เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 62982 เจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 22:46

แก้ไขชื่อกระทู้ให้แล้วนะคะ  ลองดูค่ะ

กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูมา ณ ที่นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 00:24

เนื่องจากตำนานรักเรื่องนี้มีจุดหักเหที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างผู้เล่นสามฝ่ายคือ นครเชียงใหม่ สยาม และพม่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ... จึงอยากจะขอเกริ่นด้วยสภาพเหตุการณ์บ้านเมืองของล้านนาเพื่อจะได้เห็นความสัมพันธ์ในหลายๆ มิติ

สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 - 2068)

ในราวกลางราชวงศ์มังราย นับแต่สมัยพระยากือนา เป็นต้นมา อาณาจักรล้านนาเจริญขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งถือเป็นยุคทอง
หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เริ่มเสื่อมลง โดยกล่าวได้ถึงความเจริญเป็นประเด็นได้คือ ความเจริญทางพุทธ ศาสนา ในยุครุ่งเรือง ตามหมู่บ้านต่างๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนเขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายในปัจจุบัน

ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดสำคัญได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายกว้างขวาง มีพ่อค้าจากเมืองเชียงใหม่ ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม
ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะเป็นเมืองผ่านไปยังทางใต้และทางตะวันตก จึงมีพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่ ทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้ารวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่างๆ ทางตอนบน แล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองมอญ

กษัตริย์มีบทบาทการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่างๆ ในอาณาจักรส่งส่วยให้ราชธานีจึงออกกฎหมาย บังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามาถวาย รูปแบบการค้าของป่า กษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำกับดูแล สินค้าชนิดต่างๆ มีการพบตำแหน่ง "แสนน้ำผึ้ง" ซึ่งเป็นข้าหลวงที่ดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด

กำลังทหารที่เข้มแข็ง ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังที่เข้มแข็ง ดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา โดยทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้น ล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้



ภาพวัดเจดีย์หลวงหรือวัดโชติการามวิหารซึ่งสร้างขึ้นในสมัยที่ล้านนารุ่งเรือง
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 00:37

สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๑๐๑)

เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐราชขึ้นครองราชย์ จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน ช่วงเวลา ๓๓ ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง ๔ ปี เพราะขุนนางขัดแย้งกันเอง ตกลงไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ นอกจากนี้ ปัจจัยความเสื่อมสลาย ยังเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่างๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ

ในระยะแรก เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่างๆ ในระบบเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐขยายขึ้น จำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ระบบเครือญาติ แต่อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง

บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 00:45

ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.2101 - 2317)

นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วง ที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่าประสบปัญหาการเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นอำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอ

ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(พ.ศ. 2101) จนถึง พ.ศ. 2317 สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง 216 ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขการเมืองภายในของพม่าและปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา


สิงห์ศิลปะพม่า ณ วัดเชียงมั่น

บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 00:58

ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. 2317 - 2427)

หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ พ.ศ. 2317 แล้ว พระเจ้าตากสินทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พญาจ่าบ้าน (บุญมา) เป็นพญาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง และทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พม่ายังคงพยายามกลับมายึดเชียงใหม่อีกหลายครั้ง ซึ่งพญาจ่าบ้าน ป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยผู้คนมีอยู่น้อยและกำลังอดอยากจึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่ท่าวังพร้าวและลำปาง จากนั้นจึงกลับไปที่เชียงใหม่เมื่อพม่ายกทัพกลับ

การณ์เป็นไปในเช่นนี้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน พระเจ้ากาวิละเริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซางในพ.ศ. 2325 ก่อน จากนั้นจึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2339 ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ 500 ปี อิทธิพลของพม่าในล้านนาถือว่าได้สิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่า พศ. 2347 โดยกองทัพชาวล้านนาร่วมกับกองทัพไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนที่มั่นของพม่าได้สำเร็จ

พระเจ้ากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่า และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองพันนาและรัฐชานมาเชียงใหม่ หรือที่รู้จักกันว่ายุค ในยุคสมัยที่ว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้างและยังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง จากนั้นพระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ราชประเพณี โดยกระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในลักษณะเดียวกับราชวงศ์มังราย การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก และการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เป็นต้นเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละจึงมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเป็นศูนย์กลางของล้านนาที่เข้มแข็ง หลังจากสมัยพระเจ้ากาวิละแล้วก็มีเจ้าเมืองปกครองต่อมา รวมทั้งสิ้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน มี 9 องค์



ภาพ เจ้ากาวิละกู้เมืองเชียงใหม่ บนฐานด้านหนึ่งของอนุสาวรีย์ บรรพชนลานนาไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2539 เพื่อสมโภชเมืองเชียงใหม่ 700 ปี
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 01:04

นโยบายและวิธีการปกครองดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านมีลักษณะระมัดระวัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ล้านนาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าถึงสองร้อยกว่าปีย่อมมีความใกล้ชิดกับพม่ามาก รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เกรงว่าล้านนาจะหันกลับไปหาพม่า และในขณะเดียวกันพม่าก็พยายามแย่งชิงล้านนากลับคืนไปอีก รัฐบาลกลางจึงปกครองล้านนา โดยไม่เข้าไปกดขี่อย่างที่พม่าเคยทำกับล้านนา แต่กลับใช้วิธีการปกครองแบบผูกใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยยอมผ่อนผันให้เจ้าเมืองมีอิสระในการปกครองภายใน เศรษฐกิจ การศาล การต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าเมืองในโอกาสอันควร

การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในหัวเมืองประเทศราชล้านนามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดก็ผนวกเอาล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมือง มีการยกเลิกระบบการปกครอง เมืองประเทศราช ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งรัฐบาลกรุงเทพฯส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันของชาติรัฐซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ที่องค์พระมหากษัตริย์

การรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวางเป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว การดำเนินการต้องกระทำ 2 ประการคือ

ประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลาง ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไป

ประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับ พลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาว ไม่ใช่ไทย รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยแทนการเรียนอักษรพื้นเมืองในวัด และกำหนดให้กุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ ชาวเชียงใหม่และล้านนาต่างถูกผสมกลมกลืนจนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทย


การดำเนินการ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา การสาธารณสุขและอื่น ๆ โดยจัดเป็นระบบเดียวกับกรุงเทพฯ ในทุกด้าน
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 01:15

การผนวกล้านนาเข้ากับสยามอย่างละมุนละม่อมนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เรื่องราวระหว่างรัชกาลที่ 5 และเจ้าดารารัศมี (ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าน้อยศุขเกษม)


พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าหญิงดารารัศมี" พระนามลำลองเรียกกันในหมู่พระประยูรญาติว่า "เจ้าอึ่ง" ประสูติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เป็นพระราชธิดาใน พระเจ้าอินทวิชยานนท์ กับ แม่เจ้าเทพไกรสรพระมหาเทวี ซึ่งแม่เจ้าเทพไกรสรนั้นทรงเป็นพระราชธิดาใน พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และพระมหาเทวี เมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงดารารัศมีทรงพระอักษรทั้งฝ่ายล้านนา สยาม และภาษาอังกฤษ จนแตกฉาน ทั้งยังได้ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆจนนับได้ว่าทรงเป็นผู้รอบรู้ในด้านขนบประเพณีอันเก่าแก่เหล่านั้น

ในช่วงเลานั้นอังกฤษได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง พม่าแล้ว อังกฤษได้พยายามขยายอิทธิพลเข้ามายังนครเชียงใหม่และอาณาจักรหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ส่งราชทูตมาทูลขอ เจ้าหญิงดารารัศมี ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม ในเวลานั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงมีรับสั่งกราบทูลตอบกลับไปว่าอย่างไร โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระองค์นั้นได้พระราชทานเงื่อนไขว่า หากยกเจ้าหญิงดารารัศมีให้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระนางเจ้าฯ แล้วไซร้ เจ้าหญิงดารารัศมีจะได้ทรงครองพระอิสริยยศในทางราชการเป็นภาษาอังกฤษว่า "Princess Of Siam" เทียบเท่ากับพระราชโอรส-พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามทุกประการและเวียงพิงค์เชียงใหม่จะได้มีอำนาจมากกว่าเดิมอีกด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลว่า หากเจ้าหญิงดารารัศมีได้เป็นพระราชธิดาบุญธรรมในสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งอังกฤษแล้ว นครเชียงใหม่อาจจะต้องกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษไป เนื่องจากในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคมเป็นเมืองขึ้นตามประเทศต่างๆ แม้ว่าจะเป็นข้อเสนอที่ดูผิวเผินเพียงแค่เจรจาไมตรี หากมองดูลงไปให้ลึกซึ้งอังกฤษต้องการนครเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง (พม่า แล รัฐฉานหรือ เมิงไต นั่นเอง)

อย่างไรก็ตาม ความดังกล่าวได้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2426 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) ได้อัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชร ไปพระราชทานเป็นของเฉลิมพระขวัญแก่เจ้าหญิงดารารัศมี นัยว่าเป็นของทรงหมั้นนั่นเอง รวมทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ฯ พระราชทานเจ้าหญิงดารารัศมีตามแบบอย่างเจ้านายใน "พระบรมราชจักรีวงศ์" เป็นกรณีพิเศษ

ในปี 2429 นั้น พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้เสด็จลงมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมในพระราชพิธีลงสรง และสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าหญิงดารารัศมีได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมากรุงเทพฯ ในครั้งนี้ด้วย และได้รับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอม ตำแหน่งพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เลยประทับอยู่ ณ กรุงเทพพระมหานครนับแต่นั้นมา
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 01:26

ในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 นี้ บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทะยอยเข้ามาประกอบกิจการในเชียงใหม่เช่นบริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo) เข้ามาในราว พ.ศ. 2407 บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma) เข้ามาในราว พ.ศ. 2432 และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่น ๆ เข้ามาทำงานในกิจการดังกล่าว ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษเข้ามาในล้านนามากขึ้นตามลำดับ และในการทำป่าไม้ได้เกิดปัญหาถึงขั้นฟ้องศาลที่กรุงเทพหลายคดี

จากหลักฐานพบว่ามีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2401-2416 ตุลาการตัดสินยกฟ้อง 31 เรื่อง ส่วนอีก 11 เรื่องพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท เจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯได้ขอชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยอมรับ บังคับให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯก็ไม่ยินยอม ดังนั้น เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) ราชสำนักกรุงเทพฯให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้ขอนสัก 300 ท่อนต่อปี

ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเหตุหนึ่ง ให้ต้องมีการปฏิรูปการปกครองในมณฑลพายัพในเวลาต่อมา โดยเริ่มตั้งแต่ส่งพระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ปลัดบัญชีกรมพระกลาโหมไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำอยู่ที่เชียงใหม่ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและแนะนำให้พระเจ้าเชียงใหม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเชียงใหม่ พ.ศ.2416 และ โปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงพิเศษ มาจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนและดำเนินการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2427 ดำเนินการปฏิรูปการปกครองตามระบบมณฑลเทศาภิบาลอยู่ภายใต้การกำกับราชการของข้าหลวงเทศาภิบาล



พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7

พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 มีพระนามเดิมว่า เจ้าอินทนนท์ เป็นราชบุตรเจ้าราชวงศ์มหาพรหมฅำฅงกับแม่เจ้าฅำหล้า และเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เสกสมรสกับเจ้าเทพไกสร(เทพเกษร) มีบุตรและธิดากับแม่เจ้าเทพไกสรพร้อมกับแม่เจ้าอื่น ๆ และหม่อมอีก รวมทั้งหมด 11 คน คนที่มีบทบาทสำคัญต่อมา 3 องค์ คือ

โอรสคนที่ 6.เจ้าน้อยสุริยะ (ต่อมาเป็นเจ้าสุริยวงศ์- เจ้าราชบุตร-เจ้าอุปราช แล้วเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำดับที่ 8 |กำเนิดจากแม่เจ้ารินฅำ)
โอรสคนที่ 7.เจ้าแก้วนวรัฐ (ต่อมาเป็นเจ้าราชภาคินัย -เจ้าสุริยวงศ์-เจ้าราชวงศ์-เจ้าอุปราชตามลำดับ แล้วเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ลำดับที่ 9|กำเนิดจากหม่อมเขียว)
และพระธิดาองค์ที่ 11.เจ้าหญิงดารารัศมี (ต่อมาคือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 |กำเนิดจากแม่เจ้าเทพไกสร)
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 01:42

ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง สยามพยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อยรัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานโดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ

นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. 2439 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการสุรคตของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444 - 2452)


พระเมรุพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ณ ข่วงเมรุ (บริเวณตลาดวโรรส ในปัจจุบัน)
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 02:04

ครั้นพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ พระบิดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2441 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยได้ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร 2 ปี ได้เป็นเจ้าผู้ครองนคร 8 ปี รวมที่ได้ว่าราชการเมืองเชียงใหม่ 10 ปี สมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนี้ เป็นยุคที่มีข้าหลวงเทศาภิบาลกำกับราชการทั้งปวง ดังนั้น จึงไม่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและต้นไม้ทองต้นไม้เงินอีกต่อไป โดยที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ ได้รับพระราชทานเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท

ในบั้นปลายชีวิตของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนั้น ท่านเป็นโรคไอ แพทย์หลวงตรวจดูอาการพบว่า ปอดเสีย จนถึงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2452 ก็ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อชนมายุได้ 51 ปี



เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำดับที่ 8



บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 02:15

และช่วงเวลานั้นเอง (พ.ศ. 2441) ที่เจ้าแก้วนวรัฐ - ราชบุตรของเจ้าอินทวิชยานนท์ผู้วายชนม์ ผู้เป็นน้องของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น ก็ได้ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมวัย 15 ปี ไปเรียนที่โรงเรียน St. Patrick's School โรงเรียนกินนอนชายซึ่งเป็นคาธอลิคในเมืองเมาะละแหม่ง โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2385 ทำไมเจ้าราชบุตรจึงส่งลูกชายไปเรียนที่นั่น กล่าวกันว่าเจ้าแก้วนวรัฐค้าไม้สักกับพม่าเมืองเมาะละแหม่งจนสนิทสนมเป็นอันดีกับเศรษฐีพ่อค้าไม้ชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ อูโพดั่ง เจ้าน้อยศุขเกษมนั่งช้างจากเชียงใหม่ไปถึงเมาะละแหม่งได้พักที่บ้านพ่อค้าอูโพดั่งในช่วงวันหยุด วันเรียนหนังสือก็อยู่ที่โรงเรียนกินนอน

ในทัศนะของฝ่ายสยาม เจ้าแก้วนวรัฐทำไม่ถูกต้องที่ส่งลูกชายคือเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนที่พม่าในปี พ.ศ. 2441 เพราะขณะนั้นสถานการณ์เริ่มคับขันแล้ว สยามกำลังจะยกเลิกฐานะเมืองขึ้นของล้านนาและรวมล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม มีข่าวว่าเจ้านายล้านนาหลายคนไม่พอใจอำนาจท้องถิ่นที่ถูกสยามลิดรอน เจ้าดารารัศมีจึงไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาเคารพและเผาศพพ่อ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในปี 2440 และน่าเชื่อว่าเจ้าแก้วนวรัฐส่งเจ้าน้อยศุขเกษมไปเรียนหนังสือที่พม่าโดยมิได้แจ้งหรือปรึกษาหรือขออนุมัติจากสยาม

บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 02:27

โรงเรียน St. Patrick's School ที่เมืองเมาะละแหม่งซึ่งเจ้าน้อยศุขเกษมได้มาเข้าเรียนนั้น เป็นโรงเรียนคาธอลิคแห่งแรกที่อังกฤษตั้งขึ้นที่พม่า ปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนอีกแห่งไปแล้วในชื่อ  BEHS-5 Mawlamyine  







ภาพโรงเรียน BEHS-5 Mawlamyine ในปัจจุบัน หรือ โรงเรียน  St. Patrick's School ในอดดีต
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 02:45

จนเมื่อปี 2445 หนุ่มน้อยศุขเกษมวัย 19 ปีไปเที่ยวตลาดไดวอขวิ่น ซึ่งเป็นตลาดห่างจากบ้านพ่อค้าอูโพดั่งราว 10 นาที ก็ได้พบและหลงรักสาวน้อยวัย 15 ปี นาม "มะเมียะ" (ภาษาพม่าแปลว่ามรกต) สาวมะเมียะ ขายบุหรี่เซเล็ก (ภาษาพม่าแปลว่ายามวน) ก็รักหนุ่มน้อยจากเชียงใหม่เช่นกัน เมื่อความรักเพิ่มพูนกลายเป็นความมุ่งมั่นและความผูกมัด วันหนึ่ง ทั้งสองก็ชวนกันขึ้นไปไหว้พระเจดีย์ไจ้ตาหล่านอันเป็นที่เคารพสูงสุดของชาวเมือง สาบานว่าจะครองรักกันไปตราบสิ้นลม และถ้าผู้ใดผิดคำสาบานก็ขอให้มีอันเป็นไป





ภาพการทำบุหรี่พม่าที่ม้วนด้วยมือ



พระประธาน วัดไจ้ตาหล่าน



มหาเจดีย์ทอง วัดไจ้ตาหล่าน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 06:00

สมมุตินามตามท้องเรื่องว่าชื่อ "มะเมียะ"

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 06:15

ขอส่งสาวพม่าเข้าประกวด"มิสมะเมียะ"มั่ง

แต่ เขาว่า มะเมี๊ยะเป็นสาวมอญ นะครับ

http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538727377&Ntype=2


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 19 คำสั่ง