เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9858 วัดพระเชตุพน
Berry
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


 เมื่อ 16 ก.พ. 12, 00:27

รบกวนเล่าเรื่องวิวัฒนาการของการสร้างเจดีย์ในวัดพระเชตุพน(วัดโพธิ์)หน่อยได้มั้ยค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 07:46

พระเจดีย์ทั้งหลายที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเชตุพนนั้น กล่าวกันว่ามีพระเจดีย์อยู่ในวัดเป็นจำนวนมากที่สุด ซึ่งนอกจากพระเจดีย์ย่อมุมขนาดใหญ๋ ๔ องค์ (พระเจดีย์ ๔ รัชกาล) แล้วยังมีพระเจดีย์ย่อมุมไม้่สิบสอง ไม้ยิี่สิบ บนฐานเดียวกันกระจายตัวอยู่มากมาย

ซึ่งหากจะย้อนกลับไปเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยานั้น วัดแห่งนี้เป็นวัดเล็ก ๆ พื้นที่วัดมีลักษณะเป็นเส้นยาว ท้ายวัดเป็นป่าช้าซึ่งถูกถนนตัดผ่านไปหมดแล้ว และยังมีคูน้ำเข้าถึงวัดได้อีกด้วย ต่อเมื่อมีการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมานั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ท้ายพระบรมมหาราชวัง จึงได้กัลปนายกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง สถาปนาสร้างใหม่ทั้งวัด ทรงรวมรวมพระพุทธรูปตามหัวเมืองที่ชำรุดในปางต่าง ๆ นำมารวมรวมไว้ และทำการห่อหุ้มด้วยปูนใหม่ ประดับไว้ที่รอบพระระเบียง

สำหรับพระเจดีย์องค์สำคัญของวัด คงจะหนีไม่พ้น "พระเจดีย์ ๔ รัชกาล" ซึ่งเป็นพระเจดีย์ย่อมุมขนาดใหญ่ซึ่งสร้างไว้ในรัชกาลที่ ๑, ๓ และ ๔ ตามลำดับกัน

พระเจดีย์ที่สร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สถาปนานามว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ"

พระเจดีย์ที่สร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ สถาปนานามเฉลิมพระเกียรติพระราชบิดา (พระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน"

พระเจดีย์ที่สร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๓ สถาปนาอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน"

พระเจดีย์ที่สร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ สถาปนาอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 07:55

มูลเหตุแห่งการสร้าง"พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ" สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเห็นว่าควรจะทำการหลอมหล่อซ่อมองค์พระศรีสรรเพชญ ที่อัญเชิญมาจากกรุงเก่า ซึ่งได้ถูกไฟไหม้เมื่อครั้งเสียกรุง จึงให้มีพระราชปุจฉาโปรดให้สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) และพระราชาคณะทั้งปวง ประชุมค้นอรรถกถาแก้พระราชปุจฉานี้

จึงเป็นที่ตกลงกันว่ามิควรให้พระพุทธรูปที่ถูกทำลายไปนั้น เข้าหลอมด้วยไฟอีก ทรงโปรดเกล้าให้ให้ทำการฝังพระศรีสรรเพชญในห้องเมื่อก่อฐานราก แล้วจึงก่อเป็นพระเจดีย์หุ้มต่อขึ้นไป และประดับกระเบื้องเคลือบสีเขียว เป็นพระเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับด้วยกระเบื้องตัดกลีบดอกไม้ประดับไว้อย่างงดงาม อีกทั้งก่อพระระเบียงล้อมพระเจดีย์ไว้อีกชั้นหนึี่ง จึงเป็นมูลเหตุแห่งการสร้างพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 09:07

จารึกวัดพระเชตุพน บางตอนสลักข้อความไว้ว่า

"..ให้ขุดรากพระเจดีย์ใหญ่กว้างสิบวา ลึกห้าศอก ตอกเข็มเอาอิฐหักใส่กระทุ้งแน่น เอาไม้ตะเคียนยาวเก้าวา น่าศอกจตุรัส เรียงระดับประกับเป็นตารางสองชั้น แล้วเอาเหล็กตอกเห็ดใหญ่ยาวสองศอก ตรึงตลอดไม้แกงแนงทั้งสองชั้น หว่างแกงแนงนั้นเอาอิฐทรายถมกระทุ้งให้แน่น

ครั้นรุ่งขึ้นจึงเสด็จพระราชดำเนินมาลานพระเจดีย์ ชักชลอพระพุทธปฏิมาวางบนราก ได้ศุภฤกษ์ประโคมฆ้องกลองแตรสังข์ดุริยางค์ดนตรีปี่พาทย์ เสด็จวางอิฐทอง นาค อิฐเงิน ก่อราก แล้วข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวงต่างระดมก่อฐานกว้างแปดวาถึงที่บรรจุ จึงเชิญพระบรมธาตุฉลองพระเขี้ยวแก้ว พระเขี้ยวทอง พระเขี้ยวนาค บรรจุในห้องพระมหาเจดีย์ แล้วก่อฐานต่อไปจนสำเร็จสูงแปดสิบสองศอก พร้อมกับทำพระระเบียงล้อมสามด้าน ผนังเขียนนิยายรามเกียรติ์..."

ภาพลายเส้นจากหนังสือเขียนโดยจอห์น คอร์เฟอร์ด พิมพ์ที่ลอนดอน ปี 1828 เป็นภาพลายเส้น "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 09:20

การปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทำการบูรณะวัดเป็นการใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าตาของวัด มีสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมหลายอย่าง ล้วนงดงามวิจิตรบรรจงเป็นอย่างมาก

พระเจดีย์หมู่ ๕ ก็โปรดให้ก่อสร้างกำแพงแก้ว ประดับกระเบื้องปรุ ฐานก็ประดับศิลา องค์พระเจดีย์ก็ประดับกระเบื้องเคลือบ

ส่วนพระเจดีย์ภายนอก ๗๑ องค์ ก็โปรดให้ทำฐานศิลาประดับไว้ องค์พระเจดีย์ก็ประดับกระเบื้องเคลือบสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งสิ้น

ส่วนพระมหาเจดีย์ โปรดให้สถาปนาขึ้นใหม่ ๒ องค์ คือ องค์เหนือ และองค์ใต้ สูงเท่ากัน ประดับกระเบื้องเคลือบสีเหลือง และสีขาว อุทิศถวายตามข้อความที่อธิบายมาแล้วด้านบน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 09:30

ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๐๐ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระพรหมมุนี (ยิ้ม) วัดสุทัศน์ฯ ขึ้นเป็นพระพิมลธรรม ตำแหน่งเจ้าคณะรองคณะเหนือ แล้วโปรดฯ ให้อาราธนามาเป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพน

ในระยะนี้ทรงมีพระราชศรัทธาดำริจะสถาปนาพระมหาเจดีย์ขึ้น แต่ด้วยสิ่งก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีอยู่มากมาย จึงได้ขยายพระระเบียงซึ่งล้อมพระมหาเจดีย์ออกไปด้านตะวันตก รื้อประตูซุ้มออก ๒ ซุ้ม แล้วสร้างพระมหาเจดีย์ ถ่ายแบบจากพระเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์ ประดับกระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินขาบ ซึ่งพระเจดีย์องค์นี้ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชกาลที่ ๕

ในการนี้จากจดหมายเหตุพระราชวิจารณ์ ทรงกล่าวว่า ในขณะที่รัชกาลที่ ๔ จวนสวรรคตนั้นมีพระราชดำรัสไว้ว่า "พระเจดีย์ที่วัดพระเชตุพนนั้น กลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป จะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๔ พรองค์นั้น ท่านได้เห็นกันทั้ง ๔ พระองค์ จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้สร้างทุกแผ่นดินเลย"

ซึ่งพระราชดำรัสนั้นก็เป็นจริงอยู่ เนื่องจากการก่อสร้างพระมหาเจดีย์นั้นใช้พื้นที่มากในการก่อสร้าง และอาจจะต้องทุบทำลายรื้อสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จึงทรงมีพระราชดำรัสห้ามไว้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 09:37

พ.ศ. ๒๔๕๔ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้บูรณะพระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ อันได้แก่ พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ, พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน และพระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน ด้วยการอัดปูนซิเมนต์ใหม่ เปลี่ยนกระเบื้องเดิมประดับใหม่ และปลียอดทำเป็นคอนกรีต


บันทึกการเข้า
Berry
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 20:39

แล้วการใช้กระเบื้องมาตกแต่งพระเจดีย์อ่าค่ะ เริ่มตั้งแต่สมัยไหนค่ะ? คืออยากจะทราบว่าทำไมเค้าถึงต้องใช้กระเบื้องเคลือบมาตกแจ่งเจดีย์ทั้งที่อดีตมาเราไม่ไมีการตกแต่งแบบนี้ เป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากจีนมาหรือศิลปะในสมัยร.1มีแนวคิดยังงัยหรอค่ะ....
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 10:15

แล้วการใช้กระเบื้องมาตกแต่งพระเจดีย์อ่าค่ะ เริ่มตั้งแต่สมัยไหนค่ะ? คืออยากจะทราบว่าทำไมเค้าถึงต้องใช้กระเบื้องเคลือบมาตกแจ่งเจดีย์ทั้งที่อดีตมาเราไม่ไมีการตกแต่งแบบนี้ เป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากจีนมาหรือศิลปะในสมัยร.1มีแนวคิดยังงัยหรอค่ะ....

น่าจะเป็นแนวศิลปะนิยมในรัชกาลที่ ๓  สังเกตุดูได้จากศิลปะการประดับชิ้นกระเบื้องอย่างมากที่วัดพระเชตุพนแล้ว ที่วัดพระศรีรัตนศาสาดารมก็พบทั้งหลัง และพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามก็เป็นศิลปะประเภทเดียวกัน คือ เอาเครื่องกระเบื้องมาปะติดไว้ที่อาคาร


บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 18:16

วาน Han_bing  ค้นคว้าเรื่องกระเบื้องจีนใช้ตกแต่งพระเจดีย์ ในวัดพระเชตุพนฯ   ด้วย

รัชกาลที่ ๓ ท่านนำกระเบื้องมาแต่ที่ใดกันแน่  บ้างว่า เศษกระเบื้องแตกในไทย บ้างว่า

กระเบื้องมาแต่จีนมากมายนัก ทุบให้แตกแล้วใช้เป็นเครื่องตกแต่งพระเจดีย์ เพราะทนทานกว่าการใช้กระจก

และทำงานได้เร็วกว่า   จุมพิต
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 19:30

ระหว่างรอคุณ Han_bing มาให้คำตอบ ผมขอตั้งขอสังเกตุบางประการเกี่ยวกับชิ้นกระเบื้องที่นำมาประดับสถานที่ต่างๆ เช่น พระปรางค์วัดอรุณ, สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่วัดพระเชตุพนฯ และอาคารบางหลังที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามว่า

๑. ชิ้นกระเบื้องบางชิ้นเป็นการนำกระเบื้องแตกนำมาแต่งเข้ารูปโดยคีมปากนกแก้ว

๒. จาน - ชาม นำมาประดับทั้งใบ ตลอดจนตัดแต่งเจียขอบลบคมสวยงาม

๓. ชิ้นกระเบื้องส่วนใหญ่เป็นการตั้งใจผลิตขึ้นเพื่อประดับ

โดยเฉพาะในข้อ ๓. ที่มีการผลิตชิ้นกระเบื้องชิ้นเล็ก  ๆ โดยเฉพาะ มิได้เกิดจากการใช้เศษกระเบื้อง ซึ่งเป็นการทำตาม Order จะมีสี ขนาดและปริมาณที่ต้องการได้เป็นอย่างดี (ทำให้นึกถึงการทำจับฉ่าย หรือ แกงโฮะ ที่เดิมนำผักเหลือในแต่ละมื้อมารวมกันเป็น แต่สมัยนี้ก็นำผักสดมาทำเป็นจับฉ่าย) ซึ่งคือไม่ใช้เศษกระเบื้องแล้ว หากแต่ผลิตขึ้นทั้งหมดเพื่อควบคุมคุณภาพ

ภาพไก่เหนือกรอบประตูด้านใน ทางเข้าหอไตร ตรงยักษ์วัดโพธิ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Berry
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 20:47

แต่ตัวกระเบื้องที่ตกแต่ง"พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ"ก็เป็นการตกแต่งที่มีมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่1แล้วไม่ใช่หรอค่ะ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 21:35

แต่ตัวกระเบื้องที่ตกแต่ง"พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ"ก็เป็นการตกแต่งที่มีมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่1แล้วไม่ใช่หรอค่ะ?

หาได้ไม่ครับ อ้างถึงพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ กล่าวไว้ในการบูรณะวัดพระเชตุพนฯ ดังนี้ว่า

"...พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญานนั้นสถาปนาเมื่อแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สูง ๒๐ วา ๒ ศอก "ก่อหุ้มด้วยดีบุก" จะก่อสร้างขึ้นถวายในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราชเจ้าองค์ 1 และเป็นส่วนในแผ่นดินปัตยุบันนี้องค์ 1 เรียงกันเป็นแถว
ไป จึ่งโปรดให้ช่างทำต่อองค์กลางข้างเหนือขึ้นองค์ 1 ประดับกระเบื้องขาวอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระราชทานชื่อว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน องค์กลางของพระบาทสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ให้ประดับด้วยกระเบื้องเขียวองค์ข้างใต้ให้ประดับด้วยกระเบื้องเหลืองอุทิศเป็นส่วนในพระองค์ พระราชทานชื่อพระมหาเจดีย์มุนีปัตะปริกขาร

ดังนี้แล้วจะเห็นว่า พระมหาเจดีย์ดั้งเดิมที่ก่อสร้างในรัชกาลที่ ๑ นั้นก่ออิฐถือปูนหุ้มดีบุก และได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบสีเขียวประดับกระเบื้องประ ในสมัยรัชกาลที่ ๓
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 21:42

มาดูข้อมูลในโคลงดั้นพระเชตุพน ฯ โดยสมเด็จกรมพระปรานุชิตชิโนรส

พระเจดีย์รายและพระเจดีย์หมู่     

พายนอกรเบียงธให้กอป       ก่อเจ ดีย์นา
เจ็ดสิบเอ็ดองค์รัง                   เรขล้อม
รเบียงสายนอกคเนสูง          สามขนาด วาเอย
เสดสอกสองสร้างพร้อม       พรั่งเรียง
กระเบื้องถ้วยพิมดาษสิ้น       สดเคลือบ ศรีนา
ตกแต่งตามเขียงถาน             ทั่วถ้วน
ประกอปสิลาเหลือบ                  แลสอาด เขียวเอย
ทกทกองค์แล้วล้วน                  เล่หกัน
เจดีย์หมู่ละห้าสรพราศ              ไพบูลย์ บูรรพ์แฮ
มุมรหว่างพิหารคดสรรพ์           สิ่งสร้าง
ปฏิสังขรณนุกูล                        กอปใหม่ ทั่วนา
ประดับดั่งกลกี้อ้าง                  อ่าสมาน
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2547: 59-60)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 13:21

ตัดความจดหมายเหตุเรื่อง
สำเนาจารึกแผ่นศิลาว่าด้วยการปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพน
จ.ศ. ๑๑๙๓ พ.ศ. ๒๓๗๔
มาบางส่วนครับ... เข้าใจว่าน่าจะใกล้เคียงกับเรื่องที่คุยกันอยู่นี่


...อนึ่งพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพ็ชญดาญาณพระองค์เดิมนั้นชำรุด
ก็ทรงปฏิสังขรณะขึ้นใหม่ประดับกระเบื้องถ้วยกระเบื้องพิมเคลือบเปนลวดลายต่างต่าง

แล้วทรงถาปนาพระมหาเจดีย์ใหญ่สูงเสมอกันขึ้นใหม่อีกสองพระองค์เปนสามพระองค์ทังเดิม

จึ่งรื้อพระรเบียงเดิมก่อใหม่ขยาย ออกล้อมพระเจดิย์ทังสามองค์สามด้าน...



ปล. ขอบคุณทั้งคนพิมพ์ และคนปรูฟ
ที่เป็นสมาชิกเรือนไทยมานานแล้ว
แต่ไม่เคยเข้ามาตอบอะไรเลย นะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง