เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111645 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 02:46

อ้างถึง
...วิธีการวางแนวสันของหลังคา บ้านในอิทธิพลของจีนนั้นจะวางแนวสันของหลังคาขนานไปกับแนวถนนหน้าบ้าน...

ปกติแล้วเรามักจะทำประตูหันออกถนน เพื่อจะได้เข้าออกสะดวก

ประกอบกับธรรมเนียมการสร้างเรือนจีนเขานิยมทำประตู หรือหน้าเรือนทางด้านกลางของสันเรือน

ดังนั้นสันเรือนจีนจึงมักอยู่ขนานกับถนน

ขณะที่ทางเข้าออกของเรือนไทย (เทียบเคียงกับโบสถ์) มักจะทำทางเข้าออกทางด้านหุ้มกลอง (ด้านปลายของสันเรือน)

ดังนั้นสันเรือนไทยจึงมักอยู่ในสภาพที่ตั้งฉากรับกับถนน
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 03:16

อ้างพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต

http://rirs3.royin.go.th/word25/word-25-a9.asp

ปั้นหยา [-หฺยา] น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง ๔ ด้าน  ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา.

(เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะ หลังคาเช่นนั้น).


เท่าที่ผมศึกษา คนไหหลำในไทยยุคแรกจะไปอยู่ในกิจการค้าไม้ คนที่ทำธุรกิจก่อสร้างในไทยมักจะเป็นชาวกวางตุ้ง

โดยมีชาวแต้จิ๋วที่หนีความลำบากจากบ้านเกิดมาทำงานโยธาหรือกุลี

ในอดีตคนจีนส่วนใหญ่มากับเรือค้าข้าว ที่ไม่ใคร่แวะเกาะไหหลำ คนไหหลำจึงมีไม่มากนัก

ดังนั้นภาษาไหหลำจึงไม่ใคร่ส่งผลต่อภาษาไทยเท่าใดนัก

เสียง ปั้นหยา อาจจะใกล้เคียงกับเสียงจีนกลาง ซึ่งในอดีตแทบจะไม่ได้มีอิทธิพลต่อภาษาไทยเพราะเป็นสำเนียงของจีนฝ่ายเหนือ หรือสำเนียงของพวกข้าราชการจีนที่ไม่ใคร่มามีปฏิสัมพันธ์อะไรกับชาวบ้านไทย ส่วนพยางค์ท้ายของซีปันหยาที่ออกเสียงจีนกลางนั้น  จีนหมินหนันไม่ได้ออกเสียงเป็นหยา หากแต่เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ไม่ว่าจะ เสียง gh หรือ ng
บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 01:59

อ้าง หนังสือ " เรือนเครื่องผูก " โดย รศ.เสนอ นิลเดช , สนพ.เมืองโบราณ ,  ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง กย. 2547 } หน้า 62

ปั้นหยา มาจากคำว่า ปันเยอ ของเปอร์เซีย คือหลังคาสี่มุมล้ม หลังคาชนิดนี้มีมากที่อินโดนีเซีย และเข้ามาทางภาคใต้ของไทย...

จากหนังสือ 台湾古建筑图解事典 โดย 李乾郎 พบว่า ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างก็มีการสร้างหลังคาลักษณะปั้นหยามาแต่อดีตเช่นกัน  โดยจีนมีศัพท์ เรียกหลังคาอย่างทรงปั้นหยาว่า 四注 ( ซื่อ จู้ ) หรือ 寄栋 ( จี้ โต้ง )
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 06:50

ขอบคุณที่เข้ามาร่วมอภิปรายค้นหาที่มาของคำว่าหลังคาปั้นหยากันครับ

ตามไปดู 四注 ( ซื่อ จู้ )

https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1024&bih=540&gbv=2&oq=%E5%AF%84%E6%A0%8B+&aq=f&aqi=&gs_l=img.12...3319l3319l0l4441l1l1l0l0l0l0l94l94l1l1l0.frgbld.&q=%E5%AF%84%E6%A0%8B&orq=%E5%AF%84%E6%A0%8B+#hl=th&gbv=2&tbm=isch&sa=1&q=%E5%9B%9B%E6%B3%A8&oq=%E5%9B%9B%E6%B3%A8&aq=f&aqi=g-sS2g-S1&aql=&gs_l=img.12..0i10i24l2j0i24.241480l241480l0l243361l1l1l0l0l0l0l78l78l1l1l0.frgbld.&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.,cf.osb&fp=199fdc41a81867e4&biw=1024&bih=540
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 06:51


寄栋 ( จี้ โต้ง )

ไม่เห็นมีสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่เป็นแบบฉบับแท้ๆ นอกจากหลังคาบ้านที่สร้างกันใหม่ๆ กับสถาปัตยกรรมแบบใหม่ของญี่ปุ่น

https://www.google.co.th/search?tbm=isch&hl=th&source=hp&biw=1024&bih=540&gbv=2&oq=%E5%AF%84%E6%A0%8B+&aq=f&aqi=&gs_l=img.12...3319l3319l0l4441l1l1l0l0l0l0l94l94l1l1l0.frgbld.&q=%E5%AF%84%E6%A0%8B&orq=%E5%AF%84%E6%A0%8B+
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 07:11

สถาปัตยกรรมแบบฉบับของอินโดนีเซียที่คนไทยรู้จักส่วนมากก็มาจากชวา และก็สุมาตรา ซึ่งมีลักษณะจำเพาะดังในภาพข้างล่าง
ที่เห็นเป็นหลังคาแบบปั้นหยา(ล่างกลาง)นั้น เป็นสถาปัตยกรรมของบาหลี ซึ่งเป็นเกาะอยู่สุดทิศใต้ ไกลมากคนไทยโบราณไม่รู้จัก บาหลีก็มีศิลปวัฒนธรรมของตนที่โดดเด่น และต่างกับชวาและสุมาตราโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นฮินดู ไม่ใช่มุสลิม และไม่เกี่ยวอะไรกับเปอร์เซีย

ด้วยความเคารพครูบาอาจารย์ที่อ้างอิงชื่อท่านมา

ภาษาเปอร์เซียจะมีคำว่าปันเยอ หรือปั้นหย่า หรือไม่ ส่วนตัวผม ถ้าคนไทยมุสลิมของเรา ไม่ได้เป็นผู้นำในการเรียกมัสยิด หรือเรือนที่มีหลังคาทรงดังกล่าวว่า ทรงปั้นหยา แล้ว  ย่อมยากที่จะปลงใจเชื่อได้


บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 10:12

บ่อยครั้ง เวลาได้ศัพท์ที่เป็นศัพท์เทคนิคผมพึ่งพาการหาของกูเกิลไม่ได้

กับ 四注 ก็คงเหมือนกัน แต่ถ้าเติมคำว่า顶 ที่แปลว่า หลังคา เข้าไป

เป็น 四注顶 ก็พอจะมีรูปโผล่มาให้เห็นบ้างครับ (ถ้าไม่คร้านเสียก่อน)

ส่วนข้ออ้างว่าเรือนปั้นหยา เข้ามาเมืองไทยผ่านทางภาคใต้ ส่วนตัวแล้วผมค่อนข้างเชื่อตามนั้น

เพราะผมเคยทำงานที่ปักษ์ใต้อยู่ช่วงหนึ่ง พบว่า เรือนเก่าๆหน่อยของทางนั้น มักจะปลูกหลังคาเป็นปั้นหยา

ขณะเดียวกัน ข้อสันนิฐานว่า ปั้นหยา มาจาก เอสปันย่า ผมกับรับฟัง  

หากแต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะดันว่า ศัพท์แสงนั้นผ่านเข้าไทยโดยช่างจีน

ส่วนการหาภาพสนับสนุนหรือคัดค้าน ผ่านการหาด้วยกูเกิล นั้น

ก็เอาไว้เป็นข้ออ้างตามความถนัดของท่านเองก็แล้วกัน ผมไม่ชำนาญ

จะว่าไป ผมได้ความรู้และความเพลิดเพลิน จากภาพ และเนื้อหาที่ท่านนำเสนอมากที่เดียว

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 13:27

อ้างถึง
บ่อยครั้ง เวลาได้ศัพท์ที่เป็นศัพท์เทคนิคผมพึ่งพาการหาของกูเกิลไม่ได้

กับ 四注 ก็คงเหมือนกัน แต่ถ้าเติมคำว่า顶 ที่แปลว่า หลังคา เข้าไป

เป็น 四注顶 ก็พอจะมีรูปโผล่มาให้เห็นบ้างครับ (ถ้าไม่คร้านเสียก่อน)

ไม่คร้านครับ ไม่คร้าน ตามไปดูมาแล้ว ได้ผลดังนี้

https://www.google.co.th/search?hl=th&sugexp=frgbld&cp=3&gs_id=3&xhr=t&q=%E5%9B%9B%E6%B3%A8%E9%A1%B6&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.,cf.osb&biw=1024&bih=540&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=A7qLT5y-HMq8rAeeg4WoCw


อินเทอเน็ตนั้น ง่าย ย่นเวลา และให้ความรู้กว้างขวางกว่าการเข้าไปค้นข้อมูลในห้องสมุดมาก เชื่อได้หรือเชื่อไม่ได้ก็ต้องใช้วิจารณญาณเป็นกรณีย์ๆไป ก็เหมือนกับการหยิบหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งขั้นมาอ่าน ก็มิใช่จะเชื่อได้เพียงดูชื่อผู้แต่ง มันขึ้นกับเงื่อนไขอื่นๆประกอบด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 14:10

มุสลิมทางภาคใต้ของเราส่วนใหญ่(ยกเว้นสตูล) ถือนิกายซุนนี ซึ่งเผยแพร่มาจากอาหรับแถบอัฟริกาเหนือทางตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลลิปปินส์

ส่วนน้อย จะเป็นมุสลิมที่มากับพ่อค้าชาวเปอร์เซีย ถือนิกายชีอะฮ์ ที่คนไทยเรียกเจ้าเซ็น ซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยแต่โบราณกาลสมัยกรุงศรีอยุธยา คนไทยมุสลิมส่วนนี้จึงอยู่ในภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่
 
ในอดีตมุสลิมสองนิกายนี้จะไม่ถูกกัน และทำสงครามกันเสมอระหว่างชาวอาหรับและชาวเปอร์เซีย แม้ในปัจจุบันก็ยังฮึ่มฮั่มกันอยู่

ดังนั้น การที่จะบอกว่าบ้านเรือนของมุสลิมภาคใต้ จะรับเอาศัพท์ทางศาสนาอิสลามนิกายของเปอร์เซีย เรียกวัตถุที่ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดี(กุฏี)ว่า ปั้นหย่า มาใช้เรียกหลังคาอาคารของตน จึงเป็นสิ่งที่ผมเชื่อยากแบบยกกำลังสองเข้าไปอีกครับ

อาคารหลังคาปั้นหยาที่คุณน้ำเพลิงไปเห็นคราวไปทำงานที่ภาคใต้ที่บอกว่าเป็นอาคารเก่านั้น ต้องทราบด้วยว่าเก่ากี่ปี อายุเท่าอาคารสมัยร้ชกาลที่๓ที่หลังคาแบบนี้เริ่มปรากฎเรียกไหม ส่วนใหญ่อาคารเก่าบ้านเรา ไม่ว่าไม้ว่าตึก ถ้าบำรุงรักษาไม่ถึงขั้นจริงๆ ห้าสิบปีก็ชำรุดทรุดโทรมแทบสิ้นสภาพแล้ว

อาคารของชาวบ้านสมัยก่อน แทบจะร้อยละร้อยจะมุงหลังคาด้วยจากหรือแฝก เขาจะไม่กล้าทำหลังคาทรงปั้นหยาหรอกครับ เดี๋ยวรั่วระเบิดเถิดเทิง ทำทรงจั่วสูงๆง่ายกว่า สบายใจกว่า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 14:20

อ้างถึง
หากแต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะดันว่า ศัพท์แสงนั้นผ่านเข้าไทยโดยช่างจีน

ส่วนการหาภาพสนับสนุนหรือคัดค้าน ผ่านการหาด้วยกูเกิล นั้น

ก็เอาไว้เป็นข้ออ้างตามความถนัดของท่านเองก็แล้วกัน ผมไม่ชำนาญ

จะว่าไป ผมได้ความรู้และความเพลิดเพลิน จากภาพ และเนื้อหาที่ท่านนำเสนอมากที่เดียว

คุณน้ำเพลิงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับผมหรอกครับ อ่านผ่านตาไว้เท่านั้นก็พอ

แค่บอกว่าได้ความรู้และความเพลิดเพลิน จากภาพ และเนื้อหาที่ผมนำเสนอ ผมก็พอใจแล้ว
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 14:57

เรื่องปั้นหยามาจากแขกเจ้าเซ็น
ผมเข้าใจว่าต้นความคิดจะเป็นสมเด็จฯ กรมพระยานริศ
และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงนะครับ

ถ้าคุณ NAVARAT.C หรือคุณ Namplaeng พอมีเวลาว่าง
จะลองพลิกหาดูในสาส์สมเด็จก็น่าจะได้
ถ้าเป็นดังทรงไว้จริง เรื่องมุสลิมในกรุงศรีอยุธยา
เป็นมุสลิมที่มาจากเปอร์เชียกับการค้า ก็ถูกต้องอย่างที่ทรงไว้


เข้ามาคุยด้วย เพราะเห็นว่าเป็นชุดหลักฐานที่เคยคุ้นอยู่บ้าง
แต่หลังคาทรงปั้นหยาจะมาจากไหนผมเองก็จนใจครับ
โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า ถ้าช่างคนไหนรู้จักปรุงหลังคาของอาคารทรงมณฑป ให้เป็นทรงบุษบกได้
แต่ไม่รู้จักปรุงหลังคาของอาคารทรงศาลา ให้เป็นทรงปั้นหยาได้... ก็อย่าได้เรียกว่าช่างเลย... ดักดานเสียเต็มประดาแล้ว



ปล. ถ้าจำไม่ผิด ที่ พิพิธภัณฑ์ของ San Carlos Uni ในเกาะเซบู
มีหม้อเก็บกระดูกหลายใบ อายุสักพันกว่า - 2,000 ปีได้
ที่ทำฝาเป็นรูปหลังคาอาคารนะครับ

บางใบก็เป็นทรงปั้นหยาเรียบๆ
บางใบก็ใส่ช่อฟ้าขดๆ หน้าตาเหมือนยากันยุงไว้ที่ปลายจั่วล้ม 2 ฝั่ง ฝั่งละอัน
บางใบพิเศษหน่อยก็เอาช่อฟ้าหน้าตาเหมือนยากันยุงมาไขว้ตัดกันเป็นรูปกาแลก็มี
ถ้าคุณ NAVARAT.C สนใจลองหาภาพหม้อชุดนี้ดูอาจจะได้หลักฐานเพิ่มครับผม


ปล.2 ดูเหมือนว่าในอินเดียอาคารทรงศาลาที่ทำยอดเป็นโดมทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนหลังคาทรงปั้นหยา
จะพบมาตั้งแต่กลุ่มเทวาลัย 5 หลัง ที่ มาวลีปุรัมนะครับ
อายุอานามศิลปะปัลลวะที่นั่นน่าจะสัก 1,500 ปีเห็นจะได้ครับผม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 17:13

อ้างถึง
ถ้าช่างคนไหนรู้จักปรุงหลังคาของอาคารทรงมณฑป ให้เป็นทรงบุษบกได้
แต่ไม่รู้จักปรุงหลังคาของอาคารทรงศาลา ให้เป็นทรงปั้นหยาได้... ก็อย่าได้เรียกว่าช่างเลย... ดักดานเสียเต็มประดาแล้ว

ทำได้ครับ แต่ไม่ทำ เพราะเห็นว่าทรงศาลาแบบเดิม ซึ่งมีจั่วให้ใส่ช่อฟ้า ใบระกา  มีหน้าบัน สวยงามถูกรสนิยมคนไทยกว่า

ถ้าย้อนไปดูต้นๆ จะพบว่า รูปทรงของสถาปัตยกรรมจะเป็นเช่นไรนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุก่อสร้าง อันเป็นอมตะวาจาของครูบาอาจารย์สถาปนิก ผมให้ความสำคัญที่วัสดุมุง ที่เป็นตัวบังคับขอบเขตของรูปทรงหลังคา ให้ต้องสูงชัน หรือแบนราบลงมาได้ วัสดุมุงที่ใช้ครอบสันหลังคา เช่นตะเฆ่สัน และตะเฆ่ราง ก็สำคัญยิ่ง หลังคาจะสวยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคุ้มแดดคุ้มฝนด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 18:49

เข้ามาโกยความรู้
เพิ่งเคยได้ยินคำว่า ตะเฆ่สัน และตะเฆ่ราง  (แน่ละ  คำนี้ไม่เคยมีสอนในคณะอักษรศาสตร์)
ใช้อินทรเนตรส่องหา ได้รูปมา เลยเอามาเผื่อคนที่ไม่เคยได้ยินเหมือนดิฉันค่ะ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 22:13

อันนี้ขอถามด้วยข้าพเจ้าไม่เชี่ยวชาญเรื่องสถาปัตยกรรมไทยเท่าใดนัก

สรุปแล้วหลังคาปั้นหย่านี้จะมีทรงแบบปีระมิด หรือว่าเป็นทรงไม่มีหน้าจั่ว เข้าหากันสี่ด้านแล้วมีสันหลังคาตรงกลาง เพราะแต่ละอย่างจีนจะมีคำเรียกทรงหลังคาไว้หมด

เผื่อจะลองค้นคว้ามาเพิ่มเติม

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 22:50

หลังคาทั้งทรงแบบปีระมิด กับทรงไม่มีหน้าจั่ว เข้าหากันสี่ด้านแล้วมีสันหลังคาตรงกลาง เรียกว่าหลังคาทรงปั้นหยาทั้งคู่ครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง