คุณหลวงและคุณ

- เดิมกุหลาบขาว ท่านชื่อ พร้อม วิศิษฏ์ศรี หรือเปล่าครับ บางตำรา ว่าเช่นนั้น
เป็นเช่นนั้นครับ เธอมาเปลี่ยนชื่อเป็น กอบกาญจน์ เมื่อภายหลัง
ตัวอักษรพิเศษในการเขียนหนังสือไทยโบราณนั้น ที่หายไปเพราะระบบการพิมพ์เข้ามาแทนพื้นบางส่วนของการเขียน
การเขียนหนังสือไทยสมัยก่อน ใช้วิธีการผูกอักษรเช่นเดียวกับการเขียนอักษรขอม (ทั้งบรรจงและหวัด)
เมื่อมีการประสมพยัญชนะกับสระบนหรือสระหลัง จะเชื่อมเส้นอักษรกับสระนั้นเข้าด้วยกัน
พยัญชนะบางตัวหางยาว เช่น ช ฟ ส ศ ซ ป ฬ ฝ เมื่อเขียนเชื่อมกับสระ ท่านจะเขียนหางทีหลัง
หรือเขียนหางในรูป ไม้ทัณฑฆาต เช่น บ์าง พ์าก เป็นต้น หรือบางตัวก็เขียนหางใส่ไปในกลางตัวอักษร
การเขียนเชื่อนอย่างนี้ คงปรากฏในการสร้างตัวพิมพ์ไทยสมัยแรกๆ หลังจากนั้นก็ค่อยๆ หายไป
จากเหลือแต่ในการเขียน และต่อมาเมื่ออิทธิพลของการพิมพ์มีมากขึ้น การเขียนเชื่อมอักษรก็หายไปจาการเรียนการสอนภาษาไทย
กระนั้นการเขียนเชื่อมอักษรก็ยังมีอยู่ในหมู่อาลักษณ์ แต่นับวันก็จะหายไปเรื่อยๆ
ตัวอักษรพิเศานี้ นอกจากการเชื่อมอันเกิดจากการประสมอักษรแล้ว ยังมีการใช้อักษรพิเศษสำหรับเขียนย่อคำ
เพื่อให้เขียนได้เร็วจดได้ไว นอกจากนี้ หากได้อ่านเอกสารล้านนาและอีสาน จะมีการใช้อักษรพิเศษเขียนใบลาน
สมุดข่อย กระดาษสา (พับสา) ให้เห็นอยู่บ่อยๆ เพื่อประหยัดพื้นที่ในการเขียน เพราะวัสดุในการจดบันทึกหายาก
ซึ่งมีใช้ตัวยิ่งกว่าของไทยภาคกลาง
ระบบการพิมพ์สมัยใหม่ ทำให้การเขียนแบบเก่าบางอย่างทำไม่ได้หรือทำได้ยาก อย่างเช่น การเขียนวันเดือนข้างขึ้นข้างแรม
การเขียนเลขทับศก การเขียนตีนครุ การใช้ปีกกาเข้าควงข้อความ เป็นต้น การเขียนอย่างเก่าจึงถูกปรับเปลี่ยนไป
เป็นอย่างอื่นที่เรียงหรือพิมพ์หรือเขียนหรืออ่านง่ายกว่า นานๆ เข้าคนก็ไม่รู้จักและอ่านไม่ออก
อักษรพิเศษอย่างนี้ ที่ทำงานของผมยังมีท่านผู้ใหญ่ใช้อยู่บางคน ผมเองก็ใช้บ้างเหมือนกัน
