้งตราผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ
ณ หัวเมือง มาแต่หอหลวง เรียนแก่ ฯพณฯ เจ้าท่าน สั่งให้นายเวรลอกไว้ และในตำรานั้นว่า

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานค่าตั้งค่าตราผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการและพระ หลวง ขุนหมื่น เจ้ากรมปลัดกรม
กรมการหัวเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวา แก่เจ้าพนักงานผู้ใดเป็นเมืองขึ้นทั้งปวงในนี้

เมืองเอก เมืองพิษณุโลก เมือง ๑ เมืองนครศรีธรรมราช เมือง ๑ รวม ๒ หัวเมือง
เจ้าเมือง                                           ค่าตั้ง ๕ ชั่ง ค่าตรา ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง รวม ๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ปลัด                                               ค่าตั้ง ๓ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง รวม ๔ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
กรมการที่ พล มหาดไทย สัสดี เมือง วัง คลัง นา  ค่าตั้ง ๒ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง รวม ๓ ชั่ง

เมืองโท เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองนครราชสีมา ๑
เมืองเพชรบูรณ์ ๑ เมืองตะนาวศรี ๑ รวม ๖ หัวเมือง
ผู้รักษาเมือง                                       ค่าตั้ง ๓ ชั่ง ค่าตรา  ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง รวม ๔ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ปลัด                                               ค่าตั้ง ๒ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง รวม ๓ ชั่ง
ยกกระบัตร มหาดไทย พล สัสดี เมือง วัง คลัง นา ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๑๕ ตำลึง รวม ๒ ชั่ง ๕ ตำลึง

เมืองตรี เมืองพิชัย ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ เมืองจันทบูร ๑ เมืองไชยา ๑
เมืองชุมพร ๑ เมืองพัทลุง ๑ รวม ๗ หัวเมือง
ผู้รักษาเมือง                                       ค่าตั้ง ๒ ชั่ง ค่าตรา ๑ ชั่ง รวม ๓ ชั่ง
ปลัด                                               ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๑๕ ตำลึง รวม ๒ ชั่ง ๕ ตำลึง
พล ยกกระบัตร มหาดไทย สัสดี เมือง วัง คลัง นา ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ค่าตรา ๑๐ ตำลึง รวม ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง

เมืองจัตวา เมืองบัวชุม ๑ เมืองไชยบาดาล ๑ เมืองระยอง ๑ เมืองชลบุรี ๑ เมืองสมุทรสาคร ๑ เมืองสมุทรปราการ ๑
เมืองบางละมุง ๑ เมืองกุย ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองนนทบุรี ๑ เมืองชัยนาท ๑ เมืองอุทัยธานี ๑ เมืองมโนรมย์ ๑ เมืองสรรค์บุรี ๑
เมืองสิงห์บุรี ๑ เมืองอินทบุรี ๑ เมืองพรหมบุรี ๑ เมืองลพบุรี ๑ เมืองสุพรรณบุรี ๑ เมืองศรีสวัสดิ์ ๑ เมืองไทรโยค ๑
เมืองฉะเชิงเทรา ๑ เมืองนครชัยศรี ๑ เมืองราชบุรี เมืองวิเศษไชยชาญ ๑ เมืองเพชรบุรี ๑ เมืองสมุทรสงคราม ๑ เมืองปราจีนบุรี ๑
เมืองนครนายก ๑ เมืองสระบุรี ๑ รวม ๓๐ หัวเมือง
ผู้รักษาเมือง                                       ค่าตั้ง ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๑๕ ตำลึง รวม ๒ ชั่ง ๕ ตำลึง
ปลัด ยกกระบัตร จ่าเมือง แพ่ง ศุภมาตรา          ค่าตั้ง ๑๕ ตำลึง ค่าตรา ๗ ตำลึง ๒ บาท รวม ๑ ชั่ง ๒ ตำลึง ๒ บาท
รองปลัด รองจ่าเมือง รองแพ่ง รองศุภมาตรา      ค่าตั้ง ๑๐ ตำลึง ค่าตรา ๕ ตำลึง รวม ๑๕ ตำลึง

ถ้าเป็นผู้รั้งเมือง ให้เอาค่าตรา ค่าตั้ง ที่ผู้รักษาเมืองนั้นตั้งเป็น ๓ ส่วน ลดเสียส่วนหนึ่ง ให้เอาแต่ ๒ ส่วน

นายเวร และเสมียน และผู้แต่งตรา ได้รับพระราชทาน
ค่ารับสั่ง ๑ ตำลึง ค่าแต่ง ๑ บาท ๒ สลึง ค่าเขียน ๑ บาท ค่าตราครั่ง ๑ บาท ๒ สลึง ค่าทูลฉลองได้แก่เจ้าตรา ๓ ตำลึง
ค่าตรา ๑ ตำลึง ๒ บาท ค่าทนายได้ค่าสั่ง ค่ายกเจียด ๑ บาท รวม ๗ ตำลึง ๑ บาท

ค่าตราคุ้มห้าม
ค่ารับสั่ง ๑ ตำลึง ค่าแต่ง ๓ บาท ค่าเขียน ๑ บาท ค่าตราใหญ่ ๓ ตำลึง ค่าตราครั่ง ๑ บาท ๒ สลึง ค่ายกเจียด ๑ บาท
ค่าทูลฉลอง ๓ ตำลึง ค่าสั่ง ๒ บาท รวม ๙ ตำลึง ๒ สลึง

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 12:05

อะฮ้า ตกใจ   กามนิตหนุ่มแห่งทุ่งรังสิตนี่เยี่ยมยุทธ์ยิ่งนัก  ขอชมเชย
เอกสารนี้แล  ที่ท่านผู้อาวุโสต้องประสงค์ มีรายละเอียดถี่ยิบ
แม้กระทั่งการชื่อหัวเมืองชั้นต่างๆ ในสมัยอยุธยา ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 12:10

ส่วนที่คุณหนุ่มสยามได้ตอบเกี่ยวกับการเข้าเวรนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง
ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จประพาสตามหัวเมืองนั้น 
ยังมีรายละเอียดไม่ต้องตามที่ท่านผู้อาวุโสต้องการ  เชิญคุณหนุ่มควานหาใหม่เถิด

 แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 12:17


"เอ  พราหมณ์ที่ประกอบพระราชพิธีและพิธีต่างๆ ของหลวง 
เขามีเครื่องแบบที่เป็นระเบียบแบบแผนในการแต่งกาย
ในการเข้าพิธีต่างๆ หรือเปล่า  หรือว่าแต่งอย่างไรก็ได้
เพราะเท่าที่เห็นพราหมณ์แต่ละคนแต่งกายไม่เหมือนกัน"

ท่านทั้งหลาย  พอจะช่วยผมหาคำตอบได้บ้างไหม ฮืม ฮืม


คุณหนุ่มตอบมาว่า

ตำแหน่งพราหมณ์ในราชสำนักไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ

๑. พระมหาราชครู
๒. พระราชครู
๓. พระครู
๔. พราหมณ์

โดยพราหมณ์นั้นมีด้วยกันอยู่หลายตระกูล ในราชสำนักไทยเน้นให้ความสำคัญกับพราหมณ์สายนครศรีธรรมราชมากกว่าสายอื่น ๆ

การแต่งกายของพราหมณ์คือ การไว้มวยผม และนุ่งขาวตลอดชีวิต
ยกเว้นในการประกอบพิธีกรรมจะนุ่งโจงขาว สวมเสื้อแขนยาวคอตั้ง
สวมถุงเท้าขาว รองเท้าขาว ห่มผ้าเฉียงไหล่ มีผ้าขาวคาดเอว

ได้นำไปเรียนท่านผู้อาวุโส  ท่านว่า  ตอบรวมๆ อย่างนี้  ไม่ชัดเจน
ท่านว่า  มันมีที่เป็นระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่
ไม่เช่นนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า  ใครเป็นพราหมณ์ชั้นใด
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 13:16

โดยทั่วไปแล้ว พราหมณ์จะนุ่งห่มด้วยผ้าขาว คือ เสื้อขาวธรรมดา ๑ ตัว ผ้าโจงกระเบน ๑ ผืน
แต่ถ้าทำพิธี พราหมณ์จะใส่เสื้อยาวแบบราชปะแตนสีขาวคลุมทับเสื้อใน สวมหมวกแบบถุงแป้ง ห้อยคอด้วยลูกประคำ

 ยิงฟันยิ้ม
พราหมณ์ ในประเทศไทย ในปัจจุบัน มีลำดับการปกครอง พอสังเขปคือ

- พระมหาราชครูอัษฎาจารย์ (พราหมณ์ ละเอียด รัตนพราหมณ์)
ดำรงตำแหน่ง ประธานพราหมณ์
ทำหน้าที่ทางด้านการศาสนา เป็นผู้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

- พระราชครูวามเทพมุนี (พราหมณ์ ชวิน รังสิพราหมณกุล)
ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพราหมณ์
ดูแลคณะพราหมณ์ ทำหน้าที่ทางด้านศาสนา เป็นผู้ช่วยพระมหาราชครู

- อัษฎาจารย์ ประกอบด้วย
พระราชครูศิวาจารย์ (พราหมณ์ ถาวร ภวังคนันท์)เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูสตานันทมุนี (พราหมณ์ อรุณ สยมภพ) เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูญาณสยมภูว์ (พราหมณ์ ขจร นาคะเวทิน) เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูสิทธิไชยบดี (พราหมณ์ ยศ โกมลเวทิน) เป็น พระครูพราหมณ์
พระครูสุริยาเทเวศร์ (พราหมณ์ ศรีล รังสิพราหมณกุล) เป็น พระครูพราหมณ์

- พราหมณ์พิธี จำนวน 6 ท่าน คือ
1) พราหมณ์ สมบัติ รัตนพราหมณ์
2) พราหมณ์ คีษณพันธ์ รังสิพราหมณกุล
3) พราหมณ์ ปฏิหาริย์ สยมภพ
4) พราหมณ์ ธนพล ภวังคนันท์
5) พราหมณ์ ปรีชาวุธ นาคะเวทิน
6) พราหมณ์ ปกรณ์ วุฒิพราหมณ์
มีหน้าที่
   - ด้านงานพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวายแด่พระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศานุวงศ์ ในวาระสำคัญ
   - ด้านหน่วยงานและเอกชน เป็นผู้ประกอบพิธีตามประเพณี และ วัฒนธรรมของไทยแต่โบราณ ซึ่งเป็นพิธีเกี่ยวกับการรวมขวัญและมงคลของประชาชน เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย เป็นต้น
พิธีเกี่ยวกับรัฐ บวงสรวงวาระวันสำคัญวันสถาปนา
พิธีเกี่ยวกับประชาชน เป็นประเพณี มีพิธีเกิด ทำขวัญเดือน ตัดจุก แต่งงาน ปลูกบ้าน และ พิธีมงคลตามวาระที่มีความประสงค์ ฯลฯ
   - ด้านการเผยแพร่ ส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ตามคติประเพณี ด้วยการประกอบพิธีกรรม เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีแต่โบราณ การให้ความรู้ การสอนหลักปรัชญาของศาสนา
   - ด้านการเตรียมบุคลากรพราหมณ์ผู้สืบทอดศาสนา ให้การศึกษาและให้โอกาสลูกหลานพราหมณ์เรียนต่อที่ประเทศอินเดีย โดยมุ่งให้ความรู้
   - ด้านปรัชญาและศาสนา ตามความสามารถของแต่ละคน ให้ความรู้การฝึกฝน ด้านการประกอบพิธีกรรม
   - ด้านการสังคมสงเคราะห์ จัดตั้ง มูลนิธิ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือด้านการศาสนา บูรณะ และ ส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับเยาวชน สนับสนุนกิจการด้านจริยธรรม และ วัฒนธรรม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 13:27

ตำแหน่งพราหมณ์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ขึ้นกับ กรมพิธีพราหมณ์ สังกัดกระทรวงวัง
มีหลายตำแหน่งด้วยกันคือ
                    พระมหาราชครู พระครูมหิธรธรรมราชสุภาวดี    นา ๑๐,๐๐๐
                    พระราชครู พระครูพิเชดษรราชธิบดีศรีษรคม    นา ๕,๐๐๐
                    พระธรรมสาตรราชโหรดาจารย์ ปลัดมหิธร    นา ๓,๐๐๐
                    พระอัฐยาปรีชาธิบดีโหระดาจารย์ ปลัดพระครูพิเชด    นา ๓,๐๐๐
                    พระญาณประภาษอธิบดีโหระดาจารย์    นา ๓,๐๐๐
                    ขุนไชยอาญามหาวิสุทธิปรีชาจารย์    นาคล ๑,๕๐๐
                    ขุนจินดาพิรมยพรมเทพวิสุทธิวรษาจารย์    นาดล ๑,๕๐๐
                    พระมหาราชครู พระราชประโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดี ฯ    นา ๑๐,๐๐๐
                    พระราชครู พระครูพิราม ราชสุภาวดี ฯ    นา ๕,๐๐๐
                    พระเทพราชธาดาบดีศรีวาสุเทพ  ปลัดพระราชครูปุโรหิต      นา  ๓,๐๐๐
                    พระจักปานีศรีสัจวิสุทธิ ปลัดพระครูพิราม    นา  ๓,๐๐๐
                    พระเกษมราชสุภาวดี ศรีมณธาดูลราช เจ้ากรมแพ่งกระเษม    นา  ๓,๐๐๐
                    ขุนสุภาเทพ ๑ ขุนสภาสภาพาน ๑  ปลัดนั่งศาล    นาดล  ๔๐๐
                    ขุนหลวงพระไกรศรี ราชสุภาวดี ฯ  เจ้ากรมแพ่งกลาง    นา   ๓,๐๐๐
                    ขุนราชสุภา ๑ ขุนสภาไชย ๑  ปลัดนั่งศาล    นาดล  ๔๐๐
                    พระครูราชพิทธี จางวาง    นา  ๑,๐๐๐
                    พระครูอัศฎาจารย์ เจ้ากรม    นา  ๘๐๐
                    หลวงราชมณี ปลัดกรม    นา  ๖๐๐
                    ขุนพรมไสมย ครูโล้ชิงช้า    นา  ๔๐๐
                    ขุนธรรมณะรายสมุบาญชีย    นา ๓๐๐
                    ขุนในกรม นา ๓๐๐ หมื่นในกรม นา ๒๐๐  พราหมเลวรักษาเทวาสถาน    นาดล  ๕๐
                    พระอิศวาธิบดี ศรีสิทธิพฤทธิบาท จางวาง    นา  ๑,๐๐๐
                    ขุนในกรมพฤทธิบาท  นา ๓๐๐  หมื่นในกรมพฤทธิบาท  นา ๒๐๐
                    ประแดงราชมณี    นา  ๒๐๐

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกรมพิธีพราหมณ์ในกระทรวงวัง ดังกล่าว

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พราหมณ์ปฏิบัติพระราชพิธีสำหรับพระองค์และประเทศชาติต่อไป
โดยให้ขึ้นตรงต่อสำนักพระราชวัง และปฏิบัติศาสนกิจที่เทวสถาน สำหรับพระนครข้างวัดสุทัศนเทพวราราม เสาชิงช้า กรุงเทพ ฯ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 14:28


ได้นำไปเรียนท่านผู้อาวุโส  ท่านว่า  ตอบรวมๆ อย่างนี้  ไม่ชัดเจน
ท่านว่า  มันมีที่เป็นระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่
ไม่เช่นนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า  ใครเป็นพราหมณ์ชั้นใด


อ้างถึงระเบียบการแต่งกายในราชสำนัก เวลาเข้ารับราชการมีการแต่งกายดังนี้
๑. เสื้อผ้าขาวรูปแบบราชการ

๒. แผ่นทาบบนคอเสื้อพื้นกำมะหยี่ขาว เครื่องประกอบเป็นสีทอง

๓. ผ้าขาวนุ่งจีบชาย ๑ โจงชาย ๑ มีริมแบ่งได้ตามชั้นดังนี้
๓.๑ พราหมณ์สามัญ ริมเส้นแดง ๑ เส้น กว้าง ๑ เซนติเมตร
๓.๒ ชั้นตรี (รองเสวก) เส้นทองใหญ่ ๑ เส้น กว้าง ๑ เซนติเมตร
๓.๓ ชั้นโท (เสวก) เส้นทอง ๒ เส้น ๆ ใหญ่ กว้าง ๑ เซนติเมตรอยู่ริม เส้นทองเล็กกว้าง ๐.๕ เซนติเมตรอยู่ใน
๓.๔ ชั้นเอก (มหาเสวก) เส้นทองใหญ่ ๓ เส้น ๆ ใหญ่กว้าง ๑ เซนติเมตรอยู่ ๒ ข้าง เส้นทองเล็กขนาด ๐.๕ เซนติเมตร อยู่กลาง


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง