เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 29672 ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 17:10

*


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 18:30

**


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:11

จากประวัติพระยาราชอักษรชี้ให้เห็นว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยเสด็จเยาวราช
แต่จะเป็นครั้งเดียวกันกับที่ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงกล่าวไว้ใน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ว่า
ในระหว่างที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้นได้เสด็จฯ ไปพระราชทานพรในการสมรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ที่บ้านเจ่าสาวที่สำเพ็ง
เป็นการส่วนพระองค์ทั้งที่เจ้าภาพมิได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ  เพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวรเบื้องพระยุคลบาท

ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดพอจะมีข้อมูลเรื่อง หม่อมเจ้าจุลดิศทรงสมรสเมื่อปีใดจะกรุณามาขยายความจะเป็นพระคุณยิ่ง 
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 23:06

จากประวัติพระยาราชอักษรชี้ให้เห็นว่า ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยเสด็จเยาวราช
แต่จะเป็นครั้งเดียวกันกับที่ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล ทรงกล่าวไว้ใน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ว่า
ในระหว่างที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้นได้เสด็จฯ ไปพระราชทานพรในการสมรสของหม่อมเจ้าจุลดิศ ที่บ้านเจ่าสาวที่สำเพ็ง
เป็นการส่วนพระองค์ทั้งที่เจ้าภาพมิได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ  เพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวรเบื้องพระยุคลบาท

ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดพอจะมีข้อมูลเรื่อง หม่อมเจ้าจุลดิศทรงสมรสเมื่อปีใดจะกรุณามาขยายความจะเป็นพระคุณยิ่ง 

ต้องค่อยๆ แกะ ทีละนิดๆ

๑. หม่อมเจ้าจุลดิศ ประสูติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ถ้าจะทรงสมรสก็ต้องมีพระชนมายุประมาณ ๑๘-๒๕ ก็ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๕๙

๒. ในประวัติเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์ กล่าวถึงงานแต่งของหม่อมเจ้าจุลดิศ ว่า
"มาได้เห็นพิธีนั้นเป็นครั้งแรกเมื่อแต่งงานหม่อมเจ้าจุลดิศลูกชายใหญ่ของข้าพเจ้ากับนางสาวแช่ม เปาโรหิต (น้องเจ้าพระยามุขมนตรี(อวบ))
ทั้ง ๒ ฝ่ายพร้อมใจกันเชิญพระยาพฤฒาธิบดี (ปลอด) กับคุณหญิงหนูพฤฒาธิบดี อายุกว่า ๖๐ ปีแล้ว  ทั้ง ๒ คนเป็นผู้ปูที่นอนบ่าวสาว"

๓. พระยาพฤฒาธิบดี (อ่อน โกมลวรรธนะ) ได้เป็น "พระยาพฤฒาธิบดี ศรีสัตยานุรักษ์" ตำแหน่งผู้กำกับการถือน้ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕
แสดงว่าพระยาพฤฒาธิบดี (ปลอด) ต้องเสียชีวิตก่อนหน้านั้น แต่ไม่ก่อน พ.ศ. ๒๔๓๖ เพราะมีพระยาพฤฒาธิบดี (ชา)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 22 มิ.ย. 12, 07:58

ขอบพระคุณ คุณ art47

หม่อมเจ้าจุลดิศประสูติ ๒๔๒๔  พระชันษาใกล้เคียงกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่พระราชสมภพใน พ.ศ. ๒๔๒๓ และคงจะทรงคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนเสด็จไปศึกาาต่างประเทศ
หม่อมราชวงศ์สังขดิศ  ดิศกุล ทายาทของท่านชายเคยเล่าให้ฟังว่า  ล้นเกล้าฯ ทรงสนิทสนมกับท่านชายมาก  บางเวลาประทับรถม้าพระที่นั่งผ่านสถานที่ที่ท่านชายกำลังหัดทหาร
ถึงกับโปรดให้หยุดรถพระที่นั่ง  รับสั่งว่า หยุดดูจุลดิศหัดทหาร

บันทึกการเข้า
sathanupan
อสุรผัด
*
ตอบ: 7



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 23 มิ.ย. 17, 16:45

๖๖. ประวัติมหาเสวกตรี  พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ( นาค  สถาณุวัต )


      มหาเสวกตรี  พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์  ( นาค  สถาณุวัต )  ตจว. ตช. ตม. วปร ๓. รจพ. เกิดวันที่ ๑๖ มกราคม ปี ขาล พ.ศ. ๒๔๐๙  เป็นบุตรพระยาวิชิตชลธีศรีสุรสงคราม ( ยัง  สถาณุวัต )  เมื่อปีวอก  พ.ศ. ๒๔๑๗  อายุ ๑๙ ปี  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รับราชการเป็นมหาดเล็กวิเศษอยูในเวรศักดิ์  ต่อมาถึง  พ.ศ. ๒๔๒๙  ไปรับราชการอยูในกรมราชเลขานุการ   ได้เป็นเสมียนตรี. โท. เอก  โดยลำดับ  ถึง  พ.ศ. ๒๔๓๔  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น  นายเวร  หัวหน้ากรมสรรพการ  แลได้พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์  เป็น  นายประสิทธิวรรณลักษณ์ หุ้มแพร มหาดเล็กวิเศษ  ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  หลวงประสิทธิวรรณลักษณ์  ถึง พ.ศ. ๒๔๔๓  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น  ปลัดกรมสรรพการ  ถึง พ.ศ. ๒๔๔๖  ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้ากรมสรรพการ  พ.ศ. ๒๔๔๗  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระประสิทธิวรรณลักษณ์  และเป็นผู้ช่วยราชเลขานุการใน  พ.ศ. ๒๔๔๙  ต่อมา
            ถึง  รัชชกาลที่ ๖ ได้ พระราชทานยศเป็นรองเสวกเอก  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ และเลื่อนเป็นเสวกตรี ใน พ.ศ. ๒๔๕๕
      ถึง  พ.ศ. ๒๔๕๙  ได้เลื่อนยศเป็นเสวกโท  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์  ถึง  พ.ศ. ๒๔๖๑  ได้เลื่อนยศเป็นเสวกเอก  ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔  ได้เป็นตำแหน่งเจ้ากรมกองฎีกา  ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘  เลื่อนยศเป็น มหาเสวกตรี  พ.ศ. ๒๔๖๗  ย้ายไปเป็นตำแหน่งเจ้ากรมกองบัญชาการ
      ในระหว่างที่ พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ รับราชการอยู่ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นบำเหน็จความชอบหลายครั้ง  คือ 
      ในรัชชกาลที่ ๕ ได้ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้  พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๕  เมื่อ พ.ศ.  ๒๔๓๖  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามเลื่อนขึ้นเป็น ชั้นที่ ๔   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔
      ในรัชชกาลที่ ๖ ได้ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖  ได้  พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๓  ตริตาภรณ์   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔  ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นที่ ๓  ตริตาภรณ์   เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
      นอกจากนี้พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ยังได้พระราชทานเหรียญและเข็มที่ระลึกต่างๆ อีกหลายประการ คือ
      ในรัชชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานเหรียญรัชฎาภิเษก,  เหรียญราชินี, เหรียญประพาสยุโรป (ร.ศ. ๑๑๖) , เหรียญราชรุจิ, เหรียญทวิธาภิเษก
      ในรัชชกาลที่ ๖ ได้พระราชานเหรียญราชรุจิกาไหล่ทอง, เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓, เหรียญบรมราชาภิเษก, เหรียญที่ระลึกงานเฉลิมพระชนม์พรรษาสมเด็จพระพันปีหลวง, เข็มข้าหลวงเดิม, เข็มโอราพต, เข็มพระบรมนามาภิธัย ชั้น ๒, ดุมทองคำลงยาอักษร พระบรมนามาภิธัย ย่อ วปร. ชั้น ๑, เสมาอักษรพระบรมนามาภิธัยย่อทองคำลงยา, เหรียญจักรพรรดิมาลา
      ในรัชชกาลที่ ๗ ได้ พระราชทานเหรียญบรมราชาภิเษก, เหรียญศารทูลมาลา
      พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์เป็นสมาชิกเสือป่าได้ พระราชทานยศตั้งแต่เป็นนายหมู่ตรี ขึ้นมาจนเป็น นายกองตรี  นอกจากนี้ยังได้เป็นตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยสาราณิยกร ในหอพระสมุดวชิรญาณในรัชชกาลที่ ๕  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ด้วย
      พระยาประสิทธิวรรณลักษณ์ ทำงานสมรสกับ คุณหญิงประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ( ห่วง )  ตั้งแต่ยังรับราชการเป็นเสมียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒
คุณหญิงประสิทธิ์วรรณลักษณ์ ( ห่วง )  เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ปีมะเมีย  พ.ศ. ๒๔๑๓  เป็นธิดาจางวางถมยาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าอินทนิล  มารดา ชื่อ อ่อน  ทำงานสมรสกับพระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์ เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ป่วยเป็นดรคภายในถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ อายุได้ ๔๙ ปี
      พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์รับราชการตั้งแต่รัชชกาลที่ ๕ จนรัชชกาลปัจจุบันนี้รวมเวลา ๔๓ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ เข้าเขตต์ชรา จึงกราบถวายบังคมลาออกรับพระราชทานเบี้ยนำนาญ อยู่ต่อมาได้อีกปี ๑ ถึงวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑  ป่วยเป็นโรคลมถึงแก่กรรมคำนวณ อายุได้ ๖๒ ปี
      พระยาประสิทธิ์วรรณลักษณ์มีบุตรธิดากับคุณหญิง ห่วง ๗ คน คือ
      ที่ ๑ ธิดาชื่อเพฑาย เกิดวันที่ ๑๕ กันยายน ปีมะโรง  พ.ศ.๒๔๓๕  ได้ทำงานสมรสกับขุนจิตรอักษร      ( สมบูรณ์  โกกิลกนิษฐ์ ) เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ป่วยเป็นโรคภายในถึงแก่กรรม  เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ คำนวณอายุได้ ๓๗ ปี
      ที่ ๒ บุตรชื่อไพฑูรย์
      ที่ ๓  ธิดาชื่อกมล
      ที่ ๔  ธิดาชื่อสุรีย์
      ที่ ๕  บุตรชื่ออุไทย
      ที่ ๖  ธิดาชื่อวิเชียร
      ที่ ๗  ธิดาชื่อประเทือง
....................................................


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 19 คำสั่ง