ไม่แน่ใจว่ากระทู้นี้จบหรือยัง เอาว่ามาให้แนวคิดเรื่องหลังคาแบบ มลายูแล้วกันนะครับ
หลังคาปั้นหยาในคำเรียกแบบไทยืั้ยึดตาม กรุงเทพ ว่าเป็นแหล่งกระจายอาจไม่ถูกนัก หลังคาปั้นหยาทางใต้นั้นมีการใช่งานนานกว่านั้นมาก อาทิ มัญยิดกำปงลาอุ กลันตัน มาเลย์ ก็มีอายุไปแล้วถึง 500 ปี

และยังมีศาสนสถานในอินโดบางแห่งที่ก่อนอิฐเป็นทรงปั้นหยาด้วย
ปั้นหยาเลยมีใช่มานานมาในแถบคาบสมุทธมลายู และอินโด(นูซันตารา)
และคนปัตตานีเรียกหลังคาปั้นหยาต่างจากคนในภูมิภาคอื่นของประเทศมาก กล่าวคือ
ปั้นหยา จตุรัส เรียก วากัฟ Wakaf

และเรียก ปั้นหยาแบบผืนผ้าว่า ลีมะ(Limas)

และเรียกหลังคาแบบ จั่วปั้นหยา หรือ มะลิลา ว่า.......ลีมะ(Limas) เช่นกัน

เพราะ limas มาจากคำว่า Lima ที่แปลว่า 5 หมายถึงสันหลังคาทั้ง 5 (4สัน ทะแยง 1 สันบนสุด) และหลังคาแบบมะลิลา ก็มี 5 สันเช่นกัน
ดังนั้นเวลาคนมลายู อินโด เวลาเห็นหลังคา

เขาจะเรียก ลีมะ ทันที
ที่นำมาคือสถานีรถไฟกันตัง เอกสารเก่าบางฉบับก็เรียกมันว่า ปั้นหยาตามแบบมลายู.....
อย่างไรก็ดี เขาก็มีคำแยกทั้งสองหลังคา โดยเรียกปั้นหยาในคำเต็มๆว่า Limas Bukung หรือเรียกย่อๆว่า Limas
ส่วนมะลิลาจะเรียกเต็มๆว่า Limas Berlanda ฺำ ซึ่ง Berlanda เพี้ยนเสียงมาจาก ฮอลลันดา
จาก ฺBerlanda เพี้ยนเสียงไปเป็น บราลันดา และบรานอ ในที่สุด