เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 29727 ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 14:07


ลา ลูแบร์ เข้าใจว่าคำว่า "ออก" ไม่ใช่ภาษาสยาม เพราะมีคำว่า "หัว"
ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "หัวสิบ" ซึ่งเป็นตำแหน่งนายท้ายช้าง  "หัวพัน" คือผู้เชิญธงมหาราชในเรือพระที่นั่งทรง


เคยได้ยินคำว่า  หัวปาก  ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญพอทราบไหมว่าแปลว่าอะไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 14:45

 
ผมคิดต่อไปเล่นๆ ว่า  จ่าหมื่น เท่ากับ แสน  ของล้านนาหรือเปล่า
ถ้าเท่ากัน  จ่าหมื่น  ก็คือ ยศแสนของไทยฝ่ายใต้  
และยศ  หัวสิบ หัวปาก หัวพัน (พัน) หมื่น  แสน  อาจจะเป็นยศที่ตั้งขึ้น
เพื่อกำหนดลำดับสูงต่ำของชั้นยศโดยเอาหลักของตัวเลขจำนวนนับมาใช้
เหมือนกันกับ นาย ขุน หลวง พระ  พระยา  เจ้าพระยา  ก็ได้กระมัง
ดดยที่อยุธยาเป็นไทยใต้ที่รวมเอาวัฒนธรรมต่างๆ เข้าผนวกไว้ด้วยกัน
เลยมีลำดับชั้นยศที่เป็นทั้งตัวเลขและไม่ใช่หลักตัวเลข

หัวปากอยู่ระหว่างหัวสิบและหัวพัน จึงไม่ยากที่จะเดาว่าคำว่า "ปาก" หมายถึง "ร้อย"

รอยอินท่านว่า "ปาก" นี้มาจากภาษาจีนว่า "ปัก หรือ "แป๊ะ" แปลว่า "ร้อย"

น่าแปลกที่ภาษาจีนเข้ามาอยู่ในชั้นยศของไทยได้อย่างไร

 ฮืม
 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 16:29

๖๐.ประวัติพระสุวรรณรัศมี (ทองคำ  สีหอุไร) หรือ พระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ  สีหอุไร)

เกิดเมื่อ วันจันทร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน๑๒ ปีขาลตรีณิศก จ.ศ. ๑๒๐๔
เป็นบุตรนายทองดี  นายทองดีเป็นบุตรขุนคชสิทธิ์ฯ นาค/บุนนาค กรมคชบาลในรัชกาลที่ ๓ มีนิวาสสถานที่แพหน้าวัดมหาธาตุ


นายทองคำอายุได้ ๘ ปี นายทองดีบิดาถึงแก่กรรม  
หม่อมแพ ผู้เป็นอาว์ ให้คนไปรับมาอยู่ที่วังพร้อมกับมารดา

นายทองคำอายุ ๑๓ ปี ทำพิธีตัดจุกเปีย  แล้วบวชเป็นสามเณรในวันนั้น
และได้อยู่ในสำนักพระครูวิสุทธิสมโพธิ (เที่ยง) (ต่อมาเป็นพระมงคลมุนี)
วัดพระเชตุพน  เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม หนังสือไทยขอม ตลอดจนวิชาการต่างๆ
มีวิชาช่างเขียน และช่างอังกฤษ เป็นต้น

ต่อมาลาสิกขาแล้ว ไปเรียนกระบี่กระบอง มวยปล้ำ

ปีวอกโทศก ๑๒๒๒  เป็นมหาดเล้กขอเฝ้าในกรมสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
(เมื่อยังทรงดำรงพระยศเป็นพระนางเจ้า) ได้รับเบี้ยหวัด ๖ บาท

ปีกุนเบญจศก ๑๒๒๕ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระเชตุพน  บวชอยู่นาน ๑ พรรษา
เมื่อลาสิกขาแล้ว ได้เป็นปลัดเวรและนายเวรมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพินิตประชานาถ (รัชกาลที่ ๕)  

ปีมะเส็ง ยังสัมฤทธิศก ๑๒๓๐ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ จ่าผลาญอริพิษ ในกรมพระตำรวจใหญ่ขวา  
ศักดินา ๖๐๐  และได้เป็นนนายด้านทำพระพุทธรัตนสถาน  มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลฯ เป็นแม่กอง  
ในครั้งครั้งเมื่อทำเสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกระจกผนังด้านในออก  
แล้วสะปูนผนังเขียนประวัติพระพุทธบุยรัตน์เป็นการรีบเร่งเพื่อให้ทันกับการทรงพระผนวช

ในปีเดียวกัน เกิดเพลิงไหม้ที่ตำหนักพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรี พระอัครราชเทวี
จ่าผลาญอริพิษ ได้ไปช่วยดับเพลิง  จนได้รับรางวัลความชอบเป็นตราภัทราภรณ์

ปีระกา เบญจศก ๑๒๓๕  ได้เลื่อนเป็นที่จมื่นไชยาภรณ์  ปลัดกรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย ศักดินา ๘๐๐  
กับได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเขื่อนเพชรฐานเหนือพระพุทธรัตนสถาน นาว ๒๒ ห้อง  
หลังคาตัด  เพื่อเป็นที่พักพระเถระเมื่อมาร่วมพิธีทรงผนวชพระ

จากนั้นได้เป็นข้าหลวงออกไปสักข้อมือคนจีนที่เมืองชลบุรี เมืองพนัสนิคม
ต่อจากนั้นได้เป็นข้าหลวงกำกับโรงเตาสุรากรุงเทพฯ ได้รับผลประโยชน์เดือนละ ๘๐ บาท

ปีฉลูนพศก  ๑๒๓๙ ได้เลื่อนเป็นที่ พระพรหมบริรักษ์ เจ้ากรมพระตำรวจสนมทหารขวา  ศักดินา ๑๖๐๐  
ในคราวนั้นได้ขึ้นไปชำระความผุ้ร้ายปล้น ๕ ตำบลที่เมืองสุพรรบุรีและได้ว่าราชการที่เมืองนั้นด้วย
เพราะเจ้าเมืองถึงแก่กรรม  และได้นำกรมการเมืองสุพรรณบุรีไปเข้าเฝ้าฯ ในคราวเสด็จฯ ไปพระแท่นดงรัง แขวงเมืองราชบุรี

ในครั้งนั้น ได้รับพระบรมราชโองการให้ไปตามจับตัวผู้ร้ายตองซู่ ๔ คนที่ฆ่าหมื่นอาจ บ้านจระเข้สามพันตาย  
จึงได้จับพวกตองซู่ที่เที่ยวซุ่มซ่อนลักซื้อขายโคกระบือไม่มีตั๋วฎีกา  แล้วล่องลงมาพระนคร    
เมื่อมาถึงไม่นานได้เป็นผู้ชำระความมรดกตกค้างและคดีมโรสาเร่ต่างๆ  ต่อมาได้รับพระราชทานโต๊ะทอง กาทอง เป็นเกียรติยศ  
กับได้เป็นข้าหลวงขึ้นไปชำระความผู้ร้ายยิงกันตายที่เมืองนครลำปาง ซึ่งโจทก์จำเลยเป็นคนในร่มธงอังกฤษ
ชำระคดีในเมืองนครเชียงใหม่อีก ๒ คดีตามที่เจ้าราชวงศ์กล่าวโทษบุตรข้าหลวงใหญ่เมืองนครเชียงใหม่
ได้กลับลงมากรุงเทพฯ

เมื่อเสร็จกิจที่หัวเมืองเหนือแล้ว  พระพรหมบริรักษ์ได้รับรับสั่งให้เดินทางกลับมากรุงเทพฯ

ครั้นมาถึงกรุงเทพฯ ได้รับพระมหากรุณา โปรดเกล้าฯ ซื้อที่บ้านเมืองนนท์พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์พร้อมหนังสือพระราชทานกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น  

จากนั้น ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายด้านทำพระเมรุทรงยอดปรางค์สำหรับการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง
พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ณ ท้องสนามหลวง  ได้รับพระราชทานที่ชาและครอบแก้วมีรูปสัตว์ทองคำภายในเป็นรางวัล

ต่อจากนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้ทำโรงเอ็กซหิบิชั่นที่ท้องสนามหลวง เนื่องในการฉลองพระนครครบ ๑๐๐ ปี  
มีการขุดสระขังจระเข้ใหญ่ให้คนดู และมีการต่อสายโทรศัพท์จากสนามหลวงไปที่ปากน้ำสมุทรปราการ  
ให้ชาวมอญทดลองร้องทะแยส่งเสียงไปตามสาย  แล้วให้ชาวมอญปลายสายโทรศัพท์ที่ปากน้ำร้องทะแยตอบกลับมา
ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ชาวมอญผู้ทดลองโทรศัพท์ครั้งนั้น

เมื่อสิ้นการฉลองพระนครแล้ว ได้เกิดศึกปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ  ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงจัดเจ้าพนักงานรับส่งหนังสือบอกราชการกองทัพ
ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย และจากหนองคายไปทุ่งเชียงคำ แต่การส่งข่าวครั้งนั้นกินเวลาไปกลับของหนังสือ
 ๓๐ วัน คือ ๑๑ วันบอกไป ๑๑วันตอบมา  ๘ วันเขียนตอบ   แต่การศึกครั้งนั้นก็เป็นอันระงับไป เพราะแม่ทัพ
พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธุ์) ถูกลูกปืนที่หน้าแข้งบาดเจ็บ จึงได้ล่องกลับมาพระนคร

ปีจออัฐศก  ๑๒๔๘  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระพิเรนทรเทพบดีศรีสมุห  เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้าย  ศักดินา ๒๐๐๐  
กับได้รับหน้าที่ทำพระเมรุพระเจ้าลูกเธอ ณ วัดราชบพิธ  แต่การยังไม่แล้วเสร็จ  
โปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงใหญ่ขึ้นรักษาราชการเมืองนครราชสีมา ในเวลาจวนจะตั้งการพระราชพิธีลงสรงสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  
ครั้งนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ถอดพระยาโคราช (อิ่ม) ออกจากราชการ  ขึ้นไปรักษาราชการที่เมืองนครราชสีมา
เป็นเวลานาน ๕ ปีเศษ  ในระหว่างนั้นได้จัดการทำบุญกุศลกับชาวเมืองหลายประการ

หลังจากรั้งราชการที่เมืองนครราชสีมาได้นาน ๕ ปีแล้ว  จึงได้ทำใบบอกราชการมากราบบังคมทูล
ขอพระราชทานทรงพระมหากรุณาแต่งตั้งข้าราชการผู้อื่นขึ้นไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ไปรั้งราชการต่อ  

ครั้งนั้นได้โปรดเกล้า ฯ พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  เสด็จขึ้นไปรั้งราชการแทน  
และต่อได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาประสิทธิ์ศัลการ (สอาด  สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงรั้งราชการสืบต่อจากเสด็จในกรม  
เมื่อเสด็จในกรมเสด็จกลับกรุงเทพฯ พระพิเรนทรเทพจึงได้เดินทางกลับลงมาด้วย  

เมื่อกลับมาแล้วได้ไปเฝ้าฯ ที่เกาะสีชัง  และได้ถือโอกาสกราบบังคมทูลลากลับบ้าน  ด้วยว่านางเสงี่ยม  ภรรยา  
มีอาการป่วยไข้หนัก  เมื่อกลับบ้านแล้ว พยาบาลภรรยาสุดความสามารถแล้ว  นางเสงี่ยม ภรรยา อายุได้  ๕๐ ปี
ถึงแก่กรรม ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการศพภรรยาแก่ท่าน

ครั้นต่อมาได้รับรับสั่งให้สร้างตึกดินดิบอย่างตึกโคราช  ที่เกาะสีชัง  แต่ยังไม่ได้ทำ
เกิดเหตุบาดหมางระหว่างสยามกับฝรั่งเศส  จึงได้ระงับการก่อสร้างไป

๒๐ เม.ย. ๑๑๒  โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระยามหามนตรี  ศรีองครักษสมุห  
เจ้ากรมพระตำรวจในขวา  ศักดินา  ๒๐๐๐  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ว่าที่จางวางในกรมนั้นด้วย

เมื่อคราวเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน  โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกโรงทิมดาบ
เพื่อใช้ประชุมข้าราชการสำหรับเตรียมการพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๒๕ ปี  รัชฎาภิเษก  
และได้ร่วมจัดการพระราชพิธีรัชฎาภิเษกครั้งนั้นด้วย

เดือน ๑๒ ปีเดียวกันนั้น ได้รับพระราชทานพานทองและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

๒๖  ก.ย. ๑๑๓  โปรดเกล้าฯให้เป็นที่พระยาอนุชิตชาญไชย   จางวางกรมพระตำรวจขวา  ศักดินา ๓๐๐๐
และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรี และองคมนตรีที่ปรึกษาราชการด้วย  ต่อมาได้เป็นกรรมการศาลที่ ๑  ทำหน้าที่ชำระตัดสินความค้างในศาลนครบาล

ถัดจากนั้นได้เป็นกรรมการศาลฎีกา  และได้รับพระราชทานเหรียณและเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายอย่าง

ปี ๑๑๙  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่พระยาสีหราชฤทธิไกร  อภัยพิริยปรากรมพาหุ  เจ้ากรมอาสาใหญ่ซ้าย
ศักดินา ๑๐๐๐๐ และยังเป็นกรรมการศาลฎีกาอยู่

ปี ๑๒๑  ได้เป็นมรรคนายกวัดพระเชตุพน

ปี ๑๒๒  ทำหนังสือขอพระราชทานกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานหยุดพักราชการ
เพื่อรักษาตัวด้วยโรคภัยเบียดเบียนมาก  พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พักราชการได้ โดยมีผู้อื่นรั้งราชการแทน

๑ เม.ย. ๑๒๓  ได้เฝ้าฯ ที่พระราชวังสวนดุสิต กราบบังคมทูลขอพักราชการเป็นการถาวร
หลังจากรับราชการมานาน ๔๐ ปีเศษ  ทรงพระกรุณษโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการ  
และได้พระราชทานเบี้ยเลี้ยงชีพเดือนละ ๓๘๐ บาท   ท่านได้เอาเงินนั้นทำบุญกุศลต่างๆ
โดยจัดให้มีประชุมธรรมสากัจฉาที่บ้านเดือน ๔ ครั้ง  (วันขึ้น ๒ ค่ำ แรม ๒ ค่ำ ขึ้น ๑๐ ค่ำ แรม ๑๐ ค่ำ)

ปี ๑๒๖  เดินทางขึ้นไปร่วมงานพระราชพิธีเฉลิมสิริราชสมบัติที่กรุงเก่า  (พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก)  
การครั้งนั้น  ท่านได้แต่งกาพย์เล่าเหตุการณ์ที่ได้ไปในการครั้งนั้นด้วย

พระยาสีหราชฤทธิไกร  มีบุตร ๑๑ คน เป็น ชาย ๗ คน หญิง ๔ คน
บุตรนั้นถึงแก่กรรมไป ๖ คน คงเหลือเติบโตมา  ๕ คน  เป็นชาย ๔ คน หญิง ๑ คน  
บุตรที่เหลือนั้น รับราชการ ๒ คน บวชเป็นภิกษุ ๑ รูป  (พระภิกษุบุญ  ๑  นางเทียม ๑  
ขุนเทพวิหาร  สวาสดิ์ ๑  หลวงประกอบธนากร สวัสดิ์ ๑  และนายอ่อน ๑)


วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๑๒๙  เวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต  
ทันทีที่ได้ทราบข่าวสวรรคต  เจ้าคุณสีหราชเป็นลมหมดสติ

เมื่อใกล้การพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
พระยาสีหราชฯ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลลาบวชเป็นสามเณรเพื่อฉลองพระเดชพระคุณ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ  
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บวชได้

ในวันที่  ๑๖  มีนาคม ๒๔๕๓  เชิญเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังราชเจ้า ทรงกระทำการบรรพชาให้

เวลา ๗ ทุ่มเศษวันนั้น  พระยาอัพภันตริกามาตย์ ส่งคนมาตามไปถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ที่พระเมรุมาศท้องสนามหลวง   เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว ความอิ่มเอิบในบุญกุศลที่ได้
ทำถวายฉลองพระเดชพระคุณ  ทำให้ไม่รู้สึกหิวอาหาร  และนอนไม่หลับนาน ๓ วัน

อีก ๗ เดือนต่อมา  ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังราชเจ้าทรงเป็นอุปัชฌาย์ให้  ครั้งนั้น  ได้แต่งนิราสออกบวชไว้เป็นอนุสรณ์ในการบวชครั้งนั้นด้วย  


๑ มกราคม ๒๔๖๖  ได้รับสัญญาบัตรและพัดยศเป็นที่พระสุวรรณรัศมี  พระราชาคณะยก

พ.ย. ๒๔๗๐ เริ่มป่วยด้วยอาการท้องร่วงเรื้อรัง

๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐  ๗ นาฬิกา หลังเที่ยง ๔๕ นาที  มรณภาพด้วยอาการสงบ  อายุ ๘๗ ปี  พรรษา ๑๗

จากกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพ ความเห็นที่ ๒๕๑-๒๕๙


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 27 ก.พ. 12, 11:30

๖๑.เสวกเอก พระยาสุเทพภักดี (ดี  สุเดชะ)

เกิด  ๑๔  กรกฎาคม  ๒๔๑๙

บิดา  หลวงประมวลมาศก (บุตร  สุเดชะ)

มารดา  นางประมวลมาศก (สุ่น  สุเดชะ)

เรียน  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เรียนถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๓๔
แล้วลาออกเข้ารับราชการในกรมส่วย (หอรัษฎากรพิพัฒน์) กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

๑ ก.พ. ๒๔๓๖  ย้ายมารับราชการที่กรมพระคลังข้างที่

๑๕  พ.ค. ๒๔๓๗  เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕
ดำรงตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษเวรศักดิ์

๑  มี.ค. ๒๔๓๙  ย้ายไปรับราชการที่กรมบัญชาการมหาดเล็ก
ทำหน้าที่เขียนคำตัดสินฎีกา  และได้เข้าศึกษาต่อในสำนักกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม

๑ ส.ค. ๒๔๔๐  ทำหน้าที่ตรวจการศาลโปรีสภาที่ ๑

๑ ธ.ค. ๒๔๔๑  มีการจัดระเบียบกรมมหาดเล็กใหม่  ได้รับเลือกให้เข้ารับราชการ
เป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์   

พ.ค. ๒๔๔๒  ได้เป็นที่รองหุ้มแพร  นายรองเสนองานประพาส

๑ มิ.ย. ๒๔๔๒ ย้ายไปรับราชการที่แผนกห้องเครื่องฝรั่ง

๑ ธ.ค. ๒๔๔๓  ย้ายไปรับราชการกองคลังเครื่องโต๊ะ

๒๒ ม.ค. ๒๔๔๖  ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร ที่นายเสนองานประพาส  นายเวร

๒๗ ต.ค. ๒๔๔๙  ย้ายจากกองคลังเครื่องโต๊ะ (วรภาชน์) มารับราชการ
ที่มหาดเล็กเวรศักดิ์ประจำแผนกพระภูษา

๑๒ มิ.ย. ๒๔๕๓  รับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประจำกรมรับใช้

๔ ก.ค. ๒๔๕๔  ได้เป็นที่นายจ่ารง

๓ มิ.ย. ๒๔๕๕  เป็นที่รองหัวหมื่น  หลวงเดช  นายเวร

๓๐ มิ.ย. ๒๔๕๖  เป็นที่จมื่นเทพดรุณาการ

๑ ส.ค. ๒๔๕๘  รับพระราชทานยศหัวหมื่น

๔ ส.ค. ๒๔๖๑  เป็นที่พระยาสุเทพภักดี

๑ ธ.ค. ๒๔๖๙  รับราชการที่ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กเวรศักดิ์

๑๑ ต.ค. ๒๔๗๔  ลาออกจากราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ

๒๔  ธ.ค. ๒๕๐๑  ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา  ฯ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 16:12

๖๒.พระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะ (ศุข โชติกเสถียร)

เกิดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔

เปนบุตรเจ้าหมื่นเสมอใจราช (จู) ๆ เปนบุตรพระยาโชดึกราชเศรษฐี (เถียน) ผู้ต้นสกุลโชติกเสถียร

ได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กแต่ยังเด็ก ตามประเพณีผู้ที่อยู่ในสกุลข้าหลวงเดิม แล้วไปเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนวัดบพิตรภิมุข
จนสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยค ๑

เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยารณไชยชาญยุทธเปนพระพี่เลี้ยงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ขณะนั้นพระยารณไชยฯ อายุได้ ๑๒ ปี

ต่อมาเมื่อปีขาล พ.ศ.๒๔๓๓ พระราชทานสัญญาบัตรเปนนายบำเรอบรมบาท

ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๓๕ ได้เลื่อนเปนนายกวด หุ้มแพรมหาดเล็กต้นเชือก

ปีมะเสง พ.ศ. ๒๔๓๖ เลื่อนเปนนายจ่ายง

เมื่อจัดหัวเมืองเปนมณฑลเทศาภิบาล จะจัดตั้งมณฑลนครไชยศรี ตำแหน่งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทสาครว่าง
จะหาตัวผู้ซึ่งสมควรเปนผู้ว่าราชการจังหวัด จัดการปกครองตามแบบที่ตั้งใหม่ทรงพระราชดำริห์ว่า
นายจ่ายงหลักแหลมอยู่คน ๑ ในข้าราชการชั้นหนุ่ม จึงพระราชทานสัญญาบัตร
ตั้งเปนพระสมุทสาครานุรักษ์ออกไปเปนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทสาคร เมื่อปีระกา พ.ศ.๒๔๔๐

ออกไปอยู่ไม่ช้าก็ปรากฎ คุณวุฒิข้อสำคัญของพระยารณไชย ฯ อย่าง ๑ คือที่สามารถอาจจะทำให้กรมการ
ตลอดจนราษฎรมีความนิยมนับถือทั่วไป คุณวุฒิอันนี้เปนเหตุอย่างสำคัญที่พระยารณไชย ฯ ทำการงานสำเร็จได้ผลดี
มีความชอบมาแต่ไปว่าราชการจังหวัด สมุทสาครครั้งนั้น และในที่อื่น ๆ ซึ่งพระยารณไชย ฯ ได้รับราชการต่อมาจนตลอดอายุ

พระยารณไชย ฯ ว่าราชการจังหวัดสมุทสาคร อยู่ ๔ ปี ปรากฎว่าคุณวุฒิควรจะรับราชการในตำแหน่งสำคัญกว่านั้นได้
จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเปนพระยาศิริไชยบุรินทร์ ย้ายมารับราชการในตำแหน่งปลัดมณฑล
ซึ่งมีน่าที่ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มณฑลนครไชยศรี เมื่อปี ฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ รับราชการในตำแหน่งนี้อยู่จนตลอดรัชกาลที่ ๕

ถึงรัชกาลที่ ๖ ในปีแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ว่าง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์

แล้วพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเปนพระยารณไชยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี พิริยพาหะถือศักดินา ๑๐๐๐๐
พระราชทานพานทองเปนเกียรติยศ รับราชการในตำแหน่งนั้นต่อมาจนตลอดอายุ

ขณะที่เปนสมุหเทศาภิบาลขึ้นไปอยู่มณฑลนครสวรรค์ พอไปถึงในหมู่นั้นเองก็ได้พระแสงศรกำลังรามมาทูลเกล้าฯ ถวาย
แด่รัชกาลที่ ๖ เปนศิริมงคล แลต่อมาไม่อิกกี่เดือนก็ได้พระยาช้างเผือก คือพระเสวตรวชิรพาหะมาถวายเพิ่มภูลพระบารมี

เครื่องราชอิศริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานเปนอย่างสูงในเวลาเมื่อถึงอนิจกรรม คือ
รัตนวราภรณ์
มหาสุราภรณ์ มงกุฎสยามชั้นที่ ๑
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
นิภาภรณ์ ช้างเผือกชั้นที่ ๓
รัตนาภรณ์ ว. ป. ร. ชั้นที่ ๓
เข็มพระชนมายุสมมงคลรัชกาลที่ ๕
เข็ม ว.ม. ชั้นที่ ๑ พระราชทานแต่ในรัชกาลที่ ๕
เข็ม ว.ป.ร. ชั้นที่ ๑

พระยารณไชยชาญยุทธได้แต่งงานกับท่านหุ่นมีบุตรธิดาด้วยกัน คือ

๑ ธิดาชื่อสร้อย เปนภรรยาพระชวกิจบรรหาร ( เลื่อน ณ ป้อมเพ็ชร)
๒ บุตรชื่อนายส่าน ถวายตัวเปนมหาดเล็ก ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ ให้ไปเรียนวิชาอยู่เมืองอังกฤษ
๓ นายโสดถิ์ คนเล็ก เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียน

พระยารณไชยชาญยุทธถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ คำนวณอายุได้ ๔๕ ปี

(ดัดแปลงตัดทอนและปรับปรุงจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 13:40

๖๓.มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)
 

-เป็นบุตรพระยาอภัยพิพิธ (เสพ  สุรนันทน์) กับคุณหญิงเปลี่ยน

-เกิดปีระกา เดือน ๔ วันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ  (๒๔ เมษายน ๒๔๐๓)

-เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนโรงละครหลังวัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง
สอบไล่ได้ชั้นพิศาลการันต์ อันเป็นหลักสูตรสูงสุดในขณะนั้น เมื่อปี ๒๔๑๙

-อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์
ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท

-๒๔๒๑  เป็นมหาดเล้กรับใช้ในพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬาร  เบี้ยหวัด ๑๖ บาท

-๒๔๒๗ ได้เบี้ยหวัดเพิ่มเป้น ๔๐ บาท

-๒๔๒๙ เป็นนายรองพิจิตรสรรพการ  เบี้ยหวัด ๖๐ บาท เงินเดือน ๕ บาท

-๒๔๓๐ เป็นผู้ดูแลเก็บรักษาเครื่องทรงพระอักษรของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เบี้ยหวัด ๘๐ บาท

-๒๔๓๑ เงินเดือนขึ้นเป็น ๑๐ บาท

-๒๔๓๓ เป็นนายสนิท หุ้มแพรนายยามเวรศักดิ์  เบี้ยหวัด ๑๒๐ บาท

-๒๔๓๔ เบี้ยหวัดเพิ่มเป็น ๑๖๐ บาท เงินเดือน ๓๐ บาท

-๒๔๓๖ เป็นนายจ่าเรศ  ปลัดเวรฤทธิ์ และรับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมาร  เงินเดือน ๖๐ บาท

-๒๔๔๑  เป็นเลขานุการในกองบัญชาการ กรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๑๒๐ บาท

-๒๔๔๒  เป็นหลวงเดช นายเวรเวรเดช  เงินเดือน ๑๖๐ บาท

-๒๔๔๗  เป็นผู้ดูแลโรงเรียนราชกุมาร  เงินเดือน ๒๐๐ บาท

-๒๔๔๙ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนมหาดเล้ก  เงินเดือน ๓๐๐ บาท

-๒๔๕๒ โปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้ากรมหลวงนครราชสีมา  เงินเดือน ๓๔๐ บาท

-๒๔๕๓ เป็นพระยาบำรุงราชบริพาร  จางวางมหาดเล็ก เงินเดือน ๔๐๐ บาท

-๒๔๕๕  รับราชการในกองทะเบียน กรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๖๐๐ บาท

-๒๔๕๖  ได้ยศจางวางตรี  ในกรมมหาดเล็ก  เงินเดือน ๗๐๐ บาท

-๒๔๕๘  เป็นปลัดบาญชี  กรมมหาดเล็กรับใช้

-๒๔๖๓  โปรดเกล้าฯ ให้ออกจากราชการเพื่อรับพระราชทานบำนาญเนื่องจากสูงอายุและรับราชการมานาน
รับบำนาญปีละ ๔๒๐๐ บาท

-๒๔๗๐ เป็นพระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล

-สมรสกับคุณหญิงแฝง  ธิดาพระยาอร่ามมณเฑียร (โหมด  หงสกุล) เมื่อ ๒๔๒๒

-มีบุตรธิดา  ๔  คน  ๑  บุตรไม่มีชื่อถึงแก่กรรมแต่เยาว์  ๒  คุณหญิงบุนนาค พิทักษ์เทพมณเฑียร
๓  พระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณสิศยานุสรรค์   ๔  พระภูมีสวามิภักดิ์ (เกริ่ม  สุรนันทน์)

-๒๔๖๕  ป่วยเป็นอัมพาต  เดินไม่ได้

-๑๑ เมษายน ๒๔๘๐  ถึงแก่อนิจกรรม  อายุ ๗๖ ปี ๑๑ เดือน ๑๗ วัน

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 09:52

ประวัติเจ้าคุณสุรนันทน์ ฯ มีรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่หลานของท่านเขียนไว้ (ตามภาพ)

แต่ที่น่าศึกษาเพิ่มเติมคือ ในข้อมูลมี่คุณ Luanglek นำมาลง (น่าจะมาจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพฯ ) ระบุว่า -อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์ ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท แต่ ทายาท เขียนไว้ว่า บิดาเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ท่านอายุ ๑๔ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ลม้าย - ม.ร.ว. ละม้าย พึ่งบุญ บิดาเจ้าพระยารามราฆพ)ทำขึ้นถวายตัว 

อีกหนึ่งเรื่องที่ผมยังค้างคาใจคือ ในกระทู้ ว่าด้วยหนังสือพิมพ์โรงเรียนราชกุมาร ระบุว่า

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)

ตามประวัติทั้งของคุณหลวง และของทายาท ไม่ได้ระบุว่า ท่านเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "หลวงราชบุตรบำรุง"  ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชนายเวร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒ และคงบรรดาศักดิ์นี้ จนปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร โดยไม่ผ่าน "คุณพระ"  และบรรดาศักดิ์ "บำรุงราชบริพาร" เป็นตำแหน่งสำคัญในพระราชสำนัก เมื่อกราบบังคมทูลฯ ออกจากราชกาลแล้ว ก็น่าจะเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาสุรนันทน์นิวัธนกุล คงไม่ได้ยึดบรรดาศักดิ์นี้ไปจนปีพ.ศ. ๒๔๗๐ กระมังครับ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 09:58

คุณ Wandee

หาชื่อลูกศิษย์ หมอสมิท ได้อีกคนแล้วครับ (เข้าใจแล้วว่า เหตุใด บ้านนี้ถึงมีหนังสือหมอสมิท หมอบรัดเลย์ เป็นตู้ๆ )  ......... แล้วครู บาบู รำซำอี นี่ ใครหรือครับ โปรดชี้แนะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 10:23



       คุณปิยะสารณ์ที่นับถือ

       กำลังโรยพริกไทยขาวไปตามชั้นหนังสือทั้งบ้านเลยค่ะ        ฝนลงแล้วตัวแมลงก็ตามมา

คุณถัดท่านก็เรียนหนังสือจากบาบูนะคะ   ตอนนี้ยังหาอ้างอิงไม่ได้ค่ะ

สหายให้หนังสือมาเล่มหนึ่ง   คิดว่าคงเป็นที่สนใจ     จะเก็บไว้ให้ดูนะคะ  แมงกินเกือบครึ่งเล่มแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 11:20

ประวัติเจ้าคุณสุรนันทน์ ฯ มีรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่หลานของท่านเขียนไว้ (ตามภาพ)

แต่ที่น่าศึกษาเพิ่มเติมคือ ในข้อมูลมี่คุณ Luanglek นำมาลง (น่าจะมาจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพฯ ) ระบุว่า -อายุได้ ๑๖ ปี บิดาพาเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ หน้ายามไชยขรรค์ เวรศักดิ์ ได้เบี้ยหวัดปีละ ๘ บาท แต่ ทายาท เขียนไว้ว่า บิดาเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ท่านอายุ ๑๔ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ลม้าย - ม.ร.ว. ละม้าย พึ่งบุญ บิดาเจ้าพระยารามราฆพ)ทำขึ้นถวายตัว 

อีกหนึ่งเรื่องที่ผมยังค้างคาใจคือ ในกระทู้ ว่าด้วยหนังสือพิมพ์โรงเรียนราชกุมาร ระบุว่า

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)

ตามประวัติทั้งของคุณหลวง และของทายาท ไม่ได้ระบุว่า ท่านเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ "หลวงราชบุตรบำรุง" 
ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชนายเวร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒ และคงบรรดาศักดิ์นี้
จนปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร โดยไม่ผ่าน "คุณพระ" 
และบรรดาศักดิ์ "บำรุงราชบริพาร" เป็นตำแหน่งสำคัญในพระราชสำนัก เมื่อกราบบังคมทูลฯ ออกจากราชกาลแล้ว
ก็น่าจะเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยาสุรนันทน์นิวัธนกุล คงไม่ได้ยึดบรรดาศักดิ์นี้ไปจนปีพ.ศ. ๒๔๗๐ กระมังครับ

คุณปิยะสารณ์  ผมได้ลงแก้ไขไว้แล้วในกระทู้นั้น

ขอแก้ไขข้อมูลเล็กน้อย

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พระยาเทเวศร์วงษวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน)
พระอาจาริย์มอแรนต์
เจ้าหมื่นไวยวรนารถ
นายจ่ายง
นายจ่าเรศ บาญชีเงิน (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์))

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (ชื่อ เนตร  ยังไม่ทราบนามสกุล)
มิสเตอร์ เชยมส์  อาจาริย์
มิสเตอร์ เลวิส  อาจาริย์
มิสเตอร์ โรล์ฟ  อาจาริย์
ขุนบำนาญวรวัจน์  อาจาริย์
ขุนบัญญัติวรวาท  อาจาริย์
นายนกยูง  อาจาริย์  (ใช่นายนกยูง ที่แปล "ความพยาบาท" หรือเปล่า?)

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 12:00

ครู บาบู รำซำอี ก็คือ บาบู รามสวามี ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 13:04



อา...กราบขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 30 พ.ค. 12, 13:11


ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงเดชนายเวร เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒ และคงบรรดาศักดิ์นี้ จนปี พ.ศ. ๒๔๕๓ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร โดยไม่ผ่าน "คุณพระ"


ในสมัยรัชกาลที่ ๖

ดูจะเป็นพระราชนิยมกระมั้ง (ต้องเรียนถามคุณวีมี) ว่าผู้ที่ได้รับบรรดาศักดิ์ชั้นหลวงนายเวร (ศักดิ์,สิทธิ์,ฤทธิ์,เดช)

จะเทียบบรรดาศักดิ์ชั้นเดียวกับ "พระ" และมียศเป็น "รองหัวหมื่น"

เมื่อจะเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นก็ต้องเลื่อนเป็น "พระยา" และมียศเป็น "หัวหมื่น" แทบทุกรายไป
และส่วนใหญ่จะย้ายไปรับราชการที่กรมอื่นๆ นอกกรมมหาดเล็ก แต่ยังคงอยู่ในกรมมหาดเล็ก ( ฮืม ฮืม)
บางรายอาจย้ายไปอยู่กระทรวงวังโน้นเลยทีเดียว

ซึ่งการเลื่อนแบบนี้ ไม่ต่างจากบรรดาศักดิ์อื่นๆ ในกรมมหาดเล็ก

"นายรอง หุ้มแพร" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง"
เช่น นายรองฉัน หุ้มแพร (อรุณ ภมรบุตร) เป็น หลวงอุดมภัณฑาภิรักษ์

"หุ้มแพร" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "หลวง" หรือ "พระ"
เช่น นายฉันหุ้มแพร (ทิตย์ อมาตยกุล) เป็น พระพฤกษาภิรมย์ , นายบำเรอบรมบาทหุ้มแพร (ผัน อรชุนะกะ) เป็น หลวงอมรสารถี

"จ่า" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระ"
เช่น นายจ่าเรศ (ทับทิม อมาตยกุล) เป็น พระมาตลีรถาทร

"หลวงนาย" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา"
เช่น หลวงเดชนายเวร (กริ่ม สุรนันทน์) เป็น พระยาบำรุงราชบริพาร

"เจ้าหมื่น" เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "พระยา"
เช่น เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์ (ม.ร.ว. จิตร สุทัศน์) เป็น พระยาศรีวรวงศ์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 06 มิ.ย. 12, 08:59

๖๔. ประวัติสังเขป อำมาตย์เอก พระยาคำนวณคัคณานต์ (ศรี  ปายะนันทน์)

เกิด  วัน ๓ เดือน ๗ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมะแม ๑๒๒๑
บุตรลำดับที่ ๓ ของพระสามภพพ่าย (ติ่ง) จางวางกรมทหารช่างในขวา ในรัชกาลที่ ๔  และนางหนู

๒๔๑๑  อายุ ๙ ขวบ  เรียนหนังสือที่สำนักวัดราชสิทธาราม  ธนบุรี  กับอาจารย์เผือก

อายุ ๑๑ ขวบ  บิดานำเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นมหาดเล็กวิเศษ  สังกัดเวรสิทธิ์

กันยายน ๒๔๑๕  ย้ายไปรับราชการเป็นพลทหารราบ  มหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๑๗  เป็นพลทหารม้ามหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๑๘  เป็นกอปอราล ในกรมทหารม้ามหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๓  เป็นซายันต์ ในกรมทหารม้ามหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๔  เป็นซายันต์เมเยอร์ ในกรมทหารราบมหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๕  สอบได้เป็นที่ ๑ ในการศึกษาวิชาแผนที่ ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
ทรงจัดให้มีขึ้น ณ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

๒๔๒๖  เป็นสับลุตเตแนนต์ ในกรมทหารมหาดเล้กรักษาพระองค์  และรับราชการในกรมแผนที่
กับได้ไปราชการทัพปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ  เมืองเชียงขวาง  ได้ไปทำแผนที่พระราชอาณาเขตทางนครหลวงพระบางด้วย
ภายหลังกลับมาได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาเป็นบำเหน็จ

๒๔๒๗ เป็นลุตเตแนนต์ และมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงคำนวณคัคณานต์  ปลัดกรมแผนที่
กับได้เดินทางไปทำแผนที่พระราชอาณาเขตที่นครหลวงพระบาง เมืองสุย  เมืองเชียงแดด  ลาวฝ่ายเหนือ
เมื่อกลับมาคราวนั้น ได้รับพระราชทานโต๊ะกลมและกาถม

๒๔๒๘  เปลี่ยนยศทหารเป็นแบบไทย  ไปราชการสงครามปราบฮ่อ  ได้รับคำสั่งแม่ทัพให้คุมกองทหาร
ไปสำรวจตรวจทางและทำแผนที่สำหรับเดินทัพใหญ่  ในแขวงเมืองอ่าวและเมืองออม  ขึ้นแก่เมืองเขียงขวาง

๒๔๓๐  เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม) แม่ทัพปราบฮ่อ  มอบหมายให้แบ่งปันเส้นเขตแดนร่วมกับฝ่ายทัพฝรั่งเศสที่มาปราบฮ่อ
ได้เดินทางไปถึงเมืองลาวกายและเมืองไลเจา

๒๔๓๒  เดินทางไปราชการทำแผนที่พระราชอาณาเขตที่เมืองอุบลราชธานี  เมืองนครจำปาศักดิ์  เมืองเชียงโฮม 
เมืองผาบาง  เมืองพิ่น  เมืองตะโปน  เมืองสาละวัน  เมืองอัตตะปือ  เมืองแสนปาง  ซึ่งอยู่ต่อกับเมืองญวน

๒๔๓๕  เดินทางไปราชการทำแผนที่พระราชอาณาเขตด้านหัวเมืองล้านนาที่ต่อแดนกับเมืองพม่าของอังกฤษ

๒๔๓๖  คุมทหาร ๑๐๐ นาย ทำการรักษาพระนครที่ประตูสามยอด เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ทิพยาภรณ์ และเหรียญรัชฎาภิเษก

๒๔๔๑  ได้รับเหรียญประพาสมาลา

๒๔๔๒  ได้เหรียญปราบฮ่อ มีโลหะเงินประดับ ๓ ขีด

๒๔๔๔  เป็นพระคำนวณคัคณานต์  ปลัดกรมแผนที่ซ้าย  และได้ไปราชการสอบสวนกรณีพิพาท
เรื่องพระราชอาราเขตด้านเมืองขุขันธ์ เมืองกะพงธม  และเมืองพรหมเทพ ทางเมืองพระตะบอง
กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายฝรั่งเศส

๒๔๔๖  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภูษนาภรณ์  และเหรียญทวีธาภิเษก ทองคำ

๒๔๔๗  เป็นพระยาในบรรดาศักดิ์เดิม และตำแหน่งเดิม

๒๔๕๐  ได้รับเหรียญรัชมงคล

๒๔๕๓  โอนจากกรมแผนที่มาสังกัดกรมรังวัดที่ดิน กระทรวงเกษตราธิการ

๒๔๕๔  รับพระราชทานยศ อำมาตย์ตรี  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มัณฑนาภรณ์

๒๔๕๖  เป็นเจ้ากรมกรมรังวัดที่ดิน  กระทรวงเกษตราธิการ

๒๔๕๗  รับพระราชทานยศ อำมาตย์เอก

๒๔๕๘  ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ตริตาภรณ์ช้างเผือก

๒๔๖๓  กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ  รับพระราชทานเบี้ยบำนาญเลี้ยงชีพ

๒๔๘๓  อายุได้ ๘๑ ปี  ถึงแก่อนิจกรรม

มีภรรยาคนแรก ชื่อ นางหนู อยู่ด้วยกัน ๑๗ ปี (๒๔๒๐-๒๔๓๖) ถึงแก่กรรม  มีบุตรชายหญิง ๕ คน

ได้ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อ นวม อยู่ด้วยกัน ๑๒ ปี (๒๔๓๗-๒๔๔๘) ถึงแก่กรรม  มีบุตรชายหญิง ๒ คน

ได้ภรรยาคนที่ ๓ ชื่อ หม่อมราชวงศ์มนัส  อยู่ด้วยกัน ๑ ปีครึ่ง  (๒๔๔๙-๒๔๕๑) ถึวแก่กรรม  ไม่มีบุตร

ได้ภรรยาคนที่ ๔ ชื่อ อุ่น  อยู่ด้วยกัน ๓๒ ปี (๓๑/๑๐/๒๔๕๑-๗/๗/๒๔๘๓) มีบุตรด้วยกัน ๒ คน
คุณหญิงอุ่น  คำนวณคัคณานต์ เกิด วัน ๑ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีเถาะ ๑๒๕๓  ถึงแก่กรรม ๖/๑/๒๔๙๐ อายุ ๕๖ ปี

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 17:08

๖๕. ประวัติมหาเสวกตรี พระยาราชอักษร (ใช้ อัศวรักษ์)

จากหนังสือ





บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 19 คำสั่ง