เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 42
  พิมพ์  
อ่าน: 227676 ปริศนาเรื่องเก่าบางเรื่องจากผู้อาวุโส
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 15:59

ท่านผู้อาวุโสคนเ้ดิม  เคยถามผมไว้หลายเดือนล่วงมาแล้วว่า

"เออ  คุณพอรู้เรื่องการเข้าเวรนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวัง
ในเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสตามหัวเมืองบ้างหรือไม่
เขาวางคนเข้านอนประจำซองในพระบรมมหาราชวังกันตรงใดบ้าง
เกณฑ์คนเพื่อการนี้มากน้อยสักเท่าไร "

ท่านทั้งหลาย  พอจะช่วยผมหาคำตอบได้บ้างไหม ฮืม ฮืม


อนุสนธิจากคำถามข้างต้น  ยังไม่มีผู้ใดตอบได้ชัดเจนละเอียดถึงใจท่านผู้อาวุโส

ผมจึงพยายามค้นจนได้เอกสารเรื่องการนอนประจำซองในพระบรมมหาราชวังในสมัยรัชกาลที่ ๕
มาดังนี้  (อักขรวิธีโดยมากตามต้นฉบับ)



๐มีพระบรมราชโองการสั่งให้สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมหลวงจักรพรรดิพงษ
อยู่รักษาพระบรมมหาราชวังแลพระนคร  สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมหลวงจักรพรรดิพงษ
ท่านเสดจมาประทมในพระบรมมหาราชวัง  แลทรงจัดเจ้าต่างกรมแลพระองคเจ้า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อย
นอนประจำซองชั้นใน ชั้นกลาง แลชั้นนอก  เจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงตรวจสายนอกรอบกำแพงพระบรมมหาราชวัง
เจ้าพระยาศรีพิพัฒรัตนราชโกษานอนประจำพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย  
ที่เก๋งวรสภาภิรมย์  กลางคืน  พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมขุนภูวไนยนฤเบนทราธิบาล  ๑  
สมเดจพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมหลวงจักรพรรดิพงษ ๑  
พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ ๑  
พระเจ้าน้องยาเธอ  พระองค์เจ้ากมลาศนเลอสรร ๑  รวม ๔  
พระเจ้าน้องยาเธอซึ่งไม่ได้ตามเสดจพระราชดำเนินผลัดเปลี่ยนกัน

หลวงนฤศรราชกิจ ๑  หลวงสารภัณฑวิสูต ๑  รวม ๒  พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย  มหาดเ,้ก ๔
ชาวที่ใหญ่ขุนหมื่น ๒  ชาวที่บันทมขุนศรีราชอาศนปลัด ๑  ขุนหมื่น ๑  รวม ๘

พระที่นั่งดุสิดาภิรมย  หลวงวิจารณราชาอัด ๑ ขุนหมื่น ๔  ไพร่ ๒๗  รวม  ๓๒ คน
ขุนหมื่น ๒  นายเวน  ๑ ไพร่  ๓๑  รวม ๓๔ คน

พระที่นั่งราชฤาดี  ขุนหมื่น ๒  นายเวน ๑  ไพร่  ๓๑  รวม ๓๔ คน  

ทิมดาบกรมวัง  พระยาบำเรอภักดิ ๑  พระยาบำรุงราชถาน ๑  จ่าโชนเชิดประทีป ๑  นายเวน  ๑
ตำรวจ ๔  ขุนหมื่น ๒  หลวงริดชานน ๑  หลวงนนทเสน ๑  ขุนทิพไพรชน  ๑  ขุนสกลมณเฑียร ๑  รวม ๑๔  คน...
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 16:01

ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๒๙  พ.ศ. ๒๔๑๐ เป็นปีโสกันต์ ของพระองค์ค่ะ... ยิงฟันยิ้ม

เป็นไปได้ครับ   หรือจะว่าเป็นปีที่เสด็จมาทรงปฏิสนธิในครรภ์เจ้าจอมมารดาสังวาสย์ก็ได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 16:10

กรมพระตำรวจสมทบ  พระยานุชิตชาญไชย ๑  นายเวน ๑  ขุนหมื่น ๑๐  รวม  ๑๒  คน
ปลัดคู่ชัก ๘  รวม ๒๐  (คน)

ห้องชาวที่ใหญ่  ขุนนรินรักษาปลัด ๑  นายเวน ๑  ขุนหมื่น ๓  รวม ๕ คน

ห้องพระอาลักษณ  นายเวน ๑  ขุนหมื่น ๓  รวม ๔ คน

กรมพระตำรวจพลพรรซ้าย  จ่าโผนวิ่งชิงไชย ๑  นายเวน ๑  ขุนหมื่น ๓ รวม ๕ คน

ทิมดาบตำรวจหลัง  กรมพระตำรวจพลพรรขวา  จ่าเผ่นผยองยิ่ง ๑  นายเวน ๑  ขุนหมื่น ๑
พรร ๔  รวม  ๗  คน  

สังฆาศนะศาลา  กรมสังฆการี  ขุนหมื่น ๒  โรงแสง  กรมแสงปืนกัน  ขุน ๑  หมื่น ๑  กำนัน  ๒  รวม ๔ (คน)

กรมแสงโรงใหญ่เกณฑหัด  พระอัคเนศร ๑  พระศรสำแดง ๑  พนักงาน ๑  พันโรง ซ้าย ๑  ขวา ๑
ทหารแคตลิงกัน ๑๘  จีนชมภู่  ไพร่ซ้าย ๑  ขวา ๕  รวม  ๓๓  คน

หอแก้ว  กรมโหร  นายเวน ๑  ขุนหมื่น ๑  รวม ๒ คน

กรมพระภูษามาลา  หลวงราชาพิมล  ๑  หมื่น ๑  กำนัน  ๕  รวม  ๗  คน...

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 16:17

สหายของท่านผู้อาวุโสฝากถามท่านผู้อาวุโสมาว่า

"เอ คุณ...การตั้งชื่อเรือนี่  เขามีกฎมีเกณฑ์ในการตั้งหรือเปล่า"

เคยได้ยินว่ามีนะ   แต่จำไม่ได้แล้วว่าอ่านเจอที่ไหน  เดี๋ยวให้คุณหลวงช่วยหาให้ดีกว่า"

แล้วภาระก็มาถึงผม  อย่ากระนั้นเลยผมค้นคำตอบให้ท่านได้แล้ว
แต่ท่านทั้งหลายล่ะ  หาคำตอบได้ไหม เศร้า
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 16:21

การตั้งชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือ มีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ คือ  ยิงฟันยิ้ม
1. เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ เช่น ร.ล.ปิ่นเกล้า
 2. เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ เช่น ร.ล.คีรีรัฐ ร.ล. ตาปี
 3. เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่นร.ล.สุโขทัย ร.ล.รัตนโกสินทร์
 4. เรือเร็วโจมตี
      - เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี)  ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น ร.ล.ราชฤทธิ์ ร.ล.วิทยาคม ร.ล.อุดมเดช
      - เรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล
 5. เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤทธิ์ในนิยาม หรือวรรณคดีเกี่ยวกับดำน้ำ เช่น ร.ล.มัจจานุ
 6. เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ เช่น ร.ล.บางระจัน ร.ล.หนองสาหร่าย
 7. เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ เช่น ร.ล. อ่างทอง ร.ล.สิมิลัน
 8. เรือตรวจการณ์
     - เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งตามชื่ออำเภอชายทะเล เช่น ร.ล.หัวหิน ร.ล.แกลง
     - เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณ ที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เช่น ร.ล.พาลี ร.ล.คำรณสินธุ
 9. เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ เช่น ร.ล.จันทร ร.ล.ศุกร์
10. เรือหน้าที่พิเศษ ตั้งชื่อด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ เหมือนกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ชื่อเรือนั้นให้ขอพระราชทาน และให้ใช้ว่าเรือหลวงนำหน้า
11. เรือขนาดเล็ก (เล็กกว่า 200 ตัน) ให้ตั้งชื่อด้วย อักษรย่อตามชนิดและหน้าที่ของเรือ มีหมายเลขต่อท้ายอักษร กองทำเรือเป็นผู้ตั้งให้ เช่น เรือ ต. 91 เรือ ต. 991
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 16:39

ดีมากครับ คุณดีดีตอบว่องไวรวดเร็ว  แต่จะไม่อ้างแหล่งข้อมูลสักหน่อยหรือครับ
เพื่อความหนักแน่นของของข้อมูล ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 16:51

^ ข้อมูลจาก "ระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง พ.ศ. 2527" (ข้อที่ 9)
ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2527 พลเรือเอกประพัฒน์ จันทวิช ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามค่ะ  ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 17:05

คำถามต่อไป  เป็นคำถามสั้นๆ  แต่ทำเอาผมอึ้ง  คำถามนี้น้องคนหนึ่งถามมา
ถามว่า

"ช้ำ" คืออะไร ฮืม ฮืม ฮืม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 17:09

การตั้งชื่อเรือ ยังมีอีกนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
อันนี้เป็นเรือ ยาว ที่เขาใช้แข่งกันค่ะ

การตั้งชื่อเรือ มีคติความเชื่อหลายหลายวิธีที่เป็นพื้นฐานในการตั้งชื่อเรือแล้วแต่ความนิยมหรือความเชื่อของเจ้าของเรือแต่ละลำยึดถือ แต่โบราณนิยมเชิญแม่ย่านางประทับทรงเพื่อขอให้ตั้งชื่อให้ รวมทั้งถามถึงอาหาร เครื่องแต่งกาย และสีเสื้อ-ผ้าแพรประดับ โขนเรือให้ถูกโฉลกกับแม่ย่านางเพื่อเป็นมงคลแก่ทีมเรือให้ประสบชัยชนะในการแข่งขัน ส่วนใหญ่นิยมตั้งชื่อว่าเจ้าแม่ กับ เทพ นำหน้า โดยมีมูลเหตุของที่มาของชื่อเรือ พอประมวลสรุปได้ดังนี้ เหตุที่เรียกว่า เจ้าแม่ เพราะเชื่อว่าแม่ย่านางเรือเป็นผู้หญิง ส่วนที่เรียกว่า เทพ นั้น เพราะถือกันว่านางไม้หรือนางตะเคียนเป็นเทวดาประเภทหนึ่งหรือรุขเทวดาประจำต้นไม้นั้นเอง

1.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามท้องถิ่นที่พบต้นไม้ อาทิ เรือเทพธนูทอง พิษณุโลก เพราะไม้จากเขาธนูทอง นครไทย เรือเพชรร่มเกล้า จ.พิจิตร ไม้จากเขาบ้านร่มเกล้า จ.พิษณุโลก เรือคำบอนสายฝน จ.กาฬสินธุ์ บริเวณที่พบไม้อยู่กลางป่าบอนเวลาโค่นเกิดฝนตก เป็นต้น
2.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามลำน้ำที่เกี่ยวข้องกับเรือ อาทิ เรือเจ้าแม่ตาปี จ.สุราษฎร์ธานี แม่ย่านางชื่อตาปีมาเข้าฝันประกอบกับวัดที่ขุดเรืออยู่ริแม่น้ำตาปีจึงใช้ชื่อเป็นมงคลนามว่า เจ้าแม่ตาปี, เรือขุนน่าน จ.น่าน ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน, เรือเจ้าแม่หลังสวน จ.ชุมพร มีแม่น้ำหลังสวนเป็นสายโลหิต, เรือน่านนที จ.พิจิตร มีแม่น้ำน่านไหลผ่านหน้าวัดท่าฬ่อ เป็นต้น
3.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามจังหวัดที่เรือสังกัดอยู่ เช่น เรือศรีอยุธยา, เรือศรีอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา, เรือเทพปทุม วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี, เรือเทพพิษณุ วัดใหญ่ จ.พิษณุโลก, เรือศรีอ่างทอง จ.อ่างทอง, เรือศรีสุราษฎร์ จ.สุราษฎร์ธานี, เรือคนสวยโพธาราม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี, เรือศรีวัดโบสถ์ วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก, เรือหงส์สุพรรณ เรือเพชรสุวรรณ จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น
4.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามตัวละครสำคัญในวรรณคดีไทย เช่น เรือไกรทอง วัดหัวดง จ.พิจิตร, เรือจหมื่นไวย์ เรือวันทอง เรือพลายแก้ว วัดตะเคียนเลื่อน จ.นครสวรรค์ เรือขุนช้าง สุพรรณบุรี เป็นต้น
5.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามนามของวัด หรือหมู่บ้านที่ขุดเรือ หรือสังกัดอยู่ อาทิ เรือศรสุวรรณ วัดสุวรรณราชหงส์ อ่างทอง, เรือหงส์อาษา วัดหาดอาสา จ.ชัยนาท, เรือหงส์นคร เรือหงส์ทอง วัดเกาะหงส์ จ.นครสวรรค์, เรือศรีจุฬามณี วัดจุฬามณี อยุธยา, เรือหงส์ชัยสิทธิ์ วัดสวนหงส์ สุพรรณบุรี
6.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามชื่อบุคคลสำคัญที่เคารพนับถือ เช่น เรือศรีสุริโยทัย วัดจุฬามณี อยุธยา, เรือเทพจักรี วัดสว่างมนัส อ.หลังสวน จ.ชุมพร, เรือพรพระเทพ วัดบางทราย จ.พิษณุโลก, เรือเทพนรสิงห์ จ.สระบุรี เป็นต้น
7.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามนาม หรือชื่อและสกุลเจ้าของ หรือผู้อุปถัมภ์เรือ เช่น เรือขุนเพ่ง จ.พิจิตร เจ้าของเรือคือ กำนันเพ่ง ขวัญอันอินทร์, เรือขุนโจ้ จ.พิษณุโลก เจ้าของเรือคือ อาจารย์ขวัญทอง สอนศิริ หรือ (อ.โจ้), เรือขุนจอด จ.พิจิตร เจ้าของเรือชื่อจอด (สจ.ปรีชา ชูกร), เรือสุขสวัสดิ์ จ.สิงห์บุรี โดยสกุลสุขสวัสดิ์อุปถัมภ์เรือ, เรือคำประกอบ จ.นครสวรรค์โดยคุณสวัสดิ์ คำประกอบ, เรือชัยนาจ ของสจ.อำนาจ นพขำ จ.ปทุมธานี เป็นต้น
8.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามหน่วยงานที่ฝีพายสังกัดอยู่ เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงาน เช่น เรือตระเวณสายชล กก.ตชด.31 จ.พิษณุโลก, เรือบันเทิงทัพนาวา ทภ.3 จ.พิษณุโลก, เรือเจ้าแม่ประดู่ทอง เรือยุทธการนาวา เรือยุทธการนาวี เรือราชนาวี เรือเจ้าแม่ประดู่เงิน ในสังกัดกองทัพเรือ, เรือค่ายจุฬาภรณ์ใช้ฝีพายนาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส, เรือสาวน้อยเกียรติวงศ์ ฝีพาย ตชด.41 ค่ายเกียรติวงศ์ จ.ชุมพร, เรืออัครโยธิน ของกรมสื่อสารทหารบก ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นต้น
9.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามตาม สปอนเซอร์ที่อุปถัมภ์เรือ เช่น เรือเบียร์สิงห์ จ.สระบุรี (เบียร์สิงห์สนับสนุน), เรือเป็บซี่ จ.นครสวรรค์ (บ.เสริมสุข ส่งเข้าแข่งขัน), เรือกระทิงแดง จ.ปทุมธานี (กระทิงแดงสนับสนุน), เรือแม่ทองหล่อ (บ.แม่ทองหล่อสนับสนุน), เรือนำสุราษฎร์ (บ.นำสุราษฎร์ เทรดดิ้ง สนับสนุน)
10.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามบุพการีของผู้เป็นเจ้าของเรือเพื่อบูชาคุณ เช่น เรือสาวดวงแก้ว อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี นำเอามงคลนามของคุณแม่ดวงแก้ว สุขสวัสดิ์ มาตั้งชื่อเรือ เป็นต้น
11.ตั้งชื่อให้เป็นเดช อำนาจ เป็นที่หวั่นเกรงของคู่แข่งขัน อาทิ เรือเดชสมิง วัดแหลมทราย จ.ชุมพร, เรือสมิงสาว วัดบัวหลวง จ.ปทุมธานี, เรือสมิงรามัญ จ.ปทุมธานี, เรือขุนปราบ จ.ปทุมธานี, เรือพญาอินทร์ จ.พิษณุโลก เป็นต้น
12.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามนามของสัตว์ในวรรณคดีไทย อาทิ เรือพญาราชสีห์ วัดหาดมูลกระบือ จ.พิจิตร, เรือราชสีห์ทอง เรือราชสีห์เพชร วัดบางมะฝ่อ จ.นครสวรรค์, เรือช้างแก้ว เรือม้าแก้ว วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง, เรือพญานาคราช วัดบางมูลนาค จ.พิจิตร เป็นต้น
13.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามนิมิต หรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นขณะขุดเรือ อาทิ เรือนกกาเหว่าแว่ว จ.นครสวรรค์ เนื่องจากตามเสียงนกกาเหว่าไปจนพบต้นไม้ต้นนี้ จึงนำมาขุดเป็นเรือยาว, เรือเจ้าแม่ตะเคียนทอง จ.พิษณุโลก เนื่องจากนางตะเคียนเข้าฝันขณะขุดเรือ, เรือศรีรัตนโกสินทร์ จ.อ่างทอง สร้างในโอกาสฉลอง 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2525
14.ตั้งชื่อเป็นมงคลนามตามเนื้อความที่พระเกจิอาจารย์ตั้งให้เป็นมงคลนาม เช่น เทพส่องแสง วัดเจดีย์หอย จ.ปทุมธานี, เรือเทวฤิทธิ์ วัดบางพระ จ.นครปฐม เป็นต้น

ข้อมูลจาก สมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย ค่ะ http://www.rcat.or.th/traditional.html
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 17:15

ช้ำ หมายถึง ชาผสมกาแฟ ในสัดส่วนอย่างละครึ่ง แล้วใส่นม  
(คำว่าช้ำ ภาษาใต้แปลว่าปน หรือผสม)

แก้วไหน ช้ำ เอ่ย... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 20:17

รบกวนถามคุณหลวงเล็กดังนี้

ได้อ่านหนังสือพระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีอยู่ช่วงหนึ่งทรงว่า "...ที่เมืองพนมเปญ ยังมียิงปืนรุ่ง อย่างธรรมเนียมกรุงเทพฯ ครั้งรัชกาลที่ ๔ และ ๕..."

ซึ่งได้ทวนเอกสาร ๒ ฉบับว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ต้นฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับสำนวน พ.ศ. ๒๕๑๕ ข้อความตรงกันว่า "ยิงปืนรุ่ง" .... ช่วยอธิบายให้ด้วยครับ (ปืนเที่ยงมิต้องนะครับ บ้านข้าพเจ้าไกลปืนเที่ยง  แลบลิ้น)
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 29 ก.พ. 12, 20:48

รบกวนถามคุณหลวงเล็กดังนี้

ได้อ่านหนังสือพระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีอยู่ช่วงหนึ่งทรงว่า "...ที่เมืองพนมเปญ ยังมียิงปืนรุ่ง อย่างธรรมเนียมกรุงเทพฯ ครั้งรัชกาลที่ ๔ และ ๕..."

ซึ่งได้ทวนเอกสาร ๒ ฉบับว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ต้นฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับสำนวน พ.ศ. ๒๕๑๕ ข้อความตรงกันว่า "ยิงปืนรุ่ง" .... ช่วยอธิบายให้ด้วยครับ (ปืนเที่ยงมิต้องนะครับ บ้านข้าพเจ้าไกลปืนเที่ยง  แลบลิ้น)

อ่า ถามคุณหลวงเล็ก  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 15:14

มี "ปืนรุ่ง" ด้วย นึกว่ามีแต่ "ปืนเที่ยง"   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 15:49

ระหว่างรอ ท่านเจ้าของกระทู้มาตอบเรื่อง "ปืนรุ่ง" หนูดีดีส่งคำถามมาให้บ้างค่ะ

มีคำถามจากเด็กรุ่นใหม่ ไม่ค่อยได้เคยเห็นพระพุทธรูปปางแปลกๆ  ยิงฟันยิ้ม
เอารูปมายื่นให้ดูแล้วถามว่า "ปาง ไรน่ะ ยืนแปลกๆ "
ท่านใดพอจะทราบบ้างคะ ว่าพระพุทธรูปในภาพนี้ ปางอะไร และเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอย่างไร...


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 20:42

พระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท

สมัยที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์อยู่ ครั้งหนึ่งพร้อมด้วยพระสงฆ์ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จสู่เกาะลังกา ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงอธิษฐานแล้วประทับรอบพระบาทไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าศาสนาของพระองค์จะมาเจริญรุ่งเรืองที่เกาะลังกานี้ (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา) อนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่า รอยพระบาทของพระพุทธเจ้านั้น จะปรากฏในที่ที่พระองค์ทรงอธิษฐานไว้เท่านั้น และไม่มีอะไรสามารถทำลายรอยพระพุทธบาทได้

ภาพถ่ายและเนื้อหาทั้งหมด นำมาจาก พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป ๘๐ ปาง วัดกระทุ่มเสือปลา ซอยอ่อนนุช ๖๗ แขวงประเวศ เขตประเวศ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 42
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง