เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 37319 วัดใหญ่สุวรรณาราม.... ที่คุณ 'ไม่รู้จัก' !!!
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 09 ก.พ. 12, 07:01

ตั้งแต่กลับเข้าเรือนไทยมานี่
มีคนแอบมาค่อนแคะให้ทางหลังไมค์
ว่าผมเปิดกระทู้ชื่อล่อแหลมบ่อยกว่าเดิมแยะ...
ไม่จริงนะ 'ของทู่' เราก็ล่อ... เอ๊อะ ม่ะช่ายยยย...

เปิดกระทู้ใหม่คราวนี้ อีกสักพักก็คงจะต้องโดนอีก
เพราะเล่นมาพูดถึง 'วัดใหญ่สุวรรณาราม'
ที่คนสนใจศิลปะไทยคนไหนๆก็ต้องรู้จัก
แต่ผมดันมาขึ้นชื่อไว้ว่า ที่คุณ 'ไม่รู้จัก' !!! นี่น่ะสิ!

ตาติบออวดดีอะไร ถึงได้มาใช้คำพูดแบบนี้?
ดูถูกคนสนใจศิลปะไทยกันขนาดนี้ได้ยังไง?? เฮอะ!!!


เปล่านะคราบ.... ไม่ได้ดูถูกดูผิดอะไรทั้งนั้น
ไม่มีมูลฝอย... ติบอ บ่ขี้ หรอกคราบบบบ หิหิ



เอ๊า... ดูของคุ้นหน้าคุ้นตา ที่แต่ละท่านรู้จักกันดีไปก่อนนะคราบบ
'เสาวัดใหญ่' ครับผม




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 07:26

แวะเวียนเข้ามากราบพระนิ้วหก ครับ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ก.พ. 12, 00:34

น่ากลัวคุณ Siamese อาจจะต้องผิดหวังไปอีกสักพัก
เพราะผมยังหารูปพระหกนิ้วในคอมพ์ตัวเองไม่พบเลยครับ

กระทู้นี้เริ่มต้นกับพี่ๆน้องๆในเรือนไทยกัน
เมื่อสักช่วงเวลานี้ของปีที่แล้วเห็นจะได้ครับ
เมื่อเพื่อนสมาชิกคนหนึ่งเกิดอยากได้ 'ลายฝาผนัง' สมัยอยุธยาขึ้นมา...
เพื่อนำไปทำรูปทรงสันนิษฐานเปรียบเทียบกัน

ในที่สุด หลังจากปรึกษากันมาสักพักหนึ่ง...
เราก็มาถึงทางตันกันทั้งหมด ด้วยเหตุว่า
'เราไม่เหลือลายฝาสมัยอยุธยาตอนปลายแท้ๆมาให้เห็นกันเลย'
หนทางต่อไปในการทำงานของพวกเราท่าจะยากลำบากเสียแล้ว...

เว้นเสียแต่ว่าเราจะยอมใช้ทางเลือกสุดท้าย
ที่นักวิชาการค่ายไหนๆก็ไม่เคยใช้กันมาก่อน...
คือ 'การไปทำ rubbing กันที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี' ครับ



บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 ก.พ. 12, 00:50

หลายคนคงงง ว่าทำไมต้อง 'วัดใหญ่สุวรรณาราม'
ขออนุญาตเล่าคร่าวๆ พอสังเขปแล้วกันนะครับ
ว่าวัดแห่งนี้เป็นแหล่งรวบรวมศิลปะวัตถุสมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับของเดิมที่สุด ที่เหลือมาถึงปัจจุบัน
แต่ฝาเจ้ากรรมนี่ดันถูกทาสีทับไปเมื่อหลายปีก่อน
ลายที่มีอยู่ก็เลย 'มี แต่ มองไม่เห็น' กันครับ

นักประวัติศาสตร์ศิลปะแต่ละท่านสันนิษฐานกันว่า
วัดแห่งนี้ถูกบูรณะครั้งใหญ่ราวๆราชวงศ์ปราสาททอง
หรืออาจจะล่าลงมานิดหน่อยถึงราวต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวงได้

แต่ด้วยเหตุว่าผมเป็นคนไม่ค่อยฉลาดสักเท่าไหร่
และยังเห็นว่าการกำหนดอายุแบบไม่มีบริบทอะไร
เป็นการ 'วาดวิมานในอากาศ' ประเภทหนึ่ง
เลยออกจะค่อนข้างดูหมิ่นในวิธีคิดของคนบางจำพวก
ที่ชอบยัดเยียดวิมานชนิดนี้ของตัวเองเข้าไปในหัวสมองของคนอื่นอยู่ไม่น้อย
เล่ากระทู้ไปคราวนี้ก็เลยไม่ขอสรุปนะครับ ว่าจะยุค-สมัยไหน

เอาเป็นว่าดูจากรูปแบบที่เห็นแล้วคร่าวๆ
ความน่าจะถูกของตำนานก็เข้าใกล้ความเป็นจริงเป็นอย่างยิ่งครับ...


กลับมาที่คณะทำงานกันต่อดีกว่า (ติเขาเสร็จแล้วอ่ะเนาะ)
พวกเราก็เลยตัดสินใจไปทำ rubbing ลายบนฝาปะกนที่นี่
เพื่อนำลายที่ได้มาถอดลายเส้นกัน....

หลังจากทำ rubbing เสร็จเรียบร้อย
ผมในฐานะคนที่พอจะมีเพื่อนที่ทำงานนี้อยู่บ้าง
และร่วมงานกันมาอยู่บ้าง...

ก็เลยขอรับหน้าที่เอางานไปส่งให้เพื่อน
คือ พี่ชนมภูมิ ใจเย็น ช่วยถอดลายเส้นให้ด้วยโปรแกรมอิลาสเตรเตอร์ให้
พวกเราก็ได้ลายสวยถูกใจ ที่แทบไม่มีใครรู้จัก
หน้าตาประมาณที่เห็นในภาพนี่ หลายลายอยู่เหมือนกันครับ



บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 03:21

สวยมากครับ ผูกลายที่ดีมาก ไม่เคยเห็นลายแบบนี้มาก่อนเลย
หวังว่าคงมีมาให้ดูอีกนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 14:10

ยินดีครับ คุณ hono... ถ้ายังไม่เบื่อกันไปเสียก่อน  ยิงฟันยิ้ม


หลายเดือนผ่านไป...
หลังจากชุดลายแรก 8 ลาย ถอดลายเสร็จสมบูรณ์
ในช่วงเวลาที่ผมต้องกลับมาเขียนวิทยานิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
เรื่องเกี่ยวกับธรรมาสน์ และลายประดับบนธรรมาสน์ต่อ
ในที่สุด ผมก็พบกับปัญหาใหญ่ในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้!

ที่ผ่านมา การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะไทยเกือบทั้งหมด
ทำขึ้นด้วยการสันนิษฐานเปรียบเทียบตัวอย่างจำนวนไม่มากนักจากสถานที่หลายแห่ง
แต่ดูเหมือนจะยังไม่เคยมีใครรวบรวมชุดข้อมูลจากสมัยเดียวกันออกมา
ให้คนที่ต้องการใช้ข้อมูลเปรียบเทียบได้มีตัวอย่างใช้เลย...

ที่สำคัญ คือ ในภาคกลางของประเทศไทย...
เรายังเหลือชุดตัวอย่างงานไม้ และงานที่เกี่ยวเนื่องกับไม้
ที่มากพอ และ มีการซ่อมทับซ้อนน้อยครั้ง โดยรักษาสภาพเดิมไว้
จนผมสามารถนำมาใช้เป็นชุดตัวอย่างเปรียบเทียบได้บ้างหรือไม่???
เพราะถ้าไม่... ผมคงต้องหันกลับไปทำวิทยานิพนธ์ด้วยขนบเดิมๆ
ของการสันนิษฐานเปรียบเทียบทีละเล็กละน้อย...




บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 14:23

ในที่สุด... ผมก็กลับมาอยู่ที่ 'วัดใหญ่สุวรรณาราม' อีกครั้ง
พร้อมกับกล้องดูนก และเวลาที่มากพอ
สำหรับการ 'ละเลียดดู' งานศิลปกรรมทั้งหมดในวัดแห่งนี้...

เวลาในวัดใหญ่สุวรรณารามเมื่อกลางปีที่แล้ว (พ.ศ. 2554)
อาจถือได้ว่าเป็นเวลาในการเที่ยวชมงานศิลปกรรมที่ 'คุ้มค่า' ที่สุดในชีวิตผม...
เพราะผมมีโอกาสได้พบเห็น 'หลักฐาน' อีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ของผมในครั้งนี้

แล้วปัญหาชิ้นใหญ่อีกชิ้นหนึ่งก็ตามติดเข้ามาในชีวิตผม...
ผมจะบันทึกภาพถ่ายลวดลายพวกนั้นได้อย่างไร???
หลายๆลายอยู่ในสภาพที่ชำรุดมาก!
และอีกหลายลายอยู่ในที่ๆสูงจนกล้องถ่ายภาพทั่วไปไม่สามารถถ่ายภาพได้!!

สำหรับผม ณ เวลานั้น วัดใหญ่ไม่ได้มีแค่กรองเชิงเสา
ที่พระพุทธเจ้าหลวงตรัสชมไว้ว่า 'กรองเชิงงามนัก' แล้ว...
แต่วัดกลับกลายเป็น time capsule ขนาดใหญ่
ที่บรรจุข้อมูลที่ผมต้องการเอาไว้มากมาย... แต่ผมกลับ 'เอื้อมไม่ถึง' !!









บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ก.พ. 12, 01:09

ในที่สุด หลังจากพยายามอยู่ราว 4 เดือน
(ไปพร้อมๆกับความอู้ และความขี้เกียจที่ผมมีอยู่เป็นทุนเดิม)
และโดนเตะตัดขาบ้าง ปฏิเสธบ้าง หักหลังบ้าง
จากเพื่อนที่เคยคิดว่าสนิทกันมานาน
และผมเคยคิดอยากให้พื้นที่กับเขา
ในการทำงานคราวนี้ไปบ้างแล้ว
ทีมเล็กๆก็เกิดขึ้นจากคนไม่กี่คน

มี คุณ ไพโรจน์ พิทยเมธี (พี่ตึ๋ง) รับหน้าที่ช่างภาพ
คุณ jean1966-แอดมินคนเก่งประจำห้อง (พี่ยีนของพวกเรา)
รับหน้าที่ถอดลายเส้นด้วยปากกา
และ คุณ ชนมภูมิ ใจเย็น (พี่เวต) รับหน้าที่ถอดลายเส้นด้วยโปรแกรม ai
(มาแต่แรก ตั้งแต่ต้นฉบับเล่มเก่า คือ 'ลายคำเมืองน่าน' ที่ยังดำเนินการอยู่)
แล้วพวกเราก็เริ่มต้นทำงานกัน 'เป็นทีม'

คำว่า 'ทีม' หลายครั้งอาจจะดูเป็นคำดาดๆ
เป็นเรื่องปกติ พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันทุกวันของทุกคน
แต่สำหรับครั้งนี้... หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้น
ทำให้ผมรับรู้ได้ว่า 'มีอะไรมากกว่านั้น'

งานที่พวกเราเริ่มต้น 'ผลิต' ร่วมกัน...
มีอะไรที่แปลกใหม่กว่าสิ่งที่คนในแวดวงโบราณคดี-ประวัติศาสตร์ศิลป์(ไทย)
เคยทำซ้ำๆกันมาอยู่มากมายหลายข้อ

นับจากวันนั้นเป็นต้นมา... ผมได้แต่รับรู้ว่า
'งานจะไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป...
เพราะงานที่จะเกิดขึ้นต่อไป... เป็นของทีมงานทุกๆคน'

หลายเรื่องราวบนเส้นทางที่พวกเราเริ่มต้นเดินทางกันไป..
เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยพบเห็นจากงานเขียนเกี่ยวกับ 'วัดใหญ่สุวรรณาราม'
ทุกชิ้นที่ตีพิมพ์เผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในท้องตลาด
แล้วกรุสมบัติล้ำค่าใน time capsule ชิ้นเขื่องสมัยอยุธยาตอนปลาย
ก็ถูกพวกเราร่วมกัน 'เปิดออก'

เช่น ลายลูกฟักในศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายลายสุดท้ายลายนี้
ที่ยังแสดงความเชื่อมโยงระหว่างราชวงศ์ปราสาททอง-บ้านพลูหลวง
กับงานที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยก่อนหน้าที่วัดไลย์-วัดนางพญา ได้เป็นอย่างดี

ทำไมจึงไม่เคยมีการตีพิมพ์ภาพถ่ายลายชนิดนี้ออกเผยแพร่ ฮืม
ทั้งๆที่กรมศิลปากรก็รับหน้าที่ดูแลโบราณสถานทุกแห่งในประเทศไทยมาโดยตลอด ฮืม
ทั้งๆที่อาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยที่สอนศิลปะก็ทำงานยื่นขอตำแหน่งกันมากมายทุกๆปี ฮืม
แล้วทำไมงานง่ายๆ ที่ได้ประโยชน์มากมายเช่นนี้ 'จึงไม่มีใครทำ' ฮืม
คำถามคาใจ (ที่รู้ว่าถามไปก็คงไม่มีใครตอบได้) สะท้อนก้องกลางใจผม อีกแล้ว!!!




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ก.พ. 12, 19:12

ลายที่ต้นเสา คู่ที่ ๓ ด้านบน ส่วนด้านล่างเป็นลายกรวยเชิง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ก.พ. 12, 19:14

ลายที่ต้นเสา คู่ที่ ๔ ด้านบน ส่วนด้านล่างเป็นลายกรวยเชิง


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 15:29

เอารูปหลวงพ่อหกนิ้วมาฝากจ้า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 19:58

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในพระอุโบสถมีหลัก ๆ ด้วยกัน ๓ องค์

๑. องค์พระประธาน หน้าตัก ๒.๒ เมตร ทำด้วยวัสดุปูนปั้นปิดทอง ศิลปะอยุธยาตอนปลาย

๒. พระพุทธรูปหลังพระประธาน ทำด้วยปูนปั้นปิดทอง คาดว่าเดิมเป็นพระประธานดั้งเดิมก่อนที่สมเด็จเจ้าแตงโมมาทำการบูรณะวัด

๓. พระพุทธรูปริมผนังพระอุโบสถ ทำด้วยสำริดปิดทอง หน้าตัก ๑.๔ เมตร ซึ่ง น. ณ. ปากน้ำกล่าวไว้ว่า เอามาจากวัดหัวสนาม ส่วนพระเศียรได้บูรณะใหม่ เนื่องจากถูกขโมยไป (มีนิ้วพระบาท ๖ นิ้ว)


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 ก.พ. 12, 20:51

เอารูปพระประธานวัดใหญ่ล่าสุดมาฝากครับ


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 13:34






ขอสักหน่อย... ก่อนช่างภาพคนเก่งจะน้อยจัยย์



ปล. สัปดาห์ที่ผ่านมางานล้นมือเลย... กระทู้ไม่ประติดประต่อกัน อย่าว่ากันนะคราบ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 ก.พ. 12, 14:03

^
คุณติบอ ผมอยากชมภาพพระเกศเปลวเพลิงแบบใกล้ ๆ ชัด ๆ แจ่ม ๆ ได้ไหมครับ เห็นว่าเปลวเพลิงนั้นพริ้วไหวมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง