เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 7102 ชีวิตนี้เป็นที่รัก เรื่องแปลสุดกระทิอนใจของอุไร สนิทวงศ์
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 12:51



        เมื่อตอนที่ช่างตัดผมรีบรุดออกจากร้านไป   โควิน์รู้สึกหวาดกลัวและหนาวสะท้าน   เขาแทบจะไม่เคยใช้กระจกเงาเลย

คราวนี้เขาหยิบกระจกบานหนึ่งมาจากข้างฝา  แล้วพิจารณาดูดวงหน้าของตนเองอย่างใกล้ชิด     ดวงหน้าของเขา

กลับซีดเผือดร่วงโรยไปในทันใด           มีอะไรในดวงหน้านั้นที่ผิดหูผิดตาไป        ผิวเนื้อสีคล้ำของโควินท์ซีดเผือด 

แต่ใบหูข้างซ้ายมีสีม่วงอ่อนๆ คล้ายรอยช้ำ   ชั่วครู่หนึ่งความคิดผ่านเข้ามาในสมองของโควินท์ว่า   เขาได้เคยเห็นอะไร

บางอย่างที่เหมือนกับสิ่งนี้มาก่อน    โควินท์จึงคิดจะไปหาหมอ 
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 13:10


สวัสดีค่ะคุณกระต่ายหมายจันทร์

ขอบคุณที่กรุณาติดตาม   และแวะมาแจ้งด้วย     สมัยก่อนอ่านนวนิยายแล้วก็ฮือฮาในใจว่าเรื่องราวช่างประหลาดมหัศจรรย์

อะไรอย่างนั้น   เห็นโลกน้อยไปค่ะ    ดูแผนผังสกุลดังๆก็ผ่านตาไปว่ามีเมียมีลูกกี่คน   ไม่ได้คำนึงว่าแต่ละคนก็มีบิดามารดา

มีชีวิตในประวัติศาสตร์    รับรองว่ากระทู้นี้ยืดแน่นอนค่ะ  แบบบรรจงลอกเรื่องที่บีบคั้นหัวใจอย่างแรง   


สวัสดีค่ะอาจารย์วันดี ... ตอนเข้ามาอ่านแล้วรู้ว่าเป็นเรื่องผู้ป่วยโรคเรื้อนก็สนใจอยากอ่านต่อค่ะ ประกอบกับภาษาแปลที่สละสลวยยิ่งรู้สึกเหมือนได้เรียนรู้สองต่อ

แว่บแรกที่เห็นกระทู้นี้ ทำให้นึกถึงเรื่องราวตอนที่เป็นเด็กมากๆ ที่เชียงใหม่ ค่ะ นั่งรถไปกับคุณแม่ คุณแม่ชี้ให้ดูว่า "ลูกรู้ไหมว่าไกลๆ ตรงนู้นอะไร หมอแมคเคนเคยใช้ที่นั่นเป็นที่รักษาคนป่วยโรคเรื้อนนะลูก แม่เคยไปฝึกงานตอนที่แม่เป็นนักศึกษา คนป่วยโรคเรื้อนน่าสงสารมากนะลูกเพราะโรคทำให้พิการและสังคมก็รังเกียจ แม้จะรักษาหายแล้วก็ยังมีร่องรอยจากความพิการอยู่ รักษาหายแล้วแต่จิตใจก็ยังแย่อยู่ แม่ยังชื่นชมความทุ่มเทของหมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่นั่นจนถึงตอนนี้เลยลูก" ... ความทรงจำนี้มันแว่บเข้ามาในสมองตอนที่เปิดมาอ่านเรื่องนี้ค่ะ แม้ว่าจะผ่านมาหลายสิบปีแล้วก็ตาม
บันทึกการเข้า
babyblue
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 13:15

เข้ามานั่งมุมหน้าต่างตั้งใจอ่านค่ะ เกิดไม่ทันได้เจอคนโรคเรื้อน แต่จากที่อ่านติดง่ายและผู้ป่วยไม่รู้เลย น่าสงสารจัง ร้องไห้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 13:32


         รูปร่างของโควินท์เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแปลกประหลาด   น้ำหนักตัวลดลงอย่างเร็ว   ผิวที่มือสากและตกสะเก็ด

ดวงหน้าของโควินท์ไม่แช่มชื่นและอิ่มเอิบอย่างแต่ก่อนเสียแล้ว   ผิวหน้าก็หยาบกระด้างและเป็นรอยย่นน่าเกลียด

มีปุ่มโตๆที่หน้าผากเท่านั้นที่มีสีน้ำตาลปนแดง     ผิงเนื้อที่บวมเป่งขึ้นนั้นทำให้สีหน้าของโควินท์บูดบึ้งและดูคล้ายสิงโต


        ลูกค้าใหม่คนหนึ่งเข้ามาในร้านและบอกว่าเขาต้องการจะตัดกางเกงใหม่สักตัวหนึ่ง        โควินท์หยิบผ้าตัวอย่างมาให้ดู

ทันใดนั้นลูกค้าก็เงยหน้าขึ้นจากมือของโควินท์และจ้องหน้าเขาอย่างพินิจพิจารณา   สีหน้าของชายผู้นั้นแสดงความหวาดกลัว

อย่างเห็นได้ชัด   เขาอ้าปากค้าง   ร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังเหมือนคนที่เหยียบเท้าลงบนงูพิษ      แล้ววิ่งออกจากร้านไปในทันที


        เวลานี้  ที่ชานไม้หน้าร้านซึ่งเคยมีพวกเพื่อน ๆ มานั่งานทนากันกลับว่างเปล่า        เสียงจักรเย็บผ้าในร้านดังน้อยลงทุกที  

จนในที่สุดก็เงียบหายไป       จะได้ยินเสียงฝีจักรบ้างบางครั้ง  เมื่อโควินท์นั่งอยู่คนเดียวในห้องที่มืดสลัว  พยายามจะเย็บเสื้อที่พวก

ลูกจ้างเย็บค้างไว้ให้เสร็จ  เพราะพวกเหล่านั้นพากันหลบหน้าไปทีละคน

        โควินท์สั่งอาหารมาจากโฮเต็ล   พอคนส่งอาหารมาโควินท์ก็หันหน้าหนีแล้วบอกให้วางถาดอาหารไว้ที่ชานหน้าร้านแล้วหยิบเงินไป

อยู่มาวันหนึ่ง   ชายนั้นก็ไม่มาอีก

        พวกขอทานก็พากันเดินผ่านไม่ได้หยุดที่หน้าร้านไม่มีผู้คนของเขาอีก    ราวกับจะรู้โดยสัญชาตญาณว่า  แต่นี้ไปเขาจะไม่ได้รับทานจากที่นั่นอีกแล้ว

        เจ้าของห้องเช่าก็มาขอร้องให้โควิท์คืนห้องเสียเพราะผู้เช่าคนอื่นๆกำลังจะย้ายออก

        โควินท์กำลังจะจมลงสู่ก้นเหวแล้ว          

        เตารีดอันใหญ่ที่มีรอยโลหิตไหม้ติดอยู่ก็ยังวางอยู่   ไม่มีใครแตะต้องนับแต่วันเกิดเหตุ

        โควินท์กลับไปหาชายชราเพื่อนเก่าของเขา  ผู้เปรียบเป็นที่พำนักครั้งสุดท้ายอันเต็มไปด้วยความสงบและผาสุข      ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

โควินท์รู้สึกว่าเขาจำต้องได้ความอบอุ่นและความเห็นอกเห็นใจจากเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง  แม้ว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 14:20


สวัสดีค่ะ  คุณ babyblue   ชื่อน่ารักเหลือเกิน

        ธรรมเนียมประเพณีของฮินดูก็น่าอ่านมากค่ะ    ดูเรียบง่ายและสงบ

โควิท์อาบน้ำในที่แจ้งหลังบ้าน  และมีมู่ลี่ไม้ไผ่กั้นอย่างมิดชิด   พื้นหินที่แตกเป็นรอยมีไม้กระดานเล็กๆสำหรับวางเท้า

พวกฮินดูที่เคร่งจะถือการอาบน้ำชำระกายให้สะอาดหมดจด  และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่เป็นสิ่งสำคัญ   เวลายิ่งผ่านพ้นไปหลาย ๆ ปีเข้า

การปฎิบัติเช่นนี้ก็กลับกลายเป็นความเคยชินที่ทำไปเองโดยไม่ต้องคิดหรือตั้งใจ

        ต่อจากนี้ไปโควิท์จะออกไปผจญโลกกว้าง  และฝ่าชีวิตไปแบบไม่ยอมแพ้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 14:37



คุณกระต่ายหมายจันทร์คะ

        ความทรงจำที่คุณแม่ขยายโลกทัศน์ทันสมัยให้กับลูกเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม

เพราะลูกจะก้าวข้ามอะไรต่อมิอะไรได้หลายอย่าง   คุณกระต่ายหมายจันทร์เป็นบุคคลที่โชคดี

อย่างยิ่ง   เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันด้วยเมตตาคุณจากบุพการี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 15:17



        ในระหว่างที่โควินท์อาศัยอยู่กับเพื่อนชราของเขาที่กำลังจะตาย     สุมิตราพาลูกชายที่เกิดใหม่

มาให้โควินท์ดู       โควินท์บอกให้ภรรยากลับไปและเลี้ยงดูลูกให้ดี

สุมิตราเตรียมจะมาอยู่กับโควินท์และให้บิดาของเธอผู้เป็นครูดูหลานๆ ไป

       
        โควินท์ถอยหนีเมื่อสุมิตรก้าวเท้าเข้ามา   เขาใช้ความพยายามต่อสู้กับความรู้สึกปวดร้าวในจิตใจ  เขาไม่สามารถ

รับสิ่งที่สุมิตรามอบให้ได้   แล้วเขาก็พูดขึ้น   เสียงของเขาดูแปลกประหลาด และดังแว่ว อยู่ห่างไกล

        "กลับไปเถิดสุมิตรา  กลับไปหาลูกของเรา   ฉันมีความปรารถนาเช่นนั้น   ขอให้เธอปฎิบัติตาม

แต่ฉันสัญญาว่าวันหนึ่งจะกลับมาหาเธอ   อาจจะอีกนานแต่เธอต้องอดทน   แต่ฉันจะกลับมาอีก    ขอให้เธอจำไว้นะ ชื่นใจ"



        เพื่อนผู้ชราก็ตายลง  หลานของผู้ตายพยายามจะเข้ามาจัดการศพ  และไล่โควินท์ไป      โควินท์โกรธจนลืมตัว   

ความรู้สึกต่าง ๆ ที่ซ่อนเร้นในใจในระยะหลายเดือนที่ผ่านมา    ความทุกข์ทรมาน  และการดูถูกเหยียดหยามซึ่งเขาได้รับ   

ทำให้เขาบังเกิดโทสะอย่างแรงกล้าจนมิสามารถระงับไว้ได้

       "เจ้ารู้ว่าใครอยู่ข้างในนั้น   รามกฤษณะช่างเขียนป้ายที่ใจดีราวกับพระ         เดี๋ยวนี้เขาตายเสียแล้ว

ข้าเป็นลูกชายของเขา      เขาได้รับข้าเป็นลูกบุญธรรมและรักข้ามากมายทั้ง ๆ ที่ข้าเป็นโรคเรื้อน   เพราะเขาเป็นคนดีเหมือนพระ

ข้าจะเป็นผู้วางศพของเขาไว้บนเชิงตะกอน   และข้านี่จะเป็นผู้ทำลายความศักดิ์สิทิ์ของที่เผาศพของเจ้า    เจ้าหน้าโง่

ใครจะห้ามข้า_

      รามกฤษณะผู้บริสุทธิ์เป็นของข้า     ลองเข้ามาเอาศพของเขาไปซิ    ข้าจะตีเจ้าให้บอบช้ำ   แล้วเจ้าจะกลับกลายเป็นโรคเรื้อน

เนื้อตัวเน่าเปื่อยต้องเที่ยวขอทานเขากินตลอดชีวิต   เจ้าจะต้องนั่งถือกะลาขอทานอยู่ที่ขั้นบันไดวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของเจ้า"   

แล้วโควินท์ก็หัวเราะอย่างบ้าคลั่งอีก"
-----------------------------


คำอธิบายจาก บรรจบ  พันธุเมธา
        สถานที่สำหรับเผาศพของชนฮินดู  ส่วนมากนิยมทำไว้ตามริมแม่น้ำ  เพื่อความสะดวกนานาประการ 
ฉะนั้นเขาจึงเรียกว่า ท่าน้ำสำหรับเผาศพ (burning ghat     ฆาต  คือ  ท่าน้ำ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 15:37



        หัวหน้าเผ่าชิมปี  ซึ่งเป็นเผ่าของช่างตัดเสื้อท้องถิ่นได้ทักทายโควินท์อย่างสุภาพ

และแจ้งว่าในฐานะที่จันทุเป็นหลานชาย  เขามีสิทธิ์ที่จะจัดการศพชองลุง   เพราะเป็นกฎหมายประเพณี

"แต่บัดนี้ท่านต้องระงับใจไว้  แล้วปล่อยให้ญาติจัดงานศพ       เราต้องวางตัวให้เหมาะสมกับพวกที่อยู่ในวรรณะของเรา

และไม่ทุ่มเถียงเอะอะต่อหน้าผู้ตาย"


        โควินท์กลับเข้าไปในร้านเพื่อกราบลาศพ   เขาพนมมือและเอามือแตะฝุ่นละอองที่ข้างเสื่อ        ขณะที่ลุกขึ้นเขา

รู้สึกสมองโปร่งและระงับสติอารมณ์ได้

       
        เขาเดินไปที่ประตูช้า ๆ ด้วยท่าทางสง่าน่าเกรงขาม        พอเขาก้าวออกไปที่ถนน  ฝูงชนก็หลีกทางให้พลางน้อมศีรษะและนิ่งเงียบ

โควินท์เดินต้อไปด้วยท่าทางที่สง่างามดุจมหาราชผู้ประดับเครื่องทรงงดงามประทับอยู่เหนือคชาธารอันตกแต่งด้วยอาภรณ์งามวิจิตร

ดำเนินเยื้องย่างไปในแนวถนน           

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 07:00



        ความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา  ไม่มีความหมายอะไรสำหรับโควินท์     จิตวิญญาณของเขาเต็มไปด้วยความเกลียดชัง   

เกลียดชังมนุษย์และเกลียดพระ

        ความโอบอ้อมอารีที่เขาได้แสดงต่อเพื่อนมนุษย์เมื่อครั้งเขายังดีดีอยู่   ก็หาทำให้เกิดประโยชน์อันใดไม่   ชีวิตได้หลอกลวงเขา

และบัดนี้คนทั้งโลกกำลังเยาะเย้ยเขาในยามที่ต้องประสบความพินาศอย่างใหญ่หลวง

        แม้กระนั้นโควินท์ก็มิได้เศร้าโศก   ความโกรธแค้นได้ทำให้เขามีกำลังใจยิ่งขึ้น    ทำให้เขากัดฟันด้วยความมานะอดทน

บัดนี้เขาต้องการต่อสู้อย่างแท้จริง     เป็นครั้งแรกที่โควินท์อยากจะต่อสู้กับความทุกข์ทรมานในชีวิต    จะเป็นชีวิตชนิดใดก็ได้

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 07:18



        โควินท์ไม่สามารถจะซื้ออาหารกินและน้ำชาเพื่อดื่มได้เพราะไม่เป็นที่ต้อนรับ     เขาต้องแอบเข้าไปหาน้ำดื่มที่

ลานของบ้านเช่าแห่งหนึ่ง   และพยายามหลบหลีกสายตาของพวกผู้หญิงที่กำลังซักผ้าอยู่

        เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของบาปูชายง่อย  เพราะไม่สามารถจะดำรงชีพอยู่คนเดียวได้    เขาป่วยเกินที่จะไปติดต่อกับคนอื่น ๆ

แต่ไม่ป่วยมากที่จะเป็นขอทานที่หาเงินได้ดี      บาปูเสนอให้โควินท์มาแบกเขาไปไหนมาไหนเพราะยังแข็งแรงและล่ำสัน

คนโรคเรื้อนกลุ่มนี้เป็นคนวรรณะต่ำ   ดวงหน้าคล้ำและหยาบกร้าน   กินเนื้อสัตว์     โควินท์ได้เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

โควินท์ทราบว่าสัตว์ทั้งหลายที่พระเจ้าได้สร้างขึ้นย่อมจะดำรงชีวิตอยู่อย่างต่ำช้าที่สุดดีกว่าจะตายเสีย    และมนุษย์ก็เช่นกัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 08:53


        คณะของบาปูสัญจรไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อขอทานตามเทศกาล    เมื่อฤดูฝนมาถึงคนโรคเรื้อนก็ลำบากเพราะโรคกำเริบ

เวลาที่โควินท์จับไข้  ปุ่มโปบนผิวหนังเปิดอ้าทำให้เกิดแผลลุกลามไม่รู้จักหาย   เขาต้องการที่กำบังให้พ้นจากฝนและพายุ

เพราะขอทานไม่ค่อยได้     ขณะที่คนทั้งโลกมีอาหารบริบูรณ์และมีความสุข   พวกโรคเรื้อนกลับต้องอดหยากและได้รับ

ความเวทนาอย่างแสนสาหัส

        บาปูส่งโควินท์และเปรมะลาหญิงที่กำลังตาบอดไปที่โรงพยาบาลใหญ่ของมิชชัานนารีที่เมืองพีชบัด   และแวะกลับมารับเมื่อหมดหน้าฝน

แต่เปรมะลาไม่อยากออกจากโรงพยาบาล


        โควินท์ร่อนเร่ต่อไปและได้ใช้ชีวิตร่วมกับสีดาลูกสาวของคนโรคเรื้อนแต่ไม่ติดโรค     เมื่อสีดาท้องแก่เธอได้ทิ้งโควินท์และกลับไปที่โรงพยาบาลของมิชชั่นนารี

เพื่อคลอดลูก          

        ต่อมาโควินท์ได้เดินทางลงไปทางใต้และพบนิคมคนโรคเรื้อน           เขาเรียนรู้วิธีที่จะเป็นสมาชิกของสังคมและทำหน้าที่ของเขา       ในที่สุดโควินท์ก็หายขาด

และพ่อตาของเขามารับเขากลับไปเพื่อใช้ชีวิตใหม่กับครอบครัว

        การนำเรื่องแปล  ชีวิตนี้เป็นที่รัก  ของ อุไร  สนิทวงศ์(ท่านใช้ชื่อนี้ก่อนย่อลงเป็น อ. สนิทวงศ์) มาเล่าโดยย่อ  ก็เพียงจะแนะนำว่า  ถ้าเห็นเรื่องนี้แล้วได้อ่าน

เพื่อน ๆ คงจะชอบมาก


คนแต่งคือ  A.T.W.  Simeons     ชื่อภาษาอังกฤษคือ  The Mask of A Lion  

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 09:00

ขออนุญาตเพิ่มเติม

คำวิจารณ์ในหนังสือ TIME

THE MASK OF A LION (305 pp.)—A. T.W. Simeons—Knopf ($3.50).

Life was good for Govind, the little Hindu tailor. His shop, "The Handsome Gent's Tailoring Mart," buzzed with the profitable whir of a double row of sewing machines. His workmen were fond of him. He had a lovely, loving wife, two healthy babies and a third on the way. Good Hindu that he was, he tried to be a good man, gave alms to fakirs and lepers, never ate meat, and hoped for his soul's betterment in a new reincarnation.

Then one day, working on a customer's coat, Govind was horrified to discover that he had sewed his fingertip to the cloth and didn't even feel it. Another day he smelled burning flesh, saw his own toes pressed against a flatiron, yet felt no pain. When the doctors cleared up the mystery, Govind had to swap his tradesman's heaven-on-earth for what he was sure would be leper's hell.

In The Mask of a Lion, Author A. T. W. Simeons shows that the life of a leper is not always as hellish as Govind had supposed. Simeons is a London-born, Heidelberg-trained doctor who spent about 20 years in India. Now a consultant at Rome's International Hospital, he has written a novel that makes amateurish fiction but has the fascination of its grisly material. If the book is read simply as a knowing, colorful report on the lepers' way of life, its inadequacies as a novel can be comfortably ignored.

Govind, of course, became a social outcast. Like most lepers in India he joined a traveling gang of his fellows, moved about the country begging and stealing. After the first shock wore off, he began to like the life. At times his band all but starved, but there were other times when the begging was good and the lepers had tremendous feasts. Author Simeon is at his best describing this weird life in which sudden death, plague and all sorts of violence are regarded as quite normal. He knows his leprosariums, too, and can make it clear why even intelligent lepers often prefer beggars' freedom to the routine of hospitals. Govind finally reaches an asylum where lepers live as a community, raising all they need and living normal lives. He is cured and returns to his family. But what matters in The Mask of a Lion is not the happy ending; it is the sympathy and shrewdness with which Author Simeons introduces his unusual characters.

http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,817417,00.html

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 13:54

โควินท์......นักสู้ชีวิต

จากหนังสือ ภาพชีวิตจากนวนิยาย ของ คุณรัญจวน อินทรกำแหง  พ.ศ. ๒๕๐๘

ชีวิตที่ราบรื่น.....จืดชืด.....ไร้ความหมาย

ชีวิตที่ขรุขระ.....จึงจะมีรสชาติ

.....ให้จดจำ......

"ชีวิตคือการต่อสู้" เป็นคำพูดที่ติดปากกันนานนักหนาแล้ว ทำไมจึงต้องต่อสู้และต่อสู้เพื่ออะไร คำตอบของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะชีวิตที่เผชิญอยู่ทุกวันของทุกคนนั้น แตกต่างกันไปตามเหตุการณ์สิ่งแวดล้อม บางคนต่อสู้กับความยากจนคับแค้น บางคนต่อสู้กับความมั่งมีเกินไป บางคนต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ  บางคนต่อสู้กับความโลภหลง  บางคนต่อสู้กับความอยุติธรรม บางคนต่อสู้กับความอ่อนแอของตนเอง อย่างไรก็ตาม จุดหมายปลายทางแห่งการต่อสู้นั้นก็คือ เพื่อความมีชีวิตอยู่นั่นเอง เพราะธรรมชาติของมนุษย์ย่อมถือว่า ชีวิตนี้เป็นสิ่งมีค่าอันควรรักษาหวงแหน ชีวิตนี้เป็นที่รักอันควรแก่การทะนุถนอมเป็นที่สุดกว่าสิ่งอื่นใด ฉะนั้น ทุกคนจึงต้องดิ้นรน กระเสือกกระสน เพื่อต่อสู้ให้ชีวิตอันเป็นที่รักคงอยู่ และอยู่อย่างมีค่าอันควรภูมิใจด้วย

......และบางคนต่อสู้แล้วก็สามารถรักษาชีวิตนั้นไว้ให้เป็นที่รักแก่ตนเอง และยังเป็นที่รักประทับใจแก่คนอื่นอีกด้วย......แต่บางคนต่อสู้อย่างตรงกันข้าม คือชีวิตอาจยังอยู่ แต่อยู่อย่างเป็นที่ขยะแขยงเกลียดกลัวของคนรอบข้าง บางคนต่อสู้ด้วยทั้งกำลังกาย กำลังใจของตนอย่างสุดชีวิตจิตใจเท่าที่มีอยู่ เรียกร้องความรักและความเห็นใจจากคนทั่วไป ฉะนั้น "ภาพชีวิตจากนวนิยาย" ในตอนนี้ จึงใคร่ยกภาพของ "โควินท์ นักสู้ชีวิต" มาเล่าให้ฟัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 14:00

"โควินท์ นักสู้ชีวิต" ผู้ทรหดคนนี้ ท่านจะพบกับเขาได้ในเรื่อง "ชีวิตนี้เป็นที่รัก" ซึ่ง อ. สนิทวงศ์ แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง "The Mask of a Lion" ของ A.T.W. Simeons เป็นเรื่องที่บรรยายถึงฉากชึวิตอันน่าตื่นเต้นของ "โควินท์ นักสู้" ที่เลือกเอาการต่อสู้กับชีวิตแทนที่จะต่อสู้กับสิ่งมีตัวตนอย่างอื่น เพราะโควินท์เป็นชาวอินเดีย ฉะนั้นโควินท์จึงชวนให้เรารู้จักกับขนบประเพณีและวัฒนธรรมอันน่าทึ่งของประเทศอินเดียไปด้วยพร้อม ๆ กัน

ชีวิตของ "โควินท์" ชายหนุ่มผู้เป็นเจ้าของนิยายเรื่องนี้ดุจภาพสะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ของชีวิต สมดังพุทธดำรัสที่กล่าวว่า "อนิจจังไม่เที่ยง" ในวัยหนุ่มแน่นแข็งแรงที่เรียกว่าชีวิตกำลังเริ่มต้นนั้น โควินท์ได้เป็นเจ้าของร้านตัดเสื้อ "โควินท์ชี" อันมีชื่อเสียงหอมกรุ่น ได้เป็นเจ้าของครอบครัวอันอบอุ่นอยู่ด้วยความรักอันชื่นบานระหว่าง พ่อ-แม่-ลูก รวมความว่า โควินท์ถึงพร้อมแล้วด้วยความสำเร็จในการงาน ความมั่งคั่ง เกียรติยศชื่อเสียง และความสุข

ครั้นแล้ววันหนึ่ง โดยที่มิได้มีสัญญาณอันใดบอกกล่าวให้รู้ล่วงหน้า โลกแห่งความสุขของโควินท์ก็พลันพังทลายลง โควินท์จำต้องจากลูกชายหญิงผู้กำลังน่ารักช่างเล่นเจรจา ต้องจำพรากจากสุมิตราภรรยายอดรักผู้แสนดี ต้องละทิ้งร้าน "โควินท์ชี" อันเป็นบ่อเงินบ่อทองของเขา โควินท์จำใจจากทุกสิ่งอันเป็นที่รักด้วยความอาดูร แล้วตัวเขาเองก็พเนจรซุกซอนซ่อนหน้าไป เพราะบัดนี้โควินท์ผู้เคยภาคภูมิได้กลับกลายเป็นโควินท์ผู้น่ารังเกียจขยะแขยง เป็นบุคคลที่เพื่อนฝูงหนีหน่ายมิยอมใกล้กราย เป็นบุคคลที่สังคมรังเกียจมิพึงปรารถนา เพราะเหตุใดหรือ ?  ก็เพราะเหตุที่โควินท์ได้ตกเป็นทาสของโรคร้ายอันน่าสพึงกลัว ซึ่งมีชื่อว่า "โรคเรื้อน !"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 14:32

ในยามที่โควินท์รู้สึกว่ากำลังใจจะสิ้นหวังนี้เอง โควินท์ได้พบว่าความเข้าใจ ความเห็นใจ และความปลอบประโลมใจจากมิตรแท้นั้นเป็นยากำลังใจขนานเอก มิตรแท้ในยามยากของโควินท์คือ "รามกฤษณะ" ช่างเขียนป้ายผู้เฒ่า ผู้เป็นเพื่อนเสมือนพ่อของโควินท์ ทุกข์ของโควินท์คือทุกข์ของรามกฤษณะ โรคร้ายอันน่าเกลียดกลัวของโควินท์มิใช่สิ่งอันน่าพึงรังเกียจสำหรับรามกฤษณะ ช่างเขียนป้ายผู้เฒ่าได้ให้ทั้งความรักความเมตตาและความใกล้ชิดสนิทสนมต่อโควินท์ตราบจนมัจจุราชผู้มิปรานีใครได้มาพรากรามกฤษณะไปเสียจากโควินท์

มิตรแท้อีกผู้หนึ่ง ซึ่งมีความหมายอันยิ่งใหญ่ต่อโควินท์ในยามยากนี้คือ ชายชราโรคเรื้อนอันมีนามว่า "บาปู" แม้ว่าบาปูเองจะได้ถูกโรคร้ายระรานเสียจนต้องสูญสิ้นทั้งมือและเท้า แต่บาปูยังคงถือว่าชีวิตนี้ย่อมเป็นที่รักอยู่เสมอ ด้วยกำลังใจและคำแนะนำจากบาปูมิตรผู้มีความจัดเจนต่อการดำเนินชีวิตอันถูกครอบคลุมด้วยโรคร้ายนี้เอง ช่วยให้โควินท์มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ก็ไม่ร้ายนัก และมีความพีงพอใจในชีวิตระหกระเหินอันระคนด้วยสุขและทุกข์ที่พอทน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง