เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111841 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 07:59

ในหนังสือที่ผมก๊อปมา(Oriental Design) เขาบอกว่าเป็นVietnamese Houseเฉยๆ ไม่ได้บรรยายอะไร

คือ..มันบอกยากน่ะครับว่าบ้านไม้ใต้ถุนสูงแต่ละรูป เป็นของชาติไหน นอกจากจะเห็นเอกลักษณ์แรงๆที่เด่นชัด เช่นหลังคาของไทย หลังคาของอินโด เป็นต้น

ลองดูภาพที่ผมใช้คำว่า Traditional ......  Houses ค้นหามาประกอบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 10:36

คุณตั้งและคุณนวรัตนคงจำบ้านหลังคาซ้อนหลายชั้นหลังนี้ได้   น่าจะเคยเข้าไปเยือนหลายครั้งแล้วด้วยซ้ำ   
ว่าอยู่ในประเทศไหน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 10:53

ตอนเป็นวัยรุ่นเคยเข้าไปหลายครั้งเหมือนกัน ตื่นตาตื่นใจมาก เป็นอิทธิพลที่ทำให้ชอบบ้านไม้ใต้ถุนสูง แต่บ้านปาร์คนายเลิศมีคุณลักษณะเด่นหลายอย่างยากที่จะนำมาใช้บ้างครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 11:37

เรือนไทยใต้ถุนสูง เหมาะมากสำหรับยุคปัจจุบัน  ที่ได้ข่าวว่าน้องน้ำจะมาตามหาพี่กรุงอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 19:53

ปีที่แล้ว เรือนใต้ถุนสูงบางแห่งก็ยังไม่พ้นค่ะ อาจารย์ น้ำมันมามากเกิน
ถนนบางแห่งยกสูงจนเกือบถึงหลังคาบ้าน น้ำก็มาท่วมถนน แล้วใต้ถุนเรือนจะเหลืออะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:04

จริงค่ะ  ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:12

เอามาให้คุณตั้ง (หรือท่านอื่นๆจะร่วมวงทายก็ไม่ขัดข้อง)  ว่าหลังคาแบบนี้ อยู่ประเทศไหน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 17:47

เอามาให้คุณตั้ง (หรือท่านอื่นๆจะร่วมวงทายก็ไม่ขัดข้อง)  ว่าหลังคาแบบนี้ อยู่ประเทศไหน

ก็คงจะเดาผิดเช่นเดิมนะครับ
แต่ก็จะขอตอบไปตามประสาคนไม่ชอบอยู่นิ่งๆ โดยจะวิเคราะห์เสียก่อนไปตามสภาพของความรู้อันน้อยนิดที่มี
เป็นบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิก ที่ออกรูปทรงทั้งอาคารในแนว contemporary architecture ฮืม (แหย่เืพื่อจะได้ถูกวิจารณ์ จะได้ๆความรู้เพิ่ม) แต่ก็ยังคำนึงถึงเรื่องของสภาพภูมิอากาศอยู่บ้าง หรือยังยึดถือหลักการองศาความลาดเอียงของหลังคาที่ควรจะเป็น มีรั้วรอบขอบชิดและมีทับหลังตลอดแนวรั้ว เนื้อที่คงจะไม่กว้างมากนัก อาจะอยู่แถวๆไม่เกิน 100+ ตารางวา ต้องถมที่เพื่อปรับระดับและภูิิมิทัศน์ ต้นไม้ใหญ่ที่ปลูก เป็นลักษณะขุดตัดรากแก้วแล้วยกมาปลูก ดูจะมีกอไม้หน่อพวกต้นข่า (ข่าแดง ฮืม) หรือเบิร์ด ปลูกอยู่มุมรั้วบ้าน ต้นไม้ที่เห็นอาจจะเป็นต้นเตยป่า ฮืม ส่วนอีกสองต้นใกล้บ้านน่าจะเป็นลั่นทม ต้นหลังบ้านอาจะเป็นมะค่าโมงหรือยาง ฮืม มีใบของต้นไม้ใหญ่ห้อยย้อยลงมาในรูป น่าจะเป็นต้นไม้ในกลุ่ม lecgum คือตระกูลที่มีฝัก หลังบ้านนอกรั้วมีต้นกล้วย และทรงใหดำที่วางอยู่หน้าบ้าน พอนะครับ สนุกสนานพอสมควร
ลักษณะของจำนวนพื้นที่ แนวคิดเรื่องรั้วรอบขอบชิด ต้นไม้ต่างๆทั้งในรั้วและนอกรั้ว การลงทุน และสิ่งแวดล้อมนอกรั้ว การไม่เห็นโรงรถมีแต่ลานจอด
ผมคิดว่าน่าจะเป็นบ้านที่สองในต่างจังหวัด ลักษณะหลังคาดูจะพยายามให้กลมกลือนไปกับวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะในภาคเหนือ ก็ขอหาญที่จะเดาว่า อยู่ในประเทศไทย และคิดว่าอยู่ในภาคเหนือตอนบน คิดว่าไม่อยู่ในต่างประเทศ

จะผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ หากผิดและได้รับคำวิเคราะห์และอธิบายประกอบก็จะกลายเป็นที่มาของปัญญาเพื้อให้เกิดความรู้ครับ 



   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 19:29

ย้อนอ่านข้อมูลและความรู้ที่มีอยู่ในกระทู้แล้ว
ดูเหมือนว่าพอพูดถึงไทย บ้านไทยและหลังคาแบบไทย ทั้งหลายจะถูกจำกัดวงให้แคบอยู่เฉพาะในภาคกลาง และโดยเฉพาะแบบอยุธยาเสียด้วย แท้จริงแล้วเรามีภาคอื่นๆอีก แต่ละไว้ที่จะไม่นิยมกล่าวถึงกัน
แน่นอนว่าอาคารบ้านเรือนและหลังคาแบบไทยมีการพัฒนาไปตามยุคสมัยและตามอิทธิพลที่ได้รับ ผมสงสัยอยู่ว่าเราไม่เหลืออะไรที่คงไว้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันบ้างหรือ ทั้งในเชิงความเชื่อ โครงสร้าง สี หลังคา และรูปทรง ฯลฯ หรือเป็นเพราะผมไม่ใช่สถาปนิกเลยไม่ทราบ เอกสารไทยก็หายากแถมแพงอีก และที่ปรากฎอยู่ในที่สาธารณะก็ไม่ค่อยจะมี ส่วนมากก็จะเป็นในเรื่องของภาพความสวยงาม แล้วไปคิดเอาเองต่อไป มากกว่าที่จะเล่าปรัชญา ความเชื่อ ความคิด ความจำเป็น และเอกลักษณ์ในสิ่งนั้นๆ 
ที่ผมเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ยังพอจะรักษาแบบไทย เท่าที่พอที่จะจับได้ ส่วนมากก็จะเป็นอาคารทางราชการ ที่สร้างในยุค พ.ศ. 2500+ ซึ่งแบบที่ยังคงรอดอยู่ในปัจจุบัน (เท่าที่นึกออก) ก็พวกอาคารโรงเรียน ศาลากลาง ที่ว่าการอำเภอ และล่าสุดดูจะเป็นอาคารของ อบต. ซึ่งแม้จะดูกระด้างๆก็ยังดูดี
พอเข้ายุคปลายสงครามเวียดนาม ดูเหมือนว่าอาคารต่างๆของไทยและบ้านเรือนก็เปลี่ยนไปหมด บ้านทรงสเปนที่เราเรียกกันดูจะเป็นที่ฮิตในยุคนั้นแล้วก็พัฒนาต่อมาจนเป็นสภาพที่เห็นในปัจจุบันนี้ แล้วก็ยังไม่เห็นในลักษณะที่ปลีกความคิดออกไปอย่าง Frank Lloyd Wright บ้าง (ไม่ใช่ทำตามนะครับ)
ที่เห็นมาในหลายประเทศ เขายังพยายามรักษาลักษณะบางประการ (แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิด) เอาไว้ ไม่ใช่ norm แต่ทำกันมาก เช่น ทรงหน้าต่าง ทรงช่องลม ลักษณะลวดลายของช่องลม การใช้ผนังบ้านเป็นรั้ว กระเบื้องมุงหลังคา ฯลฯ
แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้บ้านของไทยมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น เนื้อที่ปลูกสร้าง ไม่ 20 30 ก็ 50 60 ตารางวา พวก 80 100 และกว่านั้นก็จะเป็นพวกมีฐานะดี ต่างจากในสมัยโบราณที่มีพื้นที่กว้างโล่ง เราจะเอาอะไรที่เป็นไทย (ได้บ้าง) ใส่ไว้ในพื้นที่บ้านเรือนขนาดที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันนี้ได้มากน้อยเพียงใด โดยพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีด้านการอำนวยความสะดวกสะบายได้มากที่สุด
ผมยังจำภาพเขียนล้อของฝรั่ง (นานมาแล้ว) ว่าภาพติดตาจากความทรงจำที่เด่นชัดเมื่อมาเมืองไทยคือ อาคารบ้านเรือนที่เห็นตามถนนหนทางต่างๆเป็นทรง Box work

บ่นมานาน คิดอย่างไรก็กล่าวไปอย่างนั้นนะครับ คงจะกระทุ้งความเห็นทั้ง pro และ con ในลักษณะที่ไม่ใช่กำปั้นทุนทุบดิน แรงบ้างไม่แรงบ้างอันเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่าน
       
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 21:02

อึ๊ ฮือออ โอ่ะ โฮ (เชิญคุณเพ็ญตามถนัดเลยครับ)
พี่ท่าน

เยี่ยมมมมมม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 21:49

ขออภัยท่านนวรัตน์ด้วย  ยิงฟันยิ้ม
มิบังอาจคิดว่าเป็นความคิดความเห็นที่ถูกหรอกครับ รู้มาตั้งแต่ต้นแล้วว่าไม่เข้าท่าครับ
ก็แหย่ให้ท่านออกมากระจายความรู้และประสบการณ์ที่ท่านมี เท่านั้นเองแหละครับ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 06:22

ท่านตั้งเป็นมากกว่านักธรณีวิทยา เพราะสามารถวิเคราะห์เลยจากใต้ดินขึ้นมาแยกธาตุสิ่งที่สูงพ้นพื้นดินขึ้นไปได้ด้วย นับเป็นความสามารถยากที่จะเลียนแบบ

รูปที่ท่านอาจารย์ใหญ่มาให้ทาย เป็นสถาปัตยกรรมปัจจุบัน ที่ผมเอาภาพสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมที่แต่ละชาติมาให้ดูเทียบเคียง ก็เพื่อจะบอกว่า ในบรรดาชาติเพื่อนบ้าน บ้านมันจะดูคล้ายๆกันไปหมด ถ้าไม่มีเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างโดดเด่นแล้ว จะทายยากมาก ยิ่งถ้าเป็นบ้านที่เป็นแบบร่วมสมัยแล้ว ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

แต่ถ้าถูกบังคับให้ทาย ผมก็ไม่มีปัญญาวิเคราะห์แบบยากๆเหมือนท่านตั้ง ผมดูที่ง่ายๆก็ติดปัญหาแล้ว เช่นวัสดุมุงหลังคาดูเป็นว้สดุธรรมชาติที่หากติดไฟได้ เมืองไทยมีข้อบัญญัติที่ห้ามใช้(นอกจากบ้านที่สร้างนอกเขตพ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้าง) ทว่าถ้าสร้างตามบ้านนอกไกลๆ ทำไมรอบรั้วขอบเขตดูเหมือนจะเล็กๆแบบบ้านในเมืองที่ที่ดินแพงๆ หากมีเงินสร้างบ้านอย่างนี้ในบ้านนอกก็น่าจะหาที่ดินผืนใหญ่ๆได้ไม่ยาก

ส่วนการตกแต่งสนามนั้น ไทยๆมากเลยครับ โดยเฉพาะลั่นทมที่เอาตอมาปลูกใหม่กับไหเซรามิกนั่น รั้วก่ออิฐนั่นก็เหมือนกัน

จบแบบนี้แปลว่ารอคำเฉลยดีกว่า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 09:36

ครั้งหนึ่งคุณปัญจมากับดิฉันเคยสนทนากันเรื่องเอกลักษณ์       เธอเอ่ยขึ้นมาว่าเวลาไปเมืองต่างๆในหลายประเทศก็มองเห็นเอกลักษณ์ของบ้าน อย่างที่เห็นปุ๊บก็รู้ว่า นี่บ้านในอังกฤษ   นี่บ้านในเยอรมัน  นี่บ้านในบาหลี    บ้านบาหลีจะไม่ไปตั้งเป็นสง่าอยู่ในอังกฤษ  และบ้านแบบอินเดียก็จะไม่ไปตั้งอยู่ในฝรั่งเศส     แต่ในกรุงเทพและปริมณฑลของเรานี่  มีบ้านทุกชนิด   ยกเว้นอย่างเดียวคือบ้านไทย  ไม่รู้จะไปมองหาที่หมู่บ้านไหน
หลังจากคุณปัญจมาตั้งข้อสังเกต   เวลาไปชานเมืองดิฉันก็มองตามหมู่บ้านจัดสรรที่ผ่านตา  เพื่อมองหาว่าหมู่บ้านไหนมีอะไรที่เราพอจะบอกได้ว่า...อ้อ นี่บ้านเมืองไทย ไปหาจากที่ไหนไม่มีอีกในโลกนอกจากเมืองไทยของเรา      นอกจากหมู่บ้านจัดสรรแล้วก็มองหาตามบ้านเดี่ยวอีกด้วย   
ผลคือจนบัดนี้ หลายปีแล้วยังไม่เจอ   เพราะบ้านที่สร้างใหม่ๆตอนนี้  มันไม่มีอะไรที่ชัดเจนพอจะเห็นปุ๊บบอกปั๊บได้ว่านี่ไทยนะจ๊ะ  ไม่ใช่จีน ไม่ใช่มาเลย์ ฟิลิปปินส์ อินโด ไต้หวัน กัมพูชาหรือลาว     ถ้าจะมองบ้านไทยภาคกลางจริงๆที่เห็นก็รู้ว่าไทย   ต้องย้อนหลังไปสัก 150 ปี สมัยเรายังอยู่บ้านไม้ใต้ถุนสูงริมแม่น้ำ   ก่อนที่อิทธิพลตะวันตกจะพาบ้านสองชั้นเข้ามาในไทย

ร่ายยาวมาเพื่อจะปูพื้นเข้าสู่คำตอบว่า  หลังจากนั้นดิฉันก็ได้พบสัจธรรมว่าโลกของการสื่อสารไร้พรมแดนทำให้ที่อยู่อาศัยของเราก็พลอยไร้พรมแดนไปด้วย  บ้านสร้างใหม่ๆ ดูจะออกมาเป็นแบบแผนคล้ายคลึงกันไปหมด คือสร้างยังไงก็ได้ให้ทันสมัยแบบฝรั่ง - ออกอเมริกันมากกว่ายุโรป    นับแต่แอร์คอนดิชั่นเข้ามากำกับชีวิตในบ้านให้เย็นเจี๊ยบ แม้นอกบ้านออกไปแค่สนามจะร้อนปานไฟเผา    บ้านก็สร้างให้เหมาะกับแอร์   ไม่ต้องสร้างให้เหมาะสมกับภูมิอากาศอีกต่อไป     
บ้านในรูปที่นำมาเสนอ  จึงสร้างด้วยกระจกทั้งหลังในเมืองร้อน   ซึ่งท่านตั้งและท่านนวรัตนและอีกหลายๆท่านที่เข้ามาอ่านก็คงนึกภาพออกว่า  ถ้าเราก้าวเข้าไปนั่งในรถยนต์ที่ปิดกระจกจอดทิ้งมาหลายชั่วโมงกลางแดด    ตัวเราก็จะกลายเป็นไก่ย่างห้าดาวไปโดยง่าย   บ้านในเมืองหนาวสร้างด้วยกระจกเพื่อรับแดดอุ่น เพราะเขาหนาวเย็นตลอดปี   แต่บ้านในเมืองร้อนอย่างบ้านนี้สร้างเพื่อให้แอร์ต่อสู้ชิงชัยกับไอแดด    มันจึงเป็นบ้านที่อยู่ในเมืองร้อนที่ไหนก็ได้   ไม่ขึ้นกับภูมิประเทศ  ส่วนการตกแต่ง ก็ออกมาในแนวอินเตอร์ ไม่ได้เน้นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
บ้านหลังนี้อยู่ในอินโดนีเซียค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 17:20

อินโดนีเซียเป็นชาติหนึ่งที่ยอมให้ใช้หลังคาวัสดุธรรมชาติได้ แม้กระทั่งโรงแรมห้าดาว เอกลักษณ์ของบาหลีจึงมีเสน่ห์กว่าใคร



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 28 ก.พ. 12, 19:04

ว่าแล้วเชียวว่าต้องผิด เดิมก็จะเดาว่าอินโด เพราะติดใจเรื่องของโทนสีแล้วก็ลักษณะของจิตใต้สำนึกเกี่ยวกับหิน ไม่คิดเดาไปทางนั้นเพราะต้นไม้ต้นเดียวจริงๆ คือต้นที่ปลูกอยู่หลังบ้าน ลักษณะเหมือนกับที่ผู้มีอันจะกินของไทยนิยมกัน ซึ่งแท้จริงแล้วก็คงมิใช่เป็นเรื่องของลักษณะพิเศษใดๆ ก็อย่างที่คุณเทาชมพูว่าไว้ครับ ในโลกไร้พรมแดนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ มันเป็นเรื่องของการเลือกที่จะทำในความสมดุลย์ของเรื่องของค่าของความมั่งคั่งกับจิตใต้สำนึก
 
คุณเนาวรัตน์พูดถูกที่บอกว่า คนไทยที่มีเงินมากพอที่จะสร้างบ้านแบบนี้ คงมีเงินมากพอที่จะมีที่กว้างกว่านี้ และวัสดุทำหลังคานั้นมีข้อกำหนดตัวบทกฏหมายห้ามไว้ อย่างไรก็ตาม บ้านที่สร้างในชุมชนชนบทของไทยส่วนมาก หรือเกือบจะทั้งหมดดูจะไม่ต้องขออนุญาตและมีการตรวจแบบจากหน่วยงานใด อีกประการหนึ่งก็เคยเห็นบ้านของคนท้องถิ่นที่ได้มาเรียนและทำงานในกรุงเทพฯ กลับไปปลูกบ้านแบบ modern ในที่ดินของตนเอง ออกแบบเองทั้งรูปทรงและหลังคา

ชักใจเหี่ยวแล้วครับ หวังว่าจะได้พบข้อมูลว่ามีอะไรคงเหลือบ้างที่จะบอกได้ว่าเป็นบ้านไทยบ้าง แทบจะไม่มีเอาเสียเลย คงจะยกเว้นบอกได้แต่เพียงว่าบ้านนี้คนไทยอยู่

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 19 คำสั่ง