เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 29720 ประชุมประวัติพระยาภาคที่ ๒ (ลำดับที่ ๕๑ - ๑๐๐)
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 08 ก.พ. 12, 10:24

กระทู้นี้  ต่อเนื่องจากกระทู้ก่อน กติกายังเหมือนเดิม ดังนี้

ท่านทั้งหลาย

ประวัติข้าราชการแต่ครั้งเก่าก่อนเป็นข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายกันอยู่
ยังไม่ได้รวบรวมให้ค้นหาได้ง่าย   โดยเฉพาะประวัติข้าราชการ
ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและค้นคว้าหากันมาก
ในเรือนไทยและในอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย

ด้วยเหตุนี้  ก็ใคร่เชิญชวนท่านทั้งหลายได้ช่วยกันรวบรวมประวัติ
ของพระยาแต่ละคนอย่างละเอียดๆ จากข้อมูลแหล่งต่างๆ
มาใส่ไว้ในกระทู้นี้ พร้อมกับระบุแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน  

จะไปคัดลอกข้อมูลลงมาใส่ไว้ทั้งหมดก็ได้  พร้อมระบุแหล่งข้อมูล
หรือถ้าคัดลอกมาไม่สะดวก  ก็พิมพ์ชื่อพระยา (ชื่อตัว - นามสกุล)
แล้วใส่ลิงก์ให้สามารถคลิกเข้าไปเปิดอ่านได้  อย่างนี้ก็ได้เหมือนกัน

ส่วนท่านจะแนบภาพหรือไม่  สุดแต่ท่านเห็นเหมาะเห็นงาม

ในเบื้องต้นนี้  ขอประวัติพระยาอีกสัก ๕๐ คน   และขอให้ใส่เลขเรียงลำดับด้วย
จะได้นับถูกต้อง   ขอขอบคุณทุกท่านที่มีใจยินดีมีน้ำใจให้ความร่วมมือกับกระทู้นี้

( :oโอ๊ะๆ  ไม่ต้องแย่งกันลงนะครับ ยิงฟันยิ้ม)


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 16:50

๕๑.พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตกุล)
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5_(%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94_%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5)


บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 17:00

๕๒.พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)
http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=588:2011-08-10-06-35-43&catid=48:personal&Itemid=133


บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 17:08

๕๓. อำมาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา)
http://archaeologythai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=399:2010-12-26-01-52-02&catid=48:personal&Itemid=133


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 10:11

              นายเกลื่อน ชัยนาม (พระยาอุภัยพิพากสา) เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2407 ตรงกับวันอังคารขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด ณ ตำบลบ้านคลองสาน อำเภอบางลำพูล่าง พระนคร บิดาชื่อ ขุนชัยบริบาล (ตาด) มารดาชื่อ พลับ มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 5 คน คือ
1. นางจีน วิบูลเสข
2. คุณหญิงเจียม เทพาธิบดี (เจียม เทพานนท์)
3. นางจีบ สวัสดิโสกา บุนนาค
4. นายเกลื่อน ชัยนาม (พระยาอุภัยพิพากสา)
5. ขุนชัยบริบาล (เลื่อน ชัยนาม)

ท่านได้ทำการสมรสกับคุณหญิงจันท มีบุตรด้วยกันหลายคนแต่ที่ยังมีชีวิตอยู่เพียง 2 คน และเกิดจากภริยาอื่น 6 คน
1. นายดิเรก ชัยนาม
2. นายไพโรจน์ ชัยนาม
บุตรจากภริยาอื่น
1. นางแม้น ลิมปินันทน์
2. นางประเทือง คูสมิต
3. นายพันตำรวจตรี นิรันดร ชัยนาม
4. เรืออากาศเอกอุส่าห์ ชัยนาม
5. นายโอภาส ชัยนาม
6. นางสุภางค์ ชัยนาม

การศึกษา
              เมื่อ พ.ศ. 2417 ได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยที่สำนักหมื่นสุนทร
              ในปี พ.ศ. 2428 ได้อุปสมบทที่วัดทองนพคุณ พระสุธัมสังวรเป็นพระอุปชาย์ พระสมุห์นุช และพระอาจารย์ชุ่ม เป็นพระกัมมวาจา ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม 1 พรรษา แล้วลาสิกขาบท ท่านได้ศึกษาค้นคว้าวิชาความรู้ทางด้านการปกครองและกฎหมายจนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด เป็นผู้พิพากษาในศาลกรุงเทพมหานครและศาลมณฑลหัวเมือง และในปี พ.ศ. 2460 เนติบัณฑิตยสภาได้รับรองคุณวุฒิของท่านยอมรับเข้าเป็นสมาชิกวิเศษและได้รับพระราชทานเสื้อครุยเนติบัณฑิต
              นอกจากความรู้ทางด้านการปกครองและกฎหมายแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้านวรรณคดีไทย สามารถเขียนคำประพันธ์ร้อยกรอง โคลง กลอน โวหาร สุภาษิตไว้มากมาย ที่มีตีพิมพ์แล้วคือ "สำรวจคำกล้า" พิมพ์ในคราวฉลองอายุครบ 60 ปี

การรับราชการ
              ในปี พ.ศ. 2426 อายุ 19 ปี เริ่มรับราชการเป็นเสมียนในกองตระเวนซ้าย (รักษาความสงบเรียบร้อยที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา) กรมกองตระเวน กระทรวงเมือง (กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย)
           พ.ศ. 2428 ได้รับแต่งตั้งเป็นหมื่นรองชัยบริบาล ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอวัดทองธรรมชาติ จังหวัดธนบุรี
              พ.ศ. 2430 ไปเป็นนายอำเภอตลาดสมเด็จ ธนบุรี ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนขจรบุรี
              พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ให้ไปรักษามณฑลลาวกาว (มณฑลอิสาน) ซึ่งติดต่อกับอินโดจีนฝรั่งเศส พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้กราบถวายบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนายเกลื่อน ชัยนาม (ขุนขจรบุรี) ให้ไปช่วยราชการครั้งนั้นด้วย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุญาต และทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นขุนผไทไทยพิทักษ์
ในการเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เมื่อถึงมณฑลลาวกาว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรงแต่งตั้งให้นายเกลื่อน ชัยนาม (ขุนผไทไทยพิทักษ์) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดศรีสะเกษ
              ในปี พ .ศ. 2436 (ร.ศ. 112) มีทหารญวน เขมร เข้ารุกรานดินแดนของเมืองเชียงแตน ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตรงข้ามปากเซ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้มีรับสั่งให้นายเกลื่อน ชัยนาม (ขุนผไทไทยพิทักษ์) คุมทหารเมืองศรีสะเกษ เมืองอุทุมพรพิสัย ไปรักษาค่ายช่องโพย ซึ่งติดต่อกับเขตแดนเมืองพรหมเทพของฝรั่งเศส การไปปฏิบัติราชการในยามคับขันครั้งนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทรงไว้วางพระทัยนายเกลื่อน
ชัยนาม เป็นพิเศษ ถึงกับได้มีลานพระหัตถ์มอบอาญาสิทธิ์ให้นายเกลื่อน ชัยนาม ประหารชีวิตผู้กระด้างกระเดื่องได้ก่อนกราบทูลอย่างเป็นทางการ เมื่อท่านได้วางแผนและรักษาด่านด้วยความเข้มแข็งเรียบร้อยแล้ว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร จึงมีรับสั่งให้พระชัยภักดี ผู้ช่วยเมืองศรีสะเกษไปรักษาด่านช่องโพยแทน และรับสั่งให้นายเกลื่อน ชัยนาม กลับมารับหน้าที่ข้าหลวงประจำจังหวัดศรีสะเกษตามเดิม และทรงมอบภาระให้สะสมเสบียง เกณฑ์คนเข้ารับราชการทหาร หล่อกระสุนปืนส่งให้มณฑลลาวกาว ปรากฏว่าภาระกิจที่ท่านได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง
              ในปี พ.ศ. 2438 ท่านได้กลับเข้ามารับราชการในกรุงเทพมหานครในหน้าที่ตุลาการ เป็นผู้ช่วยกรรมการกองที่ 3 พิจารณาความอาญาที่คั่งค้าง
              พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง
              พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลพิษณุโลก
              พ.ศ. 2445 โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประชาปริวัตร
              พ.ศ. 2449 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา
              พ.ศ. 2454 โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นอำมาตย์โท
              พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นพระวิสดารวินิจฉัย
              พ.ศ. 2464 โปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นอำมาตย์เอก
              พ.ศ. 2466 โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอุภัยพิพากสา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ   
              พ.ศ. 2435 เหรียญรัชดาภิเษก
              พ.ศ. 2439 ตราเบญจมาภรณ์ช้างเผือก
              พ.ศ. 2440 เหรียญประพาสมาลา
              พ.ศ. 2444 เหรียญเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
              พ.ศ. 2447 เหรียญทวีธาภิเษก
              พ.ศ. 2450 เหรียญรัชมงคล
              พ.ศ. 2451 เหรียญรัชมังคลาภิเษก
              พ.ศ. 2454 เหรียญบรมราชาภิเษก ร.6
           พ.ศ. 2456 ตราจัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
              พ.ศ. 2461 ตราจัตุถาภรณ์ช้างเผือก
              พ.ศ. 2462 เหรียญจักรพรรดิมาลา
              พ.ศ. 2475 เหรียญเฉลิมพระนครครบ 150 ปี

              ในปี พ.ศ. 2468 นายเกลื่อน ชัยนาม ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 เนื่องจากสุขภาพทรุดโทรม อายุ 62 ปี ท่านรับราชการมานาน 42 ปี หลังจากที่ท่านลาออกจากราชการแล้ว ท่านใช้ชีวิตด้วยความสงบทำบุญรักษาศีลอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้กว้างขวาง เป็นที่รักใคร่เคารพนับถือของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเจ้านายผู้ใหญ่เสด็จไปอยุธยา มักจะเรียกหาตัวท่านมาสอบถามสนทนาด้วยเสมอ ๆ ท่านช่วยเหลืองานราชการอย่างเต็มความสามารถ
              นายเกลื่อน ชัยนาม ป่วยด้วยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2487 เวลา 13.05 น. ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิริรวมอายุได้ 80 ปี และได้เชิญศพมาไว้สุสานวัดมกุฎฯเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำอาบศพและหีบทองลายสลัก พร้อมฉัตรเบญจา 4 คันเป็นเกียรติยศ โปรดเกล้าฯได้รับพระราชเพลิงศพเที่เมรุพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 10:18

^
^
๒๘.พระยาอุภัยพิพากสา(เกลื่อน ชัยนาม)
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/klaen.htm

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 12:55

พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ(แอบ  รักตะประจิต) อดีตนักเรียนฮาร์วาร์ดรุ่นแรกของไทย และอดีตราชบัณฑิต 2485

ประวัติ

พลโทพระยาศัลวิธานนิเทศ นามเดิม แอบ  รักตะประจิต

เกิด 25 กรกฎาคม พ.ศ.2435

ถึงแก่อนิจกรรม 2532

สิริอายุ 97 ปี

คู่สมรส ท่านผู้หญิงศัลวิธานนิเทศ(เลื่อม  รักตะประจิต:2437 - 2532 สิริอายุ 95 ปี)

การศึกษา
  -โรงเรียนเบญจมบพิตร โรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ
  -ปริญญาตรี วิชาแผนที่และวิชาสำรวจรถไฟ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  -ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

การเข้ารับราชการ
   -ประจำกรม กรมแผนที่ทหาร
   -หัวหน้ากองศึกษา กรมแผนที่ทหาร
   -ผู้ช่วยเจ้ากรมแผนที่
   -เจ้ากรมแผนที่

..............................................
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://hof.sc.chula.ac.th/hof02.htm
  


บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 19:19

กรุณาใส่ตัวเลขด้านหน้าชื่อท่านเจ้าคุณแต่ละท่านด้วยนนะครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 11:07

๕๕. พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)
 
ศิลปวัฒนธรรม - วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 26 ฉบับที่ 05

ภาษา-หนังสือ

หลง ใส่ลายสือ

จันทร์ จิตรกร ศิลปินคู่พระทัยรัชกาลที่ ๖

คนที่นิยมชมชอบหนังสือเก่า น่าจะเห็นพ้องต้องกันว่า หนังสือ "ปกสวย" คือหนังสือพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ มีเอกลักษณ์เป็นลายไทย ลายเถา พิมพ์ทองบนหน้าปก มีความประณีตงดงาม ยากที่หนังสือรุ่นอื่นๆ จะเทียบได้

ส่วนหนึ่งของหนังสือ "ปกสวย" นั้น เป็นฝีมือของพระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ผู้ที่รับสนองพระราชกระแสรับสั่งเขียนภาพต่างๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งภาพประกอบในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ เช่น ลิลิตนารายน์สิบปาง เป็นต้น มีภาพประกอบเทวดา นางฟ้า ยักษ์ ลิง อย่างงดงาม ตามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์คำนำ ในหนังสือลิลิตนารายน์สิบปาง ฉบับพิมพ์ปี ๒๔๖๖ ว่า "ส่วนภาพที่เขียนขึ้นใหม่สำหรับหนังสือเรื่องนี้เปนฝีมือจางวางตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จัน จิตรกร), และข้าพเจ้าขอขอบใจฃ้าราชการผู้นี้ที่ได้ช่วยประดับหนังสือนี้ด้วยฝีมือ."

ท่านผู้นี้จึงถือได้ว่าเป็น "ศิลปินคู่มือ" คนสำคัญคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมควรที่จะบันทึกประวัติและผลงานให้คนไทยได้รู้จัก พระยาอนุศาสน์จิตรกร ซึ่งเป็นทั้งคนเขียนภาพประกอบ จิตรกร และช่างภาพ คนสำคัญของไทยไว้พอสังเขป

น่าเสียดายที่ขณะนี้ยังไม่พบหนังสืองานศพของท่าน พบแต่หนังสืองานศพของบุตรสาวท่าน คือคุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน สุนทรเวช) ซึ่งได้รวบรวมประวัติชีวิตและผลงานของ "พ่อ" ไว้ส่วนหนึ่ง

หนังสือพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน สุนทรเวช) มีขนาด ๘ หน้ายก ปกสีฟ้า หนา ๑๒๘ หน้า พิมพ์ขึ้นในปี ๒๕๒๔ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนประวัติและอนุสรณ์คุณหญิงบำรุงราชบริพาร ส่วนที่สองเป็น "ฝีมือพ่อ" คือประวัติและผลงานของพระยาอนุศาสน์จิตรกร ส่วนสุดท้ายเป็น "ฝีปากลูก" เป็นคำอภิปรายในวาระต่างๆ ของนายสมัคร สุนทรเวช

คุณหญิงบำรุงราชบริพาร นามเดิมคือ อำพัน จิตรกร สมรสกับพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) มีบุตรธิดา ๙ คน หนึ่งในนี้เป็นที่รู้จักกันดีคือนายสมัคร สุนทรเวช

ประวัติโดยย่อของพระยาอนุศาสน์จิตรกรตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ คือท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๑๔ ตำบลวัดราชบูรณะ อำเภอพระนคร เข้าศึกษาวิชาการชั้นต้นที่วัดสังเวชวิศยาราม สำนักพระอาจารย์เพชร และพระอาจารย์สังข์ และวิชาการอื่นๆ จากครูพุด ยุวะพุกกะ

ต่อมาในปี ๒๔๓๖ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ด้วยทรงเห็นว่า "มีฝีมือทางช่าง" จึงทรงนำเข้าเฝ้าถวายตัวต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการตำแหน่งช่างเขียนในพระบรมมหาราชวัง

จากนั้นในปี ๒๔๔๘ ได้รับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นที่หลวงบุรีนวราษฎร์

ปี ๒๔๕๔ ได้รับพระราชทานยศชั้นหัวหมื่นมหาดเล็ก เป็นจางวางกรมช่างมหาดเล็ก มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอนุศาสน์จิตรกร ต่อมาในปี ๒๔๕๙ ได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมช่างมหาดเล็ก และในปี ๒๔๖๒ เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ ๖ และในสมัยรัชกาลที่ ๗ ปี ๒๔๖๙ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี

ผลงานทางช่างของพระยาอนุศาสน์จิตรกร นอกจากหนังสือ "ปกสวย" แล้ว ยังมีงานด้านจิตรกรรมตามวัดวาอารามต่างๆ อีกมาก เช่น ภาพชาดกในพระวิหารหลวงจังหวัดนครปฐม ภาพตัดขวางแสดงพระปฐมเจดีย์องค์เดิม ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ภาพเรื่องรามเกียรติ์ ในพระที่นั่งบรมพิมาน และระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพเขียนสีน้ำมันบนกุฏิสมเด็จฯ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น

ด้วยความสามารถทางการเขียนภาพนี่เอง ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "จิตรกร"

นอกจากความสามารถทางด้านจิตรกรรมแล้ว พระยาอนุศาสน์จิตรกรยังเป็นผู้สร้างฉาก และออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับบทละครเรื่องต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดง รวมถึงความสามารถในการถ่ายภาพจนได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการร้านถ่ายรูปฉายานรสิงห์ ซึ่งเป็นร้านถ่ายภาพหลวง พระยาอนุศาสน์จิตรกรจึงเป็นช่างภาพประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ และการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ

แต่ผลงานชิ้นเอกที่ทำให้คนไทยรู้จักมากที่สุดเห็นจะเป็นภาพพงศาวดาร การกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวร ในวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากท่านลงนาม "พระยาอนุศาสนจิตรกร" ไว้ใต้ภาพทุกภาพ ต่างจากงานเขียนภาพประกอบในหนังสือที่จะมีตรา "จ" อยู่ในวงกลมเล็กๆ ลักษณะคล้ายลายประจำยามที่มุมภาพ

วัดสุวรรณดารารามที่พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้เขียนภาพไว้นั้น เป็นวัดสำคัญประจำราชวงศ์จักรี เนื่องด้วยเป็นวัดที่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้สร้างไว้ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก เดิมวัดนี้ชื่อวัดทอง และมีการปฏิสังขรณ์ในฐานะวัดสำคัญประจำราชวงศ์เรื่อยมา

จนในสมัยรัชกาลที่ ๗ ระหว่างปี ๒๔๗๓-๒๔๗๔ มีพระราชกระแสรับสั่งให้พระยาอนุศาสน์จิตรกรไปเขียนภาพพระราชพงศาวดาร ประวัติสมเด็จพระนเรศวร เกี่ยวกับการกอบกู้เอกราช ตามประวัติการเขียนภาพนี้ พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ค้นคว้าและจินตนาการด้วยตนเอง โดยเมื่อร่างแบบขึ้นมาแล้วก็จะนำขึ้นถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อทรงพิจารณาก่อนจะนำไปเขียนจริงทุกครั้ง

นอกจากนี้ยังมีเกร็ดประวัติการเขียนภาพของพระยาอนุศาสน์จิตรกรบันทึกไว้ในหนังสืองานศพคุณหญิงบำรุงราชบริพาร ดังนี้

"สำหรับภาพเขียนที่วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ใช้เวลาวาดภาพเกือบ ๒ ปีเต็ม โดยรับพระราชทานให้นำแพไปจอดที่หน้าวัด ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาแพเกิดจมลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงได้พระราชทานเรือ "ปิคนิค" ให้พระยาอนุศาสน์จิตรกรได้ใช้แทนแพ จนกระทั่งวาดภาพเสร็จสมบูรณ์

ในตอนที่ไปวาดรูปพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ พระยาอนุศาสน์จิตรกรเคยเล่าให้ลูกๆ ฟังว่า เมื่อเขียนถึงพระเนตรของสมเด็จพระนเรศวรเป็นครั้งแรก ตัวเองเป็นลมตกลงมาจากนั่งร้านถึง ๓ หน จึงต้องมีพิธีบวงสรวง ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจึงสามารถเขียนได้สำเร็จ"

อย่างไรก็ดีแม้ภาพชุดนี้จะเป็นชุดที่โด่งดังที่สุดของ "จันทร์ จิตรกร" แต่สัดส่วนของคนนั้น ยังไม่งดงามเท่ากับเมื่อเขียนภาพประกอบหนังสือ อาจจะเป็นเพราะขณะเขียนภาพชุดพระราชประวัตินี้ ท่านมีอายุถึง ๖๐ ปีแล้ว สุขภาพไม่ดีถึงขั้นเป็นลมอยู่บ่อยๆ ไม่ "สด" เหมือนเมื่อเขียนภาพประกอบถวาย หรืออาจจะเป็นเพราะต้องเขียนงานขนาดใหญ่กว่างานเขียนภาพประกอบหลายเท่า หรืออาจจะเป็นเพราะงานเขียนภาพประกอบของท่านที่งดงามนั้นเป็น "ทางไทย" ส่วนภาพชุดพระราชประวัติที่วัดสุวรรณดารารามนี้เป็นการเขียนอย่าง "ฝรั่ง" จึงทำให้สัดส่วนผิดไปหลายแห่ง

พระยาอนุศาสน์จิตรกร เสียชีวิตในวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๔๙๒ เมื่อมีอายุได้ ๗๘ ปี งานชิ้นสุดท้ายไม่ใช่งานจิตรกรรม แต่เป็นงานประดับมุกพานแว่นฟ้า ที่มีลวดลายวิจิตรบรรจงอย่างยิ่ง นอกจากนี้ท่านยังมีทายาทที่ได้ "เลือดพ่อ" อีก ๑ คน คือนางดรุณาทร (ผิว กัลยาณมิตร) ที่มีฝีมือทางการวาดเขียนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ถนัดทางสีน้ำมากกว่า


พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์  จิตรกร) จางวางกรมช่างมหาดเล็ก แต่งเครื่องแบบเต็มยศกรมมหาดเล็ก  ยศชั้น จางวางตรี (เทียบนายพลตรี)  สวมครุยเสนามาตย์ชั้นเอก

ge

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 17:16

ขอเพิ่มเติมเรื่องของพระยาบุรีนวราษฐ จากที่คุณเพ็ยชมพูได้กล่าวถึงครับ

เมื่อท่านเจ้าคุณมารับราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบุรีนวราษฐ ตำแหน่งเป็นปลัดกรมขอเฝ้าฯ ในสมเด็จพระบรมฯ  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘  ทรงตั้งนามแฝงพระราชทานหลวงบุรีนวราษฐ ว่า "ลุงจารย์" หรือ "ท่านอาจารย์"  เมื่อเสด็จเสวยสิริราชสมบัติแล้ว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงบุรีนวราษฐ เป็นพระยาอนุศาสน์จิตรกร เลยทีเดียว 

ผลงานสำคัญของท่านเจ้าคุณที่ฝากไว้นอกจากงานเขียนภาพประกอบในบทพระราชนิพนธ์  และภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้ว  ท่านเจ้าคุณยังเป็นแม่กองปั้นหล่อรูปพระมนูแถลงสารซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ตึกวชิรมงกุฎ  ภายในวชิราวุธวิทยาลัย  และเป็นผู้รับสนองพระราชดำริจัดสร้างธงประจำกองลูกเสือหลวง  ธงประจำกองลูกเสือมณฑลต่างๆ  ธงประจำกองเสือป่า และธงประจำตัวนายกองนายหมู่เสือป่าอีกร่วม ๑๐๐ ธง

ตัวอย่างธงประจำตัวนายกองหมู่เสือป่าที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ  และท่านเจ้าคุณอนุศาสน์สนองพระราชกระแสจัดสร้างเป็นผืนธง

ธงปราการเชียงใหม่  พระราชทานเป็นธงประจำตัว พระยาบุรีนวราษฐ (ชวน  สิงหเสนี)
บุรีนวราษฐ  มีความหมายว่า  เมืองเชียงใหม่




บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 17:38

.




ภาพยุทธหัตถี ฝีมือ จันทร จิตรกร ที่คุ้นตากันดี......................วัดสุวรรณดาราราม


 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 18:46

๕๖. เสวกเอก พระยาวาระศิริศุภเสวี (เอวัน  วาระศิริ) ท.จ., ต.ม., บ.ช., ว.ป.ร.๔, ร.ด.ม.(ศ)
บุตรนายตื้อ  วาระศิริ  เกิดวันที่  ๔  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๒๕ 
พ.ศ. ๒๔๔๔  รับราชการเป็นล่ามกรมสุขาภิบาล  แล้วไปเป็นล่ามกรมคลอง กระทรวงเกษตราธิการ
พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นเลขานุการ
พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นผู้ช่วยการต่างประเทศมณฑลภูเก็ต
พ.ศ. ๒๔๕๖ ย้ายไปเป็นอาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นขุนสนธิ์วิชากร
พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นปลัดบัญชาการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร  เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นหลวงในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๘ เลื่อนยศขึ้นเป็นจ่า
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นผู้ช่วยราชการโรงเรียนพรานหลวง  เปลี่ยนนามบรรดาศักดิ์เป็นหลวงนนทพิทย์พิลาศ
พ.ศ. ๒๔๖๐ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม  เป็นปลัดกรมกองเครื่องสายฝรั่ง  เปลี่ยนนามบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐ์ไพเราะ
พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็นรองหัวหมื่น
พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นเจ้ากรมดนตรีฝรั่งหลวง  เลื่อนยศเป็นหัวหมื่น
พ.ศ. ๒๔๖๕ ประจำกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก  เป็นพระยาวาระศิริศุภเสวี
พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
พ.ศ. ๒๔๖๙ ออกจากราชการเพราะยุบเลิกตำแหน่งราชการ
   
พระยาวาระศิริศุภเสวี ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ  ถึงอนิจกรรม  วันที่  ๑๗  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๔๗๑

ผลงานสำคัญของท่านผู้นี้ คือ การจัดการสอนวิชาดนตรีสากล (หรือดนตรีฝรั่ง) ในโรงเรียนพรานหลวง  ซึ่งได้สร้างครูดนตรีมีชื่อไว้หลายคน  อาทิ ครูโฉลก  เนตรสูตร,  ครูเอื้อ  สุนทรสนาน,  ครูนารถ  ถาวรบุตร ฯลฯ  และเป็นผู้ปลุกปั้นกองเครื่องสายฝรั่งหลวงจนขยายกิจการได้เลื่อนฐานะเป็นกรมดนตรีฝรั่งหลวงก่อนที่จะส่งให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ  วาทยกร) รับช่วงต่อ 
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ก.พ. 12, 18:47

๕๗. เสวกเอก พระยาจินดารังสรรค์ (ปลั่ง  วิภาตะศิลปิน) ต.ม., จ.ช., ว.ป.ร.๔, ร.ด.ม.(ศ), ร.จ.พ.
บุตรขุนรองปลัด (มา  วิภาตะศิลปิน)  เกิดวันที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๐๗

พ.ศ. ๒๔๓๙  รับราชการเป็นช่างเขียนกองแบบอย่าง  กรมโยธา  กระทรวงโยธาธิการ
พ.ศ. ๒๔๔๒  เป็นสรวัด
พ.ศ. ๒๔๔๔  เป็นนายเวร
พ.ศ. ๒๔๔๖  รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนสมิทฑิเลขา
พ.ศ. ๒๔๔๙  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหลวงในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๔  รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก 
พ.ศ. ๒๔๕๕  เป็นกรมแผนกโยธาใหญ่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัง  และเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรี
พ.ศ. ๒๔๕๖  เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นผู้ช่วยตรวจการกรมโยธาแผนกใน
พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นเสวกโท  หัวหน้าแผนกช่าง
พ.ศ. ๒๔๖๑  เป็นพระยาจินดารังสรรค์
พ.ศ. ๒๔๖๓  เป็นเสวกเอก
พ.ศ. ๒๔๖๙  ปลดออกจากราชการ  รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ  เหตุยุบเลิกตำแหน่งราชการ

พระยาจินดารังสรรค์ป่วยด้วยโรคชรา  ถึงแก่กรรม  เมื่อวันที่  ๑  มกราคม  พ.ศ. ๒๔๗๐

ผลงานการออแกแบบชิ้นสำคัญ คือ ร่วมกับนายเอดเวิร์ด  ฮีลี่ ออกแบบหอสวดและตึกนอนนักเรียนรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ตึกมหาจุฬาลงกรณ์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)  และศาลาการเปรียญวัดราชาธิวาส
บันทึกการเข้า
ขนมครกยุคมืด
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


สวยคะ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ก.พ. 12, 08:36

สวัสดีคะ มีแต่คนเก่ง ๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ อยากรู้จังว่า พระยา คงเป็นตำแหน่งโบร้าน โบราณ เทียบเท่ากับนายกไหมคะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ก.พ. 12, 09:08

สวัสดีคะ มีแต่คนเก่ง ๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ อยากรู้จังว่า พระยา คงเป็นตำแหน่งโบร้าน โบราณ เทียบเท่ากับนายกไหมคะ

ยินดีต้อนรับคุณขนมครกยุคมืดเข้ากระทู้ครับ 
ข้าราชการบรรดาศักดิ์พระยานั้นมีหลายระดับชั้นครับ

ถ้าเป็นข้าราชการตามกระทรวง ถ้าเป็นพระยาก็มักมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรม
ขึ้นไปจนถึงปลัดกระทรวงหรือเสนาบดีกระทรวง

ถ้าเป็นหัวเมืองหรือส่วนภูมิภาค ข้าราชการระดับชั้นพระยา
ก็ต้องเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าเมือง ข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นต้น

นอกจากนี้  ถ้าเป็นข้าราชการสูงอายุตามกรมต่างๆ
สมัยโบราณเมื่อจะโปรดเกล้าฯ ให้อยู่นอกราชการ
ก็พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาด้วยเหมือนกัน
กินตำแหน่งจางวาง (ที่ปรึกษาหรือผู้กำกับดูแล(ห่างๆ)ราชการกรมนั้นๆ)

นอกจากนี้ ก็มีพระยาในกรณีอื่นๆ อีก  สำหรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เป็นตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายบริหาร  ถ้าเทียบกับตำแหน่งพระยาก็คงไม่พอ
ต้องเทียบตำแหน่งกับเจ้าพระยานาหมื่นหรือสมเด็จเจ้าพระยา
เพราะตำแหน่งของนายกฯ เทียบเท่าอัครมหาเสนาบดี
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง