เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12]
  พิมพ์  
อ่าน: 8271 ชาวบ้านกับการทำนาข้าว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 11 ธ.ค. 23, 18:21

ได้ทราบว่าญี่ปุ่นมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของที่ดินนาข้าวที่น่าสนใจอยู่บริบทหนึ่ง ได้รับผู้รับมรดกที่นาจะต้องถือครองที่นาผืนนั้นต่อไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง จำได้ว่า 6 ปี  ไม่ทราบลึกลงไปในรายละเอียด โดยนัยก็คือต้องการให้ทำนาต่อไป  เหตุก็คงจะเป็นเพราะว่า ญี่ปุ่นต้องการสร้างสมดุลย์ระหว่างปริมาณผลผลิตข้าวภายในกับปริมาณการบริโภคภายในให้เกิดขึ้นและสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง จึงไม่ยอมปล่อยให้มีการนำเข้าอย่างเสรี มีกฎเกณฑ์มาตรฐานในการอนุญาตให้น้ำเข้าในลักษณะว่า ปริมาณข้าวนำสำหรับชดเชยส่วนที่ผลิตเองได้ไม่พอเพียงพอ จะมีอัตราภาษาระดับหนึ่ง ปริมาณนำเข้าส่วนที่เกินไปกว่านั้นเข้าจะมีอัตราภาษีที่สูงกว่ามากๆ ก็คือกันไม่ให้เข้ามาทำลายระบบการผลิตภายใน ลืมบอกไปว่าใช้เฉพาะกับ Japonica rice  ส่วนการนำเข้าข้าว long grain (Indica rice) นั้น ดูจะใช้เกณฑ์แข่งขันทางการค้าตามปกติสากล
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 11 ธ.ค. 23, 18:56

เคยอ่านรายงานการศึกษาอยู่เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรมภาคการผลิตเมล็ดธัญพืชในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ปัญหาต่างๆก็ไม่ต่างไปจากของเรื่องข้าว ประเด็นหนึ่งก็เกี่ยวกับราคาขายเมื่อผลผลิตประดังกันออกมา ประเด็นสำคัญตคือ เกษตรกรไม่มีที่เก็บเพื่อชลอการขายผลผลิตในช่วงที่เห็นว่ามีราคาเหมาะสม เกษตรกรเห็นว่าการสร้างยุ้งเก็บเองนั้นมีปัญหาเรื่องความเสียหายจากพวกแมลงและสัคว์ฟันแทะ  คณะผู้ทำการศึกษาเห็นว่าความเสียหายของการเก็บในยุ้งขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปนั้น สามารถบริหารจัดการได้ง่ายกว่ายุ้งขนาดใหญ่แบบ Silo ที่จะต้องใช้เคมีภัณฑ์ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้บริโภค   ยุ้งขนาดเล็กของเกษตรกรแต่ละครัวเรือนนั้น แม้จะเกิดความเสียหายในการเก็บบ้าง แต่ปริมาณผลผลิตที่ไม่เสียหายก็มีมากพอที่จะขายได้ในราคาที่ดีและคัุมค่าเมื่อช่วงเวลาการประดังออกมาของผลผลิตซาลง

แต่เดิม ชาวนาไทยแต่ละครัวเรือนจะมีฉางข้าว ปัจจุบันนี้เกือบจะไม่เห็นในพื้นที่ใดๆอีกแล้ว ได้ถูกรื้อขายเป็นไม้เก่าไปหมด   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 11 ธ.ค. 23, 19:11

  เมื่อไปญี่ปุ่นครั้งแรก  ออกไปเที่ยวนอกโตเกียว  เห็นนาข้าวเขียวสดอยู่สองข้างทาง    ที่จำได้แม่นยำคือญี่ปุ่นปลูกนาข้าวติดกับตัวบ้านเลยทีเดียว เรียกว่าใช้เนื้อที่ทุกกระเบียดน้ิ้ว  ไม่เว้นว่างไว้เฉยๆ    บ้านเหล่านี้ก็ไม่ใช่กระต๊อบหรือกระท่อม แต่เป็นบ้านหน้าตาโอ่อ่าในมาตรฐานของญี่ปุ่น   แต่แทนที่จะมีสนามหญ้าล้อมรอบตัวบ้านอย่างบ้านเรา  กลับมาต้นข้าวปลูกเป็นแถว



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 11 ธ.ค. 23, 19:59

ก็มีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับแกลบ

เมื่อเอาข้าวเปลือกไปสีเป็นข้าวสารก็จะได้แกลบออกมาประมาณ 20+% เป็นของเสียที่ต้องทิ้ง  โรงสีข้าวก็ใช้แกลบนั้นเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการสีข้าว เป็นการกำจัดกากของเสียไปในตัว  แกลบบางส่วนที่กองอยู่ก็ถูกไฟไหม้ลามกลายเป็นแกลบสีดำกองอยู่นอกโรงสี ขี้เถ้าของแกลบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงก็จะถูกโกยออกจากเตาเอาไปทิ้ง   เป็นภาพปกติที่เห็นกันทั่วไป

จนกระทั้งเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการขยายตัวแบบทวีคูณของยุค Silicon  ก็มีเรื่องของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Silica ในแกลบโผล่ออกมา (Rice hush silica)  มี paper ออกมามากมายในกลุ่มการศึกษาวิจัยเรื่องนี้  ท่านที่ชอบในทางวิชาการลึกๆ หรือท่านที่ต้องการเอาความรู้ไปต่อยอดทางเศรษฐกิจ น่าจะลองติดตามกัน  ลองเริ่มต้นค้นหาด้วยคำว่า Rice Hush Ash (RHA)  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 12 ธ.ค. 23, 18:54

  เมื่อไปญี่ปุ่นครั้งแรก  ออกไปเที่ยวนอกโตเกียว  เห็นนาข้าวเขียวสดอยู่สองข้างทาง    ที่จำได้แม่นยำคือญี่ปุ่นปลูกนาข้าวติดกับตัวบ้านเลยทีเดียว เรียกว่าใช้เนื้อที่ทุกกระเบียดน้ิ้ว  ไม่เว้นว่างไว้เฉยๆ    บ้านเหล่านี้ก็ไม่ใช่กระต๊อบหรือกระท่อม แต่เป็นบ้านหน้าตาโอ่อ่าในมาตรฐานของญี่ปุ่น   แต่แทนที่จะมีสนามหญ้าล้อมรอบตัวบ้านอย่างบ้านเรา  กลับมาต้นข้าวปลูกเป็นแถว

ความสวยและความรู้สึกผ่อนคลาย เย็นสบาย ชื่นใจ ของภาพในองค์ประกอบลักษณะนี้ ยังพอมีให้เห็นได้บ้างในไทยเรา พอจะพบได้ตามถนนหลวงที่มีหมายเลขสี่ตัว ความต่างก็จะมีในเรื่องของความใหญ่โตรโหฐานของบ้านที่อยู่   ของเรานั้น เรือนที่มีหลังคาเกือบทั้งหมดที่ตั้งอยู่กลางผืนนาที่ล้อมไปสีเขียวของใบต้นข้าวหรือสีเหลืองของรวงข้าวที่แก่นั้น จะเป็นกระต๊อบนา หรือเถียงนา หรือห้างนา ซึ่งก็ให้ภาพที่สื่อออกไปในอารมภ์ทางสงบและสบายใจเช่นกัน

การปลูกข้าวที่เห็นอยู่ในภาพทั้งสองนี้ แสดงถึงการทำนาข้าวด้วยการใช้เครื่องจักรกล  หากเป็นการทำนาด้วยการดำนาด้วยมือคน ก็จะเห็นองค์ประกอบที่เป็นบ้านอยู่อาศัยในอีกลักษณะหนึ่ง คือจะเป็นบ้านแบบโบราณ    กลุ่มบ้านแบบโบราณและวิถีชิวิตของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ภายในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนและการอุดหนุนจากภาครัฐในหลายๆด้านเพื่อให้คงดำรงไว้ในลักษณะเป็น living museum  การทำนาในพื้นที่เหล่านี้ ที่เราเห็นต้นข้าวเป็นแถวเป็นแนวเรียงกันดีนั้น เขาใช้ wire mesh เอามาม้วนทำเป็นลูกกลิ้งกลมๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร กลิ้งไปตามผืนนาเพื่อกำหนดจุดที่จะปักดำต้นข้าว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 12 ธ.ค. 23, 19:00

ก็จะขอเว้นวรรคไปสักสองสัปดาห์  แล้วค่อยกลับมาต่อเรื่อง RHA ในบางมุมมอง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 12 ธ.ค. 23, 20:40

ต้องรีบออกมาแก้ เพราะเผลอไปสะกดคำว่า husk ผิด  ที่เขียนว่า hush นั้นผิดครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.038 วินาที กับ 20 คำสั่ง