เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 14:09
|
|
ขอลองดูค่ะ ผิดถูกอย่างไรคงมีคนมาแก้ไขให้เอง สี่บรรทัดแรก เป็นคำประกาศเกียรติคุณจากพลตรี Mordant ผูับัญชาการสูงสุดของกองทัพฝรั่งเศสแห่งอินโดจีน ที่มอบให้กองพันทหารต่างด้าว(ที่ว่านี่แหละค่ะ)
เนื้อหาคำประกาศคือ
กองพันทหารต่างด้าวใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับกองพันเบลโล่ค ได้แสดงคุณสมบัติอันห้าวหาญและวิญญาณนักสู้เป็นอย่างดี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ณ สมรภูมิบ้านพร้าว เมื่อถูกโจมตีด้วยข้าศึก ที่มีกำลังเหนือกว่าหลายเท่า พร้อมด้วยอาวุธหนักและรถถัง โดยยืนหยัดต่อสู้อยู่ได้นานกว่าแปดชั่วโมง หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือด ก็สามารถยันข้าศึกไว้ได้สำเร็จ แสดงให้ประจักษ์ถึงศักดิ์ศรีสมเกียรติยศในการรบ ด้วยเหตุนี้จึงสมควรได้รับเหรียญกล้าหาญ ชั้นดาราทอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 14:38
|
|
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เทาชมพูมากครับ
เนื้อหาคงไม่ผิด แต่ผมสงสัยว่าผู้พันเบลโล่คจะทำหน้าอย่างไรเวลาเอาธงผืนใหม่ไปให้นายติดเหรียญ
อย่างนี้เองที่กองทัพฝรั่งเศสจะถูกชาติฝรั่งอื่นๆดูถูกอยู่เสมอว่าเป็นไอ้ขี้แพ้ พอรบเดี่ยวทีไรมักจะชนะไม่เป็น แต่ชอบวางตัวอยู่ในกลุ่มผู้พิชิตเสมอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 15:00
|
|
ในคำประกาศเกียรติคุณเหรียญกล้าหาญของฝรั่งเศส ได้อ้างตอนหนึ่งว่า กำลังรบของไทยเหนือกว่าฝรั่งเศสหลายเท่าตัว ดิฉันไม่ทราบว่าที่บ้านพร้าว จำนวนทหารของเรามากกว่าเขาแค่ไหน แต่ไปเจอในวิกิ เปรียบเทียบกำลังกองทัพของไทยกับฝรั่งเศส(คงจะหมายถึงยอดรวมทั้งหมด)ตามนี้
ไทย กำลังพล 60,000 นาย • รถถัง 134 คัน • เครื่องบินรบ 140 ลำ • เรือรบ 18 ลำ
ฝรั่งเศส • กำลังพล 50,000 นาย • รถถัง 20 คัน • เครื่องบินรบ 100 ลำ • เรือรบจำนวนหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 15:44
|
|
ตารางเปรียบเทียบ กองกำลังผ่ายฝรั่งเศสและไทย ในการรบที่สมรภูมิบ้านพร้าวครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 16:01
|
|
ขอบคุณค่ะ ผลต่อจากนั้น คือชัยชนะที่คนไทยทั้งประเทศคงจะยินดีปรีดากันมาก?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 17:31
|
|
มารายงานตัวครับ วันนี้เข้ามานี่รอบสองแล้ว
กองทัพฝรั่งเศสนี่ตั้งแต่หลังยุคนโปเลียนแล้ว ดูเหมือนชื่อเสียง กิตติศัพท์ด้านการรบแทบจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นหรือเผยแพร่ในวงกว้างเลย อย่างสงครามโลกครั้งแรก ทหารฝรั่งเศสมีบทบาทมาก แต่ในเอกสาร นิยาย หนัง หรือหนังสือเกี่ยวกับสงคราม ทั้งนิยาย ทั้งตำรา บทบาทของทหารฝรั่งเศสเหมือนจะหายไป หรือมีบทบาทแค่เป็นตัวประกอบ มีแต่เรื่องราวของทหารอังกฤษ เยอรมัน หรืออเมริกันที่เข้ามาตอนหลังให้อ่านหรือรับรู้มากกว่า
ยิ่งสงครามโลกครั้งที่สอง เรื่องของทหารโปแลนด์ยังมีให้รับรู้มากกว่าทหารฝรั่งเศสมากๆ เลย แปลกใจจริงๆ ที่มีชื่อเสียงกลับเป็นพวกหน่วยใต้ดินฝรั่งเศสมากกว่า แต่บทบาทของกองทัพนี่แทบไม่ปรากฏ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 17:44
|
|
เท่าที่ดูบทบาทของฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ตกเป็นฝ่ายรับ มากกว่ารุก ประเทศสะบักสะบอมจากเยอรมัน เมื่อเยอรมันบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบในเดือนกันยายน ปี 1939 (พ.ศ. 2482) นอกจากอังกฤษแล้ว ฝรั่งเศสเป็นอีกประเทศที่ประกาศสงครามกับเยอมันทันที จากนั้น เยอรมันก็โจมตีฝรั่งเศสอย่างไม่ครั่นคร้ามคำประกาศสงครามแม้แต่น้อย ผ่านมาแค่ถึง 22 มิถุนายน พ.ศ. 2483 19 รัฐบาลฝรั่งเศสก็ยอมแพ้ราบคาบ ทั้งชุดโดนปลดออก เยอรมันตั้งรัฐบาลวิชี ขึ้นเป็นรัฐบาลหุ่น แล้วยึดประเทศไว้ในอำนาจจนถึงพ.ศ. 2487
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 17:46
|
|
แต่ว่าท้ายๆสงครามโลก เยอรมันที่เคยฮึกเหิมกลับล้า อ่อนแรงลง ฝ่ายพันธมิตรที่มีอเมริกาเข้าร่วมรบด้วยกลับเป็นฝ่ายมีชัย โดยเฉพาะในวันที่ 6 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันD-Day. กองทัพพันธมิตรยกพลขึ้้นฝรั่งที่นอร์มังดีได้สำเร็จ แล้วรุกเรื่อยมาจากฝรั่งเศสมุ่งหน้าไปเยอรมัน จนยกพลเข้าครองทางใต้ของฝรั่งเศสได้ เยอรมันกลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
ผลจากสงครามโลก ฝรั่งเศสเสียทหารไปราว 350,000 คนในการรบ และจำนวนประชากรเกือบห้าแสนคนเสียชีวิตไปด้วยเหตุต่างๆจากสงคราม
ทางอินโดจีน ดวงฝรั่งเศสก็ไม่ได้ดีไปกว่าดวงทางยุโรปเท่าไรนัก ดวงไทยดีกว่า ตรงได้ครอบครองอินโดจีนมาส่วนหนึ่ง แต่...พอสิ้นสุดสงคราม ดวงก็พลิกผันกันทั้งสองฝ่ายอีกละค่ะ
รอเจ้าของกระทู้มาเล่าดีกว่า ดิฉันแค่มาอินเทอร์มิชชั่นเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 21:30
|
|
เชิญทุกท่านเลยครับ กระทู้มาในแนวที่ควรแล้ว เราอภิปรายกันบ้างคงจะสนุกสนานขึ้น ผมว่าไปคนเดียวชักจะเปลี่ยวเอกา นั่งฟังท่านว่าน่าจะดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 21:46
|
|
พลเอกพร ท่านเล่าอะไรอีกบ้างไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 01 ก.พ. 12, 21:49
|
|
ขอเวลาเอาเทปมาฟังอีกทีนึงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Diwali
มัจฉานุ
 
ตอบ: 96
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 02 ก.พ. 12, 00:52
|
|
มาลงชื่อไว้ก่อนครับ ว่ายังคงตามอ่านอยู่เสมอ
ตามที่คุณครูผู้บรรยาย เชื้อเชิญให้อภิปราย
ผมขออนุญาตอีกสักสองวันนะครับ ตอนนี้อยู่ต่างประเทศ ตอบไม่สะดวกเพราะไม่มีหนังสืออ้างอิงในมือเลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 02 ก.พ. 12, 07:55
|
|
เสธฯพรเริ่มต้นเล่าว่า ท่านโชคดี จบมาสดๆยังเป็นว่าที่ร้อยตรีอยู่เลยแต่ได้เป็นรักษาราชการผู้บังคับกองร้อย ทั้งที่ตำแหน่งนี้อย่างต่ำต้องเป็นยศร้อยโท อันที่จริงผู้บังคับกองร้อยเขาก็มีอยู่แล้ว ชื่อร้อยโทบุญนำ ตังครัตน์ แต่ผู้บัญชาการกองพล หลวงไกรชิงฤทธิ์ท่านบอกขุนนิมฯผู้บังคับกองพันว่า งานธุรการในกองพลพระนครที่ต้องไปเบิกไปรับของ งานส่งกำลังบำรุงมันยุ่งยากพอสมควร หมวดพรเพิ่งจบมาใหม่ๆทำไม่ได้หรอก ให้หมวดบุญนำเขาอยู่ทำหน้าที่ที่ว่าดีกว่า หมวดพรคุมฝึกทหารในกองร้อยอยู่แล้ว เอาเขานำหมวดไปรบแทนก็แล้วกัน ท่านจึงเป็นคนแรกและคนเดียวในประวัติศสาตร์กองทัพบกที่ได้บังคับบัญชากองร้อยทั้งเป็นยศว่าที่ร้อยตรี
ข้างล่างที่ผมเอามาให้ดูชัดๆนั้น รูปบนที่มีกรอบท่านติดไว้ในห้องของท่าน ผมขออนุญาตถ่ายมาแต่แสงไม่พอพร่าไปหน่อยเลยต้องคัดรูปจากเน็ตมาเสริม เสธฯพรปฏิเสธจะที่รับภาพ”ละเลงเลือด”ซึ่งผมอัดขยายไปให้ แม้ท่านเองเพิ่งจะได้เห็น กล่าวว่าท่านมีภาพนี้ภาพเดียวพอแล้ว ท่านนั่งใกล้กับ ร้อยเอกขุนทอง ไกรจิตติ ผ.บ. ร้อย๔ ผู้แต่แรกก็เข้าใจว่าเป็นท่านขุนอะไรสักอย่าง กว่าจะมีคนบอกว่าขุนทองเป็นชื่อที่คนยืมนกมาใช้ ไม่ใช่บรรดาศักด์ คนนั่งกลางคือพันตรี ขุนนิมมาณกลยุทธ์ (นิ่ม ชโยดม) ผ.บ. พัน ถัดไปร้อยเอกอัมพร เสือไพฑูรย์ ผ.บ. ร้อย๒ คนดังอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้สั่งยิงกระสุนนัดแรกและคุมหมวดตามไปยึดธงไชยเฉลิมพลของข้าศึกได้ คนสุดท้ายที่นั่งอยู่คือร้อยเอก อุดม วรรณศิริ ผ.บ.ร้อย๑ ส่วนข้างหลังเป็นพวกนายดาบ ท่านรู้จักคนเดียวคือนายดาบชิต ลูกน้องผู้ช่วยคุมทหารในกองร้อย “..อายุมากแล้ว ผมก็ให้ความเคารพท่าน”
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 02 ก.พ. 12, 08:12
|
|
หลังการรบยุติลง ขุนนิมฯท่านโดนเล่นงานว่าปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่ง “มีคนในกองบัญชาการต่อว่ามากมาย บางคนก็บอกว่าต้องลงโทษ ต้องอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง แต่หลวงไกรฯท่านไม่ เพราะว่าท่านก็ชอบ”
พันโท หลวงไกรชิงฤทธิ์ ผู้บัญชาการกองพลพระนครท่านเห็นด้วยแต่แรกว่า ถ้าข้าศึกกำลังมากมายข้ามห้วยมาได้ ร.พัน๓ของเราก็คงแหลกไปแล้ว พวกที่โกรธคือพวกเสนาธิการที่อยู่หน่วยเหนือขึ้นไป
“ถ้าแพ้ พวกเราคงต้องโดนลงโทษรุนแรงแน่ แต่นี่ข้าศึกก็ตายมากมาย ยึดรถถังมาได้ตั้ง๖คัน ความจริงมันก็ถูกของเขา ถ้าเราทิ้งทีมั่นเดิมที่เขาวางไว้แล้วไปพลาดท่าเสียบ้านพร้าว แนวรับของเราที่เชื่อม บ้านยาง โพธิ์สามต้น ไปทางศรีโสภณคงแตก”
พอทางกรุงเทพทราบข่าว พลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดก็รีบเดินทางมาติดเหรียญกล้าหาญให้แก่ธงไชยเฉลิมพลของร.พัน๓ และติดเหรียญชัยสมรภูมิให้กับทหารในกองพันทุกคน
เสียงตำหนิก็เลยเงียบไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 02 ก.พ. 12, 08:31
|
|
รถถังที่ว่า ฝรั่งเศสทิ้งไว้ให้ทหารไทยยึดง่ายๆ ดูหุ่นแล้ว สงสัยจะวิ่งช้ากว่าคนขับที่ห้อยหลวงพ่อโกย
รัฐบาลทหารของไทยเอามาจอดให้ประชาชนชมที่ "....อาไรน๊า..ใกล้ๆกับพระที่นั่งอนันต์น่ะ"
"พระตำหนักสวนกุหลาบ" ผมช่วยท่านนึก คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นภาพพระตำหนักอยู่เบื่องหลังแถวรถถังเหล่านี้
"ไม่ใช่ ไม่ใช่ อีกสวนนึง"
"สวนอัมพร?"
"สวนอัมพร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|