เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111666 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 13:09

http://www.baanjomyut.com/library/thaihouse/04.html



ในฐานะที่ปัตตานีเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางทะเลมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านจึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย คือ นอกจากจะเป็นเรือนไม้ยกพื้นใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะร่วมทางสถาปัตยกรรมพื้นฐานของภูมิภาคศูนย์สูตรแล้ว ยังมีลักษณะรูปทรงหลังคาที่โดดเด่นเป็นพิเศษ โดยทั่วไปหลังคาเรือนไทยมุสลิมจะมี 3 ลักษณะ ดังนี้คือ

1.   หลังคาปั้นหยา หรือหลังคาลีมะ คำว่า “ลีมะ” แปลว่า “ห้า” หมายถึงหลังคาที่นับสันหลังคาได้ 5 ล้น เป็นรูปทรงหลังคาที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมของชาวตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยานี้นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ และพบได้ทั่วไปในจังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี

2.   หลังคาจั่วมนิลา ชาวมุสลิมเรียกว่า “บลานอ” ซึ่งหมายถึง ชาวฮอลันดา หลังคาแบบนี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของชาวฮอลันดา เป็นหลังคาที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับหลังคาปั้นหยา แต่เป็นหลังคาที่มีจั่วติดอยู่ เพื่อระบายอากาศและดูสวยงาม หลังคาบลานอนี้จะมีรูปแบบที่สวยงามกว่าแบบอื่น เหมาะที่จะมีจั่วอย่างน้อย 3 จั่ว โดยมีหลังจั่วแฝด และมีจั่วขนาดเล็กสร้างคลุมเฉลียงหน้าบ้านติดกับบันไดทางขึ้น เพื่อใช้รับรองแขกอย่างไม่เป็นทางการ นอกยากนั้น ช่างไม่ยังแสดงฝีมือเชิงช่างในการประดิษฐ์ลวดลายด้วยการแกะสลักไม้ ปูนปั้น เป็นลวดลายประดับลวดลายประดับยอดจั่ว และมีการเขียนลายบนหน้าจั่ว หรือตีไม้ให้มีลวดลายเป็นแสงตะวัน

3.   หลังคาจั่ว ชาวมุสลิมเรียกว่า “แมและ” เชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยภาคกลาง แต่จะมีข้อแตกต่างไปจากภาคกลาง ตรงที่มีปั้นลมปีกนกที่ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบสถาปัตยกรรมจากมาเลเซีย ไม่เหมือนปั้นลมไทย ซึ่งปลายปั้นลมทั้งสองข้างจะมีเหงาปั้นลมประดับอยู่


หลังคาลีมะ ทำไมเรียกลีมะเฉยๆไม่ได้ ต้องเอาคำว่าหลังคาปั้นหยามาขยายความด้วย  และในรูปที่นำมาประกอบในหน้าเวป ก็ไม่ใช่หลังคาทรงปั้นหยา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 13:11

http://talubun.go.th/thai/?name=page&file=page&op=%C1%D1%CA%C2%D4%B4%C3%D2%C2%D2

มัสยิดรายา หรือมัสยิดเก่าตั้งอยู่ถนนลูกเสือ ติดเขาสลินดงบายู ในเนื้อที่ 2 ใน 3 งาน 48 วา สร้างเมื่อปี 2428 โดยสถาปนิกชาวชวา และชาวท้องถิ่น ใช้เวลาสร้าง 1 ปี ซึ่งเป็นมัสยิดหลัง-แรกของเมืองสายบุรี ลักษณะตัวอาคารมัสยิด เป็นสี่เหลี่ยมหลังคามี 3 ช่วง ช่วงที่ 1,2 หลังคาทรงปันหยา(ลีมะ) ปูด้วยกระเบื้องเล็ก ช่วงที่ 3 เป็นส่วนที่จะต่อเติมจากช่วงที่ 1 จะมีโดมเล็ก ๆ ยอดบนสุดจะเป็นแก้วกลม และด้านขวาจะเป็นระเบียง หลังคากระเบื้องดินเผา ผนังฉาบปูนเปลือกหอย (อยู่ในความดูแลของเทศบาลตำบลตะลุบัน)

พ.ศ. ตรงกับสมัยรัชกาลที่๕ อาคารหลังนี้อายุน้อยกว่าพระตำหนักปั้นหยาในวัดบวร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 12:29

จำได้ว่าบ้านสไตล์บาหลีเป็นที่นิยมกันฮือฮาอยู่ช่วงหนึ่งในไทย  บ้านจัดสรรใหม่ๆในตอนนั้นก็ทำแบบบาหลี     ส่วนสปาที่แพร่หลายรวดเร็วเป็นไฟลามทุ่ง นิยมทำแบบบาหลีกันมาก    รีสอร์ทชายทะเลก็ทำแบบบาหลี
แต่ไม่รู้ว่าบาหลีจริงหรือว่าบาหลีประยุกต์ 
ใช้อินทรเนตรหาบ้านบาหลีมาลงให้ดูกันค่ะ  พบว่าหลังคาทรงปั้นหยาทั้งนั้นเลย
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=28-03-2008&group=16&gblog=36
   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 09:26

อ้างถึง
ท่านนวรัตน์ครับ

อยากจะขอทราบความเห็นเพื่อเก็บเป็นความรู้อยู่ 2 ข้อ คือ

- บ้่านเรือนของไทยที่เรียกได้ว่าเป็นแบบรัตนโกสินทร์มีบ้างใหมครับ เอาแบบที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งน้อยที่สุด
- ผมเชื่อว่าแม้เราจะเอาแบบอย่างสถาปัตยกรรมจากตะวันตกมามาก มีอะไรบ้างหรือส่วนใดบ้างที่เราไม่ได้ตามและยังคงรักษาทัศนคติแบบของเราไว้

แวะเข้าซอยซะนาน ขอกลับมาที่คำถามของท่านตั้ง

คำถามแรก มันก็คงมีแน่แหละครับ แต่ที่เหลืออยู่ก็เป็นเฉพาะวังและวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๓ขึ้นไป พวกนี้ ช่างยุคนั้นจะเอาแบบฉบับมาจากสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา แต่ดัดแปลงให้เรียบง่ายลง(เพราะยังไม่รุ่มรวยเท่าก่อนกรุงแตก) ครั้นมาถึงสมัยที่พอจะมีเงินมีทองสร้างให้หรูเลิศบ้าง แฟชั่นฝรั่งก็เริ่มระบาดมาถึงเสียแล้ว

รูปที่ท่านตั้งเห็นต้องร้องอ๋อนี้  ยกตัวอย่างขั้นมาก็เพียงเพื่อประกอบความเห็นข้างต้น สองตึกนี้ ถึงจะสร้างในยุคปลายรัตนโกสินทร์ แต่ผังพื้น(แบบฝรั่ง)เป็นแปลนเดียวกัน  แต่หน้าตาออกคนละแบบ ด้านบนเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์  ด้านล่างเป็นอยุธยา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 09:31

อ้างถึง
ผมเชื่อว่าแม้เราจะเอาแบบอย่างสถาปัตยกรรมจากตะวันตกมามาก มีอะไรบ้างหรือส่วนใดบ้างที่เราไม่ได้ตามและยังคงรักษาทัศนคติแบบของเราไว้

มีสถาปนิกระดับปรมาจารย์หลายท่านที่ยังออกแบบสถาปัตยกรรมไทยตามขนบประเพณีทั้งหลัง  โดยใส่ “ลูกเล่น” อันสวยงามที่ท่านประดิษฐ์ขึ้นเองต่างจากบูรพาจารย์ในอดีตอย่างเห็นได้ชัด พอจะจำแนกว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยร้ช กาลที่๙โดยเฉพาะได้

แต่คนทั่วไปคงไม่สามารถแยกแยะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 09:36

ความจริง เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยที่เราคิดขึ้นมาเอง และโดดเด่นที่สุดในสายตาชาวโลก ก็คือรูปทรงหลังคา และการยกฐาน หรือใช้เสาสูง เพื่อให้พื้นอาคารอยู่ระดับเหนือน้ำ ในฤดูน้ำหลาก

ปัจจุบัน สถาปนิกได้พยายามออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยให้ดูเป็นไทย มีให้เห็นมากมาย ทั้ง The good, the bad, and the ugly.  บางทีก็แค่เอารูปแบบหลังคาไทยไปครอบ หรือเอาช่อฟ้ากาแลไปแปะ แล้วอ้างว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยแบบประยุกต์

ฝรั่งบางคน ก็เอาเจดีย์(แบบเก็บอัฐิ)ไปตั้งประดับกลางโรงแรม เพื่อหวังจะให้ดูเป็นไทยๆเลย

ครูบาอาจารย์ของผมสอนว่า สถาปัตยกรรมที่ดีต้องมีสัจจะ เช่นจะทำหลังคาให้มีเอกลักษณ์ไทย ก็ต้องเป็นหลังคาที่ใช้คุ้มแดดคุ้มฝนให้ตัวอาคารจริงๆ ไม่ใช่ทำหลังคาคอนกรีตแล้วแล้วเอาอะไรไทยๆไปตั้งไว้ อาคารที่ไม่มีสัจจะ ก็สักแต่ว่าเป็นสิ่งก่อสร้าง มิใช่สถาปัตยกรรม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 09:40

โดยส่วนตัวผมเห็นว่า สถาปัตยกรรมไทยในสมัยปัจจุบัน ก็คือ สถาปัตยกรรมที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อสนองความต้องการของคนในยุคนี้ โดยนำวัสดุก่อสร้างร่วมสมัยมาประกอบเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภูมิอากาศ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทย อย่างสมเหตุสมผล โดยไม่จำเป็นต้องใส่ชฎา

ส่วนจะสถาปนิกคนไหน จะทำได้สวยงามหรือไม่ ก็ว่ากันไปตามรสนิยมอันเป็นปัจเจก

สำหรับประเภทของอาคารตามความต้องการของคนในยุคนี้ แม้จะหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วที่ดีๆ และเราๆท่านๆจะมีโอกาสได้เห็นง่ายหน่อยก็คือพวกรีสอร์ทหรือโรงแรมซึ่งต้องการดึงดูดชาวต่างชาติด้วยสถาปัตยกรรมอันแตกต่างจากความจำเจในบ้านเมืองของเขา แต่เมื่อเข้าไปอยู่อาศัยภายในแล้ว ต้องให้ความรู้สึกคุ้นเคย ปลอดภัยที่จะนอนให้หลับลนิทได้เหมือนนอนในบ้านของตนเอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 09:43

ภาพนี้เอามาให้ดูเฉยๆ ไม่ได้ชักชวนให้ไปตำหนิท่าน แต่สถาปัตยกรรมไทยที่ไปอยู่ผิดที่ผิดทาง ก็เหมือนเอาช้างไปอยู่ขั้วโลก 

ถ้าในลักษณะสร้างให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จะถูกหิมะคลุมก็พอจะดูเป็นของแปลกตาดี แต่ถ้ามุ่งเป็นที่อยู่อาศัยจริงๆ เจ้าของนอกจากจะต้องรวยแล้ว ยังต้องใจเด็ดมากมายอีกด้วยนะครับ ผมว่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 10:04

พอๆกับอาคารโรมันในประเทศไทยหรือเปล่าคะ    สร้างไว้เผื่อติดแอร์ทั้งหลัง

ภาพขวามือเป็นบ้านไทยในอดีต  ประมาณรัชกาลที่ 6    หน้าต่างประตูยาวและกว้างเมื่อเทียบกับขนาดผนัง   เพื่อรับลม   มีช่องลมเพื่อระบายความร้อนและลมถ่ายเทได้   


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 10:32

^
ในด้านของความชินตาแล้ว ก็ไม่ค่อยจะรู้สึกแปลกถิ่นแปลกที่เท่าไหร่แล้วนะครับ ที่ไหนในโลกก็สร้างกัน คนมีเงินเหลือเฟือเขาย่อมไม่สนใจเรื่องการประหยัด ในเรื่องการเสริมอัตตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 10:49

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 12:12

ผมได้รับข้อความหนึ่งจากทางหลังไมค์ครับ
ขอบพระคุณท่านผู้ประท้วง ในความเมตตาที่จะไว้หน้าผมไม่ให้แตกกระจายในที่สาธารณะ  ท่านเป็นคนน่ารักมาก
ส่วนข้อความมีดังนี้ครับ

จาก: hobo   เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:01

ขอประท้วงอาจารย์ Navarat C ครับ อ่านแล้วใจคอไม่ค่อยดีเลย จะว่าผมเรื่องมากก็ได้

ถึงจะสร้างในยุคปลายรัตนโกสินทร์ แต่ผังพื้น(แบบฝรั่ง)


ผมเห็นว่า อาจจะมีท่านอื่นคิดเห็นทำนองนี้เช่นกัน จึงขออรรถาธิบายดังนี้

อาคารที่เห็น เป็นหอนอน+ ห้องเรียน+ ห้องสันทนาการ+ ห้องอาหาร รวมกัน ของนักเรียนประจำตามแบบฉบับ Public school ของอังกฤษ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงนำมาเป็นต้นแบบของโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์  ซึ่งปัจจุบันมีชื่อซึ่งพระราชทานให้ใหม่ในรัชกาลต่อมา เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ขององค์ผู้พระราชทานกำเนิดว่า วชิราวุธวิทยาลัย นั้น

อาคารตามประโยชน์ใช้สอยนี้  Public schoolของอังกฤษเรียกว่าHouse  ความหมายตรงๆคือเป็นบ้าน(หลังใหญ่) แต่วชิราวุธวิทยาลัยเรียกว่าคณะ มีอยู่๔คณะ การจัดแผนผัง(Planning)ของอาคารนั้น  เนื่องจากไม่เคยมีการทำอาคารที่สนองประโยชน์แบบเอนกประสงค์อย่างนี้มาก่อน กล่าวตรงๆก็คือ จึงได้เอาผังพื้น(Plan)ที่เขาสร้างHouseมาเป็นแนวทาง แล้วดัดแปลง แบ่งผังพื้นให้กระจายตัวอาคารออก เพื่อให้ลมโกรกได้ทุกส่วนอย่างสถาปัตยกรรมเมืองร้อนที่ดี  เพราะสมัยเมื่อสร้างไม่มีระบบปรับอากาศใช้

นั่นคือที่มาของ ถึงจะสร้างในยุคปลายรัตนโกสินทร์ แต่ผังพื้น(แบบฝรั่ง) ในความหมายของผมครับ



บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 12:44

ขอประทานโทษครับ ผมหมายถึง คำว่า 'ปลาย' ต่างหาก มันรู้สึกแปลกๆ
ยิ่งตอนนี้บรรยากาศไม่ค่อยจะดีนะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 13:19

อ้าว ตายจริง สื่อผิดความหมายไปลิบ

คำว่าสมัยรัตนโกสินทร์ผมร่ำเรียนมาว่าจบลงตรงที่สิ้นสุดรัชกาลที่๗  เป็นสมัยทางศิลปวัฒนธรรมครับ ไม่(ค่อย)เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง

ปลายรัตนโกสินทร์ของผมเริ่มตั้งแต่ปลายรัชกาลที่๖ จนสิ้นรัชกาลที่๗

สมัยต่อมาเขาเรียกว่าสมัยใหม่ ตรงกับคำว่าModern

นึกว่าทราบๆกันแล้ว
ขออภัยครับ คราวหลังจะได้ระมัดระวังยิ่งขึ้น
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 15:47

มาต่อให้จบไป ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย ตามหัวข้อของท่านตั้ง ซึ่งไม่ทราบว่าบัดนี้หนีแผ่นดินไหวและซึนามิ ไปกินอาหารป่าอยู่ในเหมืองรัตนมณีที่จังหวัดไหน

เมื้อกี้ผมระบุว่า สถาปัตยกรรมไทยในสมัยปัจจุบัน ก็คือ สถาปัตยกรรมที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อสนองความต้องการของคนในยุคนี้ โดยนำวัสดุก่อสร้างร่วมสมัยมาประกอบเป็นเอกลักษณ์ไทย ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภูมิอากาศ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทย อย่างสมเหตุสมผล โดยไม่จำเป็นต้องใส่ชฎา นั้น อยากจะขอยกตัวอย่างสักหน่อย

ส่วนตัวเห็นว่าสถาปัตยกรรมของโรงแรมรายาวดี จังหวัดกระบี่ ได้รับพระราชทานรางวัลเหรียญทอง สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี๒๕๓๗ คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์  เข้าแนว “ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย”ที่สุด

หลังคาที่ว่านี้ มาจากรูปทรงที่คนไทยรู้จัก และใช้กันมาแต่โบราณเท่าที่มีความจำเป็น ช่องแสงเหนือหน้าต่างเป็นลายพระอาทิตย์ที่ปรากฏตามหน้าบันของบ้านเก่าๆตามภูมิภาค


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 20 คำสั่ง