เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 29670 ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
ขนมครกยุคมืด
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


สวยคะ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 ก.พ. 12, 09:44

ขอบพระคุณคะ คุณลวงเหล็ก ที่ให้คำชี้แนะ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
ขนมครกยุคมืด
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


สวยคะ


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ก.พ. 12, 10:20

อย่าว่าหนูโง่ นะคะ คือว่า ใครได้เป็นพระยาคนแรกในประเทศไทยหรอคะ อีกอย่างนะคะ ลองท่องคำว่า พระยา พระยา พระยา พระยา ซ้ำกันเกิดอาการงงคะ  ฮืม

เลยอยากรู้ว่า พระ + ยา หรือคะ

ขอบคุณนะคะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 20:04

๕๘. ประวัตินาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ ร.น. (เลื่อน  ศราภัยวานิช)


ประวัติของนาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์  โดยย่อมีดังนี้

นาวาเอก  พระยาศราภัยพิพัฒน์ เป็นบุตรนายโซว  เทียนโป๊  และนางกี๋  
เกิดเมื่อ ๖ กุมภาพันธ์  ๒๔๓๒  ที่จังหวัดนครสวรรค์

สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรตามหลักสูตรชั้น ๕ โรงเรียนอัสสัมชัญ

อุปสมบทที่วัดอรุณราชวราราม

ได้ประกาศนียบัตร จาก School of Journalism   ออสเตรเลีย

ปี ๒๔๗๐ ไปศึกษาดูงานพลาธิการทหารเรือที่ยุโรปเป็นเวลา  ๑ ปี ๔ เดือน

ชีวิตการรับราชการทหาร
๒๔๕๒  เกณฑ์ทหาร
๒๔๕๔ เป็นเลขานุการและล่ามของพลเรือตรี ยอน  ชไนเลอร์  ที่ปรึกษาราชการทหารเรือ
๒๔๕๖ เป็นเลขานุการของจอมพลเรือ  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช  จเรทหารทั่วไป
ตั้งแต่ปี ๒๔๕๘  เป็นนายเวรวิเศากระทรวงทหารเรือ (เลขานุการเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ)
๒๔๖๔ รั้งตำแหน่งเสมียนตรากระทรวงทหารเรือ  และในปีเดียวกันได้เป็นเลขานุการสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ
๒๔๖๕  เป็นเลขานุการสภาธุระการทหาร
๒๔๗๔ เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม
๒๔๗๕ เป็นเจ้ากรมเสมียนตรากระทรวงกลาโหม

ออกจากราชการเป็นนายทหารรับบำนาญ ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๔๗๕



การรับและเลื่อนยศ

๑ พ.ย. ๒๔๕๑  เป็น ว่าที่นายเรือตรี
๑๔ พ.ค. ๒๔๕๒ เป็น นายเรือตรี
๗ พ.ค. ๒๔๕๕ เป็น นายเรือโท
๒๔ มี.ค. ๒๔๕๗ เป็น นายเรือเอก
๑๐ พ.ค. ๒๔๖๑ เป็น นายนาวาตรี
๒๙ มี.ค. ๒๔๖๓ เป็น นายนาวาโท
๑๑ เม.ย. ๒๔๖๖ เป็น นายนาวาเอก

การรับและเลื่อนบรรดาศักดิ์

๒๖ พ.ค. ๒๔๖๐ เป็น หลวงวิเศษสรนิต
๒๔ มี.ค. ๒๔๖๔ เป็น พระนเรนทรบดินทร์
๑ เม.ย. ๒๔๗๒ เป็น พระยาศราภัยพิพัฒน์

งานอื่นๆ

๒๔๙๐ เป็น ส.ส.จังหวัดธนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์  และปีเดียวกันได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๒๔๙๔ เป็น ส.ว.
๒๕๐๓ เป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ

งานพิเศษ

๒๔๗๖ เป็น บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกเดลิเมล์ (ภาษาอังกฤษ)
๒๔๙๔ เป็นกรรมการอบรมนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศ
๒๔๙๗ เป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนนายเรือ
๒๕๐๕ เป็นกรรมการมูลนิธิวิชาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ข้อมูลจากกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพ ความเห็นที่ ๑๒๖-๑๒๗


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 20:08

๕๙. ประวัติมหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)

มหาอำมาตย์ตรี  พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ  เศวตศิลา)
เป็นบุตรของนายเฮนรี  อาลาบาสเตอร์  และนางเพิ่ม  อาลาบาสเตอร์

เกิดเมื่อ ๒๒ มิ.ย. ๒๔๒๒ ที่บ้านพักใกล้พระบรมมหาราชวัง

เริ่มศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและงกฤษ ที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ท่านสอบไล่ได้ประโยค ๒ (จบหลักสูตรสูงสุด) วิชาหนังสือไทย ได้คะแนนสูงเป็นที่ ๑
เมื่อ ๑๗ เม.ย. ๒๔๓๗

จากนั้นไปศึกษาวิชาแผนที่ และสอบไล่ได้เป็นที่ ๑ เมื่อ ๒๔๓๙

ได้ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  สำเร็จเมื่อ ๒๔๔๕

อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ เมื่อ ๒๔๕๐

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ เพิ่มเติม โดยทุนทรัพย์ตนเอง  สำเร็จ เมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นสมาชิกในลินเนียนโซไซเอตี้  ประเทศอังกฤษ ๒๔๕๗

ประวัติการได้รับยศและบรรดาศักดิ์
๒๔๔๘ เป็นหลวงวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๔ เป็นรองอำมาตย์เอก
๒๔๕๕ เป็นพระวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๕๖ เป็นอำมาตย์ตรี
๒๔๕๙ เป็นอำมาตย์โท
๒๔๖๐ เป็นอำมาตย์เอก และเป็นพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์
๒๔๖๓ เป็นมหาอำมาตย์ตรี

ชีวิตการทำงาน

๑ ธ.ค. ๒๔๓๗ เป็นนักเรียนกรมแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๖ มี.ค. ๒๔๔๓ ย้ายมารับราชการกระทรวงมหาดไทย
๒๔๔๔ - ๒๔๔๕ ไปศึกษาวิชาป่าไม้ที่เดระกูน  อินเดีย  
๑ เม.ย. ๒๔๔๖ เป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ จังหวัดนครสวรรค์
จากนั้น ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้นครลำปาง  แพร่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำพูน
และกลับมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมป่าไม้ที่ลำพูนอีกเมื่อ ๒๔๕๒

ออกไปศึกษาต่อวิชาพฤกษศาสตร์ ที่คิว (KEW) อังกฤษ กลับมาเมื่อ ๒๔๕๗
ได้เป็นปลัดกรมป่าไม้  ย้ายไปประจำที่จังหวัดกันตัง
ไปจัดตั้งกองป่าไม้ มณฑลภูเก็ต  นครศรีธรรมราช และปัตตานี

๒๔๕๙ ย้ายจากกันตังไปสงขลา
๒๔๖๐ ย้ายมากรุงเทพฯ
๒๔๖๕ เป็นผู้บำรุงป่าไม้ตอนใต้  
๒๔๗๐ ย้ายจากกรุงเทพฯ กลับไปที่สงขลา
๒๓ มิ.ย. ๒๔๗๗ อายุ ๕๕ ปี  ออกรับพระราชทานบำนาญ

เจ้าคุณวันพฤกษ์ฯ มีพี่น้องร่วมท้อง ๑ คน
คือมหาอำมาตย์ตรี  พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย  เศวตศิลา)
ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ ๓๐ ธ.ค. ๒๔๗๔

เจ้าคุณวันพฤกษ์มีบุตรธิดากับคุณหญิงวันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค)
และกับภรรยาอื่นๆ รวม ๑๕ คน  มีพลอากาศเอก สิทธิ  เศวตศิลา องคมนตรี
และนางสมจิตต์  อาสนจินดา  ภรรยาของ ส.อาสนจินดา เป็นต้น

ข้อมูลจากกระทู้ตามล่าหาหนังสืองานศพ ความเห็นที่ ๑๒๙-๑๓๑


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ก.พ. 12, 20:47

อย่าว่าหนูโง่ นะคะ คือว่า ใครได้เป็นพระยาคนแรกในประเทศไทยหรอคะ อีกอย่างนะคะ ลองท่องคำว่า พระยา พระยา พระยา พระยา ซ้ำกันเกิดอาการงงคะ  ฮืม

เลยอยากรู้ว่า พระ + ยา หรือคะ

ขอบคุณนะคะ


พระยาเป็นตำแหน่งที่มีมาแต่ในสมัยโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
มีปรากฏในพระอัยการนาพลเรือนและนาทหาร (ชำระสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์)

ไม่มีผู้ใดในบรรณพิภพนี้ที่รู้ว่าใครคือพระยาคนแรกของประเทศไทยหรอกครับ  ยิ้มเท่ห์

ส่วนคำว่าพระยามีที่มาจากคำใดต้องรอให้ใต้เท้าพระกรุณาช่วยเฉลยให้หายฉงน  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 14:55


ส่วนคำว่าพระยามีที่มาจากคำใดต้องรอให้ใต้เท้าพระกรุณาช่วยเฉลยให้หายฉงน  ยิ้มกว้างๆ


ไม่ตอบครับ  เชิญทุกท่านฉงนฉงายกันต่อไปตามสมควรเถิด เจ๋ง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 15:16

มาช่วยเพิ่มความฉงนฉงาย

พระยา   พญา   ออกญา

คำไหนหนามาก่อนกัน

 ฮืม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 15:27

มาช่วยเพิ่มความฉงนฉงาย

พระยา   พญา   ออกญา

คำไหนหนามาก่อนกัน

 ฮืม



คำถามนี้  วิสัชนาได้หลายประการ

ประการที่ ๑  ถ้าว่าตามที่คุณเพ็ญฯ เขียนมา  คำว่าพระยาเขียนไว้ลำดับแรก  ก็มาก่อนคำทั้งสองที่เหลือ

ประการที่ ๒ ถ้าว่าตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับล่าสุด  คำว่า พญา ย่อมมาก่อนคำที่เหลือ

ประการที่ ๓ ถ้าว่าตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นภาษาไทย  พญา ดูจะมาก่อนคำว่า ออกญา และพระยา
จากนั้น  ก็น่าจะตามมาด้วยออกญา  และพระยาเป็นหลังสุด   ทราบมาว่า  ทางราชสำนักของพระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี
ได้บรรดาศักดิ์ว่าออกญานี้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต้นๆ รัชกาลปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 ก.พ. 12, 19:32

ถามต่อ

คำว่า "ออก" ในบรรดาศักดิ์ ออกญา ออกพระ ออกหลวง ออกขุน ออกหมื่น ออกพัน มีความหมายว่ากระไร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:00

ถามต่อ

คำว่า "ออก" ในบรรดาศักดิ์ ออกญา ออกพระ ออกหลวง ออกขุน ออกหมื่น ออกพัน มีความหมายว่ากระไร

 ยิงฟันยิ้ม

คงต้องให้คุณเพ็ญฯ ยกตัวอย่างขุนนางที่มีชั้นยศออกทั้งหลายว่า  มีออกอะไรบ้าง พร้อมระบุตำแหน่งหน้าที่
มาให้ทัศนาสัก ๒๐-๓๐ ตัวอย่าง เผื่อจะสรุปได้ว่า ออก..หมายความว่าอะไร
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:39

มาช่วยเพิ่มความฉงนฉงาย

พระยา   พญา   ออกญา

คำไหนหนามาก่อนกัน

 ฮืม



ขอเพิ่มความฉงบฉงายต่อจากคุณเพ็ญด้วยครับ 
นอกจาก พระยา  พญา  ออกญา แล้วยังมีคำว่า "เพี้ย" ที่หมายถึงบรรดาศักดิ์พระยาอีกคำครับ 
คำนี้พบในหนังสือของพระวิภาคภูวดล (เจมส์  แมคคาร์ธี)  เวลาพูดถึงพระยาท่านใช้คำว่า "Pia" ตลอดเลยครับ
คำว่าเพี้ยนี้ทีแรกเข้าใจว่าเป็นบรรดาศักดิ์ทางล้านช้างที่เทียบเท่าพญาของล้านนา  แต่เมื่อคุณพระท่านกล่าวถึงพระยาของสยามท่านก็ใช้เพี้ยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 17:47

ตัวละครในขุนช้าง ขุนแผน มีเอ่ยถึง... ยิงฟันยิ้ม
เพี้ยกวาน เพี้ยกวานขนานอ้าย เพี้ยปราบพระยาเมืองแมน เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ (เชียงใหม่)

ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ได้อธิบายว่าตำแหน่งที่มีคำว่า "เพี้ย" นำหน้าทางภาคเหนือที่เราพบ อยู่ในหนังสือพงศาวดารเสมอนั้น ความจริงก็ตรงกับคำว่า "พระยา" ของภาคกลางนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 19:12

ลา ลูแบร์ เขียนไว้ว่า ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บรรดาศักดิ์มีทั้งหมด ๗ ชั้นคือ พระยา, ออกญา, ออกพระ, ออกหลวง, ออกขุน, ออกหมื่น และออกพัน แต่ออกพันในสมัยนั้นเลิกใช้แล้ว

คำว่า "ออก" หมายความคล้ายกับว่า "หัวหน้า" เพราะมีบรรดาศักดิ์อีกอย่างที่ไม่มีตำแหน่งคือ ออกเมือง ซึ่งดูเหมือนจะแปลว่า "หัวหน้าเมือง" บุคคลต้องได้รับแต่งตั้งเป็นออกเมืองเสียก่อน จึงจะได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง

ลา ลูแบร์ เข้าใจว่าคำว่า "ออก" ไม่ใช่ภาษาสยาม เพราะมีคำว่า "หัว" ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "หัวสิบ" ซึ่งเป็นตำแหน่งนายท้ายช้าง  "หัวพัน" คือผู้เชิญธงมหาราชในเรือพระที่นั่งทรง

ผู้ที่มียศศักดิ์สูงกว่าจะไม่ใช้คำว่า "ออก" เรียกผู้ที่มียศศักดิ์น้อยกว่าตนเลย เช่นสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งกับออกพระพิพิธราชา ก็ตรัสแต่ว่า พระพิพิธราชา เฉย ๆ เท่านั้น บุคคลผู้กล่าวถึงบรรดาศักดิ์ของตนเอง ก็งดกล่าวคำว่า "ออก" เป็นการถ่อมตัวโดยมรรยาท และประชาชนพลเมืองซึ่งเป็นส่วนน้อยก็ละเลยไม่ใช้คำว่า "ออก" เช่นเรียกออกญายมราชว่า ญายมราช ออกหมื่นไวยว่า หมื่นไวย ดังนี้เป็นต้น

ลา ลูแบร์ยังกล่าวถึงบรรดาศักดิ์ในประเทศลาวว่า พญา (เพี้ย), หมื่น และพระก็ยังใช้กันอยู่ บางทีคงมีบรรดาศักดิ์อย่างอื่นอีกที่เหมือนกัน โดยทำนองเดียวกับตัวบทกฎหมายกระมัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 07:11

คุณเพ็ญกล่าวไว้ในความเห็นข้างบนว่า "คำว่า "ออก" หมายความคล้ายกับว่า "หัวหน้า""

เรื่องนี้มีข้อเปรียบเทียบเป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางล้านนาที่เรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำคือ  พญา  แสน  ท้าว 
บรรดาศักดิ์ชั้นพญา  ยังแยกเป็น "พญาหลวง" ที่เป็นหัวหน้าเหนือ "พญา" ทั่วไป
แสนก็แบ่งเป็น "แสนหลวง" และ "แสน" เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 ก.พ. 12, 09:50

บรรดาศักดิ์ในประเทศราช สมัยรัชกาลที่ ๔

กฎหมายคำนำหน้าชื่อ รัชกาลที่ ๔ จากบล็อกของคุณกัมม์

ประกาศพระราชบัญญัติให้ใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆ

มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า คนในพระราชอาณาจักรมิใช่จีนมิใช่ฝรั่ง แขก ญวน พม่า มอญ ซึ่งมาแต่เมืองจีน เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองญวน เมืองพม่า เมืองมอญ แลมิใช่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ชีพ่อพราหมณ์ หลวงญวน หลวงจีน บาดหลวงฝรั่ง โต๊ะแขก รูปชี แพทย์หมอ แลครูอาจารย์สอนหนังสือก็ดี ยกเสียแต่ข้าราชการที่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ แต่หมื่นขึ้นไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาแลเจ้าพระยาก็ดี แลยกเสียแต่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ แลเจ้าประเทศราช แลเจ้าซึ่งเป็นบุตรหลานพี่น้องของเจ้าประเทศราช ตลอดลงไปจนท้าวเพี้ยในเมืองลาว พระยาพระในเมืองเขมร ตองกูตวนเจะในเมืองมลายู จ่ากังในพวกกระเหรี่ยงก็ดีแล้ว

...................................................................

ประกาศมา ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีระกาตรีศก ศักราช ๑๒๒๓ หรือวันที่๓๗๗๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง