เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 26911 มารู้จัก "กลโคลง" กันไหมคะ?
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 21:08

คุณสวิริญช์   น้องพลายแก้วเข้ามาเล่นในนี้ด้วยหรือคะ



คุณพลายงาม

ส่ง A .ให้ ๑ ตัว   ถอดกลได้เร็วมากค่ะ

โคลงบทนี้  ใช้คำว่า "พูน" ในคำที่ควรมีไม้เอก  

เคยพบว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น   กวีหลายคนไม่เคร่งครัดเรื่องฉันทลักษณ์เท่าไร   บทนี้ก็อาจเป็นแบบเดียวกัน

เว้นอีกอย่างคือไม้เอกเลือนหายไปจากฉบับตัวเขียน  แต่ถ้ากวีแต่งว่า "พู่น"   ก็ยังนึกไม่ออกว่าแปลว่าอะไร



ดิฉันเอาโคลงกล "หนุมานหางมัดวิรุญจำบัง "มาแลกการบ้านกับคุณพลายงามค่ะ
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW520x015.jpg'>
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 21:18

ขอถอดอีกทีแล้วกันครับ
ยอมรับว่าไม่เคยเจอกลบทแบบนี้ ก็พยายามถอดโดยใช้ ฉันทลักษณ์ของโคลง ๔ สุภาพ เป็นเกณฑ์ แล้วไล่ไปตามเส้น จากจุดเริ่มต้น อยากให้ท่านอื่นมาลองสนุกดูบ้างครับ

หะนุมารดั้นสมุทด้วย.......... ฤทธี
ไล่ยักษวิรุณหนี..................... ซ่อนน้ำ
ไล่ราบเผ่นโผนตี....................โจมจับ ยักษแฮ
ยักษหลบปลีกลิงปล้ำ...........มัดด้วยหางพัน ฯ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 08:08

เอาการบ้านมาฝากอีกบทครับ โคลงกลอักษรม้าลำพอง

สุดขมเพ้อพร่ำ
ร้างรักนุชหนอ
ปวดใจฉุดเกิน
วายรักเศร้าโศกร้าง

ลองถอดความมาให้ครบนะครับ
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 10:45

ขอโทษคุณพลายงามด้วยค่ะ ดิฉันจำสับสนกับกับน้องพลอยแก้วที่อีกบอร์ดนึง ขอโทษอีกครั้งค่ะ

ในสมัยก่อนกวีแต่งกลโครงแบบนี้เพื่ออะไรคะ ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นเพราะต้องการสร้างอะไรๆที่สนุกๆและหลีกพ้นความซ้ำซากจำเจของฉันทลักษณ์แบบเดิมและใช้เป็นรหัสในหมู่ผู้รู้ด้วยกันหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 12:30

ส่งการบ้านค่ะ  
ข้อ ๑  โคลงกลอักษรจองถนน ใช้เวลาถอดนานพอสมควร เพราะตอนแรกคลำทางไม่เจอว่าวางรูปแบบไหน
ถอดออกมาได้หลายแบบแต่แผนผังไม่ลงตัวต้องถอดใหม่
------------- [ ขมขื่นเศร้า]----------------
(๑) ใจตรม ------------------จากร้าง (๒)
------------- [ พรากสุดไกล]---------------
--------------[ หวนอาลัย]-----------------
(๔) ร้องร่ำ--------------------ครวญพร่ำ (๓)
-------------- [ช้ำอ้างว้าง]-----------------

ถอดออกมาได้แบบนี้
@ ใจตรมขมขื่นเศร้า ------------------ตรมใจ
ร้างจากพรากสุดไกล]--------------- จากร้าง
พร่ำครวญหวนอาลัย----------------ครวญพร่ำ
ร้องร่ำช้ำอ้างว้าง---------------------ร่ำร้องหวนอาลัย

๒) โคลงกลม้าลำพอง   ชื่อเหมือนม้าเดินหน้าถอยหลัง ย่ำเท้ากลับไปกลับมา  วิธีถอดคือต้องซ้ำคำถอยหลัง

สุดขมเพ้อพร่ำ
ร้างรักนุชหนอ
ปวดใจฉุดเกิน
วายรักเศร้าโศกร้าง

@  สุดขมเพ้อพร่ำเพ้อ......ขมสุด
ร้างรักนุชหนอนุช.............รักร้าง
ปวดใจฉุดเกินฉุด.............ใจปวด
วายรักเศร้าโศกร้าง...........โศกเศร้ารักวาย

คุณพลายงามรู้จักโคลงกลม้าลำพองดีแล้ว
ลองถอด"โคลงกลหกสวนขวัญ" ดูหน่อยซิคะ
ไม่ยากค่ะ  แนวคล้ายคลึงกัน แต่ทวนคำต่างจากม้าลำพองนิดหน่อย

แม้นน้องรักพี่
ศักดิ์พี่ล้ำสูง
ลักษณะพี่เลิศ
ล้วนมั่งมีไม่ช้ำชอก


ไม่อยากให้เราเล่นกันอยู่ ๒ คนเลย หลานชายวัยรุ่นของคุณพลายงามไปไหนเสียล่ะคะ
ส่วนทางฝ่ายดิฉัน  ชวนสมัครพรรคพวกแล้ว   แต่ยังไม่เห็นโผล่มาสักคน

คำถามของคุณสวิริญช์ เชิญคุณพลายงามตอบค่ะ
ดิฉันไม่ทราบรายละเอียด  เดาได้แต่ว่าเป็นปฎิภาณกวีเท่านั้น
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 12:46

อ่านกระทู้นี้ สนุกจังเลยนะคะ กำลังรอคุณพลายงามมาถอด "โคลงกลหกสวนขวัญ" อยู่ค่ะ ปฏิภาณกวีของดิฉันมีไม่พอ หรือแทบไม่มีเอาเสียเลย
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 13:22

นั่งถอดกลโคลงม้าลำพองมาตั้งแต่เช้า
ยังถอดไม่ได้แต่ที่ได้ก็ใกล้เคียงกับที่คุณเทาอักษรถอดได้นิดหน่อยค่ะ(ดิฉันย่ำจังหวะไม่ถูก)
ด้วยเพราะความที่ไม่คุ้นเคยและสันทัดฉันทลักษณ์นั่นเองแหล่ะค่ะ
ถอดไปก็ต้องกางรูปแบบฉันทลักษณ์ไปด้วย
สนุกดีค่ะ ได้ฝึกสมองดี

เดี๋ยวจะนั่งถอดโคลงกลหกสวนขวัญต่อค่ะ ดูซิจะมีสมาธิทำงานหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 13:57

-โคลงกลหกสวนขวัญ-
แม้นน้องรักพี่
ศักดิ์พี่ล้ำสูง
ลักษณะพี่เลิศ
ล้วนมั่งมีไม่ช้ำชอก

ลองพยายามถอดดูค่ะ ผิดถูกจะรอคำเฉลยค่ะ

แม้นน้องรักพี่.............รักพี่
ศักดิ์พี่ล้ำสูง...............ล้ำสูง
ลักษณะพี่เลิศ.............พี่เลิศ
ล้วนมั่งมีไม่ช้ำชอก.......ช้ำชอกไม่มี
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 14:17

----> คุณสวิริญช์
.......จากความเห็น ๑๘ ที่ถามว่าครูกวีแต่งกลโคลงนี้เพื่ออะไร ที่คุณให้ความเห็นก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งครับ คือเป็นอารมณ์สนุกของครูกวี เพื่อทดสอบเชาว์ของผู้อ่าน เหมือนการเล่นปริศนาอักษรไขว้ นั่นแหละครับ แล้วอีกส่วนหนึ่งเป็นการแสดงฝีมือของกวีแต่ละท่าน ในการคิดรูปแบบการประพันธ์เพื่อไม่ให้จำเจ
.......ซึ่งความจริงกลบทต่างๆเราอาจจะประดิษฐ์แต่งและตั้งชื่อให้ผิดแผกไปอีกเท่าไหร่ก็ได้ คล้ายกับการแต่งเพลงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าเพลงสากล ซึ่งมีทำนองและชื่อแปลกๆไม่สิ้นสุด แต่จะได้รับการยอมรับหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

-----> คุณเทาชมพูครับ
โคลงกลอักษรจองถนน ที่ถอดมามีที่ผิดในวรรคสุดท้ายนิดเดียวครับ คำที่เขียนไว้ในวงเล็บเป็นคำที่อยู่กับที่ เราต้องใช้คำจาก (๑) ๓ ครั้ง ในที่นี้ คือ คำว่า ตรมใจ ต้องนำมาใช้ ปิดบทด้วยครับ
ส่วนโคลงกลอักษรม้าลำพอง ถูกต้องครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 14:27

งั้นขอ B มาก็แล้วกันนะคะ   อ่านตัวเลขในวงเล็บไม่ถูกค่ะ
เข้าใจไปอีกทางว่า หมายถึงคำนี้อยู่ในบาทที่เท่าไหร่ของโคลง

คุณสวิริญช์
กลหกสวนขวัญที่ถอดมา ยังไม่ถูกค่ะ ลองอีกทีนะคะ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 14:31

- โคลงกลหกสวนขวัญ
ที่คุณสวิริญช์ ถอดมายังผิดฉันทลักษณ์โคลงฯ ครับ อยากให้ศึกษาฉันทลักษณ์โคลงฯ ให้เข้าใจ และพยายามจับคำสัมผัสระหว่างวรรคก่อนครับ และลองไล่ประโยคดู ผมจะบอกไบ้ให้นิดหนึ่งครับ คำสัมผัสระหว่างบาท ๑,๒,๓ คือ รัก,ศักดิ์,ลัก- และคำสัมผัสบังคับเสียงโทคือ ล้ำ กับ ช้ำ ลองไล่ประโยคดูอีกทีนะครับ รับรองไม่ยาก

แล้วขอให้การบ้านอีกข้อ ครับ โคลงกลอักษรถอยหลังเข้าคลอง ต้องใช้คำเอกโทษโทโทษ ๑ ที่ และวรรคสุดท้ายเป็นโคลงดั้นครับ

ฟ้าเจิดพลันสว่างแผ้วผ่องจันทร์
สุดสว่างล่า(หล้า)เฉิดฉันเด่นโลก
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 14:48

- กลหกสวนขวัญ
เพื่ออยากให้มีผู้ร่วมสนุกไม่เครียดจนเกินไป ผมขอถอด บาทแรกให้ครับ แล้วลองไล่ บาทที่ ๒-๔ ดูครับ

บาทแรกจะถอดได้ดังนี้
"แม้นน้องรักพี่แม้น.....น้องรัก"

ลองไล่แบบผมดูนะครับ
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 15:07

ขอบคุณคุณพลายงามที่ชี้แจง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 15:36

ดิฉันขอเบี้ยวการบ้าน "ถอยหลังเข้าคลอง" นะคะ
ให้คนอื่นๆเข้ามาทำบ้างดีกว่า
อาจจะมีมือดีคอยซุ่มอยู่ก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 24 เม.ย. 01, 15:47

อดไม่ได้  ขออภัย
เอากลบท " ถอยหลังเข้าคลอง" ที่เป็นกลอนมาฝาก
เพราะพวกเราคุ้นกับแบบแผนการแต่งกลอนมากกว่าโคลง
และถอดง่ายกว่า

"กลอนกลบทถอยหลังเข้าคลอง"
....................................(ไม่มีบาทที่ ๑ )
เจ้างามสรรพสรรพางค์ดังนางสวรรค์(บาทที่สอง)
โพยมแจ่มจันทร์เปรียบพอเทียบทัน(บาทที่สาม)
.....................................................(บาทที่สี่)

โฉมฉอ้อนอัปสรทรงเสมอสมร(เริ่มบาทที่ ๑)
.............................................(เบาทที่ ๒)
ฤๅทัยโทมโทรมเศร้าประเล้าประโลม (บาทที่ ๓)
...............................................(บาทที่ ๔)

คุณพลายงาม  
ดิฉันกำลังสแกนภาพโคลงกลอยู่ค่ะ
รอไม่นาน   จะมาโพสต์
อย่างคุณต้องเอาโคลงกลระดับมือโปร...จะได้มัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง