เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111864 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 09:48

หลังคาทรงปั้นหยากลับมาตีคืนความนิยมอีกก็เพราะโครงสร้างหลังคาเปลี่ยนจากไม้มาใช้เหล็ก ไม่น่าเชื่อที่ภายในสี่สิบปี ไม้ที่ถูกกว่าเหล็กแบบไร้ราคาจะถีบตัวขึ้นมาแพงจนเกือบจะเป็นของที่จับจ้องไม่ได้ไปแล้ว เหล็กนอกจากเบา(เมื่อเทียบกับความสามารถในการรับน้ำหนัก) ยังไปกันได้ดีกับกระเบื้องโมเนีย(Product name) ซึ่งสีสวย ทนทาน เหมาะสำหรับหลังคาปั้นหยาที่สุด และตราบที่โครงสร้างหลังคายังเป็นเหล็ก หลังคาปั้นหยายังคงอยู่บนบ้านหรูๆไปอีกนาน และมีผู้ผลิตหรือนำเข้ากระเบื้องเซรามิกสวยๆออกมาให้เลือกอีกมากมายจนเลือกไม่ถูก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 10:08

แต่ก็ต้องจับตากระเบื้องหลังคาแบบเหล็กขึ้นรูป (Metal Sheet)ไว้ อาคารใหญ่ๆ เช่นโรงงาน โรงยิม เลิกใช้หลังคาลอนคู่หมดแล้ว ตลอดสิบกว่าปีก่อนหลังคาเหล็กแบบนี้รู้จักกันในนามว่า หลังคาซังโก้ ตามProduct nameของผู้ผลิตและวางตลาดรายแรก แต่ก็ใช้กันในวงแคบเพราะราคาที่ยังแพงมากเมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้องลอนคู่

ขณะนี้เกิดโรงงานนำแผ่นเหล็กม้วนมาขึ้นรูปเป็นกระเบื้องหลังคาแผ่ขยายไปทั่วพระราชอาณาจักร ทำให้ราคาลดลง และแพร่หลายในนามของเมทัลชี๊ตแทนที่คำว่าซังโก้ บ้านตามต่างจังหวัดใช้กันมาก เพราะถึงแม้จะต้องมีฉนวนกันความร้อนจากหลังคา แต่ก็ย่อมเยาพอสู้ได้ สีสันสวยแสบไส้เร้าใจยิ่งนัก 



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 10:09

บ้านในเมืองกรุงก็เถอะ จะเกิดแฟชั่นรูปทรงหลังคาใหม่ๆกันอีก

นักบัญญัติศัพท์ ควรเตรียมตัวกันไว้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 10:15

4.สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เรือนปั้นหยา บ้านทรงสเปญ บ้านทรงขนมปังขิง
   สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกิส - เนเธอร์แลนด์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไรหรือเปล่า



ผมไม่อยากจะตอบข้อนี้ มันยาว ขอผ่านให้ท่านอื่นก็แล้วกัน

แต่ไม่ถึงกับส่งกระดาษเปล่านะครับ

ผมฟันธงไปแล้วว่า สถาปัตยกรรมแบบชีโนโปรตุกิส ไม่มีในโลก คนในวงการท่องเที่ยวประดิษฐ์คำนี้ขึ้นมาเป็นจุดขายอย่างหนึ่งของภูเก็ต  เหตุผล ?….ขอให้ตามไปคลิ๊ก

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4376.75

เริ่มจากคคห.79

ขอเตือนกันก่อน !  กระทู้นี้ถ้าย้อนไปอ่านแต่ต้นจะสนุกมาก จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่รีบร้อน กำลังจะต้องทำอย่างอื่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 11:02

หมายเหตุ

มีเวลาพอที่จะย้อนไปอ่านที่โพสต์ พบว่าบกพร่องในการตวจทาน มีคำเกิน คำผิดอยู่บ้าง ปกติผมพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้พลาดแม้ตัวสะกด เพราะเคารพต่อผู้อ่าน บังเอิญเช้านี้สติไม่ค่อยจะตั้งมั่น แต่เข้าไปแก้สิ่งผิดไม่ได้แล้ว ต้องขออภัย

ถ้าผู้ดูแลเวปจะให้เวลามากกว่านี้อีกสักหนึ่งชั่วโมงก็น่าจะเป็นการดี นี่หิวข้าวเช้าจนตาลายเพราะนั่งเตรียมต้นฉบับแต่เช้าตรู่ พอส่งข้อความเสร็จ ไปจัดการเรื่องปากเรื่องท้องกลับมา ก็สายเกินแก้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 13:16

นี่เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่สี่ซึ่งแสดงว่าแฟชั่นกำลังเปลี่ยน พระนครคีรี หรือที่เรียกว่า เขาวังเพชรบุรีอันพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (ท้วม บุนนาค) ปลัดเมืองเพชรบุรีเป็นนายงาน สร้างขึ้นในรูปแบบตะวันตก แต่เอากระเบื้องคาแบบกาบกล้วยของจีนมามุง หลังคาจีนต้องปั้นปูนครอบแนวต่อเชื่อมระหว่างแนวแผ่นกระเบื้อง แลเห็นชัดเป็นจุดเด่นของหลังคาแบบนี้ ปัจจุบันยังต้องอนุรักษ์ไว้  แต่สมัยที่สร้างเสร็จไม่นานวัน ปูนถูกแดดถูกฝนยืดหดไม่เท่ากันก็ร้าว ฝนลงมาก็รั่วซึม คนซ่อมก็ไม่รู้จะซ่อมให้หาดขาดอย่างไร ในที่สุดต้องทิ้งร้างจนถึงรัชกาลปัจจุบันจึงได้เริ่มซ่อม ในการอนุรักษ์ครั้งใหญ่เมื่อยี่สิบปีก่อนได้รื้อหลังคาเดิมออกหมดแล้วกรุสังกะสีเป็นหลังคากันรั่วซึมเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงสร้างหลังคาในรูปแบบเดิมทับซ้อนลงไป

หลังคาที่เรียกว่าหลังคาแบบชาวตะวันตกจึงไม่เป็นที่นิยมจนกระทั่งมีแผ่นกระเบื้องที่เหมาะสมถูกสั่งเข้ามา แล้วจึงเริ่มปรากฏคำว่าหลังคาปั้นหยาขึ้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 13:35

การแก้ไขเรื่องเทคนิค เป็นของแอดมินค่ะ     ถ้าเข้ามาอ่านก็คงเห็นปัญหาของท่าน NAVARAT   ดิฉันขอผ่านไปให้แอดมินเพิ่มเวลาในการแก้ไขค.ห.ของสมาชิกนะคะ
แต่จากหน้าจอของดิฉันในฐานะผู้ดูแลเรือน   ดิฉันถูกตั้งให้แก้ไขค.ห.ของคนอื่นๆได้ตลอดเวลาค่ะ     ขอความกรุณาช่วยบอกด้วยว่าจะให้แก้ไขตัวสะกดในค.ห.ไหนของคุณ  ลอกมาลงให้ทั้งหมดก็ได้   ดิฉันจะ copy&paste ให้ตามนั้นเอง แล้วลบส่วนค.ห.ที่แจ้งมาออกเพื่อไม่ให้คนอ่านต้องอ่านซ้ำค่ะ
บันทึกการเข้า
ศิณาวรรณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 16:35

ขอแถมอีกนิดนะครับ ผมก็ไม่มีความรู้อะไร เป็นแต่เพียงชอบงานก่อสร้าง สถาปัตยกรรม ผมว่าเป็นศิลปอีกอย่างที่งดงามทีเดียว
ผมชอบรูปทรงและเส้นสายของงานสถาปัตยกรรม ผมชอบประโยชน์ใช้สอยจากงานก่อสร้าง ผมชอบวัฒนธรรมที่แฝงตัวอยู่ใน
บ้านเรือนที่พักอาศัยและอาคารสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมทั้งภูมิสถาปัตย์ที่เป็นองค์ความรู้อีกอย่างในงานสถาปัตยกรรมด้วย ตอนเด็ก ๆ
ผมไม่รู้ด้วยว่ามีศัพย์คำว่า "สถาปัตยกรรม" ตอนที่รู้ก็ไม่รู้ด้วยว่าแปลว่าอะไร คิดว่าคงเหมือนกับ "ก่อสร้าง" นั่นแหละ ถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้
ใครมีรากศัพย์ดี ๆ ช่วยขยายให้ทานหน่อย ครูบาอาจารย์ท่านใดมีความรู้ดี ๆ ก็ช่วยตอบเผยแพร่กันให้ด้วย เผื่อจะมีเด็กโง่ ๆ อย่างผม
เหลืออยู่บ้างจะได้พอมีความรู้ต่อไปบ้าง
หลังคาคงเป็นส่วนสำคัญของบ้าน อย่างน้อยก็คงมีหน้าทีเป็น "ครอบครัว" แต่ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวกับบทบาทในการ "คุ้มกะลาหัว" ด้วยหรือเปล่า
หลังคาเรือนไทยเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลาดลงมาสองข้าง มีหน้าจั่ว ระบายน้ำฝนได้ดี มองจากพื้นที่และรูปทรงแล้วน่าจะประหยัดทรัพยากรได้มาก
ทำงานก็ง่าย ด้านที่มักได้รับความเสียหายมักเป็นด้านจั่ว (ด้านสกัดนี่หมายถึงอะไรครับ) เคยพูดคุยกันแบบเปื้อน ๆ คือไม่ได้เอาสาระอะไรกันแน่นอนว่า
ประเทศสเปญเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมของยุโรป แถมมีแสงแดดและอากาศอบอุ่นด้วย ทำให้สเปญเหมือนกับเมืองบางแสนในทวีปยุโรป
คือเป็นสถานที่พักตากอากาศหนีหนาวที่ใกล้ที่สุดของยุโรป คนยุโรปใครอยากจะหนีหนาวแต่มีสตางค์น้อยก็มาแค่สเปญก่อน มีสตางค์มากค่อย
มาภูเก็ต สเปญก็เลยเป็นประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 1 มาตลอด ทีนี้พอมีมรสุม มีหาดทราย มีทะเล ฝนก็เลยมาจากทุกทิศทาง
ด้านจั่วก็เลยกันฝนไม่ได้ หลังคาก็เลยต้องลาดลงมาทุกด้าน เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสก็มี เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็มี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี่แหละที่มีสันหลังคา
5 เส้น ส่วนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมี 4 เส้นก็พอ ทีนี้พอยุคล่าอาณานิคม สเปญมาอยู่ที่ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นเกาะ สเปญก็เอาบ้านแบบสเปญมาสร้างอยู่
เพราะกันฝนได้ดี ต่อมาก็แพร่ขยายเข้ามาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สเปญไม่ค่อยมีบทบาทในพื้นที่เนื่องจากเป็นเขตดูแลของโปรตุเกส ตาม
สัญญา (ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรดี บางทีีก็ว่า "ตอร์เดซิบิส" บางที่ก็ว่า "ตอร์เดซิลลาส") หลังคาแบบสเปญคงต้องหาวิธีเรียงกระเบื้องให้ต่างออกไป
จากหลังคาไทยเพื่อจะได้ไม่ต้องตัดหั่นกันให้วุ่นวาย ว่ากันว่าการเรียงกระเบื้องหลังคาแบบกระเบื้องว่าวก็ช่วยทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ดีและ
เสียเศษน้อยด้วย จนถึงกับต้องมีการสร้างกระเบื้องว่าวขึ้นมาใช้งานเพื่อการนี้กันโดยเฉพาะเลย พอมาถึงการซ่อมแซมในยุคปัจจุบันก็เจอปัญหา
เขาไม่ผลิดกระเบื้องว่าวกันแล้ว เขาพูดให้ฟังมาอย่างนี้เท็จจริงอย่างไรก็ไม่รู้ ผมเลี้ยงเบียร์เขาอยู่เรื่อย ๆ เขาก็คุยให้ผมฟังอยู่เรื่อย ๆ ตอนหลัง
ไม่ค่อยได้คุยกัน ไม่ใช่เขาไม่อยากคุย แต่ผมไม่มีเงินเลี้ยงเบียร์เขามากกว่า ผมเคยไปเที่ยวเกาะสีชังบ่อย ๆ ผมอยากรู้ว่าเพื่อนผมเขาพูดจริงหรือ
เปล่าผมก็เลยขึ้นดาดฟ้าโรงแรงไปดูหลังคาบ้านของชาวบ้านบนเกาะ ก็เป็นหลังคาลาดลงทุกด้านอย่างที่ว่าเหมือนกันทุกบ้านเลย ถ่ายรูปเอามาด้วย
แต่ไม่รู้เก็บไว้ที่ไหน ถ้าเป็นที่รบกวนกันก็ต้องขอกราบขออภัยไว้ด้วยนะครับ ท่านที่มีเมตตาก็ช่วยบอกกล่าวสั่งสอนด้วยแล้วกัน / ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 18:05

.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 18:06

อ้างถึง
ผมไม่รู้ด้วยว่ามีศัพย์คำว่า "สถาปัตยกรรม" ตอนที่รู้ก็ไม่รู้ด้วยว่าแปลว่าอะไร คิดว่าคงเหมือนกับ "ก่อสร้าง" นั่นแหละ ถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้
ใครมีรากศัพย์ดี ๆ ช่วยขยายให้ทานหน่อย ครูบาอาจารย์ท่านใดมีความรู้ดี ๆ ก็ช่วยตอบเผยแพร่กันให้ด้วย เผื่อจะมีเด็กโง่ ๆ อย่างผมเหลืออยู่บ้างจะได้พอมีความรู้ต่อไปบ้าง


ผมขอตอบเฉพาะคำถามข้างบน เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจอื่นๆด้วย

ที่อัญเชิญมาเหนือกระทู้นี้ เป็นสำเนาลายพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ที่ได้พระราชทานแด่หม่อมเจ้า อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้ที่เพิ่งจะทรงเรียนจบการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมจากประเทศอังกฤษ เป็นการส่วนพระองค์


เมื่อจะมีการจัดตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ในรัชกาลต่อมา ได้มีการประชุมหารือในเรื่องศัพท์บัญญัติภาษาไทย โดยใช้แนวทางที่พระราชทานไว้มาปรับปรุงเล็กน้อย  คือ

Architecture                 เป็น  สถาปัตยกรรม
Architecture Science     เป็น  สถาปัตยกรรมศาสตร์
Architect                      เป็น  สถาปนิก
Architectural Drawing   เป็น  สถาปัตยเรขา

สถาปัตยกรรม น่าจะตั้งต้นรากศัพท์มาจากคำว่าสถาปนาที่สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าทรงเลือกใช้ แปลเป็นไทยในที่นี้ว่าก่อร่างสร้างขึ้น เมื่อเติมคำว่านิกลงไป ก็เปลี่ยนความหมายเป็น ผู้สร้าง สิ่งที่สถาปนิกสร้างขึ้นเรียกว่าสถาปัตยกรรม

ครูบาอาจารย์สถาปนิกท่านหนึ่งได้เขียนเรียบเรียงไว้ให้เข้าใจง่ายๆว่า สถาปนิก  สถาปนา  สถาปัตยกรรม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 18:56

คุณศิณาวรรณ อย่าไปวิตกกังวลใดๆเลยครับ ลูกศิษย์ผู้อยากแสวงหาความรู้ก็มีหลายแบบ อาจารย์ผู้ทรงความรู้ก็มีหลายแบบ วิธีการถ่ายทอดความรู้ก็มีหลายแบบ ความไม่รู้ย่อมมาก่อนความรู้เสมอ และความรอบรู้ต่างๆก็มิใช่เกิดได้ในช่วงข้ามคืน มันเป็นเรื่องของการสั่งสมและการใส่ใจที่จะใฝ่หาเพิ่มเติมไปให้ถึงแก่นถึงกึ๋น  การสอบถามและการแสดงความคิดเห็นออกมาโดยปราศจากนัยแอบแฝงจึงเป็นเรื่องที่ดี ในบางครั้งอาจารย์ก็นึกว่าเราเข้าใจในพื้นฐานบางอย่างมามากพอ ศึกษาหาอ่านมามากพอแล้ว จึงไม่ควรจะมีการตั้งคำถามบางอย่าง  อาจารย์ย่อมดุเสมอแต่ก็ใจดีพร้อมที่จะให้ความรู้เสมอมิใช่หรือครับ
    
การแหย่ถามอาจารย์เพื่อขอทราบคำตอบในเรื่องใดๆนั้น เป็นไปได้ทั้งอยากลองภูมิ อยากรู้ถึงระดับก้นบึ้งจริงๆ สักแต่ว่าถาม และเพื่อลดช่องว่างของความเงียบ จากประสบการณ์ทีผ่านมา ไม่เคยเห็นอาจารย์และผู้รู้จะนิ่งเงียบอยู่ได้ หากจะไม่ตอบก็อาจจะแสดงว่าไม่รู้ หรือเห็นว่าเป็นเรื่องงี่เง่า แต่อย่างน้อยอาจารย์ก็จะต้องไปแสวงหาคำตอบที่เป็นที่พอใจให้ได้  ยิงฟันยิ้ม

อยากจะบอกว่า ท่านนวรัตน์มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆในระดับปรมาจารณ์ท่านหนึ่งทีเดียวครับ  


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 19:10

^


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 19:26

ท่านตั้งครับ น้อยๆหน่อยครับท่านครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 19:49

คุณศิณาวรรณหมายถึงหลังคาสเปนอย่างในรูปข้างล่างนี้หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 31 มี.ค. 12, 20:17

อ้างถึง
พอมาถึงการซ่อมแซมในยุคปัจจุบันก็เจอปัญหา
เขาไม่ผลิดกระเบื้องว่าวกันแล้ว เขาพูดให้ฟังมาอย่างนี้เท็จจริงอย่างไรก็ไม่รู้

ไม่จริงครับ กระเบื้องว่าวมีให้เลือกมากกว่าสมัยก่อนเสียอีก


https://www.google.co.th/search?hl=th&sugexp=frgbld&gs_nf=1&cp=13&gs_id=1h&xhr=t&q=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5&rlz=1C2GGGE_enTH395&biw=1024&bih=540&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.,cf.osb&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=fgJ3T-CuGOjU0QWqo6CtDQ#um=1&hl=th&rlz=1C2GGGE_enTH395&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7&oq=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7&aq=f&aqi=g2g-S8&aql=&gs_l=img.12..0l2j0i24l8.11176l13749l0l21561l5l5l0l0l0l1l827l2782l4-2j2j1l5l0.frgbld.&pbx=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.,cf.osb&fp=c377971db295fddc&biw=1024&bih=540
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง