เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 74715 เมนูหมู หลายเมนู
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 16:44

ก่อนหน้านี้ มีกระทู้  เมนูไข่ หลายเมนู คุณ siamese เป็นคนเริ่ม
ตามมาด้วยกระทู้  เมนูไก่ หลายเมนู เห็นว่าไหนๆมีไข่แล้วก็น่าจะมีไก่อีกสักกระทู้

จนกระทู้จบไปนานแล้ว  ก็เห็นว่าเมื่อมีไก่ ก็น่าจะมีหมู ตามมาอีกสักหนึ่งกระทู้  รวบรวมชื่อและรูปของอาหารที่ทำด้วยหมู ซึ่งคนไทยต่างรู้จักกันดี

ตามประวัติ   ย้อนไปถึงสมัยอยุธยา   จากบันทึกของลาลูแบร์ ที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกเรื่องอาหารการกินของชาวอยุธยาและชนชาติอื่นๆที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพระราชอาณาจักร
เขาเล่าว่าอาหารหลักของคนไทยคือปลา ซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ในท้องน้ำ     คนไทยไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่อย่างวัวควาย    แม้แต่เป็ดไก่ ก็กินไข่มากกว่ากินเนื้อ   ส่วนคนจีน เลี้ยงหมูและเป็ดไก่ เพื่อกินเนื้อ

หมูเป็นอาหารโอชะของจีนมาแต่ดั้งเดิม  ว่ากันว่าคนจีนเลี้ยงหมูเพื่อการบริโภคมากว่า 7000 ปีแล้ว   เมื่อมีการค้าขายติดต่อกับชาติอื่นๆ ตลอดจนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอื่น  ก็นำหมูมาเลี้ยง เพื่อค้าขายเนื้อหมูด้วยนอกเหนือจากกินกันเองในครอบครัว




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 16:55


สุกรย่าง

        สกรหันเหมาะหมด     แสนอร่อยรสนี่กระไร

คิดคนึงถึงสายใจ       ไกลน้องนิดเฝ้าคิดถึง

                                      ลงนาม  พ.ภ.  ( ซึ่งคือ ภาสกรวงศ์นั่นแล)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 17:08

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 17:18

หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฝรั่งเศสต้องถอยไปตามนโยบายกวาดล้างฝรั่งของพระเพทราชา เหลือแต่โปรตุเกส   ส่วนคนจีนไม่ปรากฏว่าก่อความยุ่งยากใดๆ   ก็ติดต่อค้าขายและอพยพย้ายถิ่นมาตั้งหลักแหล่งในอยุธยาต่อมาเรื่อยๆ  จนกระทั่งจบสมัยอยุธยา ถึงธนบุรี และเริ่มรัตนโกสินทร์

วัฒนธรรมการกินหมูของคนจีนคงจะเข้ามากลมกลืนอยู่ในกระเพาะอาหารคนไทยเรียบร้อยแล้วในเวลานั้น  ไม่แพ้อาหารปลาที่นิยมกันมาแต่เดิม    จึงเห็นได้จากเมนูอาหารในพระราชพิธีสำคัญ  มีอาหารจีนปนอยู่กับอาหารไทย  อย่างในพระราชพิธีสมโภชน์พระแก้วมรกตและฉลองวันพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งทำกันเป็นงานใหญ่ติดต่อกันหลายวัน     กรมหลวงนรินทรเทวีทรงบันทึกเครื่องตั้งสำรับคาวหวานเอาไว้  ในนั้นมีอาหารทำจากหมูอยู่หลายรายการ  เช่นไส้กรอกหมู   ผัดวุ้นเส้น   หมูผัดกับกุ้ง  ลูกชิ้น  หน่อไม้ผัด
วุ้นเส้น เป็นอาหารจีน     หมูผัดวุ้นเส้นน่าจะมาจากจีนเต็มตัว   เช่นเดียวกับลูกชิ้น  และไส้กรอกหมู     ในรายการระบุว่ามีไข่เจียวด้วย  เพราะฉะนั้นน้ำมันหมูก็ต้องแพร่หลายมากแล้วในยุคนั้น   เพราะในสมัยโน้น ไข่เจียวหรือผัดอะไรที่ต้องใช้น้ำมัน ก็มีแต่น้ำมันหมูอย่างเดียว     น้ำมันพืชเพิ่งเป็นที่รู้จักกันมาไม่กี่สิบปีนี้เอง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 17:19


        หนังสือแม่ครัวหัวป่าก์  พิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. ๑๒๗   ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๑  

ในเล่ม ๕  บอกราคาเนื้อหมูไว้ดังต่อไปนี้

๑.   หัวซื้อขายกัน  ราคา ๓ บาท   ตัดคอ ๑ บาท    มีหางและตีน  กำกับมาด้วย

๒.   ขาหน้า       ๓ บาทถึง ๔ บาท

๓.   ขาหลัง   ๕ บาทถึง ๖ บาท

๔.   ท้องเนื้อสามชั้น   ๒ ชั่งครึ่งถึงสามชั่ง   ๑ บาท

๕.  ซี่โครง   ราคาชั่งละ๑ สลึง

๖.  เนื้อสัน  มักขายรวมไปกับไข่ดัน

๗.  เครื่องใน       ๖ สลึงถึง ๒ บาท

๘.  ไข่ดัน  เซ่งจี๊  พวงละสลึงเฟื้อง  สองสลึง

๙.  ท่อนเท้า   ๔ ชั่งบาท

๑๐.  ไส้ตัน (แซฮวง)   ๒ สลึง ถึง ๑ บาท

๑๑.  ไส้  (อันต)   เฟื้องหนึ่งถึงบาท

๑๒.  ไส้อ่อน  (ตือฮุ้น)   สลึงถึงบาท

๑๓.  เปลว   ๓ชั่ง - ๓ชั่งครึ่ง  หนึ่งบาท

๑๔.  ร่างแห     เหมือน ๑๓

๑๕.  มันแข็ง    เหมือน ๑๓

๑๖.  เลือด   ซื้อได้ตั้งแต่ไพหนึ่งขึ้นไป

๑๗. หมูหัน     ราคา ๖ บาทถึง ๒๐ บาท

๑๘.  หมูย่าง  สองชั่งครึ่ง  ต่อบาท

๑๙.  เนื้อแดง  สองชั่งครึ่ง ต่อบาท  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 20:11

ในยุคต้นรัตนโกสินทร์    ส่วนต่างๆของหมูไม่ว่าเนื้อหมู   เครื่องใน   ขาหมู แม้แต่ตีนหมูของจีนคงเป็นอาหารโอชะถูกลิ้นคนไทย  แม้ว่าเชฟยังเป็นจีนอยู่    เห็นได้จากถูกหยิบยกขึ้นมาชมเชยในวรรณคดีสำคัญอย่างขุนช้างขุนแผน   
ครูแจ้งจึงเขียนไว้ตอนหนึ่ง ให้ผู้หญิงไทยรู้จักทำให้สามีกิน

เป็นต้นต้มตีนหมูให้ชูรส                                     ไข่ไก่สดปลาต้มยำทำขยัน
ตับเหล็กสันในและไข่ดัน                                    หั่นให้ชิ้นเล็กเหมือนเจ๊กทำ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 20:19

อาหารจีน นอกจากชาวบ้านจะชอบแล้ว  แม้แต่ในวังก็เป็นที่นิยมกัน  ของเสวยแบบจีนคือ "เกาเหลา" (ซึ่งน่าจะเป็นเนื้อหมู หรือลูกชิ้นหมู มากกว่าเนื้อวัว)  นอกจากขึ้นโต๊ะเสวยแล้ว ยังได้รับเกียรติเข้าไปอยู่ในพระราชนิพนธ์เพลงยาวในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

                                               ๏ พี่สุดครวญแสนครวญรัญจวนถึง
จนพลบค่ำเขาย่ำหอกลองตึง              นอนรำพึงเปลี่ยวเปล่าเศร้าวิญญาณ์
พอพระหมดถึงกำหนดเวลาเครื่อง      จึงค่อยเปลื้องความทุกข์เป็นสุขา
แสนชื่นเหมือนจะกลืนพระกระยา      ในโถฝาลายครามสักสามใบ
นั่งเก้าอี้ชมนางพลางกินเข้า              ตักเกาเหลาแทบหมดซดน้ำใส
เพราะความรักนั่งกระหยิ่มอิ่มในใจ      เปรียบเหมือนได้ถูกกำตัดถนัดรวย

จะพิศไหนดูละไมละม่อมเหมาะ      ช่างฉอเลาะหยิบหย่งสมทรงสวย
ทั้งจริตก็ชะอ้อนอ่อนระทวย              เนตรขนงก่งสวยดังวงจันทร์
จะพิศดูเรือนผมก็สมพักตร์              ยิ่งเพิ่มรักหวนจิตคิดกระสัน
ทำไฉนจึงจะได้ห่อลูกจันทร์              มาชมเล่นทั้งกลางวันกลางคืน เอย ฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 20:49

มาถึงรัชกาลที่ 5  หมูของจีนเป็นกับข้าวไทยพื้นบ้านเต็มตัว  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์เป็นจดหมายเล่าเรื่องการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ไว้ว่า

"ขณะนั้น น้ำกำลังเจิ่งนองท่วมทุ่ง ทรงโปรดให้หยุดกระบวนเรือที่วัดโชติทายการาม  ครั้นเวลาบ่ายก็ทรงเรือเล็กพายไปประพาสทุ่ง  และไร่นาที่ถูกน้ำท่วม ในขณะนั้นยายผึ้งเจ้าของไร่กำลังเก็บหอม กระเทียมตากแดดบนหลังคา แลเห็นเรือเล็ก ก็เข้าใจว่าเป็นเรือขุนนางที่ตามเสด็จ ก็ร้องเชื้อเชิญให้แวะบนเรือน เท่านั้นยังไม่พอ  ยายผึ้งยังได้ยกหม้อข้าวกับกระบะไม้ใส่ชามกะลา มีผักกาดผัดหมู  ปลาเค็มน้ำพริกกับอะไรอีกอย่างหนึ่งซึ่งแกหาไว้สำหรับแกกินเองในเวลาเย็น มาตั้งจะเลี้ยงอีก  พอยายผึ้งเชิญ พวกเราก็เข้าล้อมสำรับกับพระเจ้าอยู่หัวด้วยกัน ว่ากันคนละคำสองคำ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 21:06

ในรัชกาลที่ 5 นี้เองที่เกิดกับข้าวไทยผสมจีน  คือมีหมูนำมากินกับน้ำพริกอย่างกลมกลืน     ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น  น้ำพริกก็คืออาหารไทย หมูคืออาหารจีน   แม้ว่ากับข้าวที่ทำด้วยหมู เอามากินกับข้าวสวยได้   แต่น้ำพริกโดยมากทำจากปลา  ไม่ได้กินกับหมู    แต่กินกับผักสดหรือผักต้ม
กับข้าวไทยผสมจีนที่กลายมาเป็นตำรับเลื่องลือ   คือ น้ำพริกลงเรือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงจุไรรัตนศิริมาน พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงเล่าไว้ในพระนิพนธ์ "ระลึกถึงคุณจอมสดับ"  ว่า

"มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคุณจอมสดับอีกเรื่อง คือกับข้าวสำเร็จรูปที่เรียกว่า น้ำพริกลงเรือ คนรู้จักกันมาก แต่ไม่รู้เหตุผล เรื่องนั้นคือ เจ้านายรัชกาลที่ ๕ เข้าไปอยู่สวนสุนันทาใหม่ๆ      ดินที่ขุดขึ้นมาถมเพื่อทำตำหนักทำให้มีสระกว้างใหญ่ยาว    ต่างองค์ต่างมีเรือพายเล่น    วันหนึ่งตอนค่ำคิดจะลงเรือกัน สมเด็จอาหญิงน้อย( สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี) ก็ชวนว่าให้ไปกินข้าวในเรือกันเถอะ ก็รับสั่งว่า

'สดับไปดูซิในครัวมีอะไรกินบ้าง'

เวลานั้นยังไม่ถึงเวลาเสวย คุณจอมสดับไปในห้องเครื่อง เห็นมีแต่ปลาดุกทอดฟูกับน้ำพริกตำไว้เท่านั้น จึงหยิบน้ำพริกกับปลาผัด รวมกันกับหมูหวานเล็กน้อย     พอตักขึ้นมา  ก็หยิบไข่เค็มซึ่งขณะนั้นก็ยังไม่ได้ต้ม  ความเป็นคนคล่องและไวเลยทิ้งไข่ขาว   เอาแต่ไข่แดงดิบๆวางลงไปทั้งลูก   และจัดผักเตรียมลงไปด้วย กลายเป็นอร่อยมาก    ถึงเรียกกันว่า น้ำพริกลงเรือ เกิดขึ้นเพราะคุณจอมสดับนี่เอง"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ก.พ. 12, 22:39

หมู เป็นเรื่องระดับชาติในสมัย "วัธนธัม" ของจอมพลป.พิบูลสงคราม    ในกระทู้เก่าๆของเรือนไทยเคยคุยกันเรื่องนี้มาแล้ว  จึงขอลอกมาให้อ่านอีกครั้ง

siamese:
เรื่องขายก๋วยเตี๋ยว เป็นนโยบายของจอมพล ป. ที่เห็นความสำคัญของการค้าขาย เมื่อในประกาศอีกข้อหนึ่งได้สนับสนุนให้คนไทยเลี้ยงหมู ปลูกผัก เพาะถั่วงอก ก็ควรขายก๋วยเตี๋ยวเสียให้ครบวงจร เพราะก๋วยเตี๋ยวมีรสอร่อย มีทั้งหมูและผักและถั่วงอกอยู่ในนั้น จึงมีนโยบายทำหนังสือเวียนแจกไปทุกจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอและครูใหญ่ทุกโรงเรียนขายก๋วยเตี๋ยวคนละหนึ่งหาบ และให้กรมประชาสงเคราะห์พิมพ์คู่มือการทำก๋วยเตี๋ยวออกแจกจ่าย สมัยนั้นข้าราชการที่ขึ้นหน้าขึ้นตาทั้งหลายจึงมีหน้าที่ขายก๋วยเตี๋ยวกันเป็นการใหญ่ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนองนโยบายรัฐด้วยดี

V_Mee:
เรื่องให้ข้าราชการขายก๋วยเตี๋ยวนี้  ท่านหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล ซึ่งเวลานั้นเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาได้รับสนองนโยบายของท่านผู้นำด้วยการจัดก๋วยเตี๋ยวไปขายที่กระทรวงศึกษาธิการ  ปรากฏว่าขายดีมากแต่ไม่ได้เงินค่าก๋วยเตี๋ยว  เพราะลูกค้าของท่านซึ่งล้วนเป็นข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการต่างก็มาช่วยรับประทานก๋วยเตี๋ยวของท่านอธิบดีโดยไม่จ่ายสตางค์  เพราะถือกันว่าเป็นการช่วยท่านอธิบดีปฏิบัติราชการจะได้ไม่ต้องหอบข้าวของกลับบ้าน 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 14:26

เอารูปอาหารจานอร่อย จากหมูมาคั่นเวลา  ก่อนจะเล่าถึงประวัติของเมนูหมูทางตะวันตก
ไม่มีใครไม่รู้จักหมูสะเต๊ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 14:31

อาหารดังของนครปฐม
ข้าวหมูแดง  ข้าวหมูกรอบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 14:38

หมูหวาน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 18:48

หมูทอดกระเทียมพริกไทย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ก.พ. 12, 18:49

ซี่โครงหมูย่าง


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง