เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 21
  พิมพ์  
อ่าน: 123819 ละเลงเลือด(ฝรั่งเศส)ที่สมรภูมิบ้านพร้าว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 16:30

หลวงวิจิตรวาทการจึงสรุปว่า  ชาวเขมรก็คือชาวไทย     ประเทศกัมพูชาคือส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทยที่ฝรั่งเศสแย่งชิงไปโดยใช้วิธี  “ทารุณโหดร้าย กลับกลอก ตลบตะแลงปราศจากศีลสัตย์ ชั้นต้นก็พยายามฉ้อโกง แต่เมื่อฉ้อโกงไม่สำเร็จก็ปล้นเอาเฉยๆ

การตอกย้ำตามสื่อและหนังสือต่างๆ และรวมกับการสอนในตำราถึงประวัติความเป็นมาของไทยและขอม  ว่าเป็นพวกเดียวกัน ก่อผลให้เกิดความเข้าใจว่า เขมรและลาวก็เป็นเป็นชาวไทยเช่นเดียวกัน    ด้วยเหตุนี้จะรวมคนและดินแดนมาอยู่ร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประเทศไทย   จึงเป็นเรื่องสมควรจะทำ   โดยเฉพาะเมื่อเป็นการปลกแอกจากฝรั่งที่เคยรุกรานไทยมาก่อน  
แนวคิดชาตินิยมแบบนี้ทำให้รัฐบาลจอมพลป. ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องดินแดนคืน    หนุ่มสาวไทยสมัยนั้นรวมทั้งนิสิตนักศึกษาก็เดินขบวนเรียกร้องกับเขาด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 16:47

ดังนั้นถ้าจะย้อนกลับไปต้นกระทู้  ถามว่าทหารไทยเข้าไปทำอะไรที่บ้านพร้าวในเขตของกัมพูชา      ก็คงพอจะมองเห็นคำตอบจากที่มาของเรื่องได้บ้างแล้วนะคะ

ได้บรรยายหน้าม่านมาพอสมควรแก่เวลาแล้ว   หมดอินเทอร์มิชชั่น  เจ้าของกระทู้ตัวจริงก็จะกลับมาพาท่านผู้อ่านไปละเลงเลือดในสมรภูมิบ้านพร้าวต่อไป   
ขอลาเข้าโรงก่อนค่ะ  ตอบกระทู้เพลินไปหน่อย   ส่งงานไม่ทันแล้ว


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 17:02


ไหนๆก็เข้ามาแล้ว ฝากท่านอาจารย์ใหญ่กรุณาตอบหน่อยครับ ชื่อหลวงไกรชิงฤทธิ์นี้ ผมฟังจากเครื่องบันทึกเสียง พลเอกพรไม่ได้ระบุยศและชื่อสกุลของท่านไว้ด้วย ผมค้นแล้วในพ.ศ.๒๔๗๕  ปรากฏชื่อนายทหารระดับผู้บังคับกองพันชื่อพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พุฒ วินิจฉัยกุล) ถามว่า คือบุคคลเดียวกันใช่หรือไม่ ๙ปีผ่านไป ท่านเลื่อนจากผู้บังคับกองพันมาเป็นผู้บัญชากองพลหรือเปล่า ยศในขณะนั้นคืออะไร


ให้ นายร้อยเอก กร ชลินทุ เป็น หลวงไกรชิงฤทธิ์ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม ถือศักดินา ๘๐๐

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๖ พ.ศ. ๒๔๗๒)

ส่วนยศในขณะที่คุณหลวงไกรฯ เป็นผู้บัญชาการกองพลพระนครนั้น มียศเป็น "พันโท"

ในช่วงนั้นผู้บัญชาการกองพลในประเทศไทย มียศเป็น "พันโท" ทั้งสิ้น เช่น
พันโท หลวงวีรวัฒนโยธิน (วีระวัฒน์ รักตะจิตรการ) ผู้บัญชาการกองพลสุรินทร์
พันโท หลวงจำรัสโรมรัน (จำรัส รมยะบุรุษ) ผู้บัญชาการกองพลอุบล

เพราะหน่วยรบขนาดกองพลในกรณีพิพาทอินโดจีน เป็นการรวมหน่วยรบขนาดกองพันเข้าด้วยกัน ไม่ได้เป็นกองพลประจำการอย่างในยุคปัจจุบันนี้
เหล่าผู้บัญชาการกองพลทั้งหลายจึงต่างถูกส่งมาจากส่วนกลาง หรือไม่ก็ตั้งจากผู้บัญชาการมณฑลทหารบกในส่วนภูมิภาค
ดังเช่น นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) ก่อนดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพอีสาน ก็เป็นผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓ นครราชสีมามาก่อน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 17:19



ข้อมูลปี ๒๔๗๔

อ้างอิง  พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔   หน้า ๘๒๐


หลวงไกรชิงฤทธิ์ (กร  ชลินทุ)    นายร้อยเอก

ประจำกรมจเรทหารราบ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 21:26

ขอลงชื่อไว้ก่อนว่าเข้าเรียนคาบนี้นะครับ


ไม่มีความเห็นเสริมอื่นใด เพราะไม่มีพื้นจริงๆ


เอาไว้คุณครูตั้งโจทย์ อาจจะยกมือขอตอบนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 21:48

ปฏิบัติการทางจิตวิทยาของไทยนอกจากที่เล่ามาข้างบนนี้แล้ว  ยังมีเพลงปลุกใจอีกด้วย  หนึ่งในจำนวนนั้นคือ มณฑลบูรพา เป็นเพลงที่กรมโฆษณาการ(หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เปิดให้ประชาชนฟังทุกเช้า




                 มณฑลบูรพา      เคยได้เป็นของเรา                       

                 เสียมราฐ    พระตะบอง        บ้านพี่เมืองน้องมาช้านาน   แต่ครั้งโบราณก่อนเก่า

                 ไทย . . . ชาติไทยใจเศร้า     เลือดเนื้อเชื้อเผ่าถูกเขายื้อแย่งไป
                                                                                             
                 คอย . . . ไทยเราเฝ้าคอย     แต่กำลังเราน้อยสู้เขาไม่ไหว

                 ร่วมสามสิบปี     ทัพไทยก็มี สมรรถภาพและเข้มแข็งยิ่งใหญ่

                 ทหารภาคบูรพา    ทัพพรหมโยธี        รุกไล่โจมตี   พวกไพรีแตกหนีพ่ายไป
                                                     
                 กองทัพบูรพา    องอาจเก่งกล้า          เทอดเกียรติก้องหล้า     เลือดทหารชาติไทย "
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 22:41

โอ้โหครับ ช่างเป็นไปได้   
นี่ผมได้มาจาก“ประวัติกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์”จากเวปของเขาเองเลยนะท่าน

พ.ศ.๒๔๗๕ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ ๒๔ มิ.ย. โดยคณะราษฎร์นั้น เมื่อคณะราษฎร์รวมกำลังที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าแล้วเข้ายึดพื้นที่พระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นได้ส่งกำลังเข้าควบคุมตัวผู้นำประเทศและผู้บังคับบัญชาทหาร ในส่วนของกองพลที่ ๑ (รักษาพระองค์) คณะราษฎร์ได้ควบคุมตัวพระยาเสนาสงคราม (มรว.อี๋ นพวงศ์) ไว้ได้ ณ บ้านพัก บริเวณถนนนครไชยศรี โดยถูกนายทหารยศนายร้อยโท มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน ยิงได้รับบาดเจ็บไม่สามารถออกมาบัญชาการได้ โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ นายพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พูด วินิจฉัยกุล) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวานได้ โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ

นายพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พูด วินิจฉัยกุล) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวานได้จัดกำลังทหารหนึ่งกองร้อยเตรียมต่อสู้ แต่ต่อมาได้ถอนกำลังกลับเข้าที่ตั้งไป ภายหลังเหตุการณ์ รัฐบาลคณะราษฎร์ได้เริ่มการปรับลดกองทัพคงเหลือนายพลไว้ ๒ นาย คือ ปลัดทูลฉลอง (ปลัดกระทรวง) กลาโหม กับ สมุหราชองครักษ์ มีการสั่งการโยกย้ายหน่วยทหารโดยฉับพลัน เกิดความวุ่นวายในกองทัพเป็นอย่างมาก ตำแหน่งนายทหารชั้นยศนายพลเริ่มนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อ ๓๑ ต.ค.๒๔๗๙


อ้างอิง

http://www.rta.mi.th/21100u/title/02-history/02-history.htm

ความจริงผมจำได้เรื่องพันตรีหลวงราญรณกาจได้ ทราบว่าท่านนามสกุลวินิจฉัยกุล แต่ลืมชื่อตัวของท่าน เลยไปนึกว่ามีวินิจฉัยกุลอีกท่านหนึ่งที่เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ 

ขอบคุณคุณอาร์ต๔๗ด้วยครับที่ให้ความกระจ่าง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 23:01

ถ้ามีใครที่เข้ามาอ่าน  สามารถติดต่อกับเวบมาสเตอร์ของเว็บไซต์ที่ว่าได้  ควรจะแจ้งให้ทราบเพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

อย่าว่าแต่อย่างอื่นเลยค่ะ แม้แต่เรียงประโยคก็ยังพิมพ์สับสน    พิมพ์ "โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ " และ "นายพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พูด วินิจฉัยกุล) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวาน"  ซ้ำกันสองครั้ง
ไม่น่าจะปล่อยข้อมูลของเว็บไซต์ราชการเอาไว้แบบนี้

ข้อความที่ผิด
   พ.ศ.๒๔๗๕ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ ๒๔ มิ.ย. โดยคณะราษฎร์นั้น เมื่อคณะราษฎร์รวมกำลังที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าแล้วเข้ายึดพื้นที่พระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นได้ส่งกำลังเข้าควบคุมตัวผู้นำประเทศและผู้บังคับบัญชาทหาร ในส่วนของกองพลที่ ๑ (รักษาพระองค์) คณะราษฎร์ได้ควบคุมตัวพระยาเสนาสงคราม (มรว.อี๋ นพวงศ์) ไว้ได้ ณ บ้านพัก บริเวณถนนนครไชยศรี โดยถูกนายทหารยศนายร้อยโท มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน ยิงได้รับบาดเจ็บไม่สามารถออกมาบัญชาการได้ โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ นายพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พูด วินิจฉัยกุล) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวานได้ โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ
นายพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พูด วินิจฉัยกุล) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวานได้จัดกำลังทหารหนึ่งกองร้อยเตรียมต่อสู้ แต่ต่อมาได้ถอนกำลังกลับเข้าที่ตั้งไป

ที่ถูกต้อง

พ.ศ.๒๔๗๕ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ ๒๔ มิ.ย. โดยคณะราษฎร์นั้น เมื่อคณะราษฎร์รวมกำลังที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าแล้วเข้ายึดพื้นที่พระที่นั่งอนันตสมาคม จากนั้นได้ส่งกำลังเข้าควบคุมตัวผู้นำประเทศและผู้บังคับบัญชาทหาร ในส่วนของกองพลที่ ๑ (รักษาพระองค์) คณะราษฎร์ได้ควบคุมตัวพระยาเสนาสงคราม (มรว.อี๋ นพวงศ์) ไว้ได้ ณ บ้านพัก บริเวณถนนนครไชยศรี โดยถูกนายทหารยศนายร้อยโท ขุนศรีศรากร ยิงได้รับบาดเจ็บไม่สามารถออกมาบัญชาการได้ โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ
นายพันตรีหลวงราญรณกาจ (พุฒ วินิจฉัยกุล)  ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กที่สะพานมัฆวาน  พยายามจัดกำลังทหารหนึ่งกองร้อยเตรียมต่อสู้ แต่ไม่ได้รับอนุมัติจากพันเอกพระยาสุรเดช ผู้บังคับบัญชา  เพราะได้ข่าวว่าฝ่ายปฏิวัติจับสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ไปคุมขังไว้ได้แล้ว   จึงไม่กล้าทำการโดยพลการ   ทำให้ต้องถอนกำลังกลับเข้าที่ตั้งไป

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 12:24

เจ้าของกระทู้ยังไม่มา  ขอเวลานอก(ต่อ) ค่ะ

ในช่วงนั้นสงครามโลกครั้งที่สองระเบิดขึ้นในยุโรป    เมื่อเยอรมันที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดรวบรวมแสนยานุภาพขึ้นมาได้อีก     ด้วยการนำของผู้นำใหม่ใจถึงอย่างฮิตเลอร์  ก็บุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบ  สำเร็จแล้วก็ขยายสมรภูมิต่อมาทางยุโรปตะวันตก   
ฝรั่งเศสตกที่นั่งลำบาก เพราะเป็นประเทศที่เยอรมันหมายหัวเอาไว้ถัดจากโปแลนด์    จึงไม่อยากเปิดศึกสองด้านทั้งในยุโรปและในเอเชียอาคเนย์ที่ตัวเองมีอาณานิคมอยู่  ก็เลยหันมาขอทำสัญญาไมตรีกับไทย  เพื่อมิให้ไทยก่อศึกเข้าทางหลังบ้าน   
รัฐบาลฝรั่งเศสยื่นขอทำสัญญาดังที่ว่ามายังรัฐบาลไทยในเดือนสิงหาคม 2482 มีเงื่อนไขว่าอินโดจีนฝรั่งเศสจะไม่ถูกรุกรานจากไทย ในช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังตกหนักกับเยอรมัน  จึงเป็นโอกาสดีของรัฐบาลจอมพลป. ยื่นข้อเจรจากลับไป  ขอปรับปรุงเส้นเขตแดน ให้ใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนแบ่งระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส

เจรจากันอยู่หลายเดือน จอมพลป.ก็ตกลง   ยอมลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันกับนายปอล เลปิสสิเอร์ (Paul Lepissier) อัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 12 มิถุนายน 2483    กติกาสัญญาดังกล่าวมีหนังสือแลกเปลี่ยนแนบท้ายซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนอยู่ด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 12:30

สถานการณ์ทางฝรั่งเศสทรุดหนัก  รัฐบาลฝรั่งเศสจำต้องยกธงขาว  ยอมแพ้เยอรมันในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483   เยอรมันก็ตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของฝรั่งเศสขึ้น เรียกว่ารัฐบาลวิชี (Vichy)  ประกอบด้วยคณะร.ม.ต.ที่ล้วนแต่ประนีประนอมเป็นมิตรกับเยอรมัน      พูดอีกทีคือเป็นรัฐบาลหุ่นของเยอรมันนั่นเอง
รัฐบาลไทยไม่เข้าไปยุ่งกับเรื่องภายในของฝรั่งเศส  จะรัฐบาลเดิมหรือรัฐบาลใหม่ก็ถือว่าใช้ได้เท่ากัน   แต่ไทยเร่งรัดให้รัฐบาลวิชีรีบตกลงเรื่องปรับปรุงเขตแดนเสียเร็วๆ  คือยอมแบ่งเส้นเขตแดนใหม่ใช้แม่น้ำโขงเป็นหลัก   คำตอบของรัฐบาลวิชี  คือขอให้กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ใช้ได้เลยโดยไม่ต้องให้สัตยาบัน

11 กันยายน 2483 รัฐบาลไทยตอบไปว่าจะเอายังงั้นก็ได้  โดยมีเงื่อนไขว่า

1. ให้เส้นเขตแดนตามลำน้ำโขงเป็นไปตามหลักฎหมายระหว่างประเทศ โดยถือร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์
2. ปรับปรุงเส้นเขตแดนให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยถือแม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน ตั้งแต่ทิศเหนือมาจดทิศใต้ จนถึงเขตแดนกัมพูชา ให้ฝ่ายไทยได้รับดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบางและปากเซ
3. ในกรณีที่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอธิปไตยภายในอินโดจีน ฝ่ายฝรั่งเศสจะคืนอาณาเขตลาว และกัมพูชาให้แก่ไทย

ผลก็คือรัฐบาลฝรั่งเศสไม่ยอมรับเงื่อนไขของรัฐบาลไทย   เพราะมันบวกอะไรเข้ามาทางไทยอีกมาก   ฝรั่งเศสมีแต่เสีย ในสิ่งที่เคยได้ไปแบบง่ายๆในอดีต
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 12:46

เมื่อขอกันดีๆไม่ให้   รัฐบาลไทยก็เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ไทยจะต้องใช้กำลัง  เพื่อเอาดินแดนที่เคยเป็นของไทยกลับคืนมา      นโยบายต่อไปของจอมพลป. คือปลุกใจให้ประชาชนเห็นดีด้วยกับการทำสงครามซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ  แต่ไม่ได้บอกตรงๆว่าให้ทำสงคราม  หากใช้คำว่า "เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส"  แทน
วิธีเรียกร้องดินแดนคือ คือกระตุ้นให้ประชาชนและนิสิตนักศึกษาออกมาเดินขบวน ทั้งในกรุงเทพฯ และในจังหวัดใหญ่ๆ   ไม่ใช่เดินอย่างเดียวแต่ร้องเพลงปลุกใจของหลวงวิจิตรฯ พร้อมกันไปด้วย เพื่อแสดงความรักชาติ   เพลงปลุกใจก็เอามาจากเพลงที่หลวงวิจิตรวาทการแต่งขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงละครประวัติศาสตร์นั่นเอง

เมื่อทำให้ประชาชนออกมาเดินขบวนเรียกร้องได้แล้ว  รัฐบาลก็เผยวิธีออกมาว่า ต่อไปนี้ละนะ   รัฐบาลก็จะตอบสนองประชาชนด้วยการใช้กำลังทหารเข้าจัดการปัญหาเสียที  แทนการเจรจาที่พับฐานไปแล้วเพราะฝรั่งเศสไม่ยอม      
หลวงวิจิตรวาทการไปแสดงปาฐกถาเรื่องการเสียดินแดนไทยให้แก่ฝรั่งเศส  แก่ครูบาอาจารย์และนักเรียนกรมยุทธศึกษาทหารบกในวันที่ 17 ตุลาคม 2483 ด้วยคำพูดปลุกใจทหารว่า

            ประวัติศาสตร์ของชาติไทยนั้น เป็นประวัติแห่งการนองเลือด การที่บรรพบุรุษของเราได้ก่อร่างสร้างประเทศเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ท่านไม่ได้อาบเหงื่อต่างน้ำ แต่อาบเลือดต่างน้ำ เราฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลายมาด้วยเลือด เราดำรงอยู่เป็นไทยจนบัดนี้ได้ก็ด้วยเลือด จึงเป็นที่น่าเชื่อว่าถ้าเราต้องการจะก้าวหน้าเติบใหญ่ต่อไป หรือให้ชาติไทยคงเป็นไทยอยู่นั้น เราก็ต้องใช้เลือดเหมือนกัน ที่กล่าวนี้มิได้มุ่งหมายจะยืนยันว่าเราจะรบหรือเราจะต้องเข้าสงคราม.....แต่เพื่อประโยชน์ในทางเตรียมตัว ข้าพเจ้าใคร่จะขอเชิญชวนเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย โดยฉะเพาะท่านที่นั่งฟังข้าพเจ้าอยู่ในที่นี้ ให้ทำใจเสียแต่บัดนี้ว่าเราต้องรบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 12:53

         เนื้อหาจากปาฐกถาครั้งนั้น  มีบางตอนระบุชัดเจนว่าการเรียกร้องดินแดนไทยกลับมาไม่ใช่เรื่องของชาตินิยม หรือต้องการความยุติธรรมจากการเสียดินแดนในอดีตอย่างเดียวเท่านั้น    จุดมุ่งหมายใหญ่คือการขยายอาณาเขตของประเทศไทย เพื่อเพิ่มขนาดของประเทศและเพิ่มจำนวนประชากร     เพราะอะไร...ก็เพราะประเทศยิ่งมีขนาดใหญ่มากเท่าใดก็มีโอกาสจะก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจมากเท่านั้น

            “เมื่อจะต้องดำเนินการอย่างแตกหักกันแล้ว เราก็จะไม่พูดกันแต่เพียงเขตต์แดนแม่น้ำโขง เราจะไม่พูดกันเพียงแต่ดินแดนฝั่งขวาตรงหน้าหลวงพระบางและปากเซ เราจะต้องพูดกันถึงดินแดนทุกๆ ชิ้นที่เราเสียไปให้แก่ฝรั่งเศส” ทั้งนี้เพื่อนำไทยไปสู่ความเป็นมหาประเทศ     เพราะว่าถ้าเราได้ดินแดนที่เสียไปนั้นคืนมาทั้งหมด นอกจากเราจะได้เนื้อที่เพิ่มขึ้นกว่าที่มีอยู่ในเวลานี้อีกเท่าตัว และได้จำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นอีกราว 4 ล้านคนแล้ว จะมีผลสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เราจะสามารถมีดินแดนจดเข้าไปถึงถิ่นไทยอันกว้างขวาง ซึ่งตั้งอยู่เหนือสิบสองจุไทย ที่นั่นมีเลือดเนื้อเชื้อไทยเราอยู่ 24 ล้านคน ซึ่งยังถือตนเป็นไทย พูดภาษาไทย มีชีวิตจิตต์ใจเป็นไทย เราสามารถจะเปิดประตูรับพี่น้อง 24 ล้านคนของเราเข้ามาหาเรา ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเราจะไปรุกรานดินแดนเหล่านั้น เราไม่ต้องการรุกรานใคร ที่ดินของเรามีถมไป เราต้องการแต่จะให้พี่น้องไทยของเราเข้ามาอยู่ร่วมรับความผาสุกด้วยกัน และเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่าเราทำสำเร็จ และไม่ช้าเราจะเป็นประเทศที่มีดินแดนราว 900,000 ตารางกิโลเมตร์ และมีพลเมืองไม่น้อยกว่า 40 ล้านคน เราเป็นมหาประเทศ"        

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 20:46

ถ้าข้างบนนี้คือจุดมุ่งหมายของรัฐบาลจอมพลป.    ก็หมายความว่าไทยประสงค์จะเอาดินแดนที่เคยเป็นของไทยในอดีตคืนกลับมาให้หมด   อาณาเขตของไทยจะกินดินแดนเขมร และลาว  เข้าไปถึงเวียตนามในปัจจุบัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 ม.ค. 12, 07:02

ต่อครับ
ผมพามาดูทางฝ่ายฝรั่งเศสบ้าง

รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งกรมทหารต่างด้าวที่๕ ขึ้นเมื่อ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๗๓ เพื่อปราบปรามผู้รักชาติที่คอยก่อความไม่สงบในญวนอยู่เนืองๆ  และให้ร่วมกับกองกำลังเสริมที่มีอยู่แล้ว ปกป้องรักษาภูมิภาคตังเกี๋ยหรือส่วนที่เป็นเวียตนามเหนือ  โดยตั้งกองบัญชาการอยู่บริเวณปากแม่น้ำแดงในกรุงฮานอย  ทหารต่างด้าวกรมนี้ก็ปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อยได้อย่างหน้าพอใจในระยะแรก จนกระทั่งระยะที่ใกล้จะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง คนญวนคณะหนึ่งได้จัดตั้งองก์กรลับขึ้นมีเป้าหมายที่จะต่อต้านฝรั่งเศส โดยให้ทหารญวนในกองทัพฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งจับอาวุธลุกฮือขึ้นที่เมืองเยนไบ๋เพื่อหวังจะได้ใจจากทหารญวนอื่นๆ ให้เข้าร่วมต่อสู้กับทหารฝรั่งเศสที่นับจำนวนแล้วน้อยกว่า  แต่ถูกทหารฝรั่งเศสใช้อาวุธที่เหนือชั้นล้อมปราบอย่างรุนแรง ทำให้ทหารญวนส่วนใหญ่อื่นๆหัวหด ไม่กล้าเอาด้วย กบฏเยนไบ๋ก็เลยพ่ายแพ้ไปในเวลาอันสั้น พวกหัวหน้าทั้งทหารและพลเรือน ถ้าไม่ตายจากการรบพุ่ง ก็ถูกจับไปขังบ้าง ฆ่าทิ้งบ้าง คนญวนเลยยิ่งเกลียดฝรั่งเศสมากขึ้น จนวันหนึ่งก็สามารถชำระแค้นทั้งปวงที่ฝรั่งทำเอาไว้ได้ในสิบ-ยี่สิบปีต่อมา


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 29 ม.ค. 12, 07:04

เมื่อญี่ปุ่นต้องการขยายสงครามในจีนมาเปิดแนวรบทางด้านใต้ โดยใช้อ่าวตังเกี๋ยเป็นทางผ่าน เมื่อยกพลขึ้นบกเข้าญวน ทหารฝรั่งเศสก็เข้าต่อต้าน รบกันอยู่๔วันเห็นว่าขืนสู้ต่อไปก็แพ้ญี่ปุ่นอยู่ดี  เพราะสงครามในยุโรปนั้น ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่เยอรมันอย่างยับเยินถึงกับเสียกรุงปารีสไปแล้ว  รัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสจึงเลือกที่จะจงรักภักดีต่อรัฐบาลวิชีเพื่อเอาตัวรอด และยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าไปตั้งฐานทัพในญวนได้  สงครามในภูมิภาคนี้จึงยุติลงแต่ยังไม่ทันสิ้นกลิ่นควันปืน กรณีพิพาทกับไทยก็คุกรุ่นข้น  กองทหารฝรั่งเศสก็ปรับกระบวนทัพใหม่เพื่อรับมือกับการบุกของกองทัพไทย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 19 คำสั่ง