ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ค่ะอาจารย์ NAVARAT ขอโคว้ตข้อมูลบางส่วนจากลิ้งค์ที่อาจารย์ให้ไว้ก่อนหน้านะคะ
"ในขณะนั้นเมื่อได้ยินเนื้อเพลงว่า “มะเมี๊ยะเป็นสาวแม่ก้า คนพม่า เมืองมะละแหม่ง...” ก็ไม่เคยติดใจสงสัยอะไร ต่อเมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้วและได้ศึกษาประวัติศาสตร์มอญ สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ต่างก็บอกตรงกันว่า เมืองมะละแหม่งมีแต่มอญ ไม่มีพม่า
สภาพทั่วไปของเมืองมะละแหม่งนั้นเป็นเมืองเกษตรกรรมชายทะเล ริมอ่าวเมาะตะมะ รวมทั้งเป็นเมืองต้นทางของผู้เขียน เนื่องจากบรรพชนของผู้เขียนเคยอาศัยอยู่ในเมืองนี้เมื่อราว ๒๐๐ ปีก่อน คนมอญเรียกชื่อเมืองนี้ว่า โหมดแหมะเหลิ่ม เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วก่อนที่อังกฤษจะเข้ามาถึง เมืองนี้แทบหาคนเชื้อชาติอื่นไม่ได้เลย นอกจากคนมอใครอยากอ่านเหตุผลเต็มๆ เชิญได้ที่ลิ้งค์ของอาจารย์ NAVARAT ค่ะ ... แต่ลิ้งค์นี้คำสะกด มะเมี๊ยะ อาจไม่ผ่านคิวซีของอาจารย์เพ็ญชมพูนะคะ

ย้อนกลับไปมองภาพของวัดไจ๊ตาหล่านที่สองหนุ่มสาวเคยไปสาบานรักกันไว้ก็เป็นศิลปะกรรมแบบมอญล้านนา (ลักษณะพระพักตร์ ได้แก่ พระเกศาม้วนเป็นเกลียว ขนาดของพระวรกายได้สัดส่วนเป็นอย่างดี ดวงเนตรโดดเด่น พระมัสสุบากเป็นร่องและพระสอเป็นรอยย่น)
งั้นเราคงพอจะสันนิษฐานได้ว่า มีความเป็นได้สูงที่มะเมียะอาจจะเป็นสาวพม่าเชื้อชาติมอญ คนเชื้อชาติมอญในพม่าดูจะมีอิทธิพลและจำนวนมากพอสมควร ต่ายยังเคยได้ยิน คำว่า "พม่ารามัญ" บ่อยๆ เหมือนเป็นคำสร้อยที่ติดกันมา บางแหล่งยังกล่าวว่าแม้แต่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพม่าก็ยังมีเชื้อชาติมอญด้วย
ทีนี้ถ้ามะเมียะเป็นสาวมอญอย่างว่า ก็คงคมเข้มคล้ายๆ ในรูปที่อาจารย์เอามาส่งเข้าประกวด ... แม้จะไม่มีภาพถ่ายมะเมียะ แต่ก็เชื่อได้ว่ามะเมียะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยมากขนาดที่เจ้าน้อยศุขเกษมเห็นแล้วก็ต้องสะดุด แม้ว่านางจะเป็นเพียงหนึ่งในแม่ค้าขายยามวนในตลาดที่มีคนมากมาย