เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 26879 มารู้จัก "กลโคลง" กันไหมคะ?
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 29 เม.ย. 01, 23:27

สืบเนื่องจากคุณพลายงามมาชวนเล่นกลบทในกระทู้


href='http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&number=520'
target='_blank'>http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&number=520

/>
ดิฉันก็เลยนึกถึง " กลโคลง" ขึ้นมาได้   น่าจะเอามาเล่าสู่กันฟัง

/>
กลับไปขุดกรุสมบัติดู เพราะมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้  

/>
ชื่อ "เทพยกวีที่ถูกลืม" ของดร.นิยะดา เหล่าสุนทร  
รวบรวมกลโคลงของไทยไว้

/>
ก็เลยตัดตอนจากบางตอนมาให้อ่านกันค่ะ





กลโคลง
เป็นการแต่งโคลงสี่ในรูปแบบพิเศษ   ทำเป็นกลซ่อนเอาไว้ในรูปต่างๆเช่นเส้นสาย
กล่องสี่เหลี่ยมบรรจุคำ  รูปพญานาค รูปดวง รูปยันต์ รูปดอกบัว  
สารพัดรูปแบบที่กวีจะคิดหลอกล้อทำเป็นกลไว้

/>
ในนั้นมีถ้อยคำซึ่งผู้เล่นกลจะต้องถอดออกมาให้ได้รูปโคลงสี่สุภาพ
ตามที่กวีบรรจุคำ


เป็นการประชันไหวพริบปฏิภาณระหว่างกวีและคนอ่าน
ให้ทันๆกัน

/>
คุณค่านอกจากนี้ยังเป็นการผสมผสานวรรณคดีเข้ากับรูปของจิตรกรรม  

/>
เป็นศิลปะสองสาขาซึ่งหาอ่านได้ยากยิ่ง  
ยังไม่เคยเห็นในวรรณคดีอังกฤษหรืออเมริกัน




/>
กลโคลงมีอยู่ในจารึกวัดพระเชตุพนในรัชกาลที่ ๓  
และอยู่ในสมุดไทยในหอสมุดแห่งชาติ  


ถ้าไม่มีผู้อนุรักษ์ไว้  
ก็จะสูญหายไปจากความเข้าใจของหนุ่มสาวยุค ๒๐๐๑




/>
โคลงสี่สุภาพ   มีรูปแบบดังนี้ค่ะ


0 0 0 1 2..........0 ก
(0 0)


0 1 0 0 ก.........1 2ข


0 0 1 0 ก.........0 1
(0 0)


0 1 0 0 2ข........1 2  0 0


หมายเหตุ   1  
หมายถึงวรรณยุกต์เอก มีไม้เอก หรือใช้คำตาย(สะกดด้วยแม่กก กด กบ)
แทนก็ได้


      2 หมายถึง ไม้โท


      ตัวอักษร  ก  ข  
หมายถึงการสัมผัสกันของคำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 เม.ย. 01, 11:07

เอากลโคลงชื่อ "ไกรทองเข้าถ้ำ " มาให้ดูเป็นตัวอย่าง

ลองซ้อมมือถอดออกมาเป็นโคลงก่อนนะคะ  พอมองเห็นไหม?

สะกดแบบโบราณต่างจากปัจจุบันนะคะ อย่าเพิ่งงง

เทิยน = เทียน

เวษ = เวทย์

นำ = น้ำ

ทำ=  ถ้ำ

สง=   สงค์
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW520x001.jpg'>
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 เม.ย. 01, 11:12

ขอลองถอดกลข้างบนดูนะครับ ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า

เจ้าไกรทองล่องน้ำ        ดำลง
เทียนเวษฤทธิวง           แหวกน้ำ
ถึงทำที่ประสง               สมสวาษ
ด้วยวิมาลาล้ำ              เลิศแวหลงโลม.
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 เม.ย. 01, 11:38

กราบครูผู้ฝึกให้                          ศิษย์เป็น
                             { - เข็ญ }                 { - ถ้อย - }
ฝึกศิษย์ร่างเรียง                       -  แต่ง                   - คำโคลง
                              { - ร้อย }                 { - สร้าง - }  
แม้ลำบากยากเย็น                    ไม่บ่น เลยแฮ

โคลงกลอักษรบทนี้ ชื่อโคลงกลอักษรซ่อนกล ที่ผมเคยลองแต่งไว้  ปกติจะใช้วงเล็บปีกกาใหญ่ ควงบาทเข้าด้วยกัน ลองถอดความออกมาดูนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 เม.ย. 01, 22:10

ลองทำการบ้านมาส่งค่ะ คุณพลายงาม

 กราบครูผู้ฝึกให้......................ศิษย์เป็น
ฝึกศิษย์ร่างเรียงเข็ญ................แต่งถ้อย
แม้ลำบากยากเย็น.....................ไม่บ่น เลยแฮ
ฝึกศิษย์ร่างเรียงร้อย.................แต่งสร้าง คำโคลง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 เม.ย. 01, 22:11

ลืมบอกไป  โคลง" ไกรทองเข้าถ้ำ" ถูกต้องค่ะ
เดินไปตามตัวอักษรตั้งแต่ปากทาง  วนเข้าไปจนถึงสุดทางแบบเข้าอุโมงค์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 เม.ย. 01, 22:16

อ้อ บาทสุดท้าย คือ

ด้วยวิมาลาล้ำ.........เลิศแล้วโลมหลง

คุณพลายงามคงพิมพ์ผิด
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 05:22

ผมเชื่อว่ารูปแบบคำประพันธ์อย่างนี้ อังกฤษอเมริกันคงไม่มีครับ เพราะรูปไวยากรณ์ภาษาบังคับ คำในประโยคภาษาฝรั่งต่างๆ ไม่เฉพาะแต่ภาษาอังกฤษ ถูกกำหนดด้วยสิ่งที่ครูไวยากรณ์แต่ก่อนท่านแปลว่า พจน์ / กาล/ มาลา ฯลฯ  บางภาษาก็มี ลึงค์ และยังอะไรอีกก็ไม่รู้

การพยายามเล่นกลบทรูปอย่างนี้ ภาษาคำโดดที่คำในประโยคไม่ต้องผันไปตามเพศ/ พจน์ ฯลฯ จะเล่นได้ง่ายกว่าครับ นั่นทำให้ผมนึกสงสัยว่า บางทีภาษาจีนอาจจะมีอะไรทำนองนี้เล่นอยู่ด้วยก็ได้

ในจินตนาการของฝรั่งที่แต่งเรื่องกามนิต ก็มีกลบทซับซ้อนอย่างนี้เหมือนกัน ตอนที่กามนิตส่งสารรักไปหาวาสิฏฐีเป็นครั้งแรกนั้นเขียนเป็นโคลง ถ้าอ่านธรรมดาจะได้ความอย่างหนึ่ง อ่านย้อนหลังได้ความอีกอย่างหนึ่ง อ่านทแยงได้ความอีกอย่างหนึ่ง ผมยอมรับว่าตอนที่ผมอ่านมาถึงตรงนี้ นึกถึงกลบทไทยขึ้นมาทันที แต่นี้ก็เป็นเพียงจินตนาการของท่านผู้แต่ง ซึ่งเป็นฝรั่ง จริงๆ แล้วภาษาที่กามนิต (ถ้ามีตัวจริง) ใช้ ก็คงเป็นภาษาตระกูลภาษาอินเดียภาษาหนึ่งในสมัยพุทธกาล จะเป็นภาษาฮินดี ภาษามคธหรือภาษาสันสกฤตหรือภาษาอะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ากามนิตเป็นชาวอุชเชนี แต่ไวยากรณ์ภาษาของชาวอุชเชนีจะเอื้อต่อการแต่งกลบทแบบนี้ได้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ

ถ้ายอมขยายความให้กว้างออกไปนิด ที่คุณเทาชมพูพูดถึงการประสานศิลปะอักษรการแต่งบทกวี เข้ากับศิลปะด้านจิตรกรรมนั้น ผมเข้าใจว่าทางตะวันตกคงไม่มีเล่นกันจริง แต่ในตะวันออกนี้มีครับ แม้จะไม่เหมือนกลโคลงของไทยเราเป๊ะๆ ก็ตาม ภาษาจีนและญี่ปุ่นเขาให้ความสำคัญกับลายมือพู่กันจีน ถือเป็นศิลปะ ดังนั้น ถ้ามีบทกวีที่แต่งดีๆ สัมผัสคล้องจองรื่นหู เอามาเขียนคัดให้ลายมือสวยๆ ดูสวยงาม ก็ได้รสศิลปะทั้งสองแขนง ยิ่งถ้าเอาไปประกอบภาพเขียนจีนด้วยยิ่งเห็นชัดว่าเป็นการพยายามผสานวรรณกรรมเข้ากับจิตรกรรมจริงๆ
ภาษาอาหรับก็ให้ความสำคัญกับลายมือหรือแคลิกราฟฟีเหมือนจีน และมีศิลปะในการเขียนคำ หรือประโยค ให้ออกมาเป็นรูปต่างๆ หรือลวดลายสวยๆ ได้ นับถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูง อาหรับชอบเล่นแบบนี้ครับ คือ กำหนดคำภาษาอาหรับขึ้นมาแล้วคุณก็พยายามเขียนให้ออกมาดูเป็นรูปภาพ ผมจะอธิบายอย่างไรดี ตัวอย่างที่ใกล้ที่สุดในภาษาไทยที่บางคนคงเคยเห็น คือการที่เอาคำว่า "ไม่เห็นแก่ตัว"  มาเขียนออกมาเป็นรูปพระพุทธรูปนั่งสมาธิ ภาษาอาหรับมีอะไรอย่างนั้นเล่นเยอะมาก บางทีเป็นพระนามองค์พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาอิสลาม หรือเป็นบทสอนต่างๆ เราดูแล้วก็เห็นเป็นเส้นยุ่งๆ ขดไปไขว้มาแต่ออกมามีจังหวะหรือมีลาดลายที่สวยงาม หรืออกมาเป็นรูปอันหนึ่ง แต่คนที่อ่านออกจะรู้ว่ามีความหมายด้วย  (ตัวผมเองเคยเห็นอักษรภาษาอาหรับที่ประกอบกันขึ้นเป็นรูปครุฑแบบหัวหนังสือราชการไทย เข้าใจว่าเป็นฝีมือออกแบบของมุสลิมไทย) ผมไม่ทราบว่า มีการเอาบทกวีอาหรับมาเขียนให้เป็นภาพหรือไม่ ถ้ามีก็เป็นการประสานจิตรกรรมกับวรรณคดีอีกรูปหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 08:45

เสียดายจริง หาเว็บภาษาอาหรับไม่เป็น  ไม่งั้นอาจจะมีทางเห็นภาพอย่างที่คุณนกข.ว่า
ต่อความยาวกันมาตอนนี้แล้วก็เลยนึกได้ถึง cipher การถอดรหัสคำที่นิยมเล่นกันในสมัยควีนเอลิซาเบธที่ ๑
ที่บรรดาผู้เชื่อว่าเซอร์ฟรานซิส เบคอนเป็นตัวจริงของเชกสเปียร์ ก็เพราะพยายามถอดรหัสคำในบทละครนี่ละค่ะ
ของไทยโบราณมี cipher หลายแบบ  ชื่อเฉวียงกุมกาม  กอข้อกอกา ทำนองนี้   เป็นตัวขีดไปขีดมาแล้วอ่านกันออกมาได้เป็นคำ
เอ! นึกไปนึกมา  โคลงกล..กลโคลง นี่ภาษาอังกฤษจัดเข้าเป็น cipher แบบหนึ่งหรือเปล่าคะ
poetic cipher? poem cipher? cipher poem?
ถ้าคุณนวลแวะเข้ามาอ่าน   จะชวนคุยเข้าวงด้วยอีกคน
บันทึกการเข้า
ชายต๊อง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 12:05

ชอบจังเลยฮะ  คนสมัยก่อนช่างคิด และเก่งมากๆ  จะลองไปฝึกฝนดู ชายต๊องขอบคุณอาเทาด้วยนะฮะที่เอาเรื่องดีๆมาให้อ่าน
บันทึกการเข้า
สวิริญช์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 19:25

อ่านกระทู้นี้แล้วอยากกลับไปเรียนภาษาไทยใหม่ค่ะ ขอบคุณน้องพลายแก้วที่จุดประกาย
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 19:36

โคลงกลอักษรซ่อนกล ที่คุณเทาฯ ถอดมาถูกต้องครับ
ผมไม่ได้ศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์มาโดยตรง แต่จบมาทางด้านช่าง คงไม่สามารถให้ความเห็นในเรื่องนี้ครับ
 แค่ผมเป็นคนชอบในการแต่งร้อยกรองคนหนึ่ง  ก็เลยได้แต่ศึกษาเกี่ยวกับฉันทลักษณ์รูปแบบต่างๆ แล้วพยายามหัดแต่ง จึงขอเป็นผู้ติดตามอ่านเพื่อเอาความรู้ดีกว่าครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 19:56

ตั้งแต่เข้ามาในเรือนไทย  เจอคนเก่งประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี  ล้วนแต่เรียนมาทางสายวิทย์

คุณพลายงามเป็นรายล่าสุดจัดเข้ากลุ่มค่ะ

ดิฉันนึกว่าคุณเป็นครูภาษาไทยเสียอีก  หลงดีใจ



เอาโคลงกล "สิงโตสะบัดหาง " มาฝากอีกบทหนึ่ง  พิมพ์ใหม่จากของเดิมค่ะ เพราะสแกนได้ไม่ชัด
http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW520x012.jpg'>
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 20:32

ขอลองถอด โคลงกลสิงโตสะบัดหาง ดูครับ

โตเต้นเล่นโลดเลี้ยว........ สะบัดหาง หูเฮย
สะบัดคอสะบัดคาง......... คาบแก้ว
พี่หวนนึกนุชนาง............ ยาหยอก แม่แฮ
สะบัดสะบิ้งสไบแผ้ว....... พูนพ้นมือเรียม ----> ผิดเอกที่คำว่า พูน จะถูกหรือเปล่าหนอ

ปล.  ๑. ถ้าผมเป็นครูภาษาไทย เด็กคงปวดหัวแย่ครับ เพราะเป็นคนพูดเร็วมาก และสำเนียงก็ออกไปทางท้องถิ่น (ภาคใต้)
๒. คุณเทาฯ เข้าใจถูกแล้วครับ ผมเรียนมาทางสายวิทย์จริงๆ
บันทึกการเข้า
พลายงาม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 เม.ย. 01, 20:51

ลองให้การบ้านอีกข้อครับ เป็นโคลงกลอักษรจองถนน แต่คงเขียนตามกลจริงไม่ได้ เพราะคงต้องเขียนด้วยมือ แล้วสแกน แต่ผมไม่มีเครื่องสแกน ก็เลยต้องเขียนแบบนี้ แต่ผมก็พยายามแต่งให้มีสัมผัสใน เพื่อให้ง่ายขึ้นครับ

 ------------- [ ขมขื่นเศร้า]----------------          
(๑) ใจตรม ------------------จากร้าง (๒)
------------- [ พรากสุดไกล]---------------        
--------------[ หวนอาลัย]-----------------        
(๔) ร้องร่ำ--------------------ครวญพร่ำ (๓)
-------------- [ช้ำอ้างว้าง]-----------------
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง