เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 38 39 [40] 41 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227631 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 585  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 08:19


        ขุนนางบูราณ  มหาดเล็กไล่การุ่นพี่ ก.ศ.ร.   ที่เคยวิ่งไล่กากัน  เหยียบชายผ้า(โจงกระเบนเผื่อโต)  หกล้มหกลุก     

เจ้าคุณแก่กว่า ก.ศ.ร เล็กน้อย

เล่าว่า   ท่านทั้งสองอยู่เวรหลวงนายศักดิ์ (ครุฑ)

เวลาที่ท่านเล่นกันอยู่นั้นเป็นปลายรัชกาลที่ ๓

ท่านเรียกกุหลาบว่า  พ่อกุหลาบที่รักของฉันมาช้านาน

ก.ศ.ร. กุหลาบนั้นอ่อนน้อมกับคนที่ให้เกียรติตนเสมอ    เรียกท่านเจ้าคุณว่าใต้เท้ากรุณา  เจ้าคุณพระยาเกลอ  และสหายมหากัลยาณมิตร

คุณวันดีเป็นผู้รู้เรื่องนายกุหลาบดียิ่งนัก  ทราบว่าเพิ่งได้ตำรับตำราเกี่ยวกับนายกุหลาบมาครองอีกหลายเล่ม
บางเล่มเป็นฉบับลายมือที่มีคนเคยอ่านนับหัวได้   
(ขออภัยคุณเพ็ญฯ ด้วย   เพราะการเอาคำตอบตนอื่นมาตอบอีก  ก็เหมือนกับลอกการบ้านคนอื่นมาส่งครูน่ะครับ)

ที่คุณวันดีถามมานั้น  เหตุใดจะตอบไม่ได้  แต่อาจจะตอบได้ไม่หมด  เพราะนานมาแล้ว
ไม่ได้ทบทวนนานๆ เข้าก็ลืมเลือนไปบ้าง

นายกุหลาบพิมพ์หนังสือเล่มแรก  ได้รับอนุญาตจากเจ้าคุณคนหนึ่งในสกุลอ. 
จำได้่ว่า  พิมพ์เมื่อนายกุหลาบอายุยังไม่ถึง ๓๐ ขวบ  น่าจะ ๒๘ ปีนี่แหละ
จำนวนพิมพ์ จำได้เลาๆ ว่าไม่ถึงเรือนร้อย   คาดว่าจะพิมพ์เท่ากับอายุในตอนนั้นคือ ๒๘ เล่ม
หรือไม่เ้ช่นนั้นก็ต้องน้อยกว่านั้น
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 586  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 09:26

(ขออภัยคุณเพ็ญฯ ด้วย   เพราะการเอาคำตอบตนอื่นมาตอบอีก  ก็เหมือนกับลอกการบ้านคนอื่นมาส่งครูน่ะครับ)

ถามว่า  นายกุหลาบรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในสังกัดเวรใด  

คำตอบมีดังนี้

เล่าว่า   ท่านทั้งสองอยู่เวรหลวงนายศักดิ์ (ครุฑ)

๑. ก.ศ.ร. กุหลาบรับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอยู่ในสังกัด เวรศักดิ์

ขอชี้แจงข้อกล่าวหาดังนี้ หลวงนายศักดิ์ นั้นเป็นตำแหน่งของนายเวร  ส่วน เวรศักดิ์ นั้นเป็นชื่อเวร

บรรดาศักดิ์มหาดเล็กในทำเนียบ  แต่เดิมแบ่งเป็น ๔ เวร คือ เวรศักดิ์  เวรสิทธิ์  เวรฤทธิ์  เวรเดช  แต่ละเวรจะมีหัวหมื่นมหาดเล็ก  ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าหมื่น หรือที่เรียกกันอย่างลำลองว่า คุณพระนาย  เป็นหัวหน้า   ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เจ้าหมื่นมียศเป็น หัวหมื่น ซึ่งเทียบเท่ากับนายพันเอกของทหาร  (ถ้าเป็นวังหน้าเรียก จมื่น  ยศเท่ากับ รองหัวหมื่น)

เจ้าหมื่น ๔ ตำแหน่ง มีราชทินนาม ดังนี้

เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี  (เวรศักดิ์)

เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์     (เวรสิทธิ์)

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ    (เวรฤทธิ์)

เจ้าหมื่นเสมอใจราช   (เวรเดช)

ลำดับถัดลงไปเป็นชั้นนายเวร  เรียกกันว่า คุณหลวงนาย  มียศเป็นรองหัวหมื่น ซึ่งเทียบเท่า นายพันโท ของทหาร  หลวงนาย มี ๔ ตำแหน่ง  มีราชทินนาม ดังนี้

หลวงศักดิ์ นายเวร  เรียกกันว่า หลวงนายศักดิ์

หลวงสิทธิ์  นายเวร  เรียกกันว่า หลวงนายสิทธิ์

หลวงฤทธิ์  นายเวร  เรียกกันว่า หลวงนายฤทธิ์

หลวงเดช  นายเวร  เรียกกันว่า หลวงนายเดช

คุณหลวงถามว่าสังกัดเวรใดมิใช่ฤๅ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 587  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 09:29


เล่าว่า   ท่านทั้งสองอยู่เวรหลวงนายศักดิ์ (ครุฑ)


หลวงนายศักดิ์ (ครุฑ) ผู้นี้ ปรากฏชื่ออยู่ในเพลงยาวพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ แต่งโดยคุณสุวรรณ
ภายหลังอีกประมาณ ๒๐ ปี ต่อมา ในรัชกาลที่ ๔ ท่านก็กินตำแหน่ง ยมราช เสนาบดีกรมเมือง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 588  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 10:02

        คุณหลวงที่นับถือมีความจำที่เลิศ   นึกว่าเผลอค่ะ


        เมื่อจุลศักราช ๑๒๒๔ (พ.ศ. ๒๔๐๕)  ก.ศ.ร. กุหลาบ  สึกจากวัด  และขออนุญาตนายโหมด อมาตยกุลพิมพ์หนังสือกฎหมายโหมดขึ้น

ตั้งใจจะพิมพ์ ๑๖๐ เล่ม  เพื่อแจกในวันเกิดของตน   ที่หน้าแรกของคำนำเขียนว่า   "หนังสือกฎหมาย  พระคัมภีรพระธรรมศาสตรกิจโกศล" ื  

เรียกว่าพิมพ์เป็นการจำเพาะที่บ้านหมอบรัดเล             บรัดเลพิมพ์ไม่ทันเวลา    เสร็จมาเล่ม ๑  ๑๔ เล่ม และเล่ม ๒  ๑๔ เล่ม   บรัดเลอาสา

รับเป็นผู้พิมพ์ครั้งที่สองอีก ๓๖๐ เล่ม        จึงขอแท่นพิมพ์ไปพิมพ์ต่อ


        ต่อมาเจ้าของโรงพิมพ์แห่งหนึ่งที่ได้รับแจกหนังสือไป  ได้สร้างปกสวยออกแบบทันสมัยขึ้น   และด้านบนของปกหน้าเขียนว่า   "กฎหมายนายกุหลาบ"  

กดเป็นลายเส้นตัวเขียนลึกลงบนปกกระดาษแข็งสีทอง  ตกแต่งด้วยลายเรขาคณิต


        หนังสือเล่มนี้ก็โดนเก็บแบบอัดแน่นในตู้ไม้เนื้อแข็ง    กว่าจะออกมาสู่อากาศภายนอกก็ประมาณ ๑๐ ปีมานี้เอง  

        มีคนเห็นหนังสือเล่มนี้ไม่กี่คน      ต่างพากันเรียกว่ากฎหมายนายโหมดต่อ ๆ กันไปเพราะไม่เคยเห็นนั่นเอง

ก.ศ.ร. กุหลาบยังพิมพ์หนังสือให้นายโหมดอีกหนึ่งครั้ง    ใครต่อใครได้รับแจกก็เก็บใส่ตู้โดยเร็ว  เพราะถ้อยความหมิ่นประมาทขุนนางผู้ใหญ่รายหนึ่ง              

        บรัดเลก็พิมพ์หนังสือกฎหมายออกมาเรื่อยๆตามความต้องการของตลาด  รวม ๑๑ ครั้งได้



        ก.ศ.ร. กุหลาบ   รักการพิมพ์มาก    ตอนทำสยามประเภทก็พิมพ์สยามประเภทในโอกาสพิเศษต่าง ๆ อยู่เสมอ   จึงทำให้นับกันไม่ถูก

ว่ามีกี่เล่ม



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 589  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 10:10

ท่าทางคุณเพ็ญฯ และอีกหลายจะยังติดใจเรื่องมหาดเล็กอยู่  อย่ากระนั้นเลย

ลองอีกสัก ๒ คำถามดีกว่า

๑. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จางวางมหาดเล็กมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ มีทั้งหมด ๕ ข้อ อะไรบ้าง

๒. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มหาดเล็กเวรใดได้รับเงินเดือนสูงที่สุด  เพราะเหตุใด

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 590  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 10:12



        หนังสือเล่มนี้ก็โดนเก็บแบบอัดแน่นในตู้ไม้เนื้อแข็ง    กว่าจะออกมาสู่อากาศภายนอกก็ประมาณ ๑๐ ปีมานี้เอง  

        มีคนเห็นหนังสือเล่มนี้ไม่กี่คน      ต่างพากันเรียกว่ากฎหมายนายโหมดต่อ ๆ กันไปเพราะไม่เคยเห็นนั่นเอง

ก.ศ.ร. กุหลาบยังพิมพ์หนังสือให้นายโหมดอีกหนึ่งครั้ง              

        บรัดเลก็พิมพ์หนังสือกฎหมายออกมาเรื่อยๆตามความต้องการของตลาด  รวม ๑๑ ครั้งได้


        ก.ศ.ร. กุหลาบ   รักการพิมพ์มาก    ตอนทำสยามประเภทก็พิมพ์สยามประเภทในโอกาสพิเศษต่าง ๆ อยู่เสมอ   จึงทำให้นับกันไม่ถูก

เรียนคุณวันดีที่เคารพ อย่างน้อยข้าพเจ้าก็ได้เคยเห็นหนังสือที่ท่านกล่าวมานี้แล้ว ตื่นเต้นมาที่ได้เห็นว่า ก.ศ.ร. เป็นบุคคลที่เก่งกล้าสามารถพิมพ์หนังสือได้ดีขนาดนี้ ยังจะขอบคุณเจ้าของหนังสือที่ให้ข้าพเจ้าดูมิรู้ลืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 591  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 11:17

นี่ถ้าคุณหลวงถามไปยังสยามประเภท เกี่ยวกับประวัติ ก.ศ.ร. คงได้รับคำตอบดังนี้ เช่น ก.ศ.ร. เคยตอบให้กับผูใช้ลายเซ็นต์ "นายอยากรู้จักโคตรนายกุหลาบ" ว่า

"จงทราบเป็นนัย ๆ เอาเองเทอญ หรืออยากรู้ให้ละเอียดจงไปกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นราชศักดิสโมสรดูเถิดจะรู้ตลอดได้"  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 592  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 11:22

นี่ถ้าคุณหลวงถามไปยังสยามประเภท เกี่ยวกับประวัติ ก.ศ.ร. คงได้รับคำตอบดังนี้ เช่น ก.ศ.ร. เคยตอบให้กับผูใช้ลายเซ็นต์ "นายอยากรู้จักโคตรนายกุหลาบ" ว่า

"จงทราบเป็นนัย ๆ เอาเองเทอญ หรืออยากรู้ให้ละเอียดจงไปกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นราชศักดิสโมสรดูเถิดจะรู้ตลอดได้"  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ออกขุนตอบอย่างนี้  แสดงว่าอยากทำท่าอัษฎางคประดิษฐ์อีกสัก ๒-๓ ครั้งใช่หรือไม่  จะได้อวยพรให้สมใจ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 593  เมื่อ 12 ก.ค. 12, 11:41


   
        อ้าว!       ท่านขุนอย่าๆไปประมาทหมิ่นอาลักษณ์เดี๋ยวต้องโดนเปรียบเทียบปรับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 594  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 03:27



เตียงของพระเอกนางเอกคู่ไหนในวรรณคดีที่แคบที่สุด   จนกระทั่งพระเอกบอกว่าปูพรมกับพื้นก็ได้

ถามหนุ่มสาว


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 595  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 15:37

มีคำถามด่วนมาจากสหายซึ่งอยู่ต่างจังหวัด 
อยากทราบเรื่องอะไรสักเรื่อง  สหายบอกว่า เคยอ่าน
แต่ตอนนี้จำไม่ได้ เพราะอ่านมานานมากแล้ว
จำนึกได้เลาๆ ว่า  เป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๒   
ขุนนางคนหนึ่ง  คำประพันธ์  อาวุธ  สิ่งก่อสร้างริมน้ำ  และพาหนะลอยน้ำ

ท่านผู้ใดนึกออก  กรุณาตอบให้ด้วย  เผอิญช่วงผมมีภารกิจ
ต้องไปตรวจเอกสารหลายแห่ง  หวังว่าจะมีผู้มีน้ำใจมาตอบ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 596  เมื่อ 13 ก.ค. 12, 15:52

ใช่คำประพันธ์บทนี้ไหมหนอ

เรือเอ๋ยเรือแล่น         ยาวสามเส้นสิบห้าวา
จอดไว้หน้าท่า          คนลงเต็มลำ


 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 597  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 08:48

ใช่คำประพันธ์บทนี้ไหมหนอ

เรือเอ๋ยเรือแล่น         ยาวสามเส้นสิบห้าวา
จอดไว้หน้าท่า          คนลงเต็มลำ


 ฮืม


หาถูกต้องตามที่สหายต้องการไม่

สหายบอกว่า คำประพันธ์ ที่ว่านั้น เป็นกลอน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 598  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 13:42

ใบ้ให้อีกนิด 

ถึง..........................................
.................................คอย.......
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 599  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 16:14

เดาว่าเป็น นิราศเมืองแกลง ของท่านสุนทรภู่ ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

ถึงยามสองล่องลำนาวาเลื่อน  พอดวงเดือนดั้นเมฆขึ้นเหลืองเหลือง 
ถึงวัดแจ้งแสงจันทร์จำรัสเรือง  แลชำเลืองเหลียวหลังหลั่งน้ำตา 
เป็นห่วงหนึ่งถึงชนกที่ปกเกล้า  จะแสนเศร้าครวญคอยละห้อยหา 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 38 39 [40] 41 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง