ไม่ได้หายไปใหนหรอกนะครับ เฝ้าคอยอยู่ ตามอ่านไปเรื่อยๆมาตลอด ด้วยรู้น้อยจึงฟังมาก
อ่านแล้วก็ให้รู้สึกว่า กินนอนอยู่เป็นนานไม่ยักกะรู้ว่าบ้านเราเป็นอย่างไร เห็นแต่ความสวย (เปลือกนอก) แต่ไม่เห็นความงาม (ส่วนใน) ก็เพิ่งจะได้รับการเบิ่งตาให้เห็นในครั้งนี้เอง หากไม่ชั้นครูจริงๆก็คงจะไม่สามารถอรรถาธิบายกระตุ้นให้เห็นเนื้อแท้ได้
ด้วยความคารวะจริงๆ ครับ
ผมทราบมาโดยประสบการณ์ว่า การจะนำเรื่องราวในเชิงนามธรรมมาเล่าขานให้เกิดภาพในเชิงรูปธรรมนั้นยากมาก หากไม่รู้จริงก็ต้องพยายามใช้วิธีการอธิบายกันยืดยาวเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ แต่หากรู้จริงทุกรูขุมขนก็สามารถจะรู้วิธีสะกิดเพียงนิดเดียวให้อีกฝ่ายเห็นภาพได้
ท่านนวรัตน์จึงเป็นผู้รู้จริง
ทำให้เห็นภาพว่าปรมาจารย์แต่ก่อนนั้น จะคิดอะไรจะทำอะไรก็จะทำให้เกิดมีคุณค่าดีที่สุดสนองตอบโจทย์ต่างๆอย่างครบถ้วน มีการศึกษาและทำการบ้านมาก่อนเท่าที่ปัญญาและความรู้จะพึงมี ซึ่งในภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า Research ซึ่งคำนี้ในปัจจุบันมักจะมีความหมายไปในเชิงเพื่อจะไปหาสิ่งใหม่ๆ มากกว่าที่จะหมายความถึงการทบทวนสิ่งที่เขารู้ๆกันมาก่อนที่จะทำอะไรให้เป็นที่ประจักษ์
อย่างน้อยผมก็มีความดีใจเล็กๆน้อยๆว่า
....ความจริง เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยที่เราคิดขึ้นมาเอง และโดดเด่นที่สุดในสายตาชาวโลก ก็คือรูปทรงหลังคา และการยกฐาน หรือใช้เสาสูง เพื่อให้พื้นอาคารอยู่ระดับเหนือน้ำ ในฤดูน้ำหลาก...
อ.นวรัตน์อยากจะจบแล้ว แต่ผมอยากจะขอแยกเข้าซอยไปนี๊ดเดียวด้วยความอยากรู้อีกสักหน่อยว่า แล้วมีอะไรที่เป็นไทยๆซ่ิอนอยู่ในการออกแบบบ้านเรือนในปัจจุบันบ้างครับ (เรื่องใต้ถุนบ้านสูงนั้นหายไปแล้ว) นอกเหนือจากพื้นที่ทำครัวนอกตัวบ้าน (ซึ่งมักจะต้องต่อเติมด้วยตนเองในภายหลัง) แล้วมีอะไรอีกบ้างที่สถาปนิกคิดว่าเป็นวิถีไทยที่ยังจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบบ้านและอาคาร
อาจารย์อย่าโกรธผมน้า อยากทราบจริงๆครับ
(อ. คนนี้ดุ อยากรู้ก็ต้องโดน....ไม่ถามแล้วจะรู้ได้อย่างไร จริงๆใหมครับ?

)