เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 123565 ละเลงเลือด(ฝรั่งเศส)ที่สมรภูมิบ้านพร้าว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 07 ก.พ. 12, 11:05


2. นายทหารยศ "ว่าที่นายร้อยตรี" ในสงครามครั้งนี้ คือนักเรียนนายร้อยทหารบก (ชั้นปีที่ ๔ หรือ ๓ ก็ไม่แน่ใจนัก)
ที่ไม่จบการศึกษาเพราะต้องออกมาทำสงครามก่อนทั้งรุ่น
(ว่าที่นายร้อยตรี เปรม ติณณสูลานนท์ ก็ร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย โดยอยู่ในสังกัดกรมรถรบ)


เกิดสนใจ ว่านอกจากว่าที่นายร้อยตรีเปรม  ยังมีนายทหารรุ่นเดียวกันคนอื่นๆ ที่ต่อมามีชื่อเสียงเป็นที่คุ้นชื่อคุ้นหน้ากันในราชการและการเมืองบ้างหรือไม่      ฝากคุณ art47 ช่วยสำรวจหน่อยนะคะ
ดิฉันก็จำไม่ได้แล้วว่าเพื่อนร่วมรุ่นของท่านพลเอกเปรม มีใครอีกบ้าง ที่ไปรบในสงครามอินโดจีนด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 07 ก.พ. 12, 21:38

บันทึกของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

       ก้าวแรกของชีวิตนายทหารสำหรับผู้สำเร็จโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบกรุ่นที่๕ หลักสูตรพิเศษรวมทั้ง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เรียกได้ว่ามีความพิเศษสมกับชื่อหลักสูตร กล่าวคือ ทันทีที่เรียนจบก็ถูกส่งเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสมรภูมิสงครามอินโดจีน (กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส) อีกทั้งได้รับมอบกระบี่ด้วยพิธีการที่ไม่เหมือนรุ่นอื่นๆ
 
    “นักเรียนนายร้อยรุ่นผมเป็นรุ่นเดียวที่ออกมาเป็นผู้บังคับหมวดตั้งแต่ยัง ติดตัว “ร” อยู่ คือยังมีสภาพเป็นนักเรียนนายร้อยอยู่ ตั้งแต่วันที่๓ มกราคม ๒๔๘๔ โรงเรียนนายร้อยจัดพวกผม ๑๗ คนให้มาสังกัดกรมรถรบ ตอนนั้นเราก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับหมวด แล้ว และมีทหารในบังคับบัญชาแล้ว ทหารเป็นทหารกองหนุนทั้งหมด เพราะทางราชการเรียกระดมกองหนุนเข้ามา นอกจากผู้บังคับหมู่ ๒ คน และรองผู้บังคับหมวดอีกคนหนึ่งเท่านั้น ที่เป็นทหารประจำการและตัวเรา เพราะฉะนั้นผมยังแต่งเครื่องแบบนักเรียนนายร้อย แต่เป็นผู้บังคับหมวดแล้ว...  แม้เวลาตอนไปสงครามอินโดจีน ผมก็ยังเป็นนักเรียนนายร้อยที่นำหมวดไปสงคราม อินโดจีน หลังจากนั้นอีก  ๑๗  วัน  ถึงได้รับการแต่งตั้งเป็นว่าที่ร้อยตรี”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 07 ก.พ. 12, 21:40

    รุ่นรับกระบี่แบบสนาม       
  “ผมไม่ได้รับพระราชทานกระบี่หรือได้ติดดาวเหมือนอย่างนายทหารสมัยนี้ แต่ผมไปติดดาวอยู่ที่ปอยเปตในเขมร     ผมไปติดดาวอยู่ต่างประเทศ เพราะว่าได้รับคำสั่งให้ไปอยู่ที่ปอยเปตแล้ว ผู้บังคับการกรมท่านก็เรียกไปติดดาว     วิธีรับกระบี่ของผมก็คือว่า กระบี่ก็ไม่มี พอกลับไปที่หมวด หมวดก็อยู่ในสนามอยู่ในป่า    จ่ากองร้อยซึ่งผมยังจำชื่อได้ชื่อว่าจ่าบรรจง เอากระบี่มาโยนโครมแล้วบอกว่าหมวดเอาไปคนละเล่ม ตอนนั้นผมอยู่กัน ๓ คน คนหนึ่งก็คือ พลเอกสมศักดิ์  ปัญจมานนท์ นี่เอง พวกเราก็มาหยิบกันคนละเล่ม จึงนับว่าเป็นการออกเป็นนายทหารที่พิสดารที่สุดก็ว่าได้ เรียกว่าเป็นการรับ กระบี่ “แบบสนาม”

  “พวกผมไม่มีโอกาสได้เที่ยวเตร่ หรอก เพราะอยู่แต่ในสนามอยู่ในปอยเปต.. ที่แปลกที่สุดก็คือว่า  เรานึกว่าทหารทั่วๆ ไปจะมีระเบียบวินัยเหมือนกับนักเรียนนายร้อย แต่ที่จริงทหารกองหนุนเหล่านี้อายุมากกว่าผมทุกคน  ผมจบการศึกษาตอนนั้นอายุแค่ ๒๑ ปี ส่วนทหารกองหนุนก็ราว ๆ ๒๕ – ๒๖ ปีตัวโต ๆ น่ากลัวมาก บางคนเข้ามาก็เมาแล้ว  เราก็ไม่ค่อยได้เคยปกครองคนมา  ก็รู้สึกเหมือนกันว่ามันจะไหวหรือ  แต่พวกเขาก็ดี ให้ความร่วมมือดีแล้วก็อยู่กันได้

       “ที่น่าจะพูดถึงอีกประการหนึ่งคือ  เราไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องการส่งกำลังบำรุงกันมากนัก ... ในเรื่องของยุทธการ เราเชี่ยวชาญพอสมควร  เพราะได้ศึกษามาจากระบบของฝรั่งเศส  แต่ในเรื่องของการส่งกำลังบำรุงก็ดี หรือการทดแทนกำลังพลก็ดี เราไม่ค่อยได้ ทำกันเท่าใดนัก เราจึงได้ประสบการณ์จากสงครามอินโดจีนนี้มากทีเดียว    บังเอิญโชคดีที่ว่าสงครามอินโดจีนนี่ใช้เวลาน้อย ผมคิดว่าเราจึงไม่ค่อยมีปัญหา... นอกจากนั้น  เรื่องของระบบการติดต่อสื่อสารเรามีไม่มากไม่เพียงพอ    สมัยผมยังใช้ธงสัญญาณกันอยู่ ใช้ไฟสัญญาณกันอยู่ รวมทั้งใช้การเคาะโทรเลขด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยได้ใช้กันแล้ว   เลิกไปแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เราได้ปรับกองทัพของเราให้ทันสมัยพอสมควร  แต่ขวัญของคนช่วยกันได้มาก    คนที่เราผ่านไปตั้งแต่กรุงเทพถึงอรัญประเทศ เราเคลื่อนย้ายทางรถไฟ      ระหว่างทางเราได้รับการต้อนรับอย่างดี  เมื่อเราลงรถไฟที่อรัญประเทศก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีเช่นกัน ทำให้พวกเรามีกำลังใจกันมาก  เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้พวกเรามีขวัญและกำลังใจดี..”

 
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 00:28


2. นายทหารยศ "ว่าที่นายร้อยตรี" ในสงครามครั้งนี้ คือนักเรียนนายร้อยทหารบก (ชั้นปีที่ ๔ หรือ ๓ ก็ไม่แน่ใจนัก)
ที่ไม่จบการศึกษาเพราะต้องออกมาทำสงครามก่อนทั้งรุ่น
(ว่าที่นายร้อยตรี เปรม ติณณสูลานนท์ ก็ร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย โดยอยู่ในสังกัดกรมรถรบ)


เกิดสนใจ ว่านอกจากว่าที่นายร้อยตรีเปรม  ยังมีนายทหารรุ่นเดียวกันคนอื่นๆ ที่ต่อมามีชื่อเสียงเป็นที่คุ้นชื่อคุ้นหน้ากันในราชการและการเมืองบ้างหรือไม่      ฝากคุณ art47 ช่วยสำรวจหน่อยนะคะ
ดิฉันก็จำไม่ได้แล้วว่าเพื่อนร่วมรุ่นของท่านพลเอกเปรม มีใครอีกบ้าง ที่ไปรบในสงครามอินโดจีนด้วยกัน

เมื่อเจ้าเรือนไหว้วานมา กระผมในฐานะผู้อาศัยย่อมต้องปฏิบัติตามขอรับ  ยิงฟันยิ้ม

แต่ขอเวลาสักหน่อยนะขอรับ เพราะลองตรวจสอบดูแล้วยังมีข้อก้ำกึ่งอยู่บ้าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 10:37

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
จากบันทึกข้างบน  ได้ชื่อเพื่อนร่วมรุ่นมาคนหนึ่งแล้ว คือพลเอกสมศักดิ์  ปัญจมานนท์
แต่คิดว่า พลเอกในวงการเมืองและกองทัพบก ในยุคพลเอกเปรมเป็นนายกฯ ที่เคยไปสงครามอินโดจีนมาด้วยกันยังมีอีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 13:19

พลเอกสิทธิ์ จิรโรจน์อีกท่านหนึ่งครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 14:53

^



บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 08 ก.พ. 12, 23:01

ก่อนอื่นต้องขอกล่าวก่อนว่า
นายทหารยศ "ว่าที่นายร้อยตรี" ที่ออกสงครามอินโดจีนนั้น เป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกจำนวน ๒ รุ่น
คือนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที ๔ และนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ ๕

ซึ่งความแตกต่างที่สามารถทำให้รู้ได้ว่าใครอยู่ชั้นไหนก็คือ การพระราชทานยศทหาร ซึ่งประกาศมา ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ นั้น
มีนายทหารยศ "ว่าที่นายร้อยตรี" เกือบ ๓๐๐ คน ที่ได้รับพระราชทานยศสัญญาบัตรสูงขึ้น

แต่มีอยู่ส่วนหนึ่งที่ได้รับพระราชทานยศจาก "ว่าที่นายร้อยตรี" เลื่อนขึ้นเป็น "นายร้อยโท" เลย ไม่ต้องผ่านยศ "นายร้อยตรี"
จึงสันนิษฐานว่านายทหารจำพวกนี้คือนักเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปีที่ ๕ ซึ่งกำลังจะจบการศึกษาแล้ว
หลายคนก็เป็นที่รู้จักภายหลังในเกือบอีก ๔๐ ปีต่อมา เช่น

1. ว่าที่นายร้อยตรี สมจิตร์ ชมะนันทน์ (พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์)
2. ว่าที่นายร้อยตรี ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
3. ว่าที่นายร้อยตรี พร ธนะภูมิ (พลเอก พร ธนะภูมิ)
4. ว่าที่นายร้อยตรี ฉลาด หิรัญศิริ (พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ)
5. ว่าที่นายร้อยตรี สมบุญ ชุณหะวัณ (พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ)
6. ว่าที่นายร้อยตรี สมหมาย ณ นคร (พลเอก เสริม ณ นคร)
7. ว่าที่นายร้อยตรี วัฒนเพิ่ม บุนนาค (พลตำรวจตรี โชติพัฒน์ บุนนาค)
8. ว่าที่นายร้อยตรี เฉลิมศรี จารุวัสตร์ (พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 20:36

^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 20:58

สงครามอินโดจีนเป็นผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม   นอกจากทำให้สถานภาพนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมั่นคงขึ้นมากมายแล้ว   ก็ยังเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ และภูมิศาสตร์หน้าใหม่ให้ประเทศไทย จากเนื้อที่ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ที่เอากลับคืนมาได้
แต่ประชาชนไทยชื่นชมกับชัยชนะอยู่ไม่กี่เดือน  ในเดือนธันวาคม 2484  นั้นเอง   ญี่ปุ่นก็ยกทัพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปสู่ประเทศใกล้เคียง     รัฐบาลจอมพลป. ตกลงประนีประนอมเป็นมิตรกับญี่ปุ่น  เพื่อไม่ให้เสียเลือดเนื้อประชาชน    แต่เท่านั้นยังไม่พอ  รัฐบาลก้าวต่อไปถึงขั้นประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งรวมอังกฤษและฝรั่งเศส  ทำให้ไทยก้าวเข้าไปเป็นฝ่ายญี่ปุ่นเต็มตัว ในสงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกในปี 2488    พันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ   ประเทศไทยก็ตกอยู่ในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามตามญี่ปุ่นไปด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 09 ก.พ. 12, 21:06

เคราะห์ของไทยยังไม่ร้ายเกินไป   ในสงครามโลก เกิดขบวนเสรีไทยในต่างประเทศทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ออกมาเคลื่อนไหว ไม่ยอมรับมติของรัฐบาลที่เป็นฝ่ายญี่ปุ่น      ขบวนเสรีไทยทั้งในและนอกประเทศนี้เองที่กลายเป็นผลดีต่อประเทศ เมื่อสหรัฐอเมริกาถือข้างขบวนการเสรีไทย ว่าทำงานเป็นฝ่ายเดียวกับพันธมิตร  ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกตัดสินว่าเป็นประเทศแพ้สงครามเช่นเดียวกับญี่ปุ่น

แต่อย่างไรก็ตาม ไทยก็ต้องชดเชยกับทางพันธมิตร โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส   เรื่องของอังกฤษขอข้ามไปก่อนเพราะไม่เกี่ยวกับกระทู้  ส่วนฝรั่งเศสนั้นก็อย่างที่พวกเราคงเดาได้  คือรัฐบาลไทยต้องยอมคืนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงที่ยึดมาได้  ให้ฝรั่งเศสเอากลับไปทั้งหมด
สงครามอินโดจีนหรือกรณีพิพาทอินโดจีนก็จบลงเพียงแค่นี้    
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 10 ก.พ. 12, 10:36

วันนี้ผมไปหาเสธฯพรท่านอีกครั้งหนึ่งเพื่อจะไปคุยต่อเรื่องสมรภูมิพอร์คช็อป ไปๆมาๆเลยได้เรื่องอื่นๆมาด้วย

เอาเรื่องโรงเรียนนายร้อยสมัยท่านก่อนนะครับ

สมัยนั้นเรียกโรงเรียนนายร้อยทหารบก หลักสูตร๓ปี สำเร็จการศึกษาได้เป็นร้อยตรี ต่อมาได้เปิดหลักสูตรนายร้อยเทฆนิคขึ้น สอนวิชาเฉพาะ ทหารยานเกราะ ทหารช่าง ทหารปืนใหญ่ ฯลฯ ขึ้น คัดเอาผู้ที่สอบเข้าที่๑ถึงที่๖๐ไปแยกเหล่าเรียน  หลักสูตร๓ปีเช่นกัน

พลเอกเปรม ความจริงแล้ว รุ่นเดียวกันกับท่าน แต่สอบได้ต่ำกว่าที่๖๐จึงแยกไปเป็นนักเรียนนายร้อยเทฆนิค พลเอกพร สอบได้ที่๗๖ จึงเป็นนักเรียนนายร้อยธรรมดา เรียนวิชาทหารราบ
รุ่นของท่านและพลเอกเปรม เมื่อเรียนมาได้ประมาณ๒ปีครึ่ง เกิดสงครามอินโดจีน นักเรียนนายร้อยที่กำลังเรียนอยู่ปี๒และปี๓จึงได้รับการบรรจุให้เป็นนายทหาร ติดยศว่าที่ร้อยตรีทั้งหมด

ท่านเอ่ยถึง พลเอกสายหยุด เกิดผล ว่าเรียนน้อยที่สุดคือ ปีครึ่ง ก็ได้เป็นนายทหารแล้ว
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ฯ พวกนี้ก่อนท่าน๑ปี พลเอกฉลาด หิรัญศิริ หลังท่าน๑ปี ที่เอ่ยถึงนี้ คนดังในทางการเมืองทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 10 ก.พ. 12, 11:42

นักเรียนนายร้อยเรียน ๓ ปี  จบ    ถ้างั้นพวกนี้ต้องเรียนเตรียมทหารมาก่อน ๒ ปี หรือจบม. ๘ คะ
พลเอกเปรมเล่าว่าท่านเรียนจบอายุ ๒๑  งั้นท่านก็ต้องเข้านายร้อยเทฆนิค เมื่ออายุ ๑๘ ปี หรืออย่างมากก็ ๑๙  อายุเท่าคนจบปริญญาตรีสมัยนี้

อ้างถึง
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ฯ พวกนี้ก่อนท่าน๑ปี พลเอกฉลาด หิรัญศิริ หลังท่าน๑ปี ที่เอ่ยถึงนี้ คนดังในทางการเมืองทั้งนั้น
งั้นสามท่านนี้ก็ไม่ใช่เพื่อนร่วมรุ่นของพลเอกเปรม  แต่ว่าได้ "ว่าที่นายร้อยตรี" และเลื่อนเป็น "นายร้อยโท" พร้อมกัน

ป.ล. นอกเรื่องหน่อย  สังเกตว่า คำว่า technique  สมัยนั้นถอดตัว ch  เป็น ฆ    สมัยนี้เป็น ค  คงจะเปลี่ยนตั้งแต่วัธนธัมทางภาษาของจอมพลป.  ที่ไม่มี ฆ ระฆังละมัง?
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 10 ก.พ. 12, 12:49

สมัยนั้นไม่มีโรงเรียนเตรียมทหารครับ โรงเรียนนายร้อยสมัยร.๖ มีตั้งแต่ระดับประถมและมัธยม จบแล้วติดยศเลย

สมัย ร.๗ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของราชการ จึงยุบนักเรียนนายร้อยชั้นประถม เหลือแต่ชั้นมัธยม  ต่อมามีการสอบคัดเพื่อไปเป็นนักเรียนนายร้อยเทฆนิค(ผมก็สะกดไปอย่างเขา ตามอักขระวิธีสมัยโน้น)

ช่วงหลังสงครามโลกเพื่อเป็นการประหยัดรายจ่าย  จึงเปิดแค่โรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ โรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ รับผู้ที่จบชั้นมัธยม ๖ จากโรงเรียนสามัญเช่นเดียวกับโรงเรียนเตรียมจุฬาที่กลายมาเป็นเตรียมอุดมศึกษา ส่วนทหารก็เรียนอีก๒ปีแล้วเข้าโรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ เหล่าใครเหล่ามันไปเลย

นานเข้า เมื่อแข่งกิฬากันคราวใด โรงเรียนทั้งสามจะเล่นกันแบบจะฆ่ากันเพื่อชัยชนะ นัยว่าเป็นการรักษาศักดิ์ศรี กองเชียรก็บุกข้ามฝ่ายไปตีรันฟันแทงเหมือนทำสงครามป้อมค่ายประชิด ประชาชนคนดูหัวร้างข้างแตกเวลาเขาทำยุทธเวหาด้วยการขว้างขวดและกระป๋องเข้าใส่กัน

พอโดนคนด่าหนักๆเข้าว่าไม่มีปํญญาแก้ไขปัญหา ทหารระดับผู้ใหญ่จึงยุบโรงเรียนเตรียมทั้งหมดมาตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร อยู่หัวมุมถนนวิทยุต่อกับสาทร เพิ่มตำรวจเข้ามาด้วยรวมเป็นสี่เหล่า ทหารตำรวจสมัยนี้จึงพูดกันง่ายเพราะเริ่มต้นเป็นเพื่อนกันมาแล้วตั้งแต่ยังตัดผมเกรียน

ถือว่าแก้ปัญหาได้ดีครับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 10 ก.พ. 12, 13:41



อ้างถึง
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ฯ พวกนี้ก่อนท่าน๑ปี พลเอกฉลาด หิรัญศิริ หลังท่าน๑ปี ที่เอ่ยถึงนี้ คนดังในทางการเมืองทั้งนั้น
งั้นสามท่านนี้ก็ไม่ใช่เพื่อนร่วมรุ่นของพลเอกเปรม  แต่ว่าได้ "ว่าที่นายร้อยตรี" และเลื่อนเป็น "นายร้อยโท" พร้อมกัน


พลเอก เปรม ท่านได้เลื่อนยศจาก "ว่าที่นายร้อยตรี" ขึ้นเป็น "นายร้อยตรี"
เช่นเดียวกับ

พลเอก สายหยุด เกิดผล
พลตรี ถวิล อยู่เย็น
 ยิงฟันยิ้ม

โดยปกติแล้วการตรวจสอบว่าใครเป็นนายทหารร่วมรุ่นเดียวกันบ้างของผม จะตรวจสอบจากราชกิจจานุเบกษาประจำปีนั้นๆ ในหัวข้อ "พระราชทานยศทหาร"
ปีอื่นๆ ย่อมไม่มีปัญหาอะไร เพราะจบแล้วรับราชการปีหนึ่งก็ติดยศนายร้อยตรีเลย
แต่นายร้อยรุ่นที่จบสงครามอินโดจีนนี้สับสนจริงๆ มีว่าที่นายร้อยตรีติดยศเลื่อนขึ้นตั้งเกือบ ๒๐๐-๓๐๐ คน
แถมบางคนติดยศ "นายร้อยโท" อีกต่างหาก สับสนอยู่ชั่วครู่ชั่วคราวใหญ่

นี่ถ้าหากมีหนังสือทำเนียบนายร้อยทหารบก ของกองทัพบกแล้วไซร้ จักง่ายขึ้นกว่านี้มาก  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง