เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 123754 ละเลงเลือด(ฝรั่งเศส)ที่สมรภูมิบ้านพร้าว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 19:49

หลังจากนั้น ก็ชมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ยึดมาได้จากข้าศึก ก่อนที่จะสั่งให้ส่งไปกรุงเทพเพื่อเปิดนิทรรศการให้คนไทยดู


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 19:53

ภาพสุดคลาสสิกที่ฝรั่งเศสไม่ยอมตีพิมพ์

พลตรี หลวงพิบูลสงคราม กำลังยืนชมธงชัยเฉลิมพลของกองทหารต่างด้าว III/5 REI ที่ ร.พัน ๓ ยึดได้ โดยขวามือมีพันเอก หลวงสวัสดิรณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์)  และซ้าย นาวาเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) นายทหารติดตาม ร่วมอยู่ด้วยในรูป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 19:56

ประดับเหรียญชัยสมรภูมิให้แม่ทัพ กองทัพบูรพา พลตรี หลวงพรหมโยธี (มังกร พรหมโยธี)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 20:01

ประดับเหรียญชัยสมรภูมิให้ผบ.ร.พัน ๓ พันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ(นิ่ม ชโยดม)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 20:03

เหรียญชัยสมรภูมิ เหรียญกล้าหาญ และเหรียญช่วยราชการที่รัฐบาลทำขึ้นแจกในสงครามอินโดจีน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 20:06

ผบ.สูงสุดทักทายทหารที่ได้ร่วมรบ ในระหว่างการไปเยือนกองทัพบูรพาครั้งนี้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 20:23

ภาพทั้งหมดในกระทู้นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมค้นคว้าหามาได้ ที่เหลือยังพอจะเขียนได้อีกสักเรื่องหนึ่ง แต่ขัดสนด้วยเวลาที่ผู้เขียนต้องทำกิจธุระอย่างอื่นบ้าง จะหมกมุ่นอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์แบบการงานไม่อากูล จะเข้าลักษณะฝักไฝ่อบายมุขไป

ดังนั้น ขอให้ท่านโปรดอดใจรอ "ตลุยสงครามอินโดจีนไปกับภาพ" อันเป็นบทสรุปตั้งแต่ต้นจนจบของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ชาติไทยครั้งกระนั้น

ตอนนี้ ผมขออนุญาตพักรบ และผบ.ท่านอนุญาตแล้วด้วย ไม่เกินปีนึงหรอกครับ แล้วผมจะกลับมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 20:39

อาจารย์ปิดคอร์ส ออกจากห้องเรียนไปเฉยเลย 
ขอโหวตนักเรียน ทั้งหน้าชั้นหลังชั้น   ว่าจะทำยังไงกันดีคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 20:47

เปล่าครับ  ไม่ได้ปิด

เชิญอภิปรายกันต่อเลยครับ ผมพักรบเฉยๆ ถ้าโดนพาดพิงถึงจะเข้ามาขอใช้สิทธิ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 21:09

เด็กๆ...
ท่านเปิดไฟเขียวให้ใช้สิทธิ์พาดพิงแล้วนะคะ

อาจารย์ลงนั่งพักเสียแล้ว   ตอนนี้ก็ไม่เหลืออะไรมาก   ดิฉันได้แต่เก็บเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาเล่าให้ฟัง ก่อนนักเรียนจะย่องออกจากชั้นไปกันหมด

แน่นอนว่าไทยยินดีปรีดากับการได้ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนมา   ชนิดที่ฝรั่งเศสยินยอมทำสัญญากันเป็นทางการ     รัฐบาลไทยประกาศให้หยุดราชการในวันที่ 12 มีนาคม 2484   ยกธงชาติไทยประดับเสาคู่กับธงชาติญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกมีกำหนด 3 วัน กับได้มีการสวนสนามฉลองชัยชนะที่พระนคร เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2484
ส่วนในดินแดนที่เคยเป็นของเขมร         ไทยก็ทำพิธีรับมอบดินแดนที่จังหวัดพระตะบอง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2484   มีการสวนสนาม โดยมีแม่ทัพบูรพาเป็นประธาน มีผู้แทนจากคณะรัฐมนตรี 3 นาย และผู้แทนฝ่ายทหาร 3 นาย ไปรับมอบดินแดน

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 21:30

     ความชื่นชมโสมนัสของประชาชนไทย  ส่งผลดีให้นายกรัฐมนตรีของไทยยิ่งกว่าผู้ใดทั้งสิ้นในครั้งนั้น    เห็นได้จากยศในขณะนั้นของจอมพล ป  คือนายพลตรีหลวงพิบูลสงคราม   แต่เมื่อกลายมาขวัญใจประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ด้วยผลงานที่รบชนะฝรั่งเศส ได้ดินแดนคืนมามากมายมหาศาล    เลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็เสนอคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้เลื่อนยศพลตรีหลวงพิบูลสงคราม รวดเดียวเป็นพลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก
     คณะผู้สำเร็จราชการ ก็เปิดไฟเขียวอย่างไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น   มิหนำซ้ำ  ยังให้มากกว่าที่ขอมาอีกด้วย   เห็นได้จากสำนักพระราชวังได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า ในการที่ พลตรี ป พิบูลสงครามได้กระทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติ   รัฐบาลได้ขอปูนบำเหน็จด้วยการขอพระราชทานยศให้เป็นพลเอก   พิจารณาแล้วว่าไม่น่าจะเป็นการเหมาะสมที่จะเลื่อนยศให้ตามที่เสนอมา ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสม  จึงได้ถวายพระราชบังคมกราบทูลยศ จอมพล ให้แก่พลตรี ป พิบูลสงครามเพื่อเป็นเกียรติยศและตัวอย่างที่ดีงามของคนไทยสืบไป
   สรุปว่าขอเป็นพลเอก ท่านไม่ให้  แต่ท่านให้ยศที่ไม่ได้ขอ  คือก้าวจากพลตรีขึ้นเป็นจอมพลโดยไม่ต้องผ่านพลโทและพลเอก
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 21:42

ขอแทรกอาจารย์เทาสักแว๊บนะครับ  ยิงฟันยิ้ม

ลองๆ ค้นราชกิจจานุเบกษาดู พบข้อสังเกตอะไรหลายๆ อย่างจะลองนำมาอภิปรายในที่นี้ครับ

1. ในรายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิของกองพันทหารราบที่ ๓ (ซึ่งคงได้รับทั้งกองพัน)
ไม่มีรายชื่อของผู้ที่มียศ "นายดาบ" เลย ทั้งที่ในรูปถ่ายของคณะนายทหารกองพันทหารราบที่ ๓ มีชื่อนายดาบถึง ๒ คน  ฮืม

2. นายทหารยศ "ว่าที่นายร้อยตรี" ในสงครามครั้งนี้ คือนักเรียนนายร้อยทหารบก (ชั้นปีที่ ๔ หรือ ๓ ก็ไม่แน่ใจนัก)
ที่ไม่จบการศึกษาเพราะต้องออกมาทำสงครามก่อนทั้งรุ่น
(ว่าที่นายร้อยตรี เปรม ติณณสูลานนท์ ก็ร่วมสงครามครั้งนี้ด้วย โดยอยู่ในสังกัดกรมรถรบ)

3. เรื่องพลทหารที่เสียชีวิต ซึ่งระบุว่าชื่อ "จอน ปรีพงษ์" นั้น
หากไม่เสียชีวิตก็คงได้รับพระราชทานเหรียยชัยสมรภูมิเช่นเพื่อนๆ ทหาร
แต่ในราชกิจจานุเบกษานั้น มีพลทหารชื่อ "จอน จ้อนจิตรคล่อง" เพียงคนเดียว
เช่นนั้นคงจะเสียชีวิตในสนามรบจริงๆ (คงตรวจสอบรายชื่อได้จากฐานอนุสาวรีย์ชันสมรภูมิ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 22:02

      ชัยชนะในสงครามอินโดจีน ก่อให้เกิดอนุสรณ์สถานสำคัญอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพ คืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาท   พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
       หม่อมหลวงปุ่มใช้ดาบปลายปืนซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ซึ่งใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส

        ด้านนอกตอนโคนดาบปลายปืน มีรูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ศิลปินผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศ.ศิลป พีระศรี

        ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้ มีทั้งสิ้น 160 คน เป็นทหารบก 94 คน ทหารเรือ 41 คน ทหารอากาศ 13 คน และตำรวจสนาม 12 คน จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 คน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 06 ก.พ. 12, 22:30

ภาพจากโอเคเนชั่น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 07 ก.พ. 12, 09:31

ขอบคุณคุณ art47 ที่เข้ามาร่วมอภิปรายนะครับ ส่วนความเห็นเชิงคำถามนั้น ผมค้นข้อมูลมาขยายได้ดังนี้

จากกรณีพิพาทกับอินโดจีนของฝรั่งเศสครั้งนี้  ได้มีแจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๒๕ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๔ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๔ ให้เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ แก่หน่วยทหารดังนี้

กองทัพด้านบูรพา
 
กองพันทหารราบที่ ๓ ตั้งในกรุงเทพฯ
กองพันที่ ๖ กรมทหารราบที่ ๖ ตั้งที่จังหวัดลพบุรี
กองพันทหารราบที่ ๘ ตั้งในจังหวัดลพบุรี

กองทัพด้านอิสาน

กองพันทหารราบที่ ๒๑ ตั้งที่จังหวัดอุดรธานี

แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ตามราชกิจจา ฯเล่ม ๕๘ ตอนที่ ๕๓ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ หน้า ๒๓๓๓ แจ้งความณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ ให้เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทาน๔๑ นาย เป็นกองทัพบก ๑๕ นาย ตำรวจสนาม ๑ นาย กองทัพอากาศ ๒๕ นาย ดังมียศนามต่อไปนี้

กองทัพบก

นายพันตรี สุรินทร์ ปั้นดี
นายพันตรี สนิท หงษ์ประสงค์
นายร้อยโท ไชโย กระสิณ
จ่านายสิบเอก กิมไล้ แซ่เตียว
จ่านายสิบเอก คล้อย วงษ์สถิน
จ่านายสิบเอก โพล้ง กลัดตลาด
จ่านายสิบเอก ขุนทอง ขาวสุขา
นายสิบตรี ยงค์ สุขแสง
นายสิบตรี สำเภา สมประสงค์
นักเรียนนายสิบ จำนงค์ แฉล้มสุข
นักเรียนนายสิบ คณง รงค์กระจ่าง
พลทหาร สมัคร์ เนียวกูล
พลทหาร ยม สืบกุศล
พลทหาร อรุณ กลิ่นบัวแก้ว
พลทหาร เต็ก ขจรเวช

ตำรวจสนาม
นายร้อยตำรวจตรี หนู ไชยบุรี

กองทัพอากาศ

นายนาวาอากาศเอก ขุนรณนภากาศ (ฟื้น ฤทธาคนี)
นายนาวาอากาศตรี หม่อมราชวงศ์เสนาะ ลดาวัลย์
นายนาวาอากาศตรี หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร
นายเรืออากาศเอก ประสงค์ สุขชีวะ
นายเรืออากาศเอก เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
นายเรืออากาศเอก มานพ สุริยะ
นายเรืออากาศเอก ไชย สุนทรสิงห์
นายเรืออากาศโท ทองใบ พันธุ์สบาย
นายเรืออากาศโท ผัน สุวรรณรักษ์
นายเรืออากาศตรี สว่าง พัดทอง
นายเรืออากาศตรี สังวาลย์ วรทรัพย์
นายเรืออากาศตรี สำราญ โกมลวิภาค
นายเรืออากาศตรี จรูญ กฤษณราช
นายเรืออากาศตรี แวว จันทรศร
พันจ่าอากาศเอก ศักดิ์ อินปุระ
พันจ่าอากาศเอก รังสรรค์ อ่อนรักษา
พันจ่าอากาศเอก ทองคำ เปล่งขำ
พันจ่าอากาศเอก สายบัว มดิศร
พันจ่าอากาศโท บุญเยี่ยม ปั้นสุขสวัสดิ์
พันจ่าอากาศโท เกฒา สินธุวรรณะ
พันจ่าอากาศตรี ลออ จาตกานนท์
จ่าอากาศเอก สง่า ว่องชิงชัย
จ่าอากาศเอก ประยูร สุกุมลจันทร์
จ่าอากาศโท จาด อ่ำละออ

แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ตามราชกิจจา ฯเล่ม ๕๘ ตอนที่ ๖๑ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๔ หน้า ๒๘๑๐ แจ้งความ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติแก่เรือรบ ๑ ลำ คือ ร.ล.ธนบุรี และทหารเรือ ๑๘ นาย ดังนี้

เรือรบ
ร.ล.ธนบุรี

ทหารประจำ ร.ล.ธนบุรี

นายนาวาเอก หลวงพร้อมวีระพันธุ์ (พร้อม วีรพันธุ์)
นายเรือเอก เฉลิม สถิรถาวร
นายเรือโท ขัน วงศ์กนก
นายเรือตรี พรม รักษ์กิจ
นายเรือตรี สมัย จัมปาสุต
พันจ่าเอก ทองอยู่ เงี้ยวพ่าย
พันจ่าเอก เอี้ยว อึ้งหลี
พันจ่าเอก นวล เสียงบุญ
พันจ่าเอก ลบ นุดนา
พันจ่าเอก ลำดวน ทัพพะเกตุ
พันจ่าเอก ยู่ล้ง อาจสาคร
พันจ่าเอก เพื่อน สุดสงวน
พันจ่าเอก ชุน แซ่ฉั่ว
พันจ่าเอก เอ่ง แซ่ลิ้ม

ทหารประจำ ร.ล.สงขลา

จ่าเอก นาค เจริญสุข
จ่าเอก วงศ์ ชุ่มใจ

ทหารประจำ ร.ล.ขลบุรี

พันจ่าเอก ป๋อไล้ แซ่เฮง
จ่าตรี ชาญ ทองคำ



ไม่พบชื่อพลทหารชื่อ "จอน จ้อนจิตรคล่อง" หรือ “จอน ปรีพงษ์" เลย

ตอนคุยกับเสธฯพร เมื่อผมเอ่ยถึงพลฯจอน ท่านทำหน้างงๆเหมือนจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้ และพยายามจะนึกชื่อทหารของร.พัน ๓ ที่บาดเจ็บเล็กน้อย แต่ตอนนั้นท่านนึกไม่ออก บอกแต่ว่าไม่มีใครตาย


ส่วนที่ว่าไม่เห็นมีนายทหารยศนายดาบเลย ยศนายดาบทางทหารได้เปลี่ยนไปเรียกเป็นทางการว่า “จ่านายสิบเอก” ครับ นายดาบสมัยต่อมาจึงมีแต่ยศตำรวจ

ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๔ โรงเรียนนายร้อยทหารบกเดิมที่เรียกใหม่หลังปฏิวัติ๒๔๗๕ว่าโรงเรียนเท็คนิคทหารบก ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ชื่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้านั้น ตามหลักสูตรกำหนดไว้๕ปี แต่ในเฉพาะปีที่เกิดสงครามกับฝรั่งเศสนี้ นักเรียนที่ผ่านปี ๓ แล้ว(แบบพลเอกเปรม) ก็ให้ออกมารับราชการเป็นผู้ช่วยผู้บังคับหมวดตั้งแต่มีสภาพเป็นนักเรียนนายร้อย ติดยศว่าที่ร้อยตรีได้เลย ส่วนว่าที่ร้อยตรีได้ที่ได้บังคับกองร้อยเห็นจะมีแต่พลเอกพร ธนะภูมิคนเดียว เพราะท่านกำลังจะจบปีนั้นพอดีขาดไม่กี่เดือน ความรู้ความสามารถก็ไม่หย่อนกว่านายทหารเท่าใดแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง