เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111909 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 19:56

^
น่าจะเป็น "กาแล" นะครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:03

บนยอดคือกาแล
ไม้ปิดขอบหลังคา ตรงลูกศรชี้  เรียกว่าอะไรคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:11

ที่ผมสนใจเรื่องของหลังคาแบบไทยนั้น มันเริ่มตรงที่ว่า ทำไมเราเห็นรูปภาพบ้านเรือนต่างๆ เราจึงมักจะเดาได้ว่าเป็นของประเทศใด แน่นอนว่าลักษณะของบ้านและสถาปัตยกรรมจะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยจำกัดสถานที่ และลักษณะของหลังคาก็เป็นองค์ประกอบช่วยบอกสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ หลังคาแบบไทยก็เป็นอย่างหนึ่งที่เราแทบจะบอกได้ในทันทีเลยว่าเป็นไทย ซึ่งก็แน่นอนว่าเรารู้ได้เพราะเราเป็นคนไทยที่ได้ซึมซาบความเหมือนและความต่างในรูปของ intellectual ซึ่งฝังอยู่ภายในสมองของเรา สำหรับคนไทยกันเองนั้น คนส่วนมากยังแทบจะบอกได้เลย (เมื่อเห็นรูปบ้านของไทยนั้น) ว่าอยู่ในภาคใหน บางครั้งยังแทบจะจำกัดพื้นที่ลงไปได้แคบกว่านั้น
ผมคิดถึงเรื่องภาพการ์ตูนล้อเลียนต่างๆ ที่ผู้เขียนภาพสามารถจะจับเอกลักษณ์ของบุคคลที่เขียนล้อเลียน นำมาเขียนเป็นภาพในลักษณะการ์ตูนชนิดที่ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางอย่างไร หรือแต่งกายอย่างใด ผู้อ่านชมก็ยังสามารถทราบได้ว่าเป็นใคร ก็เลยคิดว่าหลังคาไทย (ของภาคต่างๆ) นั้นก็น่าจะมีอะไรที่เป็นลักษณะจำเพาะที่แฝงอยู่

ปั้นลม แบบสามแหลม (ที่ยอดจั่วและปลายชายคา) ก็ดูจะเป็นอย่างหนึ่งแล้วที่ดูจะเผยออกมา
ที่นึกออกขณะนี้ ขอคิดดังๆว่า ช่อฟ้า ใบระกา ที่อ่อนช้อย ก็อาจจะเป็นอีกเป็นลักษณะจำเพาะเช่นกัน        
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:18

สงสัยมานานแล้วว่า "ตัวเหงา" นี้มีจุดประสงค์และประโยชน์กับอาคารเรือนไทยอย่างไรครับ อยากถาม อ.NAVARAT.C จังเลย  อายจัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:33

ปั้นลม คือไม้ปิดจั่วที่ติดไว้ระดับสูงกว่าเครื่องมุงหลังคา ถ้าไม่สูงกว่ากระเบื้องมุงหลังคาเช่นที่ทำกันในสมัยนี้ จะเหมาเรียกว่า"เชิงชาย"ครับ

ส่วนคำถามของคุณหนุ่มที่ว่า "ตัวเหงา" มีวัตถุประสงค์และประโยชน์อย่างไร
ผมคิดว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงาม เป็น "ตัวจบ" ตรงส่วนปลาย ไม่ปล่อยทิ้งไว้ด้วนๆ ซึ่งช่างโบราณพิถึพิถันกับเรื่องรายละเอียดเหล่านี้มาก  อาจมีแบบอย่างอื่นด้วยก็ได้ เช่นแบบหางปลาที่แสดงในเวปซึ่งผมลิงค์ไว้ให้

ส่วนประโยชน์ในด้านรูปธรรมไม่น่าจะมีนะครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:40

หากว่าปั้นลม เป็นดังคำอธิบายมาแล้วนั้น หากมองในทำนองเดียวกันกับ นาคสะดุ้ง ก็คงมีจุดประสงค์ที่คล้ายกันใช่ไหม เพียงแต่ยกฐานะศักดิ์ขึ้นไป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:43

หากไม่มีไม้มาหยุดหรือปะ ก็จะเกิดความไม่งามทางสายตาได้ เช่นแบบนี้กระมังครับ... ภาพจาดวัดพระเชตุพนฯ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:47

^
^
ใช่เลยครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:55

ถามท่านตั้งหน่อย

อ้างถึง
ที่ผมสนใจเรื่องของหลังคาแบบไทยนั้น มันเริ่มตรงที่ว่า ทำไมเราเห็นรูปภาพบ้านเรือนต่างๆ เราจึงมักจะเดาได้ว่าเป็นของประเทศใด แน่นอนว่าลักษณะของบ้านและสถาปัตยกรรมจะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยจำกัดสถานที่ และลักษณะของหลังคาก็เป็นองค์ประกอบช่วยบอกสภาพทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ หลังคาแบบไทยก็เป็นอย่างหนึ่งที่เราแทบจะบอกได้ในทันทีเลยว่าเป็นไทย ซึ่งก็แน่นอนว่าเรารู้ได้เพราะเราเป็นคนไทยที่ได้ซึมซาบความเหมือนและความต่างในรูปของ intellectual ซึ่งฝังอยู่ภายในสมองของเรา สำหรับคนไทยกันเองนั้น คนส่วนมากยังแทบจะบอกได้เลย (เมื่อเห็นรูปบ้านของไทยนั้น) ว่าอยู่ในภาคใหน บางครั้งยังแทบจะจำกัดพื้นที่ลงไปได้แคบกว่านั้น

บ้านหลังนี้เป็นแบบใด(ตามที่ท่านตั้งกล่าวมาข้างต้น)


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 21:59






ถ้าเป็นส่วนประกอบของอาคารฐานันดร เช่น วัด, ปราสาท
เท่าที่ผมเห็นมาบ้าง 'เหงา' กับ 'หางหงส์' เป็นคนละอย่างกันครับ
เครื่องประกอบของอาคารฐานันดร กับ อาคารทั่วๆไป ต่างกันค่อนข้างมาก
เหงา คือ กนกตัวสุดท้ายที่อยู่ระหว่างหางหงส์กับใบระกาครับ

ตัวอย่างในภาพ มาจากธรรมาสน์ทรงศาลา ของวัดใหญ่สุวรรณาราม
ปัจจุบัน นำมาจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครครับ
หางหงส์ในภาพ เป็นรูปหัวนาค คั่นด้วย 'เหงา' ที่เป็นกนกตัวเล็กๆ แล้วจึงจะเป็นใบระกาครับผม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 22:52

เอาตัวเหงามาให้ดูบ้างสนุกๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 23:02

เหงาจริงๆด้วย    ยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 23:03


ถามท่านตั้งหน่อย
บ้านหลังนี้เป็นแบบใด(ตามที่ท่านตั้งกล่าวมาข้างต้น)

ตอบแบบฉันเกลอรักกันว่า เป็นแบบตามใจฉัน
และคำตอบจริงๆ คือ ไม่ทราบครับ รูปภาพนี้ เหมือนกับรถที่ถูกโมดิฟายรูปร่างแล้วถามว่าเป็นรถยี่ห้อใด

แต่พอจะวิเคราะห์ตามสภาพของปัญญาความรู้ทีพอจะมีได้ดังนี้ (ทนอ่านหน่อยนะครับ)

บ้านนี้เป็นบ้านในยุคใหม่ สร้างตามจินตนาการของเจ้าของ โดยเอาสิ่งที่คิดว่าดีมาผสมผสานกัน บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ราบรอนคลื่น (Undulating terrain) ใกล้พื้นที่ป่าเขา ซึ่งลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ในไทยลักษณะนี้น่าจะวางตัวอยู่ในแนวประมาณเหนือใต้ พื้นดินน่าจะเป็นพวกดินลูกรัง มีสภาพดินเป็นกรด ดินฐานแน่นหนา และอาจจะมีปลวกมาก (สภาพพื้นที่ในลักษณะนี้มักจะเป็นเช่นนั้น) เลยใช้เสาบ้านวางบนเสาตอหม้อสำเร็จแบบฐานแผ่ที่ขุดฝัง คงจะไม่ลึกเกินกว่า 50 ซม. เพื่อกันปลวก เสาคอนกรีตตอหม้อลักษณะสี่เหลี่ยมขนาดดังภาพนี้ ดูจะเป็นลักษณะประจำถิ่นของภาคเหนือ แต่ก็มีการทำขายโดยทั่วๆไปทั่วทุกภาคของไทย หากเป็นในภาคเหนือเสาคอนกรีตนี้มักจะโผล่เหนือผิวดินมากกว่านี้ ในภาคใต้คอนกรีตตอหม้อนี้มักจะอยู่เหนือผิวดินเล็กน้อย ไม่มาก ทั้งนี้ ของภาคใต้ดั้งเดิมนั้นก็มักจะทำเป็นรูปทรงกระบอกและวางเสาไม้เทินอยู่บนเสาคอนกรีตโดยไม่มีการบากและเชื้อมต่อขันด้วยน๊อต ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อทางศาสนา การเชื่อมต่อของคานบ้านระหว่างหัวเสาเป็นแบบสมัยใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบจากลักษณะดั่งเดิมของภาคใด มีใต้ถุนสูงและค่อนข้างจะสูงมากตามแบบฉบับบ้านในที่ราบลุ่มอยุธยา ลักษณะบันใดเป็นแบบบ้านทรงไทย มีที่นั่งพักพิงบนชานบ้านแบบทรงไทย หลังคาเอาแบบของศาลาวัดมาทำ ด้านซ้ายมือของภาพดูจะเป็นเรือนหลังคาจาก (น่าจะมุงด้วยหญ้าคา) พื้นติดดิน (ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน) ฝาผนังอาจจะเป็นไม้ไผ่ขัด ซึ่งเป็นลักษณะประจำของเรือนชาวสวนในภาคกลางและคนถิ่นบางกลุ่มในภาคเหนือ มีต้นมะพร้าวและต้นกล้วย ใบกล้วยดูจะแตกเป็นริ้วๆ แสดงว่ามีลมแรง แต่น่าจะอยู่ในพื้นที่ๆที่ฝนตกไม่รุนแรง (ในเชิงของปริมาณต่อเวลา) ซึ่งดูจะสอดคล้องกับหลังคาซึ่งเป็นวัสดุหนักซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นกระเบื้องปูนทรงข้าวหลามตัด ต้นมะพร้าวอาจจะบ่งบอกว่าไม่อยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับนำ้ทะเลมากนัก หากเป็นบ้านคนทั่วไป ใต้ถุนบ้านจะถูกใช้ประโยชน์มากกว่านี้ อาจจะใช้เพื่อเก็บรถและมอเตอร์ไซด์ ในภาพนี้เป็นแผ่นลานคอนกรีตอยู่หน่อยนึง ห้องหับไม่ใหญ่ หน้าต่างและ ฯลฯ

คราวนี้ก็จะขอตอบอย่างตาบอดว่า น่าจะเป็นลักษณะของกุฏิสงฆ์ ของสำนักสงฆ์แห่งใดแห่งหนึ่ง น่าจะอยู่ในภาคใต้ และก็น่าจะเป็นแถบๆหลังสวน ชุมพร หรือไม่ก็ต้องไปในภาคเหนือเลย แถวๆเขตน่าน-พะเยา หากจะเป็นแถวภาคกลางก็น่าจะอยู่แถบตั้งแต่ย่านชิดชายเทือกเขาตะนาวศรีจากราชบุรีไปจนประจวบ แล้วก็เป็นไปได้ที่จะอยู่นอกเขตประเทศไทยทั้งในเขมร ลาว และพม่า (ตำ่กว่าเส้นขนานที่ 15 ลงมา)

ท่านผู้อ่านทั้งหลายอย่าได้คิดอะไรมากเลยนะครับ จะผิดถูกอย่างไรนั้นไม่สำคัญ พิจารณาเพียงเพื่อได้เห็นความคิดเห็นในมุมต่างของสาขาวิชาชีพและองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์มากกว่าจะเป็นโทษ  

     


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 23:26

โอ้ อื้อ ฮือ ท่านตั้งตอบเสียยาว

ผมเพียงอยากจะเฉลยว่า เป็นบ้านในเวียตนามครับ

คือเรามักจะคิดว่าบ้านคนญวนน่าจะได้รับอิทธิพลจากจีน ดังเช่นบ้านแบบฉบับในเวียตนามอีกหลังหนึ่งตามภาพนี้ แต่ไม่ใช่


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 25 ก.พ. 12, 23:36

ว่าแล้วเชียว ต้องผิดถนัดเลย

ถามต่ออีกหน่อยว่า เวียดนามแถบใหนครับ เหนือใต้? ใกล้ลาว? ใกล้จีน? ใกล้ไทย?  อยากทราบเป้นข้อมูลครับ
เคยเห็นแต่บ้านเรือนวัดวาอารามของเวียดนามมักจะอยู่ติดพื้นดิน แต่ไม่เคยเห็นพวกที่อยู่ในชนบทจริงๆสักครั้ง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง