เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111935 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 23:34

ขอบพระคุณ คุณ NAVARAT.C ครับ ที่พูดถึงวัสดุ
คำนี้เป็นคำสำคัญ... แต่บ่อยครั้งคนที่สนใจรูปแบบก็ลืมมันไปเสมอๆ


มีเรื่องอยากเรียนถามเรื่องหนึ่งครับ เกี่ยวกับหลังคาชนิดที่เป็น 'ชายคาปีกนก' ครับ
เพราะถ้าล้มหน้าบรรพ์ที่อยู่ด้านบนของจั่วชนิดนี้ลงเสีย
หลังคาที่เคยมีมุขก็จะกลายเป็นทรงปั้นหยาทันที
กรณีอย่างนี้ คุณ NAVARAT.C เห็นว่าทรงหลังคาสัมพันธ์กันหรือไม่ครับ?

ถ้าสัมพันธ์ คุณ han_bing อาจจะลองหาชื่อของหลังคาทั้ง 2 ทรง ในศิลปะจีนได้ครับ
เพราะดูเหมือนศิลปะจีนจะใช้ทรงหลังคาทั้ง 2 ชนิดนี้มานานพอดูแล้วน่ะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 06:01

อ้างถึง
มีเรื่องอยากเรียนถามเรื่องหนึ่งครับ เกี่ยวกับหลังคาชนิดที่เป็น 'ชายคาปีกนก' ครับ
เพราะถ้าล้มหน้าบรรพ์ที่อยู่ด้านบนของจั่วชนิดนี้ลงเสีย
หลังคาที่เคยมีมุขก็จะกลายเป็นทรงปั้นหยาทันที
กรณีอย่างนี้ คุณ NAVARAT.C เห็นว่าทรงหลังคาสัมพันธ์กันหรือไม่ครับ?

ผมไม่คิดว่ามันจะสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญนะครับ
 
คือ รูปทรงทั้งสอง มีอะไรแบบตัวใครตัวมัน ไม่ใช่ว่าล้มแบบหนึ่งเพื่อจะได้อีกแบบหนึ่ง นายช่างออกแบบมีโจทย์จะต้องคิดแก้ปัญหาอีกมาก เพราะผลงานไม่ได้แค่เป็นลายเส้นอยู่บนกระดาษ แต่เป็นสิ่งที่ต้องสร้างให้อยู่กลางแดดกลางฝนสำหรับคนเข้าไปอยู่อาศัยได้จริง

หลังคาทรงจั่ว มีจุดอ่อนด้านหน้าบัน(ผมสะกดอย่างนี้นะครับ)ที่แดดและฝนจะสาดเข้าทางหน้าต่าง(ถ้ามี) จึงต้องทำหลังคาปีกนกไว้เพื่อกันสาด

ส่วนหลังคาปั้นหยา ชายคาเสมอกันทุกด้าน และอยู่ในระดับต่ำ เป็นกันสาดไปในตัว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 06:03

กันสาดของหลังคาทรงจั่วนั้นจะอยู่ส่วนนอกตัวอาคาร ซึ่งยอมให้ฝนรั่วซึมได้บ้าง จึงทำให้ความลาดเอียงน้อยลง เพื่อความสวยงามได้


แต่ถ้าอาคารเป็นบ้านไทยสมัยก่อนที่ใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคา ก็จะใช้ตรงส่วนที่คลุมตัวบ้าน และทำทรงหลังคาให้ชันเพื่อระบายฝนรวดเร็ว  ส่วนหลังคากันสาดที่เรียกว่าปีกนกนั้น จะมุงด้วยจาก(ซึ่งเบา ทำให้โครงสร้างไม้ที่รองรับไม่เทอะทะสิ้นเปลือง) ต่อมาสมัยเมื่อมีสังกะสีใช้ ก็เอามาเปลี่ยนแทนจาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 06:04

หลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยแท้ ในสมัยที่เครื่องมุงทำด้วยกระเบื้องดินเผาจะไปไม่รอด โดยเฉพาะในส่วนยอดที่ตะเฆ่สันวิ่งขึ้นไปเจอกัน  นายช่างก่อสร้างท่านก็แก้ปัญหาโดยสร้างหลังคาซ้อนทับ เปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง แต่ความนิยมก็อยู่ในวงจำกัด ผมดูแล้วก็คงจะกันฝนรั่วไม่ได้ทั้ง๑๐๐%


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 06:10

บังเอิญผมไปเจอมาในเวป ตรงประเด็นที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่พอดี เชิญเข้าไปดูข้อความแบบเต็มๆครับ

http://www.oknation.net/blog/sigree-architect/2012/02/03/entry-1

สถาปัตยกรรมปัตตานี : หลังคาทรงบัว - Waqaf Roof
Posted by Sigree

เรามักจะเจอหลังคาประเภทหนึ่งบริเวญภาคใต้  จะว่าไปมันพิเศษมากมากจนมีคนถ่ายรูปเสมอ  หลายคนเรียกมันว่าหลังคาปั้นหยา 2 ชั้น แต่บรรดาผู้ศึกษาสถาปัตยกรรม อาทิผมเราเรียกมัยกเจาะจงกว่านั้นว่า หลังคาทรงบัว - Waqaf Roof

สำหรับในสังคมมุสลิมชายแดนใต้แล้ว  เราจะเรียกหลังคาประเภทนี้ว่า วากัฟ Waqaf  ซึ่งมาจากภาษาอาหรับที่แปลว่า สาธารณะประโยชน์

หลังคาแบบนี้มีการกล่าวถึงน้อยมากในงานวิจัยด้านอาคารและสถาปัตยกรรมต่างๆในพื้นที่ภาคใต้และอาคารใน 3 จังหวัดชายแดน
ศาลาริมน้ำ วัดชลธาราสิงเห นราธิวาส(Pavilion at Chonlatara Singhae Narathiwat Thailand)
หลังคาแบบนี้จะมีลักษณ์พิเศษคือ  มีลักษณ์ 2 ชั้นหรือมากกว่า เป็นปันหยาทรงจตุรัส  พบทั้งในแบบพุทธและมุสลิม


ครับ ผมเพิ่งเคยเห็นศัพท์ที่ว่าทรงบัวก็ครั้งนี้แหละ แต่ผู้เขียนยังต้องใช้คำว่า ทรงปั้นหยาขยายความคำว่าทรงบัวอีกทีหนึ่งเหมือนกัน

แต่วากัฟก็น่าจะทำให้ราชบัณฑิตสถานพิจารณาที่มาของทรงปั้นหยาได้แล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 08:26

ตัวอย่างอาคารที่ใช้เป็นหอพระหลังคาทรงปั้นหยาแบบไทยๆนะครับ

สถาปนิกผู้ออกแบบเห็นว่าถ้าปล่อยสันหลังคาขึ้นไปสบกันเป็นยอดแหลมแบบปิรามิด  เห็นทีจะแก้ปัญหาไม่ให้ฝนรั่วซึมได้ยาก ก็เลยนำมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปมาตั้งบนเรือนยอด


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 09:30

หลังคาทรงปั้นหย่าในจีน

ในเมืองจีนมีการสร้างหลังคาทรงปั้นหย่ามานานแล้ว อย่างไรก็ตามในจีนนี้การแบ่งทรงหลังคานี้ไม่ได้แบ่งว่าเป็นทรงปั้นหย่าเพียงยึดหลักว่าไม่มีหน้าจั่วเท่านั้น ยังมีการแบ่งตามรูปทรงของหลังคาอีก ทั้งนี้หลังคาจีนรูปทรงที่จัดว่าเป็นทรงปั้นหย่าของไทยมีอยู่ ๒ ตระกูล ซึ่งในจีนถือว่าเป็นคนละตระกูลกัน มีดังนี้

๑.   หลังคาแบบอู๋เตี้ยนติ่ง (庑殿顶:wu dian ding)
หลังคาประเภทนี้ในสมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่าหลังคาแบบ “ซืออ่าติ่ง” (四啊顶:si a ding) หลังคาประเภทนี้จะมีสันหลังคายาวอยู่ตรงกลาง แต่ไม่มีหน้าจั่ว ใช้สำหรับอาคารที่มีฐานะสูงและสำคัญมาก เช่นพระที่นั่ง หรือโบถ์วิหารต่างๆ

๒.   หลังคาแบบฉวนเจียนติ่ง (攒尖:cuan jian)
สมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่า ”โตว่เจียนติ่ง” (斗尖顶:dou jian) เป็นหลังคายอดแหลมแบบยอดมณฑปไทย ใช้สำหรับอาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่นักดังศาลา หรือยอดเจดีย์ทรงหอยคอยของจีน มีตั้งแต่ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม กระทั่งสิบสองเหลี่ยมยังมี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาอย่างน้อยตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นครั้งยุคราชวงศ์หมิง ชิงก็มีปรากฎทั่วไป   

คิดว่าที่บางตำราเรียกว่า "ซือจู้ติ่ง" (四柱顶:si zhu ding) น่าจะจัดอยู่ในตระกูลอู่เตี้ยนติ่ง

ที่มาข้อมูลนำมาจากหนังสือ "จงกั๋วกู่ไต้เจี้ยนจู้ซือเปี่ย" (中国古代建筑识别: zhong guo gu dai jian zhu shi bie) ของคุณหลี่จินหลง (李金龙:li jin long)

และตามค้นได้จากเว็ปไซด์ต่อไปนี้

http://www.confucianism.com.cn/html/yishu/6087412.html
http://baike.baidu.com/view/659377.htm

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 09:32

๑.   หลังคาแบบอู๋เตี้ยนติ่ง (庑殿顶:wu dian ding)



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 09:33

๒.   หลังคาแบบฉวนเจียนติ่ง (攒尖:cuan jian)



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 09:37

ทั้งนี้หลังคาหน้าจั่วมีชายคาล้อมรอบ เรียกว่า  เรียกว่า “เซี้ยซันติ่ง” (歇山顶:xie shan ding) ใช้สำหรับสถานที่ราชการหรือศาสนสถานสำคัญ จะถือเป็นหลังคาปั้นหยาหักมุข มีหน้าจั่วคงจะได้กระมัง

รูปประกอบ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 09:44

ผมอยากให้ท่านดูหลังคาทรงบาหลี ซึ่งเป็นทรงปั้นหยาบริสุทธิ์มุงด้วยแฝก คนไทยภาคกลางไม่นิยมใช้แฝกโดยจะใช้ใบจากแทน อาจเป็นเพราะหาง่ายกว่า หรือแฝกมันเป็นใบไม้มีคม ทำงานยากก็เหลือเดา หลังคาบ้านของเราจึงต้องออกแบบแตกต่างกว่าเขา ผมเคยลงทุนหอบตับหลังคาหญ้าจากบาหลีใส่กระเป๋าเดินทางมาไม้หนึ่ง ให้ผู้ชำนาญในเมืองไทยดูว่ามันเป็นหญ้าที่เมืองไทยไม่มีหรือเปล่า เขาบอกว่ามันเหมือนกับแฝกไทยเช๊ะ ยังงงว่าผมบ้าไปหอบกลับมาทำไม ก็ผมสงสัยว่าทำไมคนบาหลีเขาไม่กลัวว่า มันจะใช้ได้เพียงแค่ปีสองปีแบบหลังคาแฝกที่คนไทยทำ ผมเคยเห็นกับตา บางหลังในช่วงฤดูฝน พอเปิดประตูเข้าไปภายในก็ต้องผงะ เจอราขึ้นเต็มหลังคาน่าสยดสยองมาก ภายนอกตรงส่วนที่ร่มๆ มีเห็ดคล้ายๆเห็ดฟางขึ้นบนหลังคาได้ด้วย

กลับไปอีกครั้ง มีเวลาได้ดูชัดๆ คนบาหลีเป็นช่างระดับครู(ผมอยากเรียกว่าศิลปินช่างค้วยซ้ำ)ที่ประณีตมาก ไม่มีมั่วเพราะจะเอาเร็วเข้าว่า โครงหลังคาภายในปล่อยโล่งอวดแขกได้เลย ผมสงสัยว่าส่วนที่ตู้Build-inบังไว้ จะเนี๊ยบเหมือนกันไหม ลงทุนปีนขึ้นไปดูปรากฏว่าเหมือนกัน ตับแฝกมัดชิดติดกันแน่นหนาและมุงอย่างถี่ยิบ ถี่กว่าที่บ้านเราทำทางภาคเหนือหรือภาคใต้กว่าเท่าตัว ทำให้ได้ความหนาของตัวหญ้ามุงหลังคา ฝนไม่สามารถซึมทะลุผ่าน ภายในจึงไม่มีความชื้น และผมก็หาหยากไย่ไม่เจอเลย ไม่ทราบเขาว่าทำยังไงกับแมลงมุม ส่วนตะเฆ่สันก็ใช้แฝกนั่นแหละ มุงหนาพิเศษขึ้นไปอีกจนเห็นเป็นสันนูน ส่วนยอด แก้ปัญหาโดยทำเครื่องยอดด้วยดินเผาทรงระฆังมาครอบไว้ ฝนไม่อาจจะรั่วได้ หลังคาแบบปั้นหยาของเขาจึงคุ้มแดดคุ้มฝนให้คนที่อยู่อาศัยได้อยู่เย็นเป็นสุขอย่างยิ่ง

ผมหลงใหลในความสวยที่เรียบง่ายของสถาปัตยกรรมบาหลีแบบนี้มาก แต่คนไทยโบราณคงไม่ถูกรสนิยม เพราะมันไม่มีสีสันอันอลังการ ในบาหลีเองก็เถอะ มีสถาปัตยกรรมท้องถิ่นอีกแบบหนึ่งที่ละลานไปด้วยสีสดๆ และงานแกะสลักทั้งไม้ทั้งหินรุ่มรวยไปหมดเหมือนกัน น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากชวาและสุมาตรามาไม่น้อย  

สมัยใหม่นี้ รีสอร์ททรงหลังคาปั้นหยามุงแฝกจะได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวฝรั่ง ส่วนนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียเอง จะชอบแบบฉูดฉาดมากกว่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 10:02

อย่างไรก็ตาม มาถึงบรรทัดนี้แล้วก็อย่าเพิ่งหลงประเด็นนะครับว่า ผมเสนอว่าภาษาไทยบัญญัติคำว่า ปั้นหยา มาจากหลังคาแบบจีนโดยที่ฟังมาจากสำเนียงจากจีน

แต่ผมเสนอสมมติฐานว่า ปั้นหยามาจากรูปทรงอาคาร ของพระตำหนักกึ่งจีนกึ่งฝรั่งแบบเสปญที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกสมัยรัชกาลที่๓ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่าพระปั้นหยา

โดยที่ผู้รับเหมาและช่างก่อสร้างเป็นคนจีน เวลาเรียกตึกแบบเสปญเขาออกเสียงว่า  "ซี ปัน หย่า"  หรือ "ไซ ปัน หย่า"  หรือ "เซ ปัน เหย่" อันใดอันหนึ่งนี้แหละ พอเข้าหูคนไทยมาออกทางปากก็กร่อนเป็น ปันหย่า และ กลายมาสะกดว่า ปั้นหยา

พอจะเรียกรูปทรงหลังคาแบบที่ไม่ค่อยจะนิยมทำกันมาก่อนหน้านี้ ก็คงจะเริ่มต้นเรียกว่า หลังคาแบบพระปั้นหยา แล้วกร่อนมาเรื่อยๆ จนสุดท้ายเป็น หลังคาปั้นหยา ในปัจจุบัน

บันทึกการเข้า
Namplaeng
ชมพูพาน
***
ตอบ: 183


ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 10:20

อ้อ  และผมที่คุณเรียกว่า น้ำเพลิง อย่างให้เกียรติน้อย ก็แสดงความแย้งไว้ว่า

คนจีนเขามีชื่อเรียกหลังคาลักษณะปั้นหยา ของเขาอยู่แต่เดิม

สำเนียงจีนกลางที่ลากถูกันไป ก็ไม่ใช่สำเนียงหลักที่นิยมใช้ในกลุ่มชาวจีนใต้ที่ย้ายมาอยู่เมืองไทยแต่เก่าก่อน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 10:23

ขอประทานโทษครับ คุณNamplaeng ที่ผมเรียกว่าคุณน้ำเพลิง มิได้หมายจะลดเกียรติอะไรคุณเลย ถ้ารู้สึกเช่นนั้นก็ขออภัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 10:46

เนื่องจากแอดมินกำหนดให้สมาชิกสมัครใหม่ สะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เพราะเกรงว่าระบบจะไม่รู้จักฟ้อนท์ไทย    ชื่อไทยหลายชื่อจึงสะกดด้วยภาษาอังกฤษ    บางชื่อก็อ่านยาก  ทำให้คนอ่านอ่านผิดได้ง่าย
ดิฉันเคยอ่านชื่อคุณ Takae (ตาแก่) เป็น ตะเข้   ส่วนคุณ samun007  จนบัดนี้ก็ยังไม่รู้ว่าว่าอ่านว่าสมุนหรือสมัน     ชื่อคุณ namplaeng  ดิฉันอ่านว่า น้ำเพลง
ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว  คำว่า  namplaeng  คุณเจ้าของชื่อตั้งใจจะให้อ่านว่าอะไรกันแน่คะ

ไม่มีใครลดเกียรติใครในเรือนไทยหรอกค่ะ  อย่าได้คิดเช่นนั้นเลย  พวกเราส่วนใหญ่ก็มีวุฒิภาวะพอจะไม่ทำเช่นนั้น

ป.ล. แอดมินบอกดิฉันว่า  ความจริงระบบอ่านฟ้อนท์ไทยออก   ถ้าใครจะสมัครใหม่ก็ใช้่ชื่อภาษาไทยได้แล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง