เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
อ่าน: 62986 เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 18 ก.พ. 12, 22:31

เรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมที่ร่ำลือกันนี้  หากพิจารณากันในประเด็นที่เจ้าแก้วนวรัฐฯ ไม่เคยบวชเป็นสามาเณรเลยไม่รู้หนังสือ  ทั้งหนังสือยวน (ตั๋วเมือง) และไทยใต้ (สยาม)  แต่ส่งเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่เมืองมะระแหม่ง  ซึ่งอยู่ในปกครองของอังกฤษ  แต่กลับส่งบุตรชายคนรองคือ เจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน) มาเรียนที่กรุงเทพฯ โดยให้อยู่ในปกครองของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี  แต่ก็มีบันทึกความผาดโผนในเรื่องผู้หญิงของเจ้าวงษ์ตวันจนพระราชชายาฯ ออกพระโอษฐ์ไม่ทรงรับเป็นผู้ปกครอง  โดยส่วนตัวเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นก็ไม่มีเอกสารหลักฐานใดกล่าวถึงความโลดโผนขแงท่าน  ผิดกับเจ้าราชบุตรที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  เรื่องนี้เลยชวนให้คิดไปว่าเรื่องของเจ้าน้อยศุขเกษมที่เล่าๆ กันมานั้นจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรหรือไม่  และเมื่อจะกล่าวกระทบไปถึงเจ้าราชบุตรก็เกรงว่าจะมีภัย  เลยไปใช้ชื่อเจ้าน้อยศุขเกษมผู้เป็นพี่ชายที่ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุเพียง ๓๐ เศษแทน  เรื่องนี้เพียงแต่เสนอไว้ให้ขบคิดกัน  เพราะไม่อาจหาหลักฐานเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมได้  แต่เรื่องเจ้าราชบุตรนั้นมีรายละเอียดพิสดารคล้ายๆ กันนี้

ถ้ามองในบริบทของสังคมปัจจุบันเรื่องส่งลูกคนนึงไปมะระแหม่ง อีกคนมากรุงเทพ ... ให้เดาเอาก็คงจะเป็นการแทงกั๊กเพราะไม่รู้ว่าสยามหรืออังกฤษจะเป็นพี่ใหญ่กันแน่ คล้ายๆ กับสมัยนี้ที่มีพ่อแม่หลายคนส่งลูกไปเรียนที่เมืองจีนหรืออินเดียมากขึ้น แทนที่จะส่งลูกไปอังกฤษหรืออเมริกาเหมือนแต่ก่อน แต่อันนี้เป็นบริบทในอดีตอาจจะเป็นเรื่องอื่นก็ได้ เดาเอาล้วนๆ ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 10:44

แต่ก็มีบันทึกความผาดโผนในเรื่องผู้หญิงของเจ้าวงษ์ตวันจนพระราชชายาฯ ออกพระโอษฐ์ไม่ทรงรับเป็นผู้ปกครอง  โดยส่วนตัวเจ้าน้อยศุขเกษมนั้นก็ไม่มีเอกสารหลักฐานใดกล่าวถึงความโลดโผนขแงท่าน  ผิดกับเจ้าราชบุตรที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  เรื่องนี้เลยชวนให้คิดไปว่าเรื่องของเจ้าน้อยศุขเกษมที่เล่าๆ กันมานั้นจะเป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตรหรือไม่  และเมื่อจะกล่าวกระทบไปถึงเจ้าราชบุตรก็เกรงว่าจะมีภัย  เลยไปใช้ชื่อเจ้าน้อยศุขเกษมผู้เป็นพี่ชายที่ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุเพียง ๓๐ เศษแทน  เรื่องนี้เพียงแต่เสนอไว้ให้ขบคิดกัน  เพราะไม่อาจหาหลักฐานเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมได้  แต่เรื่องเจ้าราชบุตรนั้นมีรายละเอียดพิสดารคล้ายๆ กันนี้

คุณวีมีพอจะเผยรายละเอียดพิสดารเรื่องความผาดโผนของเจ้าราชบุตรวงษ์ตวัน

ได้บ้างไหมหนอ

 ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 11:18

ถ้าหากว่าเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ (ระวังไม่เผลอใส่ไม้ตรี). เป็นเรื่องแต่งขึ้นอย่างที่คุณวีมีสันนิษฐาน. ก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก. เพราะเรื่องแต่งจะปรุงรสชาติเป็นแบบไหนก็ได้ทั้งสิ้น
แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง.  ดิฉันก็จับประเด็นว่าคงมีแค่เจ้าน้อยศุขเกษมเมื่อเป็นหนุ่ม.  ไปได้หญิงสามัญชาวพม่ามาเป็นนางเล็กๆคนหนึ่ง.   ข้อนี้ไม่แปลกสำหรับชายหนุ่ม.  และไม่จำเป็นว่าต้องมีนิสัยเจ้าชู้.    แต่เป็นเรื่องประสาผู้ชายในวัยหนุ่ม.   ยิ่งมีอำนาจราชศักดิ์และหน้าตาก็หล่อ.  ยิ่งหาเมียได้ง่าย.  จะเอาคนสวยขนาดไหนก็ได้
แต่เมื่อพ่อแม่ไม่เห็นด้วย.   ตัวเองก็ถูกจับหมั้นและจะเข้าพิธีแต่งงาน   เรื่องนางเล็กๆคนเดิมก็เป็นอันเลิกกันไป.   ถ้าไม่เลิกจะยิ่งเดือดร้อนกับตัวเองและตระกูล
นี่ก็เป็นคำตอบว่าทำไม เจ้าน้อยจึงไม่ให้มะเมียะเข้ามาพบ.     แต่ฝากเงินไปให้มากเอาการ. พอที่เธอจะไปตั้งตัวได้
ส่วนมะเมียะจะไปบวชหรือไม่.  เป็นแต่คำบอกเล่าซึ่งยังหาหลักฐานไม่ได้.     ถ้าเป็นชีวิตจริงที่ห่างไกลจากโรแมนติค. มะเมียะอาจกลับบ้านเดิม ไปเริ่มชีวิตใหม่ก็เป็นได้.     แต่มันจะจบแบบแห้งแล้ง. ไม่ประทับใจคนดู
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 11:45

ดิฉันก็จับประเด็นว่าคงมีแค่เจ้าน้อยศุขเกษมเมื่อเป็นหนุ่ม.  ไปได้หญิงสามัญชาวพม่ามาเป็นนางเล็กๆคนหนึ่ง.   ข้อนี้ไม่แปลกสำหรับชายหนุ่ม.  และไม่จำเป็นว่าต้องมีนิสัยเจ้าชู้.    แต่เป็นเรื่องประสาผู้ชายในวัยหนุ่ม.   ยิ่งมีอำนาจราชศักดิ์และหน้าตาก็หล่อ.  ยิ่งหาเมียได้ง่าย.  จะเอาคนสวยขนาดไหนก็ได้

ว่ากันตามเนื้อเรื่องที่รับรู้กันจากเรื่องของของคุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง  และเพลงของคุณจรัล มโนเพ็ชร ที่จบลงด้วยความว่า

"เจ้าชายก็ตรอมใจ๋ตาย มะเมียะเลยไปบวชชี  ความฮักมักเป๋นเช่นนี้ แลเฮย"

เจ้าน้อยศุขเกษมคงไม่มองมะเมียะเป็นแค่ "นางเล็ก ๆ" คนหนึ่ง

เป็นเพียงแต่ม่านประเพณีและการเมือง

ทำให้รักของทั้งสองต้องแรมรา

 เศร้า
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 12:07

โดยส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องนี้มาจากเค้าโครงเรื่องจริงแต่ถึงปรุงเพิ่มให้ถูกปากคนอ่านเรื่องราว ... หากเรื่องนี้มีส่วนจากเรื่องจริง การที่มะเมียะเป็นชาวพม่าย่อมมีส่วนทำให้เรื่องนี้จบแบบไม่แฮปปี้เอนดิ้งเพราะสถานการณ์ทางการเมืองอันละเอียดอ่อนที่เรื่องเล็กๆ อาจกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวได้ จึงจำเป็นต้องตัดไฟแต่ต้นลม เพราะถ้ามะเมียะเป็นคนไทย เรื่องก็อาจจะจบที่มะเมียะเป็นหนึ่งในภรรยาหลายๆ คนของเจ้าน้อย ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องไม่สบายใจ เรื่องฐานันดรก็ไม่ใช่ประเด็นเพราะเจ้ามีภรรยาเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 17:34

เรื่องของเจ้าราชบุตรเท่าที่เคยอ่านมาจากเอกสารจดหมายเหตุ  มีบันทึกว่าพระราชชายาฯ ทรงรับเจ้าวงษ์ตวันไว้ในพระอุปการะให้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ  โดยพักอยู่ที่ตำหนักพระราชชายาฯ  เธอก็ไปติดพันคุณข้าหลวงเจ้านายตำหนักอื่น  เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณก็โปรดให้ไปเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัย  เธอก็ไปวาดลวดลายส่งเพลงยาวจีบน้องสาวเพื่อนจนสุดท้ายพระราชชายาฯ ต้องส่งตัวกลับเชียงใหม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 20:17


"เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ กล่าวในฐานะคนในว่า “เรื่องมันไม่ได้เป็นนิยายอย่างนั้น มันไม่ได้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพียงแต่มันไม่เหมาะสม เพราะตามตำแหน่ง เจ้าน้อยฯ ต้องเป็นเจ้าหลวงในอนาคต หลายคนคงลำบากใจที่ได้เมียเป็นชาวพม่า และที่สำคัญ อุตส่าห์ส่งไปเรียนหนังสือ กลับได้เมียมา เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ต้องไม่พอใจ คงเหมือนสมัยนี้แหละ บางคนก็ต่อว่าเจ้าปู่เรา (เจ้าหลวงแก้วนวรัฐ) ว่าแบ่งขีดแบ่งชั้นกีดกันความรัก ความจริงอีกอย่างคือเจ้าอาว์ (เจ้าน้อยศุขเกษม) ก็รูปหล่อ เป็นลูกเจ้าอุปราชฯ ท่านก็เป็นคนสำราญตามประสาเจ้าชายหนุ่ม และตามที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ท่านมิได้หมกมุ่นตรอมใจจนตายอย่างนิยายว่า เรื่องเพิ่งจะมาเศร้าโศกปวดร้าวเมื่อคุณปราณี ขยายให้เป็นนิยายนี่เอง และถ้าเรื่องนี้เป็นไปตามนั้น ไม่มีทางจะปิดชาวเชียงใหม่ได้มิดหรอก ”

ตอบคุณเพ็ญชมพู
ดิฉันตัดประเด็นข้อเขียนของคุณปราณี  และเพลงของคุณจรัลออกไปเลย    ตามเหตุผลของเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 14 ก.ค. 12, 22:06

คุณวีมีให้ความเห็นน่าสนใจไว้ที่ พันทิป

เมื่ออ่านเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะนั้น  ได้พบข้อพิรุธอยู่หลายตอน  เช่น

๑) เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปเรียนที่มะละแหม่ง  คุณปราณีว่าเจ้าน้อยอายุ ๑๕ ปี  แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องอายุแล้ว  ปีที่อ่างว่าไปเรียนนั้นเจ้าน้อยมีอายุจริงได้ ๑๙ ปี ซึ่งน่าจะเลยเวลาเล่าเรียนไปแล้ว

๒) เรื่องเจ้าน้อยฯ ไปส่งมะเมียะขึ้นช้างกลับมะละแหม่งที่ประตูหายยา  เรื่องนี้ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นจริง  เพราะการเดินทางไปมะละแหม่งนั้น  จะต้องล่องเรือตามลำน้ำปิงไปเมืองระแหงหรือเมืองตาก  แล้วเดินบกไปมะละแหม่ง  การเดินทางจากเชียงใหม่ไปเมืองตากโดยทางบกนั้นไม่มีใครทำกัน

๓) คุณปราณีว่า เจ้าแก้วนวรัฐฯ และเจ้าน้อยฯ มอบเงินให้มะเมียะติดตัวกลับไปเป็นเงิน ๘๐๐ และ ๘๐ บาท  ข้อนี้ก็พิรุธเพราะสมัยนั้นทางล้านนาไม่มีการใช้เงินบาท  แต่ใช้เงินรูเปียอินเดียที่อังกฤษเอามาใช้ที่พม่า  ที่เรียกกันว่า "เงินแถบ"  เงินบาทเพิ่งจะขนขึ้นไปใช้จนแพร่หลายในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๔๕๙  หรือในช่วงกลางรัชกาลที่ ๖ มาแล้ว 

จากข้อพิรุธดังกล่าวจึงได้ตรวจเช็คข้อมูลเรื่องเจ้าน้อยศุขเกษมกับมะเมียะจากเอกสารหลักฐานทางราชการสยามแล้ว  ก็พิสูจน์ได้ว่าเรื่องดังกล่าวเกิดจากจินตนาการของคุณปราณี  ศิริธร ณ พัทลุง  ที่อาศัยเค้าโครงมาจากคำบอกเล่าที่เป็นเรื่องจริงของเจ้าราชบุตร (วงษ์ตวัน) ที่ลงมาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัยเมื่ออายุ ๑๔ ปี ในปีเดียวกับที่คุณปราณีระบุว่าเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่มะละแหม่ง  นอกจากนั้นในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ ยังพบความ "เรื่องประหลาด" ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์  ที่ทรงกล่าวถึงเจ้าราชบุตรจะสมรสกับหญิงคนหนึ่งที่เป็นธิดานอกสมรสของพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่ง  โดยในชั้นต้นเข้าใจกันว่าเป็นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์  จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการสมรสพระราชทาน  แต่เมื่อตรวจสอบแล้วสตรีนั้นเป็นบุคคลที่บิดาไม่รับเป็นบุตร  จึงมิได้เป็นหม่อมเจ้า  ในเมือมิได้เป็นเจ้าจึงต้องทรงวางเฉยในเรื่องนี้  และไม่ปรากฏว่าเจ้าราชบุตรได้สมรสกับหญิงคนนี้

จากคุณ : V_Mee   
เขียนเมื่อ : 14 ก.ค. 55 17:20:09

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 15 ก.ค. 12, 06:15

เห็นด้วยกับข้อวิเคราะห์ของคุณ V_Mee ค่ะ
บันทึกการเข้า
tita
พาลี
****
ตอบ: 253


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 06 ม.ค. 13, 18:15

สมาชิกใหม่ค่ะ  มานั่งอ่านเรื่องเก่า

อยากจะเรียนว่ารูปใน คห. 49 ที่ว่าเป็นรูปเจ้านางบัวนวลในวัยเด็กนั้น

อันที่จริงรูปนั้นเป็นรูปแม่เจ้าสุวรรณา  พระมารดาของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเชียงตุง กับมหาเทวี ชายา และเหล่าธิดาของเจ้าฟ้าเชียงตุง

ลำดับ 6.1 เป็นเจ้านางบัวนวลที่เป็นธิดาของเจ้าฟ้าเชียงตุงกับเจ้านางบัวทิพย์น้อย  ชายาองค์สุดท้ายค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 17 ก.พ. 15, 10:24

คุณวีมีให้ความเห็นน่าสนใจไว้ที่ พันทิป

ลิงก์ที่ให้ไว้ข้างบนปัจจุบันเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ขอแก้ไขเป็น

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2012/07/K12372564/K12372564.html#6

ล่าสุดคุณวีมีเขียนเรื่องนี้ไว้ในบทความลงในหนังสือศิลปวัฒนธรรม



สนใจติดตามหาอ่านกันได้เน้อ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 17 ก.พ. 15, 14:32

ต้องตามไปสอยมาอ่านเสียแล้วเจ้าค่า ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
prahnmongkol
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 ก.พ. 15, 21:26

ขอสนับสนุนความเห็นที่84 ของคุณ tita ดูจากเครื่องแต่งกายเป็นเจ้านายเชียงตุงแน่นอน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง