เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 12996 รบกวนอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบการแต่งกายของข้าราชการกระทรวงวัง สมัยร.6 -ร.7
dummyyummy
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 15 ก.พ. 12, 12:01

สวัสดีครับผมเป็นสมาชิกใหม่  อยากทราบข้อมูลเกระเบียบการแต่งกายของข้าราชการกระทรวงวัง สมัยร.6 -ร.7 และบรรดาศักดิ์ เช่นคุณหลวงน่าจะมีตำแหน่ง หรือยศใดครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 17:08

พอจะตอบเรื่องเครื่องแบบและระเบียบการแต่งเครื่องแบบได้  แต่อยากให้ขยายความให้ชัดเจนกว่านี้ครับ  จะได้ตอบได้ตรงประเด็น

ถ้าว่ากันถึงเครื่องแบบพื้นฐาน  ก็จะประกอบด้วยเครื่องแบบกติ คือ เครื่องแบบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการประจำวัน  ก็จะประกอบด้วยเสื้อราชปะแตนขาว  ติดดุมทองตราพระมหามงกุฎ  ที่คอติดแผ่นคอตามชั้นยศ คือ ชั้นมหาเสวกเทียบเท่านายพล  แผ่นคอเป็นสักหลาดดำปักลายกนกที่ริมขอบ  ต่อมาเปลี่ยนเป็นทาบแผ่นไหมทองเต็มทั้งแผ่น  ติดเครื่องหมายประจำการป็นอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.ร. พระมหามงกุฎเงิน  ภายหลังเปลี่ยนเป็นพระมหามงกุฎรัศมี  มีเครื่องหมายยศเป็นรูปจักรโลหะสีเงินติดทับบนแผ่นคอ  ยศชั้นตรีติด ๑ จักรที่ตรงกลางคอ  ยศชั้นโท ติดเป็น ๒ จักร เรียงจากบนลงล่างที่กลางคอ  ยศชั้นเอกติดเหมือนชั้นโท  แต่เพิ่มจักรอีก ๑ จักรที่ปลายแผ่นคอตรงแนวตะเข็บบ่าเสื้อ  ถ้าเป็นยศชั้นเสวกเทียบนายพัน  แผ่นคอพื้นดำ  ติดแถบไหมทองกว้าง ๑ เซนติเมตรที่ริมขอบ  กับมีแถบไหมทองขนาด ๓ มิลลิเมตรพาดกลางตามทางยาวแผ่นคอ  และชั้นยศรองเสวกเทียบนายร้อย  แผ่นคอเหมือนชั้นเสวกต่างกันที่ไม่มีแถบทองพาดกลาง  ส่วนเครื่องหมายประจำก่รและดาวหมายยศใช้เหมือนกับชั้นมหาเสวก

ผ้านุ่งไหมสีน้ำเงิน  สวมถุงเท้าขาวหรือดำ  รองเท้าหนังดำ

เครื่องแบบเต็มยศ ครึ่งยศ(ขาว)  หมวกขนดำใบพับ (ค๊อกแ็ต) ยศชั้นมหาเสวกตอนบนเป็นพูสีขาว  ยศชั้นเสวกและรองเสวกพู่ดำ เสื้อและแผ่นคอเหมือนเครื่องแบบปกติ  เปลี่ยนนุ่งกางเกงสักหลาดดำติดแถบทองลายไชยพฤกษ์ตามชั้นยศที่ขากางเกงทั้งสองข้าง  ยศชั้นมหาเสวกแถบทองกว้าง ๕ เซนติเมตร  ชั้นยศเสวกแถบทองกว้าง ๔ เซนติเมตร  ชั้นรองเสวกติดแถบทองกว้าง ๓ เซนติเมตร  ถุงเท้าดำ  รองเท้าหนังดำ  มีกระบี่ฝักหนังดำเครื่องทองยอดพระเกี้ยว พู่กระบี่ไหมทอง คาดในเสื้อ

เครื่องแบบเต็มยศใหญ่  หมวกค๊อกแฮ๊ตเหมือนเต็มยศและครึ่งยศขาว  เสื้อสักหลาดดำแบบอีหนิ่งเดรสด้านหน้าเสมอเอวด้านหลังเป็นหางยาวลงไปเสมอเข่า  คอเสื้อเป็นกำมะหยี่สีดำปักลายกนกด้วยไหมทอง  ที่ต้นคอเสื้อติดเครื่องหมายประจำการรูปอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ ว.ป.รงหรือพระมหามงกุฎรัศมีตามช่วงเวลาที่กำหนด  ยศชั้นมหาเสวกปักทองเป็นลายกนกเต็มหน้าอก  ยศชั้นเสวกปักลายกนกเป็นแนวเฉพาะช่วงกลางอกจากคอเสื้อลงไปจนถึงชายเสื้อด้านหน้า  ชั้นรองเสวกไม่มีลายกนกที่อกเสื้อ  กางเกงสักหลาดขาวมีเข็มขัดกัวโลหะสีทองรัดปลายขากางเกงที่ใต้หัวเข่า  มีโบว์ไหมทองและดุมพะมหามงกุฎสีทองขนาดเล็กติดที่ขากางเกงตรงที่รัดใต้หัวเข่า  ถุงน่องขาว  รองเท้าแบบคอ๊ตชู (Court Shoes) หนังดำประดับโบว์เข็มสีทอง  คาดกระบี่แบบพระราชสำนักเหมือนเต็มยศครึ่งยศขาว

บรรดาศักดิ์หลวงนั้นถ้าเป็นข้าราชการกระทรวงวังมักจะได้รับพระราชทานในระหว่างเสวกตรีกับรองเสวกเอก  ถ้าเป็นข้าราชการพลเรือนก็จะมียศเป็นอำมาตย์ตรี หรือรองอำมาตย์เอก  อาจจะมีบ้างที่ได้รับพระราชทานยศถึงเสวกโท หรืออำมาตย์โทที่เทียบเท่านายพันโท  ส่วนตำแหน่งนั้นน่าจะสูงสุดเพียงปลัดกรม  หรือเทียบกับปัจจุบันน่าจะเทียบได้กับตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย
บันทึกการเข้า
dummyyummy
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 19:33

ขอบคุณมากครับคุณv_mee สำหรับข้อมูล ผมจะนำข้อมูลไปใช้ในการทำเสื้อผ้าประกอบภาพยนต์ไทยครับ เลยต้องการความถูกต้องตามแบบแผนและยุคสมัย ครับ  สำหรับรายละเอียดตัวแสดง นี้มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณหลวงรับราชการกระทรวงวัง อายุประมาณ35ปี เมื่อพศ 2458 (สมัยรัชการที่6)น่าจะมียศประมาณเสวกตรี  และรับราชการต่อมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้เลื่อนยศไปตามลำดับครับ ถ้าได้รูปประกอบด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 19:55

ดิฉันมีภาพวาดของคุณพระมหาเทพกษัตรสมุห  (เนื่อง สาคริก) พระตำรวจหลวงหรือมหาดเล็กประจำพระองค์ที่ทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 19:59

พระเอกของคุณ เป็นคุณหลวงอายุ 35 ปีเมื่อพ.ศ. 2458   เวลาผ่านไปจนถึงพ.ศ. 2475 อายุ 52 ปี  ถ้าไม่ติดขัดอะไรในราชการ น่าจะเลื่อนถึงชั้นพระยาได้   คงจะได้เป็นมหาเสวกตรี พระยา...
มีรูปของมหาเสวกตรีพระยาทิพมณเฑียร(สนั่น บุนนาค)มาให้ดูเสื้อของท่านค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 21:03

ท่านผู้นี้ชื่อชัพน์ บุนนาค เป็นลูกเสือคนแรกของสยาม
ท่านรับราชการในกรมมหาดเล็ก และรับราชการในรัชกาลที่ 6  จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายลิขิตสารสนอง


บันทึกการเข้า
dummyyummy
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 23:39

ขอบคูณครับคณเทาชมพู
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 07:50

ความเห็นที่ ๓ คุณพระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่องาคริก) แต่งเครื่องแบบเต็มยศกรมมหาดเล็กยศชั้นรองหัวหมื่น (เทียบนายพันโท)
ความเห็นที่ ๔ พระยาทิพมณเฑียร  แต่งเครื่องแบบเต็มยศ มหาเสวกตรี
ความเห็นที่ ๕ นายลิขิตสารสนอง  แต่งเครื่องแบบเต็มยศกระทรวงวัง  ยศชั้นเสวกตรี

ความต่างของเครื่องแบบเต็มยศ คือ กระทรวงวังใช้เสื้อดำปักดิ้นทอง  กรมมหาดเล็กใช้เสื้อน้ำเงินปักดิ้นเงิน
เครื่องหมายยศติดที่ข้อเสื้อเหมือนกัน  ยศชั้นเอก ๒ จักร  ยศชั้นโท ๒ จักร  ขศชั้นตรี ๑ จักร
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 08:08

ขอบคุณมากครับคุณv_mee สำหรับข้อมูล ผมจะนำข้อมูลไปใช้ในการทำเสื้อผ้าประกอบภาพยนต์ไทยครับ เลยต้องการความถูกต้องตามแบบแผนและยุคสมัย ครับ  สำหรับรายละเอียดตัวแสดง นี้มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณหลวงรับราชการกระทรวงวัง อายุประมาณ35ปี เมื่อพศ 2458 (สมัยรัชการที่6)น่าจะมียศประมาณเสวกตรี  และรับราชการต่อมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้เลื่อนยศไปตามลำดับครับ ถ้าได้รูปประกอบด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

ปกติแล้วข้าราชการกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ ๖ ถ้าอายุถึง ๓๕ ปีแล้ว  น่าจะมีบรรดาศักดิ์ถึงคุณพระ  แต่ถ้ารับราชการในตำแหน่งไม่สำคัญก็คงจะเป็นหลงวงไปเรื่อยจนออกจากราชการในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เพราะในรัชกาลที่ ๗ นั้นข้าราชการเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์ช้ามาก  ตัวอย่างเช่น พระมหาเทพกษัตรสมุห (เนื่อง  สาคริก)  เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๖ เป็นนายเวรมหาดเล็ก  มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงนาย"  มียศเป็นรองหัวหมื่น ที่สูงกว่าคุณหลวงทั่วไป  ถึงรัชกาลที่ ๗ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าหมื่น" หรือ "พระนาย" ซึ่งสูงกว่าพระ แต่ต่ำกว่า พระยา แล้วย้ายไปรับราชการกรมพระตำรวจหลวงเป็นเจ้ากรมพระตำรวจในซ้าย  ซึ่งปกติตำแหน่งนี้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา  แต่มีพระราชกระแสว่า อายุยังน้อย ไว้ให้อายุสัก ๔๐ ค่อยเป็นพระยา  คุณพระมหาเทพฯ เลยต้องเป็น "พระมหาเทพฯ"  ซึ่งบางทีก็มีคนมาถามหา "เจ้าคุณมหาเทพฯ" เพราะคิดว่าเป็นพระราชาคณะจนตลอชีวิตของท่าน  ฉะนั้นตามเรื่องของคุณ dummyyummy  ถ้าคุณหลวงได้เลื่อนยศและบรรดาศักดิ์ในรัชกาลที่ ๗ ก็ไม่น่าจะมียศและบรรดาศักดิ์เกินไปกว่า เสวกโท พระ......
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 20:59

คุณเจ้าของกระทู้ไม่ได้ถามถึงการแต่งกายของสตรีในสมัยรัชกาลที่ ๖   แต่เจอรูปนี้เลยอยากนำมาลงในกระทู้ด้วย  เผื่อเป็นประโยชน์แก่คนอ่านที่กำลังค้นคว้าเรื่องการแต่งกายสมัยรัชกาลที่ ๖ ทั้งชายและหญิง
สตรีในรูปคือคุณหญิงเฉลา  ภรรยาพลตรีพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ)   คงเป็นการแต่งกายแบบไปงานราตรีสโมสรหรืองานใหญ่งานใดงานหนึ่งที่เกี่ยวกับในวัง    หรูหราแบบตะวันตกมาก


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 21:07

ขอบคุณมากครับคุณv_mee สำหรับข้อมูล ผมจะนำข้อมูลไปใช้ในการทำเสื้อผ้าประกอบภาพยนต์ไทยครับ เลยต้องการความถูกต้องตามแบบแผนและยุคสมัย ครับ  สำหรับรายละเอียดตัวแสดง นี้มีบรรดาศักดิ์เป็นคุณหลวงรับราชการกระทรวงวัง อายุประมาณ35ปี เมื่อพศ 2458 (สมัยรัชการที่6)น่าจะมียศประมาณเสวกตรี  และรับราชการต่อมาจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ได้เลื่อนยศไปตามลำดับครับ ถ้าได้รูปประกอบด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

ปกติแล้วข้าราชการกระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ ๖ ถ้าอายุถึง ๓๕ ปีแล้ว  น่าจะมีบรรดาศักดิ์ถึงคุณพระ  แต่ถ้ารับราชการในตำแหน่งไม่สำคัญก็คงจะเป็นหลงวงไปเรื่อยจนออกจากราชการในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เพราะในรัชกาลที่ ๗ นั้นข้าราชการเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์ช้ามาก 

จริงอย่างคุณวีมีท่านว่าไว้ อายุ ๓๕ แล้วในกลางรัชกาล ยังเป็นแค่คุณหลวง กระทรวงวัง
ตลอดรัชกาลที่เหลือคงไปได้ไม่เกิน คุณพระ เพราะพระยากระทรวงวังหายากมาก (ถ้าไม่ได้ย้ายมาจากพวกมหาดเล็ก หรือมีความสามารถทางด้านโขนละคร)

แต่ผมว่าคุณหลวงคนนี้คงอาจจะรับราชการอยู่ไม่ถึงเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เป็นได้ น่าจะถูกดุลย์เสียแต่ปลายรัชกาลที่ ๖ หรือต้นรัชกาลที่ ๗ แล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 21:18

ถามเจ้าของกระทู้
ในภาพยนตร์เรื่องนี้  คุณหลวงพระเอกของเรื่อง มีบรรดาศักดิ์เป็นอะไรในปี 2475  ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองคะ?
ปี 2458  เป็นคุณหลวง อายุ 35 ปี
ปี 2468  ปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6  คืออีก 10 ปีต่อมา   คุณหลวงอายุ 45  น่าจะขึ้นถึงคุณพระแล้ว
ปี 2475 อีก 7 ปีต่อมา   คุณพระ(?) อายุ 52 ยังไม่ได้เป็นพระยา 
ทั้งนี้องค์ประกอบอื่นๆ  ขึ้นกับว่าคุณหลวงอยู่ในตำแหน่งสำคัญมากน้อยเพียงใด   และมาจากสกุลสำคัญหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 22:19



คุณอาร์ท 47   กระทรวงวังมีพระยาหลายคนนะคะ   ข้อมูล ๒๔๗๔ พิมพ์แจกใน  ๒๔๗๕

พระยาบำเรอภ้กดี
พระยาศรีวิกรมาทิตย์
พระยารัตนพิมพาภิบาล
พระยาศรีศักดิ์ศักดิ์ธำรง
พระยาเทวาธิราช

พระยาประสารพิธีกร
พระยาวงศาภรณ์ภูษิต
พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์

พระยาราชวัลลภานุศิษย์
พระยาอิศราธิราชเสวี
พระยาไพชยนต์เทพ
พระยาชาติเดชอุดม
พระยาพิพิธไอสูรย์

พระยานัฎกานุรักษ์
พระยาราชพัสดุ์อภิมัณฑ์
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ก.พ. 12, 19:34



คุณอาร์ท 47   กระทรวงวังมีพระยาหลายคนนะคะ   ข้อมูล ๒๔๗๔ พิมพ์แจกใน  ๒๔๗๕

พระยาบำเรอภ้กดี
พระยาศรีวิกรมาทิตย์
พระยารัตนพิมพาภิบาล
พระยาศรีศักดิ์ศักดิ์ธำรง
พระยาเทวาธิราช

พระยาประสารพิธีกร
พระยาวงศาภรณ์ภูษิต
พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์

พระยาราชวัลลภานุศิษย์
พระยาอิศราธิราชเสวี
พระยาไพชยนต์เทพ
พระยาชาติเดชอุดม
พระยาพิพิธไอสูรย์

พระยานัฎกานุรักษ์
พระยาราชพัสดุ์อภิมัณฑ์


คุณวันดีครับ
เหล่าเจ้าคุณที่เอ่ยชื่อมานั้น จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ

1. สายมหาดเล็ก
-มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา)
-มหาเสวกตรี พระยาเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล)
-มหาเสวกตรี พระยาอิศราธิราชเสวี (เลื่อน บุนนาค)
-มหาเสวกตรี พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล)
-มหาเสวกตรี พระยาไพชยนต์เทพ (ทองเจือ ทองเจือ)
-เสวกเอก พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)

2. สายอื่นๆ
-มหาเสวกตรี พระยาวงศาภรณ์ภูษิต (รื่น วัชโรทัย) ภูษามาลา
-มหาเสวกตรี พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ย้ายมาจากกระทรวงกลาโหม ยศนายพลตรี
-เสวกเอก พระยาศรีวิกรมาทิตย์ (สงวน สิงคะเนติ) จบเนติบัณฑิต
-เสวกเอก พระยารัตนาพิมพาภิบาล (หม่อมหลวงสวัสดิ์ อิศรางกูร) ย้ายมาจากกระทรวงกลาโหม ยศนายพันเอก
-เสวกเอก พระยานัษฎานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูโขนละคร
-เสวกโท พระยาประสารพิธีกร (เบี้ยว วาศภูติ) ภูษามาลา
-นายพันเอก พระยาราชวัลลภานุศิษฎ์ (ฟู วรโภค) ถึงอยู่กระทรวงวัง แต่ก็เป็นนายทหารยศพันเอก ผู้บังคับการทหารรักษาวัง


นอกจากนี้ยังมีเจ้าคุณที่ผมไม่แน่ใจว่าท่านขึ้นมาจากสายอะไรอีก คือ
-เสวกเอก พระยาศรีศักดิ์ธำรง (จุณ บุณยรัตพันธุ์) เจ้ากรมปลัดบัญชี
-เสวกเอก พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงศิริ อิศรเสนา) เจ้ากรมวังนอก
-เสวกเอก พระยาพิพิธไอศูรย์ (หม่อมหลวงยินดี อิศรเสนา) เจ้ากรมพัสดุ
-เสวกโท พระยาราชพัศดุอภิมณฑ์ (อั้น ณ สงขลา) ผู้รักษาพระราชวังไกลกังวล
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 ก.พ. 12, 07:18

ขอแก้ไขข้อมูลคุณ art47 ดังนี้ครับ

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงแยกราชการในพระราชสำนักออกเป็นส่วนชัดเจน คือ กระทรวงวังรับผิดชอบงานพระราชพิธีต่าง  และกรมทหารรักษาวัง  กับกรมมหาดเล็กรับผิดชอบการรับใช้ส่วนพระองค์  ส่วนราชการกรมมหาดเล็กประกอบด้วย ๑. กรมมหาดเล็กรับใช้  ๒. กรมมหรสพ  ๓. กรมพระอัศวราช  ๔. กรมชาวที่  ทั้งหมดรวมขึ้นบังคับบัญชาในกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก  ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ โปรดให้ยุบกรมมหาดเล็กรวมเข้ากับกระทรวงวัง  และให้เลิกใช้เครื่องแบบและยศมหาดเล็กมาใช้เครื่องแบบและยศกระทรวงวังเหมือนกันหมด  จึงทำให้แยกได้ยากว่าผู้ใดเป็นมหาดเล็กผู้ใดเป็นข้าราชการกระทรวงวังมาแต่เดิม  และที่คุณ art47 ระบุมาว่าท่านใดมาจากสายมหาดเล็ก  ท่านใดมาจากกระทรวงวังจึงดูจะเคลื่อนไปนิดครับ  ขอแก้ไขเป็นดังนี้ครับ

1. สายมหาดเล็ก
-มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา)
-มหาเสวกตรี พระยาอิศราธิราชเสวี (เลื่อน บุนนาค)
-มหาเสวกตรี พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล)
-มหาเสวกตรี พระยาไพชยนต์เทพ (ทองเจือ ทองเจือ)  เป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ ๗
-เสวกเอก พระยานัษฎานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูโขนละคร  เจ้ากรมโขนหลวง  กรมมหรสพ
-เสวกเอก พระยาพิพิธไอศูรย์ (หม่อมหลวงยินดี อิศรเสนา) เจ้ากรมพัสดุ
-เสวกโท พระยาราชพัศดุอภิมณฑ์ (อั้น ณ สงขลา) ผู้รักษาพระราชวังไกลกังวล ท่านผู้นี้เดิมเป็นเจ้าพัสดุ  แล้วย้ายไปรักษาวังไกลกังวลในรัชกาลที่ ๗


2. สายอื่นๆ
-มหาเสวกตรี พระยาเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล)  กรมพระราชพิธี  เคยดำรงตำแหน่งสมุหพระราชพิธี
-มหาเสวกตรี พระยาวงศาภรณ์ภูษิต (รื่น วัชโรทัย) ภูษามาลา
-มหาเสวกตรี พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ย้ายมาจากกระทรวงกลาโหม ยศนายพลตรี
-เสวกเอก พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)  ราชทินนามนี้เดิมเป็นตำแหน่งอธิบดีกรมชาวที่  ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้เป็นราชทินนามสำหรับตำแหน่งปลัดบัญชาการกระทรวงวัง
-เสวกเอก พระยาศรีวิกรมาทิตย์ (สงวน สิงคะเนติ) จบเนติบัณฑิต  สังกัดกรมพระนิติศาสตร์  ดูเหมือนจะเป็นผู้ช่วยสมุหพระนิติศาสตร์
-เสวกเอก พระยารัตนพิมพาภิบาล (หม่อมหลวงสวัสดิ์ อิศรางกูร) ย้ายมาจากกระทรวงกลาโหม ยศนายพันเอก
-เสวกโท พระยาประสารพิธีกร (เบี้ยว วาศภูติ) ภูษามาลา
-นายพันเอก พระยาราชวัลลภานุศิษฎ์ (ฟู วรโภค) ถึงอยู่กระทรวงวัง แต่ก็เป็นนายทหารยศพันเอก ผู้บังคับการทหารรักษาวัง
-เสวกเอก พระยาศรีศักดิ์ธำรง (จุณ บุณยรัตพันธุ์) เจ้ากรมปลัดบัญชี
-เสวกเอก พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงศิริ อิศรเสนา) เจ้ากรมวังนอก


ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น  มักจะทรงหมุนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากส่วนราชการต่างๆ  เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในพระราชสำนักชั่วเวลาหนึ่ง  เหมือนกับให้กลับเข้ามาพักหลังจากที่ไปประจำปฏิบัติราชการในหัวเมืองมานาน  มาอยู่ในพระราชสำนักสักปีหรือสองปีก็หมุนกลับออกไปรับราชการในสายงานเดิม

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง