เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111634 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 23:37

วิเคราะห์ได้ยอดเยี่ยม ทั้งสองท่านเลยค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
วัดนี้อยู่ใต้สุดของประเทศไทยค่ะ อยู่ที่จ.นราธิวาส ชื่อวัดชลธาราสิงเห ค่ะ
เขาบอกว่า เป็นวัดที่สร้างแบบมลายูพุทธ แห่งเดียวในไทยค่ะ
ในวัดนี้ยังมีหลังคาสวยๆ อีกหลายที่ เช่น หอระฆัง  ศาลากลางน้ำ...




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 03 มี.ค. 12, 21:22

แตกหน่อไปอีกหน่อยนะครับ
ลักษณะเด่นของหลังคาแบบทางภาคใต้ คือ มักจะมีเสาสั้นๆอยู่ที่ยอดจั่วเป็นสัญลักษณ์ จะมีชื่อเรียกขานว่าอย่างไรผมไม่ทราบ
สำหรับภาคเหนือนั้นก็ดุจะมีกาแลเป็นสัญลักษณ์ แต่ก็แปลกที่กาแล (สำหรับผมนั้น) ดูจะเป็นที่กล่าวถึงและทำกันมากเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง (ผมอาจจะผิดถนัดเลยที่กล่าวเช่นนี้) กาแลนี้ไม่อยู่ในความทรงจำของผมเลยในช่วงเด็ก มาเริ่มรู้จักก็เมื่อประมาณ พ.ศ.2500+แก่ๆนี่เอง หรืออาจจะเป็นงานช่างเฉพาะถิ่นก็เป็นได้ จำได้ว่าไม่เคยเห็นในเชียงราย พะเยา งาว ลำปาง เชียงคำ ปง จุน ฯลฯ และจำได้ไม่ค่อยแม่นแล้วว่าในช่วง พ.ศ.2510+ ดูเหมือนจะเคยเห็นอยู่ในเฉพาะเขตแพร่ น่าน และเฉพาะในตัวเมืองเท่านั้น แม้กระทั่งในเขต อ.ใกล้ตัวเมืองเช่น ร้องกวาง สอง ลอง สูงเม่น เด่นชัย ก็จำได้ว่าไม่สะดุดตา ครั้งแรกที่รู้จักก็คือที่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.2508 แล้วก็จำได้คลับคลัายคลับคลาว่าไม่เคยเห็นใน จ.ลำพูนอีกด้วย ทั้งนี้ก็อาจจะเป็นเพราะว่าในสมัยนั้นผมเองยังไม่ได้ตระเวณเที่ยวมากพอก็ได้นะครับ
 
อย่างไรก็ตาม กาแล ได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของบ้านเรือนต่างๆว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา

ท่านผู้ไดพอจะขยายข้อมูลและความรู้เพิ่มเติมมากกว่าได้นี้บ้างครับ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 15:01

ดิฉันเคยไปเชียงใหม่ตอนเด็กๆเหมือนกัน   นึกไม่ออกว่ามีกาแลตามบ้านช่องหนาตาเหมือนสมัยนี้
เอาหลังคาบ้านเก่าที่ลำปางมาให้ดู   ชื่ออาคารกาญจนวงศ์  เจ้าของเดิมเป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า  สร้างไว้อยู่อาศัยและเป็นร้านเย็บผ้า  ด้วย  ก่อด้วยปูนทั้งหลัง  ตกแต่งด้วยไม้ฉลุแบบขนมปังขิง  มีลวดลายปูนปั้นนูนเหนือประตูฝีมือช่างจากมัณฑะเลย์ 
สังเกตว่าบ้านนี้หันหลังคาด้านข้างให้ถนนหน้าบ้าน แบบบ้านจีน   ไม่มีมุขและหน้าจั่ว


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 18:37

ครับผม
ในถิ่นที่เรียกว่าเป็นล้านนาของไทยเรานี้ มีศิลปะพม่าโดยช่างชาวพม่าปะปนอยู่พอสมควร ทั้งวัดและบ้านเรือนประชาชน น่าสนใจอยู่ตรงที่อิทธิพลของศิลปะพม่าเหล่านี้ดูจะจำกัดอยู่แต่ในเฉพาะเขตเมืองใหญ่ ไม่ค่อยจะได้พบเห็นในตัวเมืองระดับอำเภอ แสดงว่าในสมัยที่พม่าเขามาอิทธิพลอยู่นั้นมีขอบเขตค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในเฉพาะเมืองใหญ่ และคนไทยก็ดูจะไม่เห็นความสวยงามในศิลปะแบบพม่าเอาเสียเลย จึงไม่ค่อยจะมีปรากฏให้เห็นตามบ้านเรือนของชาวบ้าน
บ้านของคนพม่าที่เป็นพวกม่านและพวกมอญจะมีลักษณะเด่นอยู่ประการหนึ่ง คือ ด้านหนึ่งของบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านจั่วหรือด้านข้างจะต้องมีช่องยื่นออกเป็นเหมือนช่องหน้าต่างปิดทึบ ช่องนี้จะทำไว้เป็นที่วางพระและวัตถุที่เคารพบูชา คนพม่าจะเอาพระพุทธรูปใส่ไว้ในตู้เล็กๆ วางไว้ที่ช่องนี้ ถ้าจำไม่ผิด ด้านในจะหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเสมอ จะว่าบ้านของคนไทยในทุกภาคจะไม่มีช่องยื่นในลักษณะนี้ก็ไม่ได้ ก็มีอยู่ประปรายในทุกถิ่นทุกภาค แต่ไม่เป็นลักษณะประจำ

ใต้ถุนของบ้านแบบพม่ามักจะไม่ยกสูงชนิดเดินลอดได้สะบายๆเหมือนบ้านของคนไทยในทุกภาค และอีกประการหนึ่งที่ดูจะเป็นลักษณะที่ต่างจากบ้านของคนไทย คือพม่านิยมที่จะสร้างกระไดขึ้นบ้านอยู่ด้านจั่วหลังคาและอยู่ภายใต้ร่มของหลังคา บ้านของชาวบ้านรุ่นเก่าๆของภาคเหนือก็อาจดูจะคล้ายๆกันแต่ดูเหมือนว่าจะมีแนวของกระไดอยู่นอกแนวของหลังคา และมีเป็นจำนวนมากที่ทำหลังคาแยกเฉพาะส่วนที่เป็นกระำได
บ้านไทยภาคกลางเท่านั้นที่ดูจะมีเอกลักษณ์คือนิยมเอากระไดขึ้นบ้านไว้ด้านข้างของลาดเดอียงหลังคาด้านใดด้านหนึ่ง หากเป็นเรือนขนาดใหญ่จึงจะมีการทำหลังคาสำหรับกระไดโดยเฉพาะ

จะว่าไปก็ดูจะมีเฉพาะบ้านไทยของภาคกลาง (หรือแบบอยุธยา) ที่ทำหลังคาแบบสูงชันมีความลาดชันสูง ซึ่งคำอธิบายก็เพียงแต่บอกว่าเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากมีฝนมากจึงทำในลักษณะนี้เพื่อกันน้ำฝนไหลย้อนวัสดุที่มุงหลังคา ผมอดแปลกใจไม่ได้ที่แม้ในภาคใต้ซึ่งมีฝนตกชุกและเป็นลักษณะของฝนตกหนัก หลังคาก็ดูจะมีมุมลาดชันไม่มาก เหมือนๆกันกับหลังคาบ้านในภาคอื่นๆของไทย การใช้ว้สดุมุงหลังคาไม่ว่าจะเป็นตับคา (มีมากในทุ่งของภาคกลาง) ตับจาก (มีมากในภาคกลางตอนใต้และภาคใต้) ตับตองตึง (ภาคเหนือและอิสาน) การใช้ไม้แผ่น (ทุกภาค) หรือการใช้ต้นไผ่ผ่าครึ่งวางคว่ำสลับกันไปมา (ชาวบ้าน) หากวางซ้อนกันถี่มากหน่อย หลังคาก็จะไม่รั่ว หากเป็นพื้นที่มีลมแรงก็ใช้ไม้ไผ่ขัดแตะวางทาบทับไปอีกทีก็ช่วยได้ ปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันที่ฝนตกในแต่ละปีเท่าที่มีสถิติเก็บไว้ระหว่งพื้นที่ในภาคกลางและภาคอื่นๆ ก็ไม่แตกต่างกันมาก จะต่างกันก็ในเรื่องของความสามารถในการกักเก็บความชุ่มชื้นของดิน   

       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 19:29

นึกขึ้นได้อีกเรื่องหนึ่ง คือ คนไทยถือในเรื่องของทิศทางของหัวนอนปลายเท้า และไม่นอนขวางกระดาน

โดยลักษณะทางภุมิศาสตร์และภูมิประเทศ แม่น้ำทั้งหลายในประเทศไทยไหลอยู่ในแนวประมาณเหนือใต้ (ด้วยเหตุนี้กระมัง เราจึงมีคำว่าขึ้นเหนือและลงใต้ แทนที่จะเป็นไปเหนือไปใต้ ฮืม สมัยก่อนนั้นเราจะใช้เส้นทางคมนาคมตามเส้นทางแม่น้ำเป็นหลัก) และเกือบทั้งหมดจะไหลลงสู่ทิศไต้ มีน้อยที่ไหลขึ้นเหนือ ที่จำได้ก็ห้วยบ้องตี้ล่างซึ่งไหลเลาะเชิงเทือกเขาตะนาวศรีจากเขตต่อราชบุรีกับกาญจนบุรี (นึกถึงด่านบ้องตี้และด่านมะขามเตี้ย) และแม่น้ำเมย (พม่าเรียกว่าแม่น้ำสะโตง) ยกเว้นในภาคอีสานที่แม่น้ำจะสายใหญ่จะไหลไปทางตะวันออก
ห้วยที่ไหลลงสู่แม่น้ำทั้งหลายก็มักจะอยู่ในแนวทิศตะวันออกตะวันตก ผมสังเกตว่าบ้านเรือนแพนั้นมักจะสร้างอยู่ในแม่น้ำที่เป็นสายหลักและส่วนที่เป็นชุมชนสำคัญมักจะอยู่บริเวณที่แม่น้ำไหลในทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งจะทำให้ต้องหันหลังคาบ้านส่วนลาดเอียงเข้าหาแม่น้ำ จะหันหน้าจั่วชนแม่น้ำก็คงจะต้องเป็นบ้านที่ขวางทางน้ำและดูพิลึก ที่แน่ๆก็คือ ได้นอนตามยาวกระดานและหันหัวไปทางเหนือ เมื่อเดินขึ้นฝั่ง ตามสภาพก็ต้องไปทางตะวันออกหรือตะวันตก เส้นทางเดินกลายเป็นถนน บ้านก็จะหันจั่วเข้าถนน ก็จะได้นอนตามกระดานและหันหัวไปในทิศเหนือตามความเชื่อ สำหรับผม คิดว่าสภาพในปัจจุบันก็ยังคงพอจะเป็นในลักษณะนั้นอยู่มาก

เพ้อฝันไปมากหรือเปล่านี่ ฮืม 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 19:54

ไม่มีความรู้ค่ะ  ได้แต่เอาภาพบ้านพม่ามาประกอบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 06 มี.ค. 12, 20:00

ผมสังเกตว่าบ้านเรือนแพนั้นมักจะสร้างอยู่ในแม่น้ำที่เป็นสายหลักและส่วนที่เป็นชุมชนสำคัญมักจะอยู่บริเวณที่แม่น้ำไหลในทิศเหนือ-ใต้ ซึ่งจะทำให้ต้องหันหลังคาบ้านส่วนลาดเอียงเข้าหาแม่น้ำ จะหันหน้าจั่วชนแม่น้ำก็คงจะต้องเป็นบ้านที่ขวางทางน้ำและดูพิลึก ที่แน่ๆก็คือ ได้นอนตามยาวกระดานและหันหัวไปทางเหนือ เมื่อเดินขึ้นฝั่ง ตามสภาพก็ต้องไปทางตะวันออกหรือตะวันตก เส้นทางเดินกลายเป็นถนน บ้านก็จะหันจั่วเข้าถนน ก็จะได้นอนตามกระดานและหันหัวไปในทิศเหนือตามความเชื่อ สำหรับผม คิดว่าสภาพในปัจจุบันก็ยังคงพอจะเป็นในลักษณะนั้นอยู่มาก
 
ภาพการหันหน้าของเรือนแพ อย่างที่คุณตั้งอธิบาย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 08 มี.ค. 12, 20:07

นานๆจะมีผู้รู้มาให้ถามเรื่อง รัตนชาติ ...(รอกระทู้ใหม่อยู่ค่ะ) ขอถามก่อนว่า เพชรเหลี่ยมลูกโลก
ที่เห็นจากเครื่องประดับโบราณนั้นทำจากหินชนิดไหนค่ะ ส่วนใหญ่ มีที่เจียรจากเพชรจริงๆไหมค่ะ
เป็นตระกูลเดียวกับเพชรซีกหรือไม่ค่ะ

ขอยกไปกระทู้ใหม่เลยนะคะ
 
บันทึกการเข้า
ศิณาวรรณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 30 มี.ค. 12, 18:19

1.ปั้นหยา มาจากคำว่า แอส-ปัญญอน ใช่หรือเปล่า
2.บ้านทรงสเปญ กับ เรือนทรงปั้นหยา เหมือนกันหรือเปล่า
3.ไทยรับเอาสถาปัตยกรรม บ้านทรงสเปญ เข้ามาในยุค โคโลเนียล ใช่หรือเปล่า
4.สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เรือนปั้นหยา บ้านทรงสเปญ บ้านทรงขนมปังขิง
   สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกิส - เนเธอร์แลนด์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 30 มี.ค. 12, 21:53

ใครทราบ ช่วยตอบทีครับ
สมาคมสถาปนิกสยามน่าจะเป็นแหล่งที่ให้คำตอบได้ดี

คำถามเหล่านี้ คงจะเป็นเรื่องยืนยันได้อย่างหนึ่งตามนัยที่ผมได้กล่าวไว้ว่า เรามักจะมีคำบรรยาย (ในเชิงของรูปพรรณสัณฐาน) มากกว่าคำอธิบาย (ในเชิงฐานที่มาและที่ไป) ผมเคยเป็นผู้บรรยายและสอนหนังสือในระดับ Post Grad. มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง (นานพอควร) ได้พบมานานแล้วว่า องค์ความรู้ต่างๆที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดกันมานั้นมักจะเป็นในด้านของรูปลักษณ์มากกว่าในด้านของปรัชญา

ดีใจครับที่ได้เห็นลักษณะคำถามของคุณศิณาพรรณ ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะตอบได้
จะขอลองตอบแบบเดาจริงๆเลยนะครับ
ข้อ 1 น่าจะใช่ครับ
ข้อ 2 ผมว่าเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เราเอาแบบทรงแบบคร่าวๆมาแต่สร้างด้วยไม้
ข้อ 3 มีทั้งใช่และไม่ใช่ โคโลเนียลช่วงใด ฮืม เราคงเอามาจากภาคใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากฝรั่ง
ข้อ 4 ไม่มีความรู้ใดๆเลยครับ
 
สำหรับผมแล้ว บ้านทรงสเปญมีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ เป็นบ้านสองชั้น รูปบ้านมีทั้งทรงตรง มีเฉลียง (Balcony) ทรงรูปตัวแอลและทรงรูปตัวยู มีลานบ้านตรงกลาง  มีทางเดินรอบ (Patio) อยู่ใต้พื้นบ้านชั้นบน (หรือ Balcony)  ตัวเสารองรับตามทาง Patio จะกลม ส่วนเชื่อมด้านบนของแต่ละหัวเสาจะเป็นทรงโค้ง (Arc) ผนังบ้านปกติจะหนาหรือเป็นผนังสองชั้น มีการปูกระเบื้องที่ลวดลายมาก สีกระเบื้องมักจะออกโทนสีน้ำเงิน ตัวบ้านมักจะใช้สีขาว

     
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 06:38

1.ปั้นหยา มาจากคำว่า แอส-ปัญญอน ใช่หรือเปล่า

ทรงปั้นหยา
 
หลังคาทรงปั้นหยา เป็นแบบหลังคาเรือนที่ทำให้ลาดลงจากสันหลังคาเรือนทั้ง ๔ ด้าน. ผืนหลังคาด้านข้างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู. ผืนหลังคาด้านสกัดเป็นรูปสามเหลี่ยม.

คำว่า ปั้นหยา สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า ปั้นหย่า ในภาษา เปอร์เซีย ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อมือทองเสียบไม้ ซึ่งเป็นสิ่งแทนพระเจ้า ว่า พระปั้นหย่า. พระปั้นหย่าอยู่ในกะดีเจ้าเซ็น ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม. ศาสนสถานนั้นมักจะสร้างหลังคาทรงปั้นหยา. เมื่อมีการสร้างบ้านเรือนให้มีหลังคาแบบศาสนสถานนั้น จึงเรียกบ้านแบบนี้ว่า เรือนทรงปั้นหยา ด้วย.

ผู้เขียน  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  ราชบัณฑิต  ประเภทวรรณศิลป์  สาขาวิชาภาษาไทย สำนักศิลปกรรม

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:08

ไม่ใช่ผู้แทนจากสมาคมสถาปนิกสยาม  แต่ผมคิดว่าคงไม่มีสถาปนิกอาวุโสท่านใดจะฟันธงตอบได้ ถ้าต้นตอความรู้นี้ปรากฏชัด ครูบาอาจารย์สถาปนิกสมัยก่อนท่านคงสอนให้ทราบแล้วในวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ไม่ต้องรอครูบาอาจารย์ทางวรรณศิลป์มาแถลง

เอาละครับ ในเมื่อในเวปเป็นเวทีเปิด เรามาลองถกกันดูก็ได้โดยผมจะเอาประสพการณ์ในการปฏิบัติวิชาชีพมาเป็นบทนำ มิได้ตั้งใจจะไม่เชื่อศ.ดร.กาญจนา  นาคสกุล ที่คุณเพ็ญอุตส่าห์ค้นมาฝาก ดังนั้นผู้ใดจะแย้งจะเสริมก็เข้ามา ถือว่าแบ่งปันความรู้กัน

1.ปั้นหยา มาจากคำว่า แอส-ปัญญอน ใช่หรือเปล่า
โดยสำเนียงก็พอจะเออออห่อหมกได้ เท่ากับจะหยวนๆกับคำที่ว่ามาจากภาษาเปอร์เซีย

2.บ้านทรงสเปญ กับ เรือนทรงปั้นหยา เหมือนกันหรือเปล่า
ไม่เหมือน และหลังคาปั้นหยาก็ไม่เหมือนหลังคาสุเหร่า หรือมัสยิดในเมืองไทยด้วย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มี.ค. 12, 14:17 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:19

3.ไทยรับเอาสถาปัตยกรรม บ้านทรงสเปญ เข้ามาในยุค โคโลเนียล ใช่หรือเปล่า

อึมม์….ไทยรับสถาปัตยกรรมยุคโคโลเนียล โดยเห็นบ้านและอาคารของกงสุลก่อนในสมัยรัชกาลที่สี่  สมัยรัชกาลที่ห้า เริ่มสร้างสร้างเพื่อสนองวัตถุประสงค์ของไทยเอง

ความเห็นของผม อิงกับหลักการที่จดจำคำของครูบาอาจารย์มาว่า แบบ(Style)เกิดขึ้นจากอิทธิพลของวัตถุที่นำมาก่อสร้าง ดังนั้น เมื่อเกิดมีการนำเข้าหลังคากระเบื้องดินเผาด้วยไฟแรงสูง(Terra cotta) เข้ามาขายแข่งขันกับหลังคากระเบี้องขอของไทย หรือหลังคากระเบื้องกาบกล้วยของจีนที่ใช้เทคโนโลยี่ต่ำกว่า บิดๆงอๆ นำไปทำหลังคาแบบทรงปั้นหยาแล้วรั่วระเบิด จึงต้องใช้สำหรับหลังคาที่ลาดชันสูงแบบทรงไทยเท่านั้น 

กระเบื้องโบราณสองแบบ(ในรูป)ข้างล่างนี้ผ่านตาและผมลูบคลำมาแล้ว กระเบื้องปัตตาเวียนั้นเป็นแบบที่ป้องกันฝนได้ดีกว่าแต่เข้ามุมแทยงตรงตะเฆ่หลังคาไม่ได้ ส่วนอีกแบบหนึ่งสามารถตัดเฉียงออกได้ นำไปมุงชนแล้วปั้นปูนกันฝนครอบไว้อีกทีหนึ่งได้ จึงมีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่ใช้หลังคาแบบใหม่ทรงปิรามิดที่ฝรั่งเรียกรวมกันว่าHip Roof คนไทยยังไม่มีบัญญัติศัพท์นี้อาจเรียกชื่อแบบของกระเบื้องหลังคาของฝรั่ง (ชื่อแบบ- หมายถึง Product name คนละความหมายกับแบบตามรสนิยม (Style)) คือฝรั่งคนขายอาจตั้งชื่อกระเบื้องแบบนี้ว่า แบบเอส ปัญญอน ซึ่งเป็นชื่อที่คนไทยเรียกว่าเสปญ แสดงว่าคนเสปญไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนี้เลย มิฉะนั้นเราคงเรียกว่าหลังคาแบบเสปญไปแล้ว แต่ไพล่ไปเรียกว่า กระเบื้องปั้นหยา ตามความถนัดในการออกเสียง(อาจจะคุ้นกับคำว่าปั้นหยาตามที่ท่านอาจารย์กาญจนาว่าด้วยก็ได้) และจากกระเบี้องปั้นหยาก็กลายความหมายมาเป็นหลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งฟังดูเท่ห์กว่าหลังคาฮิปมาก 

หลังคาปัตตาเวียนั้นไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะแพงมาก  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเคยสั่งมาใช้ในวังและวัด ที่ผมเคยเห็นคือที่วัดปรมัยยิกาวาส  ตามเข้าไปค้นหาหลักฐานดูก็ไม่ได้ปรากฎว่าเป็นกระเบื้องที่ผลิต หรือนิยมใช้ในเมืองปัตตาเวีย หรือยอร์กยาการต้า ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของชวาแต่อย่างใค แปลว่า ฝรั่งยืมชื่อมาตั้งให้กระเบื้องแบบนี้เฉยๆเหมือนกับยืมชื่อเอส ปัญญอนมา เพราะเห็นว่าเป็นซื่อที่คนคุ้นๆ ฟังดูดี ส่งเสริมการขายได้ง่าย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:32

ต่อมากระเบื้องหลังคาทั้งสองแบบถูกตีตลาดแตกด้วยกระเบื้องว่าว หรือกระเบื้องซีเมนต์ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงโปรดให้ต่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยขึ้น อาคารหลังคาทรงปั้นหยาก็กลายเป็นที่นิยมกันมาก เพราะออกแบบสร้างอาคารให้สวยได้ง่าย และคุ้มแดดคุ้มฝนได้ดีกว่าหลังคาจั่วแบบอื่น

แต่ครั้นบริษัทปูนซีเมนต์ไทยตั้งบริษัทลูกขึ้นมาทำหลังคากระเบื้องลอนคู่ ที่แผ่นใหญ่กว่า บางกว่าซึ่งเท่ากับว่าเบากว่า ส่งผลให้หลังคาสามารถลดโครงสร้าง ทำให้ก่อสร้างได้ถูกลง กระเบื้องว่าวจึงแทบจะสูญพันธุ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:38

กระเบื้องลอนคู่สามารถตัดได้ แต่เอามาทำหลังคาทรงปั้นหยาทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณค่าก่อสร้าง มีบุคคลระดับบิสเนสคลาสขึ้นไปเท่านั้นที่จะเลือกใช้ แต่ก็ไม่สวยสะใจ แฟชั่นทรงหลังคาก็เฮกลับไปทำหลังคาจั่วธรรมดา และหลังคาแบนเอียงแบบเพิงหมาแหงน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง