NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 29 ม.ค. 12, 07:08
|
|
ผมจะไม่ขอกล่าวถึงในส่วนของลาว และในส่วนของภาคพื้นทะเลและชายฝั่งอินโดจีนอื่นๆ จะขอเน้นเฉพาะจุดที่จะดำเนินเข้าสู่หัวข้อเรื่องที่จ่าหน้าไว้
เมื่อประเมินแล้ว ฝรั่งเศสให้น้ำหนักกับการป้องกันเขมรมากกว่าด้านลาว อาจจะเป็นลักษณะของภูมิประเทศด้วย การบุกทะลุทลวงของไทยน่าจะปฏิบัติในเขมรแล้วได้ผลกว่าในลาวที่เต็มไปด้วยป่าเขากว้างใหญ่ไพศาล การป้องกันชายแดนลาวที่ติดกับไทย ฝรั่งเศสจึงส่งหน่วยทหารญวนไปรบโดยมีหน่วยทหารของฝรั่งเศสไปควบคุมอีกทีหนึ่ง เป็นกองกำลังผสมที่ไม่ใหญ่โตนัก ผมอ่าน“ข่าวทหาร”ของไทย บางเรื่องเห็นแปลกๆว่า พอปะทะกันสักพัก ทหารญวนก็ล่าถอย ทหารฝรั่งเศสก็เลยยิงทหารญวนอีกทีหนึ่ง นึกว่าคุณหลวงคนใดไม่ทราบทำสงครามจิตวิทยา นั่งเทียนเขียนขึ้นกระมัง แต่พอมาเจอเรื่องกบฎเยนไบ๋ว่าฝรั่งเศสไม่ค่อยจะไว้ใจทหารญวน ก็เห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีเค้า พอจะเป็นไปได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 29 ม.ค. 12, 07:09
|
|
เขมรนั้น ฝรั่งเศสเชื่อว่าไทยจะต้องบุกจากอรัญประเทศ มุ่งสู่พระตะบองแน่นอน เขมรส่วนนั้นเคยเป็นของไทยมาช้านานและยังมีคนไทยเชื้อสายเขมรอยู่มาก เวลาอ่าน“ข่าวทหาร”ว่าทหารฝรั่งเศสปล้นฆ่าราษฎรและพระสงฆ์องค์เจ้าระหว่างมารบเที่ยวนี้ หรือเอาพระพุทธรูปมาตั้งเป็นเป้าซ้อมปืน ก็เห็นว่าพอจะเป็นไปได้เช่นกัน พวกทหารต่างด้าวนี้พอเห็นว่าถ้ารบแพ้แล้ว ดินแดนส่วนนี้ไทยจะได้ไป ก็เลยถือโอกาสปล้นสดมภ์หาอะไรติดตัวไปเป็นโบนัส ดีกว่ากลับบ้านมือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 29 ม.ค. 12, 07:12
|
|
เพื่อป้องกันเขมร ฝรั่งเศสแบ่งกำลังเป็น๙ทัพ เอาทหารฝรั่งเศสแท้ๆและทหารต่างด้าว พร้อมด้วยสรรพาวุธที่ดีที่สุดไว้๒ทัพ ตั้งชื่อตามชื่อย่อของนายทหารที่เป็นผู้บัญชาการ คือกองกำลังผสมเจ(J) กองกำลังผสมเอ็น(N) นอกนั้นตั้งชื่อตามเมืองที่ไปตั้งอยู่ คือ ปากเซ (Paksé District) สตรึงเตรง (Stung Treng District) กำปงธม (Komphong Thom District) กระลัญ (Kralanh District) และส่วนชายฝั่งด้านใต้ (Southern Coastal Sector)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 06:12
|
|
กองกำลังของฝรั่งเศสทั้ง๙ทัพดังกล่าวข้างต้น มีนายพล เดอ ฮองดิเช (General de Rendiger) ผู้บัญชาการภาคโคชินจีน-กัมพูชา(Division Cochinchine-Cambodge) เป็นแม่ทัพ ในบรรดาทหารทั้ง๙หน่วย กองกำลังผสมเจ ( Groupement J ) ซึ่งพันเอก แจโคมี่ (Commander : Colonel Jacomy) เป็นผู้บัญชาการนั้น ถือหมัดเด็ดที่ฝรั่งเศสกะจะน๊อคกองทัพบูรพา เพราะได้รวมกองพันอันมีชื่อเสียงราวกับพระเอกของกรมทหารต่างด้าวไว้ด้วย แล้วยังพรั่งพร้อมด้วยกองกำลังสนับสนุนมากมาย ผมจะขอแจกแจงเฉพาะหน่วยนี้เท่านั้น หน่วยอื่นๆจะไม่เอามารกกระทู้
กองพันทหารราบสี่กองพัน ได้แก่ กองพันที่๓ กรมทหารต่างด้าวที่๕ ผบ.พันตรี เบลโล่ก III/5e REI (Régiment Etranger d'Infanterie - Foreign Infantry Regiment) Commander : Major Belloc
กองพันที่๓ กรมทหารราบอาณานิคมที่๑๑ ผบ.พันตรี โฟโล III/11e RIC (Régiment d'Infanterie Coloniale - Colonial Infantry Regiment) Commander : Major Faulot
กองพันที่๒ กรมผสมทหารราบอาณานิคมที่๑๖ ผบ.พันตรี เฟรเมอเร II/16e RMIC (Régiment Mixte d'Infanterie Coloniale - Colonial Infantry Regiment) Commander : Major Rémery
กองพันที่๔ กรมทหารราบผสมอาณานิคมที่๑๙ ผบ.พันตรี เกเลเนค IV/19e RMIC (Régiment Mixte d'Infanterie Coloniale - Mixed Colonial Infantry Regiment) Commander : Major Quelennec
อาวุธประจำกองพันก็มีปืนยิงเร็วประจำกายของทหาร ปืนกลเบาประจำกองร้อย และปืนครก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 06:13
|
|
หน่วยสนับสนุนการรบ
Détachement Motorisé de Cochinchine (DMC - Cochinchina Motorised Detachment) Commander : Captain Aguesse หน่วยยานยนต์แห่งโคชินจีน ผบ.หน่วย ร้อยเอกอาเกสส์ ยุทโธปกรณ์ จักรยานยนต์ รถถังแบบRenault FT17 รถรบแบบ Laffly-White AM50
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 06:15
|
|
I/5e RAC (Régiment d'Artillerie Coloniale - Colonial Artillery Regiment) Commander : Major Belletrude Two 75mm Mle 1897 field gun batteries (motorised) กองพันที่๑ กรมทหารปืนใหญ่อาณานิคมที่๕ ผบ. พันตรีเบลทรูด อาวุธปืนใหญ่สนามแบบ Mle 1897 ๗๕มม.เคลื่อนที่เร็ว ๒ กองร้อย
II/5e RAC (Régiment d'Artillerie Coloniale - Colonial Artillery Regiment) Commander : Major Michel Two 105mm Mle 1928 mountain gun battery, two 75mm Mle 1928 mountain gun batteries กองพันที่๒ กรมทหารปืนใหญ่อาณานิคมที่๕ ผบ. พันตรีมิเชล อาวุธ ปืนใหญ่ภูเขาแบบ Mle 1928 ๗๕มม. ๒ กองร้อย และปืนใหญ่ภูเขาแบบ Mle 1928 ๑๐๕มม. ๒ กองร้อย
Regimental AA platoon/11e RIC Commander : Lieutenant de Pins 20mm Oerlikon AA guns on trucks หมู่ปืนต่อสู้อากาศยาน กรมทหารราบอาณานิคมที่๑๑ ผบ. ร้อยตรีเดอแปนส์ รถปืนกลปตอ.๒๐มม.
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 06:18
|
|
Engineer Company (2 platoons) Commander : Cambon กองร้อยทหารช่าง ๒หมู่ ผบ. กัมบง
ชื่อนายทหารฝรั่งเศสทั้งหมดนี้ ผมสะกดภาษาไทยจากการฟังด้วยหูไทยๆของผม ถ้าคุณโซเดี๊ยก๒๘จะฟังแหม่งๆแล้วข้ามฟากมาช่วยแก้ไข ก็จะยินดีมากครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 15:01
|
|
มาปั่นเรตติ้ง  AA gun อีกรูปหนึ่ง มีคำบรรยายใต้ภาพว่าเป็นปืนต่อสู้อากาศยาน Royal thai army AA gun ready to shoot down Vichy french aircraft during the Franco-Thai War january 1941
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 16:54
|
|
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานของไทย น่าจะเอาไว้คุ้มครองเมืองต่างๆในประเทศ คงมิได้ใช้ในการบุกเขมรน่ะครับ
ทหารฝรั่งเศสทัพที่กล่าวไปแล้วนี้วางกำลังไว้ที่ปอยเป็ต เพื่อควบคุมทางหลวงที่เชื่อมจากชายแดนไทย ผ่านศรีโสภณ พระตะบอง และพนมเปญ ที่ผมเรียกว่าทางหลวงก็เรียกไปตามความสำคัญของมัน แต่ความจริงแล้วแม้สภาพปัจจุบัน ถนนนี้ก็ยังไม่ได้ลาดยางดังที่เห็นในภาพข้างล่างเพราะรัฐบาลเขมรยังไม่มีสตางค์ ดังนั้น ถนนสมัยโน้นจึงน่าจะดีกว่าทางเกวียนนิดนึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 17:02
|
|
บนเส้นทางสายนี้ประมาณ๒๐กิโลเมตรจากปอยเป็ต เรื่องเล่าโดยพ.ท.ชาญ กิตติกูลที่คุณเจียวต้ายกำลังคัดมาลงที่พันทิปเรียกจุดนี้ว่า“โพธ์สามต้น” ฝรั่งเศสได้ตั้งค่ายแบบโบราณขึ้นโดยใช้ไม้ที่โค่นจากป่ามาทำเพนียด แต่ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ก็โดนทหารไทยเข้าโจมตีเสียก่อนดังที่ผมกล่าวไปแล้ว ผมเข้าใจว่าทหารฝรั่งเศสในค่ายนี้ถอนมาจากที่ตั้งค่ายชั่วคราวอยู่ที่บ้านยาง และบ้านพร้าว เหตุที่ได้ไปตั้งอยู่ที่นั่นเพราะเป็นช่องทางยุทธศาสตร์ ใกล้กับช่องโนนหมากมุ่นของไทย ตอนเขมรแตกในสมัยที่เวียตนามส่งทัพมาตีเขมรแดง ราษฎรเขมรก็หนีตายอพยพมาอาศัยแผ่นดินไทยโดยข้ามพรมแดนผ่านช่องโนนหมากมุ่นนี่แหละ ทหารเวียตนามที่ตามตีเข้ามาเกิดปะทะกับทหารไทยก่อนถูกขับไล่ออกไป ยังปรากฏเป็นยุทธการโนนหมากมุ่นมีชื่อเสียงอยู่ ดังนั้นบ้านยางและบ้านพร้าวทางฝั่งเขมรตรงกันข้ามจึงมีความสำคัญที่ฝรั่งเศสทราบดีจึงไปตั้งค่ายทหารไว้ เมื่อไทยส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดจากสนามบินที่วัฒนานคร ไปโจมตีขบวนยานยนต์ทหารฝรั่งเศสที่กำลังถอยจากปอยเป็ต นักบินบันทึกรายงานว่า ได้โจมตีที่ตั้งปืนใหญ่ และค่ายทหารที่สวายจิกด้วย
ผมดูแผนที่แล้ว คำว่าค่ายที่สวายจิกดังกล่าวน่าจะเป็นค่ายที่บ้านยางและบ้านพร้าวนี่เอง และนั่นคงเป็นเหตุผลให้ทหารฝรั่งเศสทิ้งค่าย แต่ไม่วายวางกลไว้ด้วยการติดเป้าเล็งปืนใหญ่ไว้ กะว่าถ้าทหารไทยเข้ามายึดเมื่อไหร่จะได้ถล่มให้พินาศ โชคดี พันตรีขุมนิมฯท่านขยันและรอบคอบ จึงสามารถตรวจพบเป้าดังกล่าวได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 17:17
|
|
พอเสียค่ายโพธิ์สามต้น(เขมร) ฝรั่งเศสก็ไปรวมพลที่ศรีโสภณเพื่อปรับทัพ ทั้งสองฝ่ายพักฟื้นกำลังพลสองสามวันฝรั่งเศสก็พร้อมที่จะบุกตอบโต้ทหารไทยเอาคืนจากที่แพ้กราวรูดบ้าง ฝ่ายเสธฯประชุมกันแล้วก็เลือกเป้าให้โจมตีที่บ้านยางและบ้านพร้าวหลังจากสายรายงานว่าทหารไทยเข้าไปยึดครองพื้นที่ในค่ายแล้วตามแผน หากชนะที่นั่นได้ ฝรั่งเศสก็จะบุกต่อเข้าไทย ผ่านช่องเนินหมากมุ่นเข้าโจมตีอรัญประเทศเลย
กองกำลังผสมเจ ภายใต้การบัญชาการของพันเอกแจโคมี่ ออกคำสั่งให้แบ่งกำลังออกเป็นสองกลุ่ม(Subgroup) กลุ่มเซ ให้พันเอกแคดูดัล(Colonel Cadoudal)เป็นผู้บังคับการ ภารกิจคือโจมตีบ้านยาง (Yeang Dang Khum) กองพันหลักที่จะเข้าตีคือทหารราบอาณานิคม II/16 RMIC และ IV/19 RMIC ซึ่งนักการทหารของฝรั่งเศสเองประเมินว่าเป็นกองทหารที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ขวัญกำลังใจต่ำ(เพราะอาจจะเพิ่งรอดตายจากกระสุนของไทยมาหยกๆ)
กองร้อย III/11 RICซึ่งมีปืนกลหนักติดตั้งบนรถ ได้รับคำสั่งให้เข้าไปตั้งระหว่างทิศใต้ของบ้านยางและทิศเหนือของบ้านพร้าว หน่วยปืนใหญ่ และรถรบให้พร้อมอยู่ในที่ตั้ง รอฟังคำสั่ง ส่วนตัวพันเอกแจโคมี่เอง รับบทสำคัญโดยจะนำกองพันทหารต่างด้าวที่ดีที่สุดคือ III/5 REI เข้าตีบ้านพร้าวทางด้านตะวันออก กะจะเป็นพระเอกในศึกแก้แค้นทหารไทยครั้งนี้
ตกกลางคืนของวันที่๑๕มกราคม หลังทหารอิ่มท้องกับอาหารเย็นแล้ว พันเอกแจโคมี่ก็สั่งเคลื่อนทัพ ล่วงเข้าวันที่๑๖ ประมาณตีสาม เสียงเครื่องยนต์ของรถทหารฝรั่งเศสก็แว่วเข้าหูทหารไทยที่นอนรออยู่ในลำห้วยแห้ง ปลุกประสาททุกส่วนให้ตื่นตัวขึ้นทันที
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 20:41
|
|
กำลังตื่นเต้นเลยครับ นักเรียนขยับตัวรออ่านต่อไปกันเป็นแถวๆ แล้ว ที่ง่วงหาวเศร้าซึม ตอนนี้ตื่นตัวหมด กำลังรอลุ้นว่าฝรั่งเศสจะโดนซุ่มโ๖มตีแบบไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 30 ม.ค. 12, 23:41
|
|
ใจเย็นๆนะครับคุณประกอบ
ทหารไทยน่ะพร้อมที่จะลงมือแล้ว แต่ผมสิ....ยังไม่พร้อม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 31 ม.ค. 12, 08:09
|
|
ว่าที่ร้อยตรีถนอม โพธ์ทองนาค ผบ.หมวดในกองร้อยที่๒ เขียนเล่าเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสเคลื่อนพลเข้ามาโจมตีในคืนนั้นว่า “ขบวนรถบรรทุกทหารเข้ามาจอดห่างจากที่พวกเราซุ่มอยู่ประมาณสักห้าร้อยเมตรเห็นจะได้ คืนนั้นก็มืดมากจนเราแทบจะไม่เห็นพวกมัน พวกทหารถูกขนมาด้วยรถพ่วง พอรถจอดสนิทก็โดดลงมาเข้าแถวรอคำสั่ง”
ประมาณตีสี่ กองลาดตระเวนส่วนหน้าของฝรั่งเศสก็เคลื่อนที่เข้ามาตามถนน และเดินข้ามสะพานที่ว่าที่ร้อยตรีพร ธนะภูมิและทหารในหมวดซ่อนตัวอยู่ข้างใต้ ทุกคนแทบจะไม่กล้าหายใจกลัวว่าพวกฝรั่งเศสจะได้ยิน “พวกมันข้ามสะพานไปได้สักพักก็หยุด แล้วเจ้าคนนำหน้าก็หันหลังพาพวกมันเดินข้ามสะพานกลับไป….ไหนนะ..ไม่มี ไม่มีหมา”
คือผมอ่านสำนวนที่ฝรั่งเศสเขียนรายงานว่า กองลาดตระเวนของฝรั่งเศสพาหมามาด้วยสองตัว ความจริงเข้ามาใกล้จุดที่ทหารของท่านขุนนิมฯซุ่มตัวอยู่แค่ไม่ถึงยี่สิบเมตร หมาก็วิ่งไปทำจมูกฟุตฟิตอยู่ใกล้ๆกับทหารไทย “แต่หมาพันธุ์พื้นเมืองทั้งคู่ก็ล้มเหลวที่จะเห่า(Failed to bark)หรือแสดงอาการผิดปกติ” ฟังสำนวนคล้ายจะบอกว่าหมาพื้นเมือง(หน้าตาดังภาพข้างล่าง)ไม่ฉลาด(เท่าหมาฝรั่ง) แต่ครั้นถามท่านเสธฯพร ท่านยืนยันว่าไม่มีหมา คืนนั้นพวกทหารฝรั่งเศสเดินข้ามหัวท่านไปท่านมองลอดช่องใต้สะพานขึ้นมาเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง
เรื่องนี้ผมเชื่อท่านพร ก็ฝรั่งเศสมันมากลางดึกเพราะหวังจะโจมตีไม่ให้ฝ่ายไทยรู้ตัว ขืนเอาหมาขแมร์มาด้วย เกิดมันเห็นใบตองแห้งแล้วเห่าโบ๊งเบ๊งขึ้นมา ทหารไทยได้ยินเข้าก็คงจะเสียการใหญ่ไปเลย เออนะ..ถ้ามันบอกว่ามันจูงอัลเซเชี่ยนเข้ามาอย่างในรูปก็จะพอยอมเชื่อหรอก หมาเขมรมันก็เหมาะกับหน่วยลาดตระเวนของเขมรเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 31 ม.ค. 12, 08:44
|
|
หัวหน้ากองลาดตระเวนคงไปรายงานให้นายทราบว่าทุกอย่างเป็นปกติดี ทหารไทยคงหลับปุ๋ยอยู่ในค่าย ดังนั้นประมาณหนึ่งชั่วโมงต่อมาพันตรี เบลโล่ก ก็สั่งการให้ทหารกองพันที่๓ กรมทหารต่างด้าวที่๕ เคลื่อนพลเข้าโจมตีบ้านพร้าวตามแผนร่วมที่กระทำพร้อมกองผสมเซที่จะเข้าตีบ้านยาง(ผมอยากจะเขียนว่าซีจริงๆ เพราะคำว่าเซมันเหมือนทหารกองนี้เพิ่งจะเมาแปร๋ออกจากโอเกะ แต่เดี๋ยวกูรูภาษาฝรั่งเศสจะประท้วงว่าผมปล่อยไก่ ก็เลย เอ้า..เซก็เซ)
คงจะเป็นความประมาทด้วย ก็รู้ดีเกินไปว่ายังต้องเดินอีกตั้ง๔กิโลเมตรจึงจะถึงที่ตั้งค่าย นี่ยังมืดอยู่มีเวลาอีกเยอะแยะ นายคงจะสั่งโจมตีตอนฟ้าแจ้ง ให้เห็นตัวกันก่อนจะได้ไม่ยิงกันเองอยู่แล้ว ทั้งหมดจึงเดินแถวกันมาอย่างสบายๆ พูดคุยกันไปด้วยแถมบางคนสูบบุหรี่ นายก็ไม่ว่า อารมณ์คล้ายๆกำลังออกไปซ้อมรบกันดังในภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|