เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 17
  พิมพ์  
อ่าน: 111643 ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 11:01

เห็นภาพข้างบนนี้ แล้วอึ้ง
ไม่ได้เลี้ยวเข้าซอยไหนเลยนะคะ แต่ทางขาดค่ะ
ไปต่อไม่ถูกเลยทีเดียว

 อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 13:48

อ้าว เป็นงั้นไป


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 13:50

กลับรถ  เลี้ยวเข้าซอยใหม่
พาไปดูเรือนไทยมุสลิมทางใต้ค่ะ  เขาบรรยายไว้ว่า หลังคาเป็นหลังคาทรงสูง มีความลาดชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านโดยสะดวก โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่วมนิลา มีการต่อชายคาออกไปคลุมบันได เนื่องจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 13:53

บ้านหลังคาปั้นหยา  ในบริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์   เป็นบ้านเก่าแก่ เข้าใจว่าเป็นเรือนมหาดเล็กหรือข้าราชบริพาร ปลูกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 13:56

บ้านโบราณริมกว๊านพะเยา  หลังคาปั้นหยาผสมมะนิลา  ที่มีจั่วตรงหน้าบ้าน
บ้านนี้มีประวัติยาวเหยียด  ในเว็บ  http://phayaorath.net/vimon/?p=149

เป็นคฤหาสน์โบราณตั้งตระหง่านอยู่ริมกว๊านพะเยาด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นบ้านของ “คุณหลวงศรีนครานุกุล” คหบดีเชื้อสายจีน นามสกุล “สุทธภักติ และแซ่เจียว”ที่มีชื่อเสียงในภาคเหนือ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรณาธิการเขียนไว้ใน “สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์” ไว้ว่า “หัวหน้าชาวจีนก็ได้รับบรรดาศักดิ์ โดยได้รับยศเป็นพิเศษจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือเจ้านครของท้องถิ่นนั้น ในกรุงเทพฯ หัวหน้าชาวจีนมียศเป็นพระยา แต่ในหัวเมืองอื่นมียศเป็นชั้นพระ (เช่นโคราช) มียศหลวง (เช่นเชียงใหม่) หรือยศขุน (เช่นอุตรดิตถ์) ผู้เขียนโชคดีที่ได้สัมภาษณ์ จัน-ไฉ่-ชิง ที่ดูเหมือนจะเป็นคนจีนคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่เคยรับราชการเป็นหัวหน้าคนจีนในสยาม เขาได้รั้งตำแหน่งนี้ที่อุตรดิตถ์เป็นเวลาหลายปี ราว ค.ศ. ๑๙๐๒ (พ.ศ. ๒๔๔๕) และต่อมาได้เป็นนายอากรฝิ่นและสุราสำคัญในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ซึ่งที่นั่นเขายังใช้นามบรรดาศักดิ์ คือ หลวงศรีนครานุกุล ปัจจุบันนี้เขาใช้ชีวิตอยู่อย่างสุภาพบุรุษชาวไทย ลูกหลานเขาก็ถือว่าเป็นคนไทยมากกว่าคนจีน หลายเขาทั้งหมดมี ๓๐ คนล้วนเติบโตขึ้นอย่างเป็นคนไทยทั้งสิ้น..”

        ด้านสถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้เป็นรูปทรงปั้นหยา สองชั้น หลังคาหน้าจั่วมุงด้วย “แป้นเกร็ด” ที่ใช้กบไสผิวเรียบคล้ายกระเบื้องดินเผา ภายในจัดห้องนอนเป็นสัดส่วนสวยงาม ด้านหน้าชั้นสองเป็นห้องโถงโล่งมองเห็นกว๊านพะเยาได้ถนัด บันไดขึ้นชั้นสองเป็นรูปโค้งเรียงตัวพอเหมาะกับการเดินขึ้น ด้านหลังชั้นหนึ่งเป็นเรือนคนใช้คล้ายห้องแถวยาว โดยมีลานกว้างขั้นกลาง ประตูหน้าต่างแต่ละบานสลักสวยงาม ทุกบานมีช่องคอสองประดับด้วยกระจกลวดลายโบราณ ห่างออกไปด้านทิศตะวันตก มีเรือนชั้นเดียวรูปแบบด้านสถาปัตย์คล้ายกัน อยู่ท่ามกลางความร่มรื่นของต้นไม้โบราณขนาดใหญ่

         สร้างเมื่อปี ๒๔๖๕ บนเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ โดยช่างชาวจีนเมืองเซียงไฮ้และช่างพื้นบ้านชาวพะเยา  เจ้าของสร้างไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและดูแลกิจการคือ การต้มสุราริมกว๊านพะเยา ได้ขุดบ่อน้ำริมแม่น้ำอิงที่ไหลผ่านหน้าบ้านเพื่อสูบมากลั่นที่โรงกลั่นภายในบ้าน กิจการนี้ทำร่วมกับเพื่อนคนจีนคนหนึ่ง ซึ่งสร้างบ้านรั้วติดกันคือ หลวงพิสิษฐ์ไกยากร

          สมัยนั้นเมืองพะเยาไม่มีโรงแรมสำหรับบุคคลสำคัญที่จะเดินทางมาพักหรือเดินทางไปจังหวัดเชียงราย จึงต้องมาพักที่บ้านหลังนี้ เช่น

             ๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชินี โดยสมเด็จพระสวัสดีบันทึกในสมุดเยี่ยมว่า “ล้นเกล้าล้นกระหม่อมพระบาทสมเด็จพระโพธิสัตว์ได้มาพักเสวยข้าวกลางวันพร้อมด้วยพระบาทบริจาริกา โอรสธิดาและบริพารที่นี่..”  (๖ กุมภ์ ๗๒)

               ๒. พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา  นายกรัฐมนตรี   รัฐมนตรีประทรวงต่างประเทศ     ผู้บัญชาการทหารบก บันทึกไว้ว่า “ได้มาพักอาศัยในบ้านนี้ ๑ คืน เวลากลับจากไปส่งรัฐธรรมนูญฉบับจำลองประจำจังหวัดเชียงรายได้รับการต้อนรับจากเจ้าของบ้านเป็นอย่างดี” (๒๘ พย. ๗๗)    และในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองพลที่ ๔ ในศึกเชียงตุง ของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดัง พ.อ.จ. การียาเดชพิชัย ผบ.พล ๔ บันทึกไว้ว้า “ขอขอบคุณท่านเจ้าของบ้านเป็นอย่างมากที่ให้บ้านพักและเป็นที่ตั้ง บก. พล.๔ เป็นเวลานาน อำนวยความสะดวกให้ด้วยประการทั้งปวง ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแก่ท่านและครอบครัวชั่วกาลนานเทอญ” (๘ ธค. ๘๕)

         ปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ในการครองครองของนักธุรกิจโดยมีนายปิยะพงศ์  หอมวิเชียร เป็นหุ้นส่วนใหญ่และให้ผู้ประกอบอาชีพร้านค้าเมืองพะเยาเช่าเป็นร้านอาหาร


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 15:22

หลังคาวัดศรีรองเมือง ลำปางค่ะ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 15:35

หลังคาวัดสังฆทาน อีกครั้งค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 15:53

รูปหน้าก่อนที่ว่าเป็นวัดราษฎร์ประคองธรรม บรรยายผิดไป ที่จริงเป็นวัดสังฆทานค่ะ
วัดราษฎร์ประคองธรรม มีหลังคาแบบนี้


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 16:05

ลองเดาเล่นๆ สิคะ ว่าวัดนี้อยู่ภาคไหนของไทย... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 19:24

ดูภาพต่างๆที่โพสมา ตั้งแต่เหนืออจรดใต้ ดูเหมือนว่าหลังคาบ้านในไทยจะหันหน้า้จั่วเข้าหาถนนทั้งนั้น ลักษณะนี้พบเลยเข้าไปในมาเลเซียและคงจะเลยไปถึงอินโดนีเซียอีกด้วย อย่างนั้นคงจะต้องคิดใหม่แล้วว่า ทิศทางการวางจั่วบ้านในเอเซียนั้นเหมือนๆกัน ยกเว้นจีน
ความแตกต่างที่เป็นลักษณะเด่นประจำของแต่ละถิ่นคงจะขึ้นอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์และสังคม ซึ่งความต่างที่พอจะใช้จำแนกได้อาจจะปรากฎให้เห็นในสองส่วน คือ ภาพในองค์รวมของสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนตัวบ้าน และข้อบ่งชี้บางประการที่จั่วบ้านและหน้าบรรณ
ผมจะกล่าวอย่างนี้ได้ใหมครับ ฮืม หรือยังไม่ได้อีก

เมื่อเช้านี้ได้ดูสารคดี มาเลเซียเขาย้ายบ้านเก่าทั้งหลังไปสร้่างใว้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่กัวลาลัมเปอร์ จำชื่อเมืองที่พบบ้านเก่าไม่ได้ แต่คิดว่าเป็นเมืองใกล้ชายแดนไทย เขาบอกว่าเป็นลักษณะของบ้านในสถาปัตยกรรมแบบมาเลย์ ก็เหมือนๆกับบ้านคหบดีในภาคใต้ของไทย ไทยก็มีการจัดทำในลักษณะนี้เหมือนกัน แต่ดูเหมือนจะแยกอยู่คนละแห่งหน และที่พบมาส่วนมากก็เป็นการสร้างจำลองขึ้นมาใหม่ และไม่มีรายละเอียดเชิงช่างของช่างฝีมือของช่างเดิมๆปรากฎ ประเด็นที่แย่คือ คนในท้องถิ่นเองยังแทบจะไม่รู้เลยว่า ในแถบที่อยู่ของตนมีบ้านใดที่ได้สร้างโดยมีภูมิปัญญาของท้องถิ่นบรรจุอยู่อย่างพร้อมมูล ฝ่ายรัฐและผู้รู้เองก็ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรทั้งในเชิงการให้ความรู้และอนุรักษ์ ซึ่งผนวกไปอีกประการหนึ่งว่า คำว่าบ้่านไทยดูจะจำกัดอยู่แต่เฉพาะบ้านในภาคกลาง

บ้านแบบดั้งเดิมนั้น การดูแลรักษาแพงมาก ในหลายประเทศรัฐจึงเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนช่วยดูรักษาและให้อยู่ใช้ชีวิตประจำวัน แล้วช่วยโฆษณาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อจะได้มีรายได้ เป็นลักษณะของ Life Museum  ในญี่ปุ่นเอง การเปลี่ยนหลังคาบ้่านแบบ Gassho นั้นใช้เงินมากกว่า 20 ล้านเยน หากรัฐไม่ช่วยบ้านเหล่านี้ก็คงจะหมดไปแล้ว บ้านในแคนาดาในทุ่ง Prairie ที่ใช้ Bog peat ในการทำหลังคาและบางส่วนของตัวบ้านก็เช่นกัน บ้านเรือนวัดวาอารามของเก่าที่ใช้ไม้แผ่นเป็นกระเบื้องมุงหลังคาก็เช่นกัน ทั้งๆที่เขามีกฎหมายและระเบียบต้องห้ามเรื่องวัสดุที่เข้มงวดกว่าเรา ก็ยังมีปรากฎให้เห็นภายใต้เงื่อนไขพิเศษบางประการ

ผมรู้สึกว่า ของเรานั้นมักจะพยายามบรรยายมากกว่าจะอธิบายและให้ความรู้เชิงปรัชญา ภูมิปัญญาและแนวคิดในการสร้างส่วนต่างๆ

คิดว่าเลี้ยวเข้าซอยไปอีกแล้วครับ
 
ที่จริงก็เป็นอารัมภบทเพื่อจะพยายามดึงเข้าไปสู่เรื่องของบ้านและหลังบ้านของภาคต่างๆครับ   
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 19:31

อ้างถึง
ในญี่ปุ่นเอง การเปลี่ยนหลังคาบ้่านแบบ Gassho นั้นใช้เงินมากกว่า 20 ล้านเยน
เดาว่าเป็นหลังคาแบบนี้ค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าทำด้วยอะไร  ทำไมแพงจัง


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 19:43

สำหรับภาพของคุณดีดีนั้น จะขอร่วมสนุกเดาอีกรอบครับ
เดายากครับ
ลักษณะเด่นของวัดนี้คือตัวเสาที่รองรับอาคาร ตัวสถาปัตยกรรมนั้นดูจะมีของทุกภาครวมกันอยู่ แถมยังรวมอิทธิพลของหลายยุคไว้อีกด้วย
ที่เตะตาผมก็คือต้นไม้ (จำชื่อไม่ได้) ที่อยู่ระหว่างบันใดกับตัวเรือนใหญ่ เป็นต้นที่คนเหนือนิยมใช้เป็นพืชประกอบในการถวายของพระ ต้นไม้นี้เข้าใจว่ากินยอดได้ด้วย โดยเอามาต้มจิ้มน้ำพริก เชิงชายชายคามีไม้ฉลุแบบไทย เหมือนอยู่ในอิทธิพลพม่าหรือล้านนา ปลายปั้นลมดูเหมือนลักษณะนิยมทางภาคใต้ แถมมีเสา (ธง) ที่จั่วซึ่งค่อนข้างจะเป็นลักษณะจำเพาะของภาคใต้ ลักษณะที่หน้าบรรณผสมผสานมากทั้งกลาง ใต้ และเหนือ ตัวซี่ลูกกรงไม้ก็ดูจะเป็นลักษณะนิยมของทางใต้ แต่ก็เป็นที่นิยมของยุค ร.6 และต่อๆมา

ไม่เหนือก็ใต้ แต่จะขอเดาว่าคงจะอยู่ในภาคใต้ แถบระนอง พังงา ภูเก็ต กระมังครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 20:09

อ้างถึง
ในญี่ปุ่นเอง การเปลี่ยนหลังคาบ้่านแบบ Gassho นั้นใช้เงินมากกว่า 20 ล้านเยน
เดาว่าเป็นหลังคาแบบนี้ค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าทำด้วยอะไร  ทำไมแพงจัง

ใช่ครับ ผมเรียกชื่อวัสดุไม่ถูกครับ เป็นวัชพืชต้นกลมๆขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่ง ซม. หลังคานี้มุงซ้อนกันหนาประมาณหนึ่งศอก เก็บเกี่ยวต้นนี้ทั้งบึงยังไม่ทราบเลยว่าจะได้เพียงพอหรือเปล่า แน่นอนครับเป็นเรื่องของความต้องการเก็บความร้อนเพื่อความอบอุ่น ปกติแล้วหลังคาลักษณะนี้จะมุงกับบ้านสามชั้น ชั้นล่างสุดจะรียกว่าชั้นใต้ดินก็ย่อมได้ เป็นการขุดเป็นแอ่งกะทะลงไป ชั้นใต้ถุนหรือใต้ดินนี้ ได้รับการบอกกล่าวว่าใช้สำหรับผลิตดินปืน คือเป็นคลังแสง ชั้นถัดมาเป็นชั้นอยู่อาศัยตามปกติ ชั้นบนที่อยู่ใต้หลังคาโดยตรงเป็นชั้นที่ใช้เลี้ยงใหม ความอบอุ่นคงที่จึงเป็นที่ต้องการ หลังคาจึงต้องหนาครับ
ชั้นที่เป็นแหล่งให้ความร้อนความอบอุ่นทั้งบ้านคือชั้นที่อยู่อาศัย ซึ่งความร้อนจะลอยตัวขึ้นสูงสู่พื้นที่ใต้หลังคาให้ความอบอุ่นกับตัวไหมที่เลี้ยงไว้ในชั้นที่สาม ส่วนชั้นใต้ดินนั้นไม่ต้องการความอบอุ่นใดๆมากไปกว่าความอบอุ่นจากดิน
เนื่องจากความหนักของหลังคากระมัง คานรับน้ำหนักของหลังคาบ้าแบบญี่ปุ่นโบราณจึงเป็นต้นไม้ทั้งต้นที่มีลักษณะโค้งทั้งนั้น สร้างยากเนาะ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 20:15

นึกถึง thatch roof  ของอังกฤษเลยค่ะ    ไม่รู้ว่าเป็นหญ้าประเภทเดียวกันหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 01 มี.ค. 12, 20:18

ลองเดาเล่นๆ สิคะ ว่าวัดนี้อยู่ภาคไหนของไทย... ยิงฟันยิ้ม
เดาว่าภาคใต้ค่ะ  เห็นต้นมะพร้าวหลังบ้าน  ไม่ใต้ก็กลางค่ะ
ดูเสาคอนกรีตของบ้าน เหมือนเรือนข้าราชบริพารรัชกาลที่ ๖ ที่นครปฐม   ลายขนมปังขิงก็เหมือนบ้านเรือนสมัยรัชกาลที่ ๖ ในกรุงเทพและภาคกลาง
ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕  เรือนยกใต้ถุน หลังคาปั้นหยามีด้านหน้าเป็นจั่วแบบมะนิลา ดูจะกระจายไปเป็นบ้านเรือนราชการในหลายภาค  เลยฟันธงไม่ได้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 17
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.206 วินาที กับ 19 คำสั่ง