เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 123826 ละเลงเลือด(ฝรั่งเศส)ที่สมรภูมิบ้านพร้าว
Siwawuth
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 18:14

แต่ลองเอาฝีไม้ลายมือที่เขียนมาอวดเป็นหนังตัวอย่างสักหน่อยจะได้หรือไม่นะครับ


ตามนี้เลยครับ
http://upic.me/i/bz/pic868.png

ปล. เพิ่งเข้ามาใหม่ อาจจะยังไม่รู้วิธีปฏิบัติตนในเว็บนี้ ต้องขออภัย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:23

อ้างถึง
รายละเอียดเกือบไม่ต่างจากบันทึกของพ.อ.นิ่ม ชโยดม แต่มีเพิ่มอะไรขึ้นบ้าง   เช่นเรื่องทหารฝรั่งเศสหนีอ้าวกลับไปศรีโสภณตามคำให้การของนายเนตเจ้าของนาแถวนั้น

ผมเคยเห็นเรื่องตามสำนวนนี้แล้ว และเอามากลั่นกรองเทียบเคียงกับสำนวนอื่นๆ รวมทั้งฝ่ายฝรั่งเศสด้วย โดยให้น้ำหนักไปที่ปากคำของพลเอกพรฯ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์จริงๆ ย้อนกลับไปอ่านก็ยังคงสอดคล้องกันอยู่ อะไรที่ต่างกัน เช่นมีหมามาดมกลิ่นหรือไม่มี ผมก็ใส่ไว้ทั้งสองสำนวน เรื่องทหารฝรั่งเศสวิ่งแข่งกันหนีอ้าวไปศรีโสภณก็มี

อ้างถึง
นับตั้งแต่เสียงปืนนัดแรกระเบิดจนเงียบสงบลงในยกแรกนับเวลาแล้วไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่การรบวันนั้นยังไม่ยุติ
เหตุการณ์ทางบ้านยางที่เสียงปืนดังขึ้นก่อนหน้านั้น พันตรีวุฒิ วีระบุตรผู้บังคับบัญชากองทัพทหารราบที่๑ รักษาพระองค์ซึ่งตั้งอยู่ในที่มั่น คิดว่าเป็นแค่กลลวงของฝรั่งเศสว่าจะเข้าตีแต่ความจริงแล้วจะตีบ้านพร้าว เพราะยังยิงกันแค่เปาะแปะ พอได้ยินเสียงปืนดังขึ้นปานโลกาพินาศทางทิศใต้ เสียงปืนของฝ่ายบุกก็เงียบไป  ทหารไทยที่บ้านยางรอแล้วรออีกไม่เห็นมีใครบุกเข้าโจมตีจริงๆ  ก็จะบุกอะไรได้เล่า กองกำลังผสมเซ ชื่อมันก็ไม่เป็นมงคลอยู่แล้ว บรรดาทหารพื้นเมืองญวนเขมรพอได้ยินเสียงปืนของไทยหนักแน่นเขย่าประสาทเข้าเท่านั้น ก็รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง รู้กลางๆว่าเผ่นดีกว่า นายทหารฝรั่งเศสเห็นลูกน้องวิ่งก็วิ่งตามบ้าง ในที่สุดก็ตะโกน ซีโส่โพ้น  ซีโส่โพ้น ให้ไปเจอกันที่ศรีโสภณเลย

ส่วนการบ้านของคุณศิวาวุธ ผมจะเริ่มทยอยส่งครับ
ขอบคุณที่ส่งฝีไม้ลายมือมาให้ดู

เดี่ยวนี้ถ้าหน้าตาไม่ออกไปทางเกาหลีหรือญี่ปุ่น คงไม่ได้แสดงทั้งหนัง ทั้งละคร รวมไปถึงหนังสือการ์ตูนด้วยนิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:25

ปืนเล็กที่เข้าประจำการในเมืองไทยสมัยช่วงก่อนสงครามอินโดจีนฝรั่งเศสเท่าที่ผมหาได้มีดังนี้

ปืนพก

แบบ ปพ. ๔๔ ก. หรือปืน FN/Browning M1900 ผลิตโดยบริษัท FN ประเทศเบลเยียม .ใช้กระสุน 7.62x17 mm. SR (.32 ACP)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:31

แบบ ปพ. ๔๔ ข. หรือปืน Browning M1910 ผลิตโดยบริษัท FN ประเทศเบลเยียม .ใช้กระสุน 7.62x17 mm. SR (.32 ACP)  ระยะหวังผล 15-25 ม. ระยะยิงไกลสุด 50 เมตร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:32

แบบ ปพ.๗๙  หรือปืน Colt .38 Super ผลิตโดยบริษัท Colt  USA ใช้กระสุนขนาด .38 Super


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:34

แบบ ปพ.๘๐  หรือปืน Star Model ผลิตโดยบริษัท Star Bonifacio Echeverria S.A. ประเทศ Spain ใช้กระสุนขนาด 9x19mm.  Parabellum ระยะหวังผล 50 ม. ระยะยิงไกลสุด 1,000 ม. ความจุ 9 นัด  

ปืนชนิดนี้ไทยได้ทำสัญญาสั่งซื้อเครื่องจักรทั้งสายการผลิตแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๘ กะว่าจะมาทำเองภายใต้สิทธิบัตร แต่โรงงานยังไม่ทันเสร็จก็เกิดสงครามกลางเมืองในเสปญ บริษัทคู่สัญญาถูกถล่มราบเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:36

ในฐานะนักเรียนเหลวไหล รอป้อน  ทุกข้อมูลของท่านอาจารย์ไม่มีคำว่าช้าไปหรอกครับ

พูดถึงเรื่องเครื่องบินทิ้งระเบิดมาร์ติน  หลายปีก่อนเคยซื้อหนังสือเก่าที่ผู้เขียนเคยเป็นพลปืนหลังเครื่องบินทิ้งระเบิดไทย
ท่านเล่าตั้งแต่การเปิด ร.ร. พลปืนหลัง ไปสมัครเรียน การเรียน และการปฏิบัติหน้าที่ จนถึงอุบัติเหตุที่ทำให้เราต้องเสียทั้งเครื่องบินและนักบินหลายหน
แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นช่วงสงครามอินโดจีนหรือช่วงสงครามโลกที่เราไปยันกับจีนแถวเชียงตุง  น่าเสียดายว่าตอนนี้อยู่ ตปท ไม่อาจเป้นนักเรียนดีไปค้นหาหนังสือเล่มนี้มาได้ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:39

จำชื่อคนเขียนได้ไหมครับ
พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์หรือเปล่า ผมกำลังหาหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน จำได้แน่ๆว่าท่านดังมาจากเจ้ามาร์ตินนี้แหละ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:43

มีปืนพกอีกหลายแบบที่ทางราชการทหารสั่งเข้ามาแต่ผมหาไม่พบว่ามีการขึ้นทะเบียนเรียกชื่อระหัสแบบไทยหรือไม่ แต่ก็สั่งเข้ามาจำนวนไม่มากนัก จึงอาจจะไม่ใช่ปืนที่นำเข้าสู่สงครามกับฝรั่งเศสครั้งนี้โดยตรง

เช่น
Mauser C-96 “Broomhandle” ปืนเยอรมัน หรือคนไทยให้ฉายาว่าเมาเซอร์ต่อด้าม คือตัวมันแท้ๆเป็นปืนพก แต่ถ้าเอาด้ามมาต่อก็ประทับบ่ายิงได้เลย แม่นยำขึ้นมาก ตำรวจไทยสมัยหนึ่งถ้าไม่มีเมาเซอร์ต่อด้ามประดับเอว ก็ไปรำจราจรห้ามรถดีกว่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:47

Nambu Bottlenecked หรือ นัมบุคอขวด เป็นปืนพกของญี่ปุ่นที่ลอกแบบลูเกอร์ปืนเยอรมันแบบซื้อสิทธิบัตร  สยามสั่งเข้ามาใช้ก่อนสงครามฝรั่งเศสเพียง๕๐๐กระบอก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:51

ปืนพกเอาเท่านั้นก็พอนะครับ

ต่อไปเป็นปืนเล็กยาว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:53

แบบ ปลย. ๖๖ หรือปืนพระรามหก สมัยรัชกาลที๖  ในปีพ.ศ. ๒๔๖๖ ได้มีการสั่งซื้อปืนอาริซากะ (Arisaka) ซึ่งเป็นปืน Mauser M1923 ของเยอรมันแต่ผลิตโดยญี่ปุ่นเข้ามา โดยสยามขอให้ปรับเปลี่ยนกระสุนจากขนาด 8x50 มม.เป็นขนาด 8x52 มม.(หรือที่ฝรั่งวงการปืนจะเรียกว่า 8x52 mm. R Siam Mauser Type 66 เพราะใช้อยู่ประเทศเดียว) ซึ่งเป็นกระสุนแบบหัวแหลม เพื่อไม่ให้ปืนติดขัดง่ายเวลาป้อนกระสุนเข้ารังเพลิง


ปืนพระราม๖นี้อยู่ยงคงกระพันมาก กองทัพใช้เป็นปืนหลักในสงครามอินโดจีน เรื่อยมาจนสงครามโลกครั้งที่๒  ผมเรียนร.ด.ปี๑ เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗ ครูฝึกทหารยังเอาปืนแบบนี้มาให้ฝึกหัดอยู่เลย หลังปลดประจำการ(ไม่ทราบเมื่อไหร่) คงมีการประมูลขายออกมาและไปดังในตลาดปืนสะสมของอเมริกาพอดู


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 20:57

แบบปลย. 45/66 และปลส. 47/66  เป็นปืนเล็กยาวที่ซื้อมาก่อนหน้านี้มีชื่อว่า ปลย.45 และปลส. 47  ได้ถุกนำมาคว้านรังเพลิงเพื่อใช้กับกระสุน8x52 mm. R Siam Mauser Type 66 แบบใหม่นี้ด้วย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 21:22

ปืนกลเบา

แบบ ปกบ.66  หรือปืนเมดเสน Madsen light machine gun 7.92m.m. เป็นปืนชั้นดีของเดนมาร์กที่ใช้กันแพร่หลายทั่วดลกเหมือนกัน อัตราการยิง 450 นัดต่อนาที ซองกระสุนบรรจุ 25 30 40 นัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 26 ก.พ. 12, 21:26

ปืนกลหนัก
 
ปกน. แบบ66 หรือปืนกล Browning M1917 ผลิตโดยบริษัท Colt ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้กระสุนขนาด .30-06 Springfield (7.62x63 mm.) ระบบปฏิบัติการแบบ Recoil operated automatic อัตราการยิง 450 นัด/นาที ระบายความร้อนด้วยน้ำ บรรจุกระสุนด้วยสายกระสุนผ้าใบ 250 นัด


สยามสั่งเข้ามาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๔๖๖ และได้นำออกมาใช้ฆ่ากันเองสมัยกบฏบวรเดชในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ ครั้งนึงครับ แล้วก็เก็บไว้ต่อ จนได้ใช้รบกับฝรั่งเศสเหมือนกัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 20 คำสั่ง