เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 7097 ชีวิตนี้เป็นที่รัก เรื่องแปลสุดกระทิอนใจของอุไร สนิทวงศ์
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 03 ก.พ. 12, 15:05



        ได้อ่านเรื่องนี้เมื่อตอนตลุยอ่านวรรณกรรมของอังกฤษและอเมริกันในวารสารรายสัปดาห์เช่น สตรีสาร

ศรีสัปดาห์   ชาวกรุง  เป็นต้น     นิทานและนวนิยายของ อ. สนิทวงศ์  และสันตสิริก็อยู่ในแวดวงที่มีโอกาสได้อ่าน

จำได้ว่าศรีสัปดาห์มีเรื่องวรรณกรรมอเมริกันแปลไว้แบบแปลเต็ม       ญาติผู้กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยในเวลานั้น

จะยึดหนังสือไปเป็นของส่วนตน   และขีดเส้นใต้ด้วยดินสอไว้เต็มไปหมดเพื่อเทียบกับต้นฉบับภาษาอังกฤษ

เป็นเด็กกว่าเขาก็คอยทุกโอกาสที่ยื้อแย่งหนังสือมาอ่าน

        ไม่กล้ายืนยันว่า  ได้อ่าน ชีวิตนี้เป็นที่รัก  ในหนังสืออะไร    แต่ยังไม่ทันอ่านจบ  ก็ต้องไปเรียนหนังสือที่ไกล

เมื่อเริ่มทำงาน   ได้พยายามหาเรื่องนี้มาอ่าน   หาไม่ได้อยู่หลายสิบปี

       ไม่นานมานี้   สหายทั้งปวงก็วิ่งวุ่นไปเก็บหนังสือคืนจากโกดังต่างๆที่ฝากกันไว้      กล่องกระดาษที่พวกเราใช้กันคือกล่องเบียร์

เพราะน้ำหนักเหมาะสมในการเคลื่อนย้าย   เรียงซ้อนกันไว้สูงก็ไม่มีอันตราย

        สหายน้อยผู้หนึ่งได้ตามตัวดิฉันไปเก็บหนังสือที่เขาไม่ต้องการแล้ว   และหนึ่งในกล่องพลาสติคขนาดใหญ่ที่พวกเราเรียกว่าเกวียน

ก็คือ  "ชีวิตนี้เป็นที่รัก"    ของ  อุไร  สนิทวงศ์   (ในเวลานั้นท่านเขียนแบบนี้ค่ะ)

       เล่มที่อยู่ในมือ  พิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗    เป็นของแพร่พิทยา     ราคา ๓๐ บาท
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 15:07



บรรจบ  พันธุเมธา   ให้คำอธิบายทางระเบียบประเพณี  และวัฒนธรรมประกอบ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 15:24



        ภาษาอันเป็นสำนวนงดงามของ  อ. สนิทวงศ์  ปรากฎในหนังสือมากมาย   คุ้นสายตา


ได้พยายามหาต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับบางตอน  เพราะสะดุดใจว่าสั้นและห้วนไปหน่อย   แต่ไม่สามารถ

เพราะเป็นหนังสือที่หายากแล้ว


ผู้ประพันธ์ต้นฉบับนั้นในที่สุดก็ได้ใช้ชีวิตอยู่ในนิคมโรคเรื้อนในอินเดียเป็นเวลานาน

ท่านได้ถ่ายทอดเรื่องโรคเรื้อน   อาการและการพัฒนาการของโรค   และการใช้ชีวิตของคนโรคเรื้อนในอินเดียที่ยิ่งกว่าต้องสาบ

ต้องระเหเร่ร่อนไปกับขบวนโรคเรื้อนด้วยกัน  และขอทานบ้าง  กระทำโจรกรรมเล็กๆน้อยๆเมื่อยังชีพบ้าง

อ่านแล้วก็เข้าใจความกล้าหาญของมนุษย์ที่จะฝ่าฟันอุปสรรคชีวิต  จากเศษมนุษย์ที่ไม่สามารถจะขอน้ำดื่มจากบ่อน้ำสาธารณะในหมู่บ้านได้

รสของวรรณกรรมมี่ไม่ได้อ่านมาตั้งนาน  ยังไม่เปลี่ยนแปลง   ยังสะเทือนใจอยู่  แต่  ชีวิตมนุษย์นี้มีค่าอย่างยิ่ง  และกล้าหาญอย่างยวด

เดี๋ยวกลับมาเล่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 16:20



        โควินทท์เป็นเจ้าของร้านตัดเสื้อสุภาพบุรุษ    เขารูปร่างเตี้ยล่ำสัน   นิสัยสนุกสนานร่าเริง

อายุประมาณ ๓๕​ ปี     ภรรยาชื่อสุมิตรา  เขามีลูกสาว ๑ คน  ลูกชาย ๑ คน  และภรรยากำลังท้องลูกคนที่ ๓

        เขามีสติปัญญาที่เฉียบแหลมและมีไหวพริบ

        เวลาเพื่อน ๆ ที่สนิทสองสามคนมาที่บ้าน   เขาก็ต้อนรับที่ชานไม้เล็ก ๆ หน้าร้าน    มีน้ำชาชงแก่ ๆ มาให้ตลอดเวลา  

เมื่อร้อนจัดโควินท์ก็ซื้อน้ำอัดลมสีเขียวแช่น้ำแข็งจากโซดาวาลา(โซดาวาลาคือคนขายน้ำอัดลม) มาเลี้ยงดูเพื่อน ๆ

ก่อนฤดูฝน   โควินท์ก็ตัดหามะม่วงฝานทั้งเปลือกเป็นชิ้นยาว ๆ  ไว้ให้แขกดูดกิน          บางครั้งก็ซื้อน้ำอ้อยสด ๆที่เพิ่งหีบมาเลี้ยงเพื่อน ๆ

       ในโอกาสพิเศษโฆวินท์จะรับแขกด้วยหมกยับกับปูน และเครื่องเทศตลอดจนยาฉุน   บางทีก็ห่อด้วยใบพลูสด  เสียบด้วยกานพลูที่มาจากแซนซิบาร์

หมากพลูชนิดนี้เรียกว่า  ปานสุปารี(ปานคือพลู   สุปารี คือ หมาก)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 16:37



       ในตอนเย็น  โควินท์ไปอาบน้ำแล้วก็มากินอาหาร

เขานั่งขัดสมาธิ  ยือตัวตรง  มือสองข้างวางอยุ่บนตัก     พื้นห้องเล็กๆนั้นใช้มูลวัวละเลง   ฝาผนังฉาบสีขาวสะอาดหมดจด

เครื่องแต่งห้องชิ้นเดียวที่มีอยู่คือหีบเหล็กสีดำเก่า ๆ ใบหนึ่ง


        ภรรยาเข้ามาจัดอาหารโดยวางม้าไม้เล็ก ๆ มีตีนเตี้ยๆไว้ข้างหน้าเขา

หล่อนหยิบถาดทองเหลืองกลมใบใหญ่มวาง   แล้วเอาจอกทองเหลืองมาวางขอบถาด

กลางถาดมีข้าวขาวสะอาดกองไว้เต็ม

หล่อนนำหม้ออื่น ๆ มา   ใช้ทัพพีตักแกงถั่วที่เผ็ดร้อน   ผักต้ม  น้ำมันเนย  ผักชุบแป้งทอด  ผักสด 

จัฏนี(เครื่องปรุงรสใช้พริกบดกับสระแหน่ หรือบางทีกับผักชี)  และมีแป้งปิ้งที่เรียกว่า  จปาตี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 16:43



        โควินท์กินอาหารโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้กับนิ้วกลาง

เขาใช้มือขวาหยิบอาหารที่มีรสอร่อยอย่างละเล็กน้อย      สุมิตรายังมีแกงนำมาราดข้าวให้อีกด้วย

หล่อนรินน้ำเย็นให้เขา   นำหมากที่เธอที่เธอห่อเองมาให้   และรินน้ำให้เขาล้างมือ

แล้วเธอก็ไปรับประทานอาหารที่ครัว
บันทึกการเข้า
kulapha
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 21:59

สวัสดีค่ะ คุณ Wandee

ไม่ได้เข้ามาในบ้านหลังนี้นานมากเลยค่ะ
สบายดีนะคะ
อ่าน เรื่องแปลเรื่องนี้ นึกถึง นิยายของ คุณมกุฎ อรฤดีเรื่อง ปีกแห่งความฝัน
ว่าด้วยสังคมฟุ้งเฟื่องในหมู่ของคนโรคเรื้อนเหมือนกัน

ขอรออ่านจนจบนะคะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 06:21



สวัสดีค่ะ  คุณ kulapha    ขอต้อนรับกลับ"เรือนไทย"      เรามีเรื่องที่ให้ความรู้และให้สนุกสนานมากมาย


         ขอบคุณที่แวะมาคุย    เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลจะว่าเก่าก็คงจะได้แล้วนะคะ

เสน่ห์ของวรรณกรรมมาในหลายรูปแบบ     คนที่แต่งเรื่องนี้เป็นแพทย์  และบทประพันธ์แทบทั้งหมดเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ

และเรื่องนี้ดูจะเป็นนวนิยายมากกว่าเรื่องอื่น ๆ    จะนำประวัติท่านมาลงไว้ตอนจบนะคะ    

        จะว่าไปแล้วเมืองไทยเราโชคดีนะคะที่ได้อ่านเรื่องแปลมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕     เจ้านายไทยและนักเรียนทุนก็

นำหนังสือดีๆกลับมามาก        ในเรื่องเปิดโลกการอ่านนี้ญี่ปุ่นช้ากว่าเรามาก  เพราะอ่านนิทานและวรรณคดีต่างประเทศกัน

หลังสงครามโลกครั้งที่สองกระมัง    ดูจากการ์ตูนสมัยนั้น

        จะพยายามเล่าเรื่องและย่อความไปเรื่อยๆนะคะ      
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 06:41



        โควินท์มาจากครอบครัวชาวนา    เติบโตในท้องนา   เขาทำการค้าขายอย่างฉลาดรอบคอบ

ชีวิตที่แท้จริงยังพัวพันอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ในชนบท    แม้กระนั้นโควินท์ก็มักจะใช้ความคิดอย่างลึกซึ้งบ่อย ๆ ตามแบบอย่างบรรพบุรุษ

เขารู้สึกว่าความคิดของเขาประกอบด้วยหลักปรัชญา   ซึ่งเขารู้สึกได้ดียิ่งไปกว่าที่จะสรรหาถ้อยคำที่เขารู้เพียงนิด ๆ หน่อย ๆ

มาเรียกให้ตรงตามแบบแผนได้    เขาชอบคิดมากกว่าพูด  และบางครั้งโควินท์ก็มีความหลักแหลมและปรัชญาอันลึกซึ้ง

กว่าพวกนักศึกษาเสียอีก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 06:59



        วันหนึ่งลูกค้าคนสำคัญแวะเอาเสื้อมาให้แก้เพราะกระดุมระหว่างเม็ดที่หนึ่งและเม็ดที่สองดึงรั้งมีรอยโป่ง

โควินทร์รีบนำเสื้อไปแก้ให้ทันทีเป็นการเอาใจ    พลางเชิญให้ลูกค้าดื่มน้ำชา


        โควินท์นั่งบนพื้น  เอากรรไกรตัดกระดุมออกแล้วเอาเข็มเกลี่ยเส้นด้ายออกจนหมด   เขากะที่ที่จะติดกระดุมใหม่

ให้พอเหมาะแล้วเย็บกระดุมติดเนื้อผ้า     เขารีบแทงเข็มลงบนผ้าหนาอย่างรวดเร็ว   พอจวนจะเสร็จโควินท์ก็เห็นโลหิตสีแดงจุดหนึ่ง

ปรากฎบนเสื้อขาวตัวนั้น   เมื่อพลิกขึ้นดู   โควินท์ก็รู้สึกประหลาดใจอย่างยิ่งที่เห็นว่าเขาได้เย็บปลายนิ้วติดกับผ้าถึงสองเข็ม

มีโลหิตไหลออกจากนิ้วนั้นแต่เขาไม่รู้สึกเจ็บเลย     โควินท์หน้าซีดเผือดและชั่วครู่หนึ่งเขารู้สึกไม่สบาย

        เขาดึงด้ายที่เย็บติดกับปลายนิ้วออก  หยิบเศษผ้าที่วางอยู่กับพื้นมาพันแผล   เสร็จแล้วก็พับเสื้อนั้นวางไว้ทางหนึ่ง

พยายามสำรวมกิริยาท่าทางและสีหน้าให้เป็นปกติ  และออกไปแจ้งลูกค้าว่าจะส่งเสื้อที่แก้แล้วไปให้ที่บ้านวันรุ่งขึ้น

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 07:49



        เวลาผ่านไปหลายเดือน     โควิท์ส่งภรรยาและลูกไปอยู่ที่บ่านพ่อแม่เธอในชนบทเพื่อคลอดบุตร   แล้วกลับมาอยู่ที่ร้าน

เพื่อทำงานต่อไป

        เขาคิดเรื่องนิ้วมือที่ชา  และเกรงว่าจุดที่ชานั้นจะขยายกว้างออกไป  และบางทีอาจจะทำให้เขาเป็นอัมพาตได้   เขาเอื้อมมือ

หยิบเข็มหมุดเล่มหนึ่งออกมาจากกระเป๋าเสื้อ   เริ่มเอาปลายเข็มหมุดแทงตามบริเวณผิวหนังที่ชา   เขาค่อยๆแทงเข็มไปทีละเล็กน้อย

และได้พบจุดใหม่ ๆ อีกจุดหนึ่งตรงใต้ท้องแขนด้านซ้าย   และจุดเล็กๆอีก ๒ - ๓ จุด บนมือขวา         เขาตัดสินใจว่าจะไปหาหมอ


        แต่เขาไม่ได้ไป    เมื่อกลับไปถึงร้านก็มัววุ่นอยู่กับงานจนไม่มีเวลาคิดถึงเรื่องนี้


        ตามปกติช่างตัดผมมาโกนหนวดให้โควินท์วันละครั้ง         วันหนึ่งขณะเมื่อเขาโกนหนวดจวนจะเสร็จ   เขาดึงใบหูข้างซ้าย

ของโควินท์คลำดู  และพิจารณาอย่างใกล้ชิด   เปรียบเทียบดูกับใบหูอีกข้างหนึ่ง      ต่อจากนั้นก็เอานิ้วมือข้างหนึ่ง

ลากไปตามหน้าผากของโควินท์           ช่างตัดผมใบหน้าซีดเผือดและตกอกตกใจ

        "เป็นอะไรไปน่ะ"   โควินท์ถาม   "ไม่สบายไปรึ?"

        ช่างตัดผมคุมสติไว้  แล้วพูดช้า ๆ แบบเคร่งขรึมว่า

       "โควินท์    ผมโกนหนวดให้ท่านมาเกือบ ๑๐ ปี   แต่เพิ่งได้สังเกตเป็นครั้งแรกว่า  ใบหูข้างซ้ายของท่านหนากว่าเคย   

ดูเอาเองซิครับ"    แล้วช่างตัดผมก็ชูกระจกบานเล็กให้โควินท์ส่องดู

      "ดูซิครับ   มีก้อนเนื้อเล็ก ๆ อยู่เหนือคิ้วท่าน   แต่ก่อนไม่เห็นมีเลยครับ"


        โควินท์ยื่นเงินสี่แอนนาให้ช่างตัดผมเป็นค่าโกนหนวด    แต่ช่างตัดผมไม่ยอมรับ    เขารีบฉวยถุงใส่ของแล้วเดินไปที่ประตู

ในดวงตามีน้ำตาคลอ

       "ผมจะไปต่างจังหวัดคืนนี้และมะรืนนี้จะมาโกนหนวดให้ท่านไม่ได้  และคงไม่ได้มาอีกหลายวัน     ขอพระทรงมีเมตตาต่อท่านด้วย"

ชายผู้นั้นเดินไปตามถนนอย่างเร่งร้อน     ขณะที่โควินท์มองดูเขาทราบว่าชายชราพูดปดเรื่องจะไปต่างจังหวัด

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 09:50

ขออนุญาตปาด ครับ

            มาลงชื่อติดตามอ่านด้วยความสนใจ นึกถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เคยได้ใช้ชีวิต
เกี่ยวข้องในแวดวงผู้ป่วยโรคนี้ ยังพอมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ติดค้างอยู่บ้าง ครับ
บันทึกการเข้า
กระต่ายหมายจันทร์
พาลี
****
ตอบ: 284


ศศ (สะสะ) แปลว่ากระต่ายและกวาง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 11:09

มาลงชื่อรอตามอ่านค่ะอาจารย์วันดี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 11:56



เชิญคุณศิลา ปาด  และฟาดฟัน ตามปรารถนาเทอญ  เพราะอ่านเรื่องนี้แล้วตั้งหลายสิบปีนึกว่านวนิยายค่ะ

ไม่นึกเลยว่าแพทย์เขียนเพื่อประกาศว่าโรคร้ายแรงในเมืองร้อนนั้น  มีการพัฒนาอย่างไร  และรักษาอย่างไร

หวลคิดถึงมิชชันนารีต่างๆที่เข้ามารักษาผู้คนในสยามบ้านเรา  นึกสรรเสริญใจรอน ๆ อยู่เสมอค่ะ

นึกถึงจิตใจของโควินท์ที่เผชิญกับโรคร้ายที่สังคมรังเกียจ  ธุระกิจที่พังทลาย   ลูกน้องที่ค่อย ๆ หายหน้าไป



สวัสดีค่ะคุณกระต่ายหมายจันทร์

ขอบคุณที่กรุณาติดตาม   และแวะมาแจ้งด้วย     สมัยก่อนอ่านนวนิยายแล้วก็ฮือฮาในใจว่าเรื่องราวช่างประหลาดมหัศจรรย์

อะไรอย่างนั้น   เห็นโลกน้อยไปค่ะ    ดูแผนผังสกุลดังๆก็ผ่านตาไปว่ามีเมียมีลูกกี่คน   ไม่ได้คำนึงว่าแต่ละคนก็มีบิดามารดา

มีชีวิตในประวัติศาสตร์    รับรองว่ากระทู้นี้ยืดแน่นอนค่ะ  แบบบรรจงลอกเรื่องที่บีบคั้นหัวใจอย่างแรง   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 04 ก.พ. 12, 12:41



        วันหนึ่งโควินท์นั่งพูดอยู่กับลูกจ้างในร้าน   เขาก็ได้กลิ่นเนื้อไหม้   พอเหลียวไปดูเขารู้สึกตกใจอย่างยิ่ง

เพราะเท้าซ้ายที่พาดไปถูกเตารีดใหญ่ที่มีถ่านแดง ๆ ลุกเต็ม  นิ้วเท้ากำลังไหม้ไฟ   แต่เขาหารู้สึกเจ็บไม่

โควินท์ชักเท้ากลับมาพิจารณาดู   เท้าของเขาถูกไฟไหม้อย่างฉกรรจ์   

        โควินท์ไปหาหมอทำแผล   หมอแนะนำให้เขาไปตรวจโรค   เมื่อใบตรวจโรคกลับมาถึง เสมียนที่ร้านก็แสดงอาการดูถูก

อย่างมาก  โดยกวาดเงินเหรียญเอาไว้บนกระดาษแผ่นหนึ่ง  และรวบกระดาษยัดใส่ลิ้นชักโดยมิได้แตะต้องเงินเหรียญ

พอโควินท์ยื่นใบตรวจโรคให้    เสมียนก็ส่งเสียงร้องราวกับถูกจี้ด้วยมีด

     "เอาไปเสีย   เขยิบออกไปห่าง ๆ    อย่ามาใกล้นะ    คิดหรือว่าชั้นจะแตะต้องอะไรที่แกจับแล้ว"

      เขาพูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า

      "ถ้าอยากรู้จะบอกให้สิ้นเรื่องสิ้นราวเสียที   ใบตรวจโรคนั้นบอกว่าแกเป็นโรคเรื้อน   โรคนี้กระจายไปทั่วตั้งแต่ศีรษะ

จนถึงปลายเท้า  และติดต่ออย่างร้ายแรง   โรคเรื้อน...   แกเข้าใจไหม? ..... มหาโรค   โรคที่น่ารังเกียจ   คราวนี้รู้ละซี

แกเป็นโรคเรื้อนดีๆนี่เอง.....เป็นเหมือนขยะที่บูดเน่า  ฉันควรจะโยนเงินให้สักแอนนาจะได้รู้แล้วรู้รอดๆไป    เสียดายที่ไม่มีเงิน"

โควินท์ตกใจจนตัวชา   เขาไม่สามารถจะเคลื่อนไหว  พูด  หรือคิดอะไรได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง