เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 123558 ละเลงเลือด(ฝรั่งเศส)ที่สมรภูมิบ้านพร้าว
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 07:41

ในขณะเดียวกัน กองพลพระนครซึ่งมีกำลังสามกองพัน และอยู่ทางด้านเหนือของกองพลวัฒนานคร ก็ได้เคลื่อนที่จากชายแดน เข้าไปในดินแดนข้าศึกตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม โดยกองพันทหารราบที่ ๑ เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางในภูมิประเทศ พอลึกเข้าไปประมาณ ๓ ก.ม.ก็ได้รับการต้านทานที่บ้านยาง แต่ยิงกันไม่นานก็สามารถยึดได้

ส่วนกองพันทหารราบที่ ๓ อยู่ด้านขวาของกองพันที่ ๑ เคลื่อนที่เข้าไปตามถนนอีกเส้นหนึ่ง ที่อยู่ห่างจากถนนปอยเปต-ศรีโสภณไปทางเหนือประมาณ ๑๒ ก.ม. เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปได้ประมาณ ๙ ก.ม.ก็ถึงบ้านพร้าวซึ่งข้าศึกได้วางกำลังตั้งค่ายใหญ่รับไว้ กองพันที่ ๓ เข้าตีตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ถึงวันที่ ๑๑ มกราคม ฝรั่งเศสก็ถอยไปทางศรีโสภณ ปล่อยให้ไทยเข้ายึดค่ายได้แล้วพักกำลังพลอยู่ที่บ้านพร้าวนั้น กับส่งกำลังออกลาดตระเวนต่อไปอีก ๑๐ ก.ม.ก็ไม่พบข้าศึก

หลังจากวันนั้นไปแล้ว ทั้งกองทหารไทยและฝรั่งเศสต่างก็วางกำลังยันกันอยู่ โดยไม่มีการสู้รบใหญ่ เว้นแต่มีการปะทะระหว่างหน่วยลาดตระเวนบ้างเล็กน้อย

ในรูปเป็นบ้านพร้าวในปัจจุบัน เขมรคงเรียกว่าภูมิเพรียะมั้ง ใครทราบว่าออกเสียงยังไงก็ช่วยบอกด้วยนะครับ ดูแล้วไม่ใช่หมู่บ้านใหญ่โตอะไร แต่มีร่องรอยพอจะสันนิฐานว่าเป็นแนวรั้วของค่ายทหารได้บ้าง แต่ผมก็ไม่กล้ายืนยันนะครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 07:49

ในวันที่ ๑๓ มกราคม พันตรีหลวงนิมมานกลยุทธ ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กับคณะได้ออกตรวจภูมิประเทศด้วยตนเองสังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และพบเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าฝรั่งเศสได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าวนั้นเป็นกลลวงที่จะตีโต้กลับภายหลัง  โดยได้วางแผนเตรียมการไว้แล้ว ถ้ากองพันตั้งอยู่ที่เดิมน่าจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง

ในเย็นวันนั้นเอง หน่วยลาดตระเวนของข้าศึกก็เข้ามาลอบยิงทหารหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพันแต่ไม่โดนใคร  ผู้บังคับกองพันได้สั่งการไว้แล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้ขับไล่ด้วยอาวุธปืนเล็ก ห้ามใช้อาวุธหนักและปืนกลถ้าไม่จำเป็น  เพื่อลวงข้าศึกถึงศักยภาพในการรบของฝ่ายเรา 

การที่ข้าศึกเกิดคันมือยิงเราเข้ามานัดนึงนี้ นี้ทำให้ท่านทราบได้ทันทีว่า ฝรั่งเศสใกล้จะโจมตีจะเอาที่มั่นคืนแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 08:02

แต่ผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็สั่งประชุมนายทหารบอกว่า เราอยู่ที่นี่ไม่ได้แล้ว ข้าศึกรู้ภูมิประเทศดีและคงกำหนดเป้าหมายไว้หมด ถ้าขืนถูกโจมตีเราจะเสียเปรียบมาก ดังนั้นกองพันที่๓จึงเคลื่อนกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ เดินเท้าไปทางตะวันออกห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ ก.ม.แล้ววางกำลังเรียงรายลงในห้วยแห้งที่หมายตาไว้แล้ว  ลำห้วยนี้ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง เป็นที่มั่นตามธรรมชาติแนวรูปตัวยู เหมาะสมที่สุดสำหรับจะใช้เป็นพื้นที่สังหาร ทหารทุกคนเข้าที่ วางปืนกลหนักไว้ที่ก้นตัวยู แล้วทั้งกองพันถูกกำชับให้อยู่ด้วยความสงบ  จะยิงพร้อมกันเมื่อได้รับคำสั่ง และให้ยิงตามแผนการยิงเท่านั้น ใครถูกกำหนดให้ยิงไปทางทิศใดก็ให้ยิงไปโดยเฉพาะทิศที่ว่า  ถ้าทำเช่นนี้ในทางทฤษฎีบอกว่าพื้นที่สังหารจะไม่มีจุดอับกระสุนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว

ในภาพผมให้คุณกู๋หาตำแหน่งดังกล่าว เห็นตรงนี้แหละครับที่ใกล้เคียงที่ทหารผ่านศึกท่านบรรยายกันไว้ มีสพานข้ามห้วยที่พลเอกพรท่านเคยลงไปซ่อนตัวอยู่ด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 08:06

แก๊งงงงง.....หมดยก

ขอพักยาวครับ

กลับมาคราวหน้าจะกล่าวถึงการเตรียมการบุกเข้ามาละเลงเลือด(ทหารไทย) ก่อนจะเป็นฝ่ายถูกละเลงเสียเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 09:52

ข้อความดังกล่าว มีผู้ลอกมาลงในเวปหลายรายโดยไม่บอกที่มาที่ไป ผมเพิ่งบัดนี้เองทราบว่าต้นตอมาจากหนังสืองานศพของท่าน
http://www.tigerarmy.in.th/home/about/war.php
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:03

เมื่อวานนี้ บังเอิญพบคุณหมอวิบูล  วิจิตรวาทการ  บุตรชายของคุณหลวงวิจิตรวาทการ  ก็เลยคุยกันเรื่องสงครามอินโดจีน( เป็นหัวข้อประหลาดเอาการในการเริ่มสนทนา  ถ้าคนนอกได้ยิน   แต่คงไม่แปลกในสายตาชาวเรือนไทย)  จึงได้ทราบจากท่านว่าคุณหลวงวิจิตรฯ มีบทบาทสำคัญอยู่ในยุคนั้น   เคยเขียนหนังสือเรื่องสงครามอินโดจีนเอาไว้ด้วย
ไม่ทราบว่าคุณวันดี และคุณนวรัตน มีหนังสือของคุณหลวงไหมคะ   ดิฉันก็ไม่ทันได้ซักรายละเอียดว่าเป็นหนังสือชื่ออะไร   

เผื่อยังไงจะได้พาแยกออกซอย  พาไปแนะนำที่มาของสมรภูมิบ้านพร้าว   ระหว่างเจ้าของกระทู้อินเทอร์มิชชั่นอยู่ตอนนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:11

^
ผมยังไม่เคยเห็นครับ

อ้างถึง
เผื่อยังไงจะได้พาแยกออกซอย  พาไปแนะนำที่มาของสมรภูมิบ้านพร้าว   ระหว่างเจ้าของกระทู้อินเทอร์มิชชั่นอยู่ตอนนี้

เชิญเลยครับ
ผมจะได้ลากิจนานหน่อย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:28



ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะที่กรุณาแนะนำ      ไม่คุ้นหูเลยค่ะ

ต้องไปถามเพื่อน ๆ  ที่สะสมหนังสือและเป็นเจ้าของร้านหนังสือเก่า

ถ้าได้ความอย่างไรจะกลับมาเรียนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:42

ขอบคุณค่ะ   คุณวันดี   ดิฉันเชื่อว่ามีผลงานของคุณหลวงวิจิตรวาทการอีกมาก ที่ไม่ใช่นวนิยาย(ซึ่งพิมพ์ใหม่ยังพอหาอ่านได้)  เป็นงานพวกบันทึก สารคดี หนังสือประวัติศาสตร์ในประเด็นเฉพาะ  บทเลกเชอร์  ฯลฯ ที่พอหมดยุคของท่าน  ก็ไม่มีใครพิมพ์อีก    ถ้าเป็นเล่มใหญ่ๆอาจมีที่หอสมุดแห่งชาติ    แต่ถ้าเป็นเล่มเล็กๆ หรือข้อเขียนที่กระจัดกระจายกันอยู่ในหนังสือเล่มนั้นเล่มนั้นบ้าง คงหาอ่านได้ยากแล้ว
งานของคุณหลวงวิจิตรฯ สะท้อนให้เห็นนโยบายและทิศทางการเมืองในยุคจอมพลป. ได้มากค่ะ   ทำให้เราเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในสมัยนั้น และมีสาเหตุจากอะไร


เชิญเลยครับ
ผมจะได้ลากิจนานหน่อย

ได้เวลาท่านเจ้าของกระทู้ ปลีกตัวไปตีกอล์ฟ   ทิ้งยามเฝ้ากระทู้ไว้หนึ่งคน  ทำหน้าที่ปั่นกระทู้ไม่ให้ตกจอ  ยิ้มเท่ห์  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 14:07

ผมเข้ามาแจ้งให้ทราบว่า ข้อความในกระทู้๓๒ ขาดย่อหน้าสำคัญไปโดยความสะเพร่าของผมเอง
ที่ควรจะเป็นนั้น ข้อความทั้งในกระทู้๓๑และ๓๒ ต้องเป็นดังนี้ (ตัวหนา คือข้อความที่หายไป)


ในวันที่ ๑๓ มกราคม พันตรีหลวงนิมมานกลยุทธ ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กับคณะได้ออกตรวจภูมิประเทศด้วยตนเองสังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และพบเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าฝรั่งเศสได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าวนั้นเป็นกลลวงที่จะตีโต้กลับภายหลัง  โดยได้วางแผนเตรียมการไว้แล้ว ถ้ากองพันตั้งอยู่ที่เดิมน่าจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง

ในเย็นวันนั้นเอง หน่วยลาดตระเวนของข้าศึกก็เข้ามาลอบยิงทหารหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพันแต่ไม่โดนใคร  ผู้บังคับกองพันได้สั่งการไว้แล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้ขับไล่ด้วยอาวุธปืนเล็ก ห้ามใช้อาวุธหนักและปืนกลถ้าไม่จำเป็น  เพื่อลวงข้าศึกถึงศักยภาพในการรบของฝ่ายเรา 

การที่ข้าศึกเกิดคันมือยิงเราเข้ามานัดนึงนี้ นี้ทำให้ท่านทราบได้ทันทีว่า ฝรั่งเศสใกล้จะโจมตีจะเอาที่มั่นคืนแล้ว


วันรุ่งขึ้น ๑๔ มกราคม หลวงไกรชิงฤทธิ์ผู้บัญชาการกองพลพระนครก็มาตรวจภูมิประเทศ พร้อมกับผู้บังคับกองพันที่ ๓ พันตรีหลวงนิมฯจึงรายงานพร้อมขออนุมัติเคลื่อนกำลังพลออกไปข้างหน้าอีกประมาณ ๔ ก.ม. ผู้บัญชาการกองพลเห็นด้วย แต่เมื่อรายงานขออนุมัติไปทางกองทัพบูรพา กลับถูกสั่งห้ามไม่ให้หน่วยนี้เคลื่อนที่โดยเด็ดขาด เพราะจะผิดแผนที่กองทัพวางไว้

แต่ผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็สั่งประชุมนายทหารบอกว่า เราอยู่ที่นี่ไม่ได้แล้ว ข้าศึกรู้ภูมิประเทศดีและคงกำหนดเป้าหมายไว้หมด ถ้าขืนถูกโจมตีเราจะเสียเปรียบมาก ดังนั้นกองพันที่๓จึงเคลื่อนกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ เดินเท้าไปทางตะวันออกห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ ก.ม.แล้ววางกำลังเรียงรายลงในห้วยแห้งที่หมายตาไว้แล้ว  ลำห้วยนี้ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง เป็นที่มั่นตามธรรมชาติแนวรูปตัวยู เหมาะสมที่สุดสำหรับจะใช้เป็นพื้นที่สังหาร ทหารทุกคนเข้าที่ วางปืนกลหนักไว้ที่ก้นตัวยู แล้วทั้งกองพันถูกกำชับให้อยู่ด้วยความสงบ  จะยิงพร้อมกันเมื่อได้รับคำสั่ง และให้ยิงตามแผนการยิงเท่านั้น ใครถูกกำหนดให้ยิงไปทางทิศใดก็ให้ยิงไปโดยเฉพาะทิศที่ว่า  ถ้าทำเช่นนี้ในทางทฤษฎีบอกว่าพื้นที่สังหารจะไม่มีจุดอับกระสุนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว


ไหนๆก็เข้ามาแล้ว ฝากท่านอาจารย์ใหญ่กรุณาตอบหน่อยครับ ชื่อหลวงไกรชิงฤทธิ์นี้ ผมฟังจากเครื่องบันทึกเสียง พลเอกพรไม่ได้ระบุยศและชื่อสกุลของท่านไว้ด้วย ผมค้นแล้วในพ.ศ.๒๔๗๕  ปรากฏชื่อนายทหารระดับผู้บังคับกองพันชื่อพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พุฒ วินิจฉัยกุล) ถามว่า คือบุคคลเดียวกันใช่หรือไม่ ๙ปีผ่านไป ท่านเลื่อนจากผู้บังคับกองพันมาเป็นผู้บัญชากองพลหรือเปล่า ยศในขณะนั้นคืออะไร

ผมไม่ได้ไปตีกอล์ฟหรอกครับ แต่ค่ำนี้จึงจะมีเวลากลับมาดูกระทู้




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:04


ไหนๆก็เข้ามาแล้ว ฝากท่านอาจารย์ใหญ่กรุณาตอบหน่อยครับ ชื่อหลวงไกรชิงฤทธิ์นี้ ผมฟังจากเครื่องบันทึกเสียง พลเอกพรไม่ได้ระบุยศและชื่อสกุลของท่านไว้ด้วย ผมค้นแล้วในพ.ศ.๒๔๗๕  ปรากฏชื่อนายทหารระดับผู้บังคับกองพันชื่อพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พุฒ วินิจฉัยกุล) ถามว่า คือบุคคลเดียวกันใช่หรือไม่ ๙ปีผ่านไป ท่านเลื่อนจากผู้บังคับกองพันมาเป็นผู้บัญชากองพลหรือเปล่า ยศในขณะนั้นคืออะไร

คนละคนกันค่ะ   

พันตรีหลวงราญรณกาจ (พุฒ วินิจฉัยกุล) เสียชีวิตจากกระสุนของนายตำรวจที่บุกเข้าไปยิงทิ้งในบ้าน ต่อหน้าลูกเมีย  ในการจับกุมกวาดล้างปรปักษ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ โดยรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2482   ส่วนสมรภูมิบ้านพร้าวเกิดในเดือนมกราคม 2484 ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:40

เริ่มเรื่องสงครามอินโดจีน  
ถ้าจะค้นคำนี้ในกูเกิ้ล  พิมพ์คำว่า The French-Thai war  ลงไปนะคะ   อย่าใช้คำว่า Indochina war  เพราะจะเจอเข้าหลายสงคราม ไม่รู้ครั้งไหนเป็นครั้งไหน   เนื่องจากสงครามในอินโดจีนมีหลายครั้งมาก

ถ้าอ่านกระทู้เก่าๆของเรือนไทย ในห้องประวัติศาสตร์   ของท่าน Navarat.C  มีอยู่หลายกระทู้ด้วยกัน   ใครสนใจลองเลือกจากชื่อเจ้าของกระทู้     ก็จะมองเห็นภาพว่าหลังจากรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามได้กวาดล้างฝ่ายอำนาจเก่าหมดไปตั้งแต่พ.ศ. 2482 แล้ว    นโยบายต่อจากนั้นก็คือสร้างไทยให้เป็นมหาอำนาจ      ว่ากันว่ามาจากแนวนิยมทางฝ่ายตะวันตก  จุดประกายขึ้นจากผู้นำดาวรุ่งพุ่งแรง อย่างฮิตเลอร์และมุสโสลินี   ที่รุ่งเรืองกันอยู่ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

นโยบายหนึ่งที่รัฐบาลนำมาใช้ก็คือการปลุกใจประชาชนด้านชาตินิยม    
ความคิดแนวชาตินิยม  คือจูงใจประชาชนสามัคคีเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียว   เพื่อรวมพลังให้พุ่งไปทางเดียวกันตามผู้นำ      จอมพลป. คิดต่อไปว่า รวมพลังประชาชนในประเทศยังไม่พอ   แต่ควรรวมกำลังจากประเทศใกล้เคียงที่เคยเป็นของไทยด้วย  เพื่อเพิ่มความเป็นมหาอำนาจให้ไทย    และสามารถหยิบยกประเด็นมาก่อความฮึกเหิม เพื่อรวมพลังได้ง่าย
เมื่อจะทำอย่างนี้ก็ต้องข้ามกำแพงแห่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ไปเสียก่อน จึงจะได้ผล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:53

ก่อนหน้านโยบายชาตินิยมที่ว่ามานี้       คนไทยเรามักจะมองว่าลาวก็คือประเทศลาว เขมรก็คือประเทศเขมร    ถึงแม้ว่าติดต่อคบหาสมาคมกันมานานหลายร้อยปี   ดีกันบ้าง รบกันบ้าง  แต่ก็ไม่ได้ปะปนเป็นหนึ่งเดียวกัน      แต่เมื่อนโยบายใหม่ก่อตั้งขึ้นมา    ความพยายามจะสร้างสำนึกให้คนไทยเห็นว่าลาวและเขมรไม่ใช่แค่เพื่อนบ้านก็เกิดขึ้น  

แนวคิดเห็นได้จากผลงานของคุณหลวงวิจิตรวาทการ  ผู้เป็นมือขวาของจอมพลป.หลายๆด้าน  โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรม    เขมรกับไทยถูกปูพื้นมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ในบทละครประวัติศาสตร์เรื่อง ราชมนู
ในบทละคร พระราชมนู พระเอกของเรื่องซึ่งมีบทบาทเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร   ก็มีบทพูดตอนหนึ่งว่า

"เขมรกับไทยก็รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน.....ก็ใครที่ไหนกันเล่า ก็ไทยเราทั้งนั้น เผอิญมาตกอยู่ในถิ่นของขอมโบราณ ก็เลยมีชื่อว่า “เขมร” ไป ซึ่งเขมรเป็นชื่อสมมติแท้ๆ ที่จริงก็ไทยพี่น้องของเราทั้งนั้น”

ถ้าตีความตามนี้  "ขอม" กับ "เขมร" ก็คนละพวกกัน
 “ขอม” หมายถึงคนโบราณเผ่าหนึ่งที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชา  ก่อนหน้าที่คนไทยจะอพยพย้ายถิ่นจากเทือกเขาอัลไตเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแหลมทอง
ส่วน“เขมร” นั้นเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลัง ใช้เรียกคนไทยที่อพยพจากตอนใต้ของจีนเช่นกัน แต่ว่าแยกทางไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนของขอม
สรุปจากพระราชมนูว่า ขอมกับไทย เป็นคนละพวกคนละเหล่า   แต่ว่าเขมรกับไทย เป็นพวกเดียวกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 16:03

แนวคิดว่าเขมรกับไทยมิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน พบได้อีกครั้งในละครประวัติศาสตร์เรื่อง พ่อขุนผาเมือง ของคุณหลวงวิจิตรฯ เช่นกัน ใน พ.ศ. 2483
เรื่องนี้นางเอกคือนางสิขร เป็นเจ้าหญิงเขมร  มเหสีของพ่อขุนผาเมือง   มีบทพูดตอนหนึ่งว่า
  ควรจะเห็นว่าเขมรก็คือไทย                      เลือดขอมหมดไปเสียนานแล้ว
ขอมโบราณป่านนี้มีแต่ชื่อ                          เขมรคือไทยแท้ทั้งเชื้อแถว
เพราะไทยแตกแยกไปเป็นหลายแนว             ทั้งญวนแกวและเขมรล้วนเป็นไทย
ดูซิ หน้าตาและผิวพรรณ                          เราผิดแผกแปลกกันที่ตรงไหน
นับตั้งหลายหลายร้อยปีที่เลือดไทย              เข้าอยู่ในเลือดเขมรเป็นชาติเดียว
อันที่จริงเขมรไทยชาติทั้งสอง                    ก็คือพี่คือน้องที่ข้องเกี่ยว
ควรผูกมิตรสนิทสนมให้กลมเกลียว              เหมือนพี่น้องท้องเดียวกันโดยแท้
   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 16:28

ในเมื่อเขมรกับไทยเป็นพี่น้องกัน  แต่ตอนนั้นเขมรตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศส    ฝรั่งเศสจึงถูกยกขึ้นมาเป็นผู้ร้าย  มิใช่ว่ามีอำนาจเหนืออย่างเดียว  แต่ชี้ให้เห็นว่า กดขี่ข่มเหงบีบคั้นเอาเปรียบเขมรด้วย
หลวงวิจิตรวาทการได้เปรียบเทียบน้ำในแม่น้ำโขงว่า
"คือน้ำตาของเราชาวไทย พวกเราในฝั่งนี้เป็นอิสสระเสรี แต่พี่น้องเราทางฝั่งโน้นถูกกดขี่ข่มเหงอยู่ทุกวัน"

ในหนังสือเรื่อง Thailand’s Case (พ.ศ. 2484)   หลวงวิจิตรวาทอธิบายเชิงประวัติศาสตร์ว่า  ชาวกัมพูชา (The Cambodians) กับขะแมร์ หรือขอม (The Khmer) เป็นคนละพวกกัน
ขะแมร์หรือขอมมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอล   ชาวขอมอพยพตามชาวอินเดีย (The Indians) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของอ่าวเบงกอล  เข้ามาในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ตั้งแต่ราวๆ 2,000 ปีก่อน  ขอมและอินเดียผสมผสานวัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์นานนับหลายศตวรรษ  กลายมาเป็นเผ่าพันธุ์ใหม่ที่มีอำนาจปกครองดินแดนส่วนที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน     และเป็นผู้นำวัฒนธรรมฮินดูเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ด้วย

ต่อมาอีกประมาณ 500 ปี   มีชาวเอเชียอพยพอีกเผ่าหนึ่งเรียกว่าชาวไทย (The Thai) อพยพจากทางใต้ของจีนลงมาในสุวรรณภูมิ (Suvarna Bhumi) หรือแหลมทอง (The Golden Peninsula) ซึ่งขอมแผ่อิทธิพลเข้ามาถึง   เจ้าของถิ่นใหม่รุ่งเรืองขึ้นมาแทนเจ้าของถิ่นเดิม  เกิดจากผสมผสานทางสายเลือดและวัฒนธรรมยาวนานหลายศตวรรษ     ชาวขอมก็ค่อยๆ กลายเป็นไทย แยกกันไม่ออกทั้งรูปร่างหน้าตาและนิสัยใจคอ

ในพุทธศตวรรษที่ 16  หรือประมาณเก้าร้อยปีมาแล้ว  คำว่าขะแมร์หรือขอมก็เลือนหายไป  คำเรียกใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาคือ“กัมพูชา (Cambudju)” มีความหมายว่า “เกิดอยู่ในแผ่นดินทอง”   การเกิดของ “กัมพูชา” หมายถึงจุดสิ้นสุดของเชื้อชาติเขมรเดิม (The old Khmer Race) และเป็นจุดเริ่มต้นของคนกลุ่มใหม่ที่มีเลือดไทยผสมประมาณร้อยละ 90”
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 20 คำสั่ง