NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 07:41
|
|
ในขณะเดียวกัน กองพลพระนครซึ่งมีกำลังสามกองพัน และอยู่ทางด้านเหนือของกองพลวัฒนานคร ก็ได้เคลื่อนที่จากชายแดน เข้าไปในดินแดนข้าศึกตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม โดยกองพันทหารราบที่ ๑ เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางในภูมิประเทศ พอลึกเข้าไปประมาณ ๓ ก.ม.ก็ได้รับการต้านทานที่บ้านยาง แต่ยิงกันไม่นานก็สามารถยึดได้
ส่วนกองพันทหารราบที่ ๓ อยู่ด้านขวาของกองพันที่ ๑ เคลื่อนที่เข้าไปตามถนนอีกเส้นหนึ่ง ที่อยู่ห่างจากถนนปอยเปต-ศรีโสภณไปทางเหนือประมาณ ๑๒ ก.ม. เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปได้ประมาณ ๙ ก.ม.ก็ถึงบ้านพร้าวซึ่งข้าศึกได้วางกำลังตั้งค่ายใหญ่รับไว้ กองพันที่ ๓ เข้าตีตั้งแต่วันที่ ๖ มกราคม ถึงวันที่ ๑๑ มกราคม ฝรั่งเศสก็ถอยไปทางศรีโสภณ ปล่อยให้ไทยเข้ายึดค่ายได้แล้วพักกำลังพลอยู่ที่บ้านพร้าวนั้น กับส่งกำลังออกลาดตระเวนต่อไปอีก ๑๐ ก.ม.ก็ไม่พบข้าศึก
หลังจากวันนั้นไปแล้ว ทั้งกองทหารไทยและฝรั่งเศสต่างก็วางกำลังยันกันอยู่ โดยไม่มีการสู้รบใหญ่ เว้นแต่มีการปะทะระหว่างหน่วยลาดตระเวนบ้างเล็กน้อย
ในรูปเป็นบ้านพร้าวในปัจจุบัน เขมรคงเรียกว่าภูมิเพรียะมั้ง ใครทราบว่าออกเสียงยังไงก็ช่วยบอกด้วยนะครับ ดูแล้วไม่ใช่หมู่บ้านใหญ่โตอะไร แต่มีร่องรอยพอจะสันนิฐานว่าเป็นแนวรั้วของค่ายทหารได้บ้าง แต่ผมก็ไม่กล้ายืนยันนะครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 07:49
|
|
ในวันที่ ๑๓ มกราคม พันตรีหลวงนิมมานกลยุทธ ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กับคณะได้ออกตรวจภูมิประเทศด้วยตนเองสังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และพบเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าฝรั่งเศสได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าวนั้นเป็นกลลวงที่จะตีโต้กลับภายหลัง โดยได้วางแผนเตรียมการไว้แล้ว ถ้ากองพันตั้งอยู่ที่เดิมน่าจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง
ในเย็นวันนั้นเอง หน่วยลาดตระเวนของข้าศึกก็เข้ามาลอบยิงทหารหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพันแต่ไม่โดนใคร ผู้บังคับกองพันได้สั่งการไว้แล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้ขับไล่ด้วยอาวุธปืนเล็ก ห้ามใช้อาวุธหนักและปืนกลถ้าไม่จำเป็น เพื่อลวงข้าศึกถึงศักยภาพในการรบของฝ่ายเรา
การที่ข้าศึกเกิดคันมือยิงเราเข้ามานัดนึงนี้ นี้ทำให้ท่านทราบได้ทันทีว่า ฝรั่งเศสใกล้จะโจมตีจะเอาที่มั่นคืนแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 08:02
|
|
แต่ผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็สั่งประชุมนายทหารบอกว่า เราอยู่ที่นี่ไม่ได้แล้ว ข้าศึกรู้ภูมิประเทศดีและคงกำหนดเป้าหมายไว้หมด ถ้าขืนถูกโจมตีเราจะเสียเปรียบมาก ดังนั้นกองพันที่๓จึงเคลื่อนกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ เดินเท้าไปทางตะวันออกห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ ก.ม.แล้ววางกำลังเรียงรายลงในห้วยแห้งที่หมายตาไว้แล้ว ลำห้วยนี้ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง เป็นที่มั่นตามธรรมชาติแนวรูปตัวยู เหมาะสมที่สุดสำหรับจะใช้เป็นพื้นที่สังหาร ทหารทุกคนเข้าที่ วางปืนกลหนักไว้ที่ก้นตัวยู แล้วทั้งกองพันถูกกำชับให้อยู่ด้วยความสงบ จะยิงพร้อมกันเมื่อได้รับคำสั่ง และให้ยิงตามแผนการยิงเท่านั้น ใครถูกกำหนดให้ยิงไปทางทิศใดก็ให้ยิงไปโดยเฉพาะทิศที่ว่า ถ้าทำเช่นนี้ในทางทฤษฎีบอกว่าพื้นที่สังหารจะไม่มีจุดอับกระสุนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว
ในภาพผมให้คุณกู๋หาตำแหน่งดังกล่าว เห็นตรงนี้แหละครับที่ใกล้เคียงที่ทหารผ่านศึกท่านบรรยายกันไว้ มีสพานข้ามห้วยที่พลเอกพรท่านเคยลงไปซ่อนตัวอยู่ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 08:06
|
|
แก๊งงงงง.....หมดยก
ขอพักยาวครับ
กลับมาคราวหน้าจะกล่าวถึงการเตรียมการบุกเข้ามาละเลงเลือด(ทหารไทย) ก่อนจะเป็นฝ่ายถูกละเลงเสียเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 09:52
|
|
ข้อความดังกล่าว มีผู้ลอกมาลงในเวปหลายรายโดยไม่บอกที่มาที่ไป ผมเพิ่งบัดนี้เองทราบว่าต้นตอมาจากหนังสืองานศพของท่าน
http://www.tigerarmy.in.th/home/about/war.php
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:03
|
|
เมื่อวานนี้ บังเอิญพบคุณหมอวิบูล วิจิตรวาทการ บุตรชายของคุณหลวงวิจิตรวาทการ ก็เลยคุยกันเรื่องสงครามอินโดจีน( เป็นหัวข้อประหลาดเอาการในการเริ่มสนทนา ถ้าคนนอกได้ยิน แต่คงไม่แปลกในสายตาชาวเรือนไทย) จึงได้ทราบจากท่านว่าคุณหลวงวิจิตรฯ มีบทบาทสำคัญอยู่ในยุคนั้น เคยเขียนหนังสือเรื่องสงครามอินโดจีนเอาไว้ด้วย ไม่ทราบว่าคุณวันดี และคุณนวรัตน มีหนังสือของคุณหลวงไหมคะ ดิฉันก็ไม่ทันได้ซักรายละเอียดว่าเป็นหนังสือชื่ออะไร
เผื่อยังไงจะได้พาแยกออกซอย พาไปแนะนำที่มาของสมรภูมิบ้านพร้าว ระหว่างเจ้าของกระทู้อินเทอร์มิชชั่นอยู่ตอนนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:11
|
|
^ ผมยังไม่เคยเห็นครับ เผื่อยังไงจะได้พาแยกออกซอย พาไปแนะนำที่มาของสมรภูมิบ้านพร้าว ระหว่างเจ้าของกระทู้อินเทอร์มิชชั่นอยู่ตอนนี้ เชิญเลยครับ ผมจะได้ลากิจนานหน่อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:28
|
|
ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะที่กรุณาแนะนำ ไม่คุ้นหูเลยค่ะ
ต้องไปถามเพื่อน ๆ ที่สะสมหนังสือและเป็นเจ้าของร้านหนังสือเก่า
ถ้าได้ความอย่างไรจะกลับมาเรียนค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 10:42
|
|
ขอบคุณค่ะ คุณวันดี ดิฉันเชื่อว่ามีผลงานของคุณหลวงวิจิตรวาทการอีกมาก ที่ไม่ใช่นวนิยาย(ซึ่งพิมพ์ใหม่ยังพอหาอ่านได้) เป็นงานพวกบันทึก สารคดี หนังสือประวัติศาสตร์ในประเด็นเฉพาะ บทเลกเชอร์ ฯลฯ ที่พอหมดยุคของท่าน ก็ไม่มีใครพิมพ์อีก ถ้าเป็นเล่มใหญ่ๆอาจมีที่หอสมุดแห่งชาติ แต่ถ้าเป็นเล่มเล็กๆ หรือข้อเขียนที่กระจัดกระจายกันอยู่ในหนังสือเล่มนั้นเล่มนั้นบ้าง คงหาอ่านได้ยากแล้ว งานของคุณหลวงวิจิตรฯ สะท้อนให้เห็นนโยบายและทิศทางการเมืองในยุคจอมพลป. ได้มากค่ะ ทำให้เราเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในสมัยนั้น และมีสาเหตุจากอะไร เชิญเลยครับ ผมจะได้ลากิจนานหน่อย
ได้เวลาท่านเจ้าของกระทู้ ปลีกตัวไปตีกอล์ฟ ทิ้งยามเฝ้ากระทู้ไว้หนึ่งคน ทำหน้าที่ปั่นกระทู้ไม่ให้ตกจอ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 14:07
|
|
ผมเข้ามาแจ้งให้ทราบว่า ข้อความในกระทู้๓๒ ขาดย่อหน้าสำคัญไปโดยความสะเพร่าของผมเอง ที่ควรจะเป็นนั้น ข้อความทั้งในกระทู้๓๑และ๓๒ ต้องเป็นดังนี้ (ตัวหนา คือข้อความที่หายไป)
ในวันที่ ๑๓ มกราคม พันตรีหลวงนิมมานกลยุทธ ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กับคณะได้ออกตรวจภูมิประเทศด้วยตนเองสังเกตเห็นว่าเส้นทางต่อไปในดินแดนข้าศึกนั้น มีการปรับผิวถนนราบเรียบ และพบเครื่องหมายสำหรับปรับการยิงปืนใหญ่ของข้าศึก จึงสันนิฐานว่าฝรั่งเศสได้ยอมถอยออกจากบ้านพร้าวนั้นเป็นกลลวงที่จะตีโต้กลับภายหลัง โดยได้วางแผนเตรียมการไว้แล้ว ถ้ากองพันตั้งอยู่ที่เดิมน่าจะถูกโจมตีอย่างรุนแรง
ในเย็นวันนั้นเอง หน่วยลาดตระเวนของข้าศึกก็เข้ามาลอบยิงทหารหน่วยคอยเหตุส่วนหน้าของกองพันแต่ไม่โดนใคร ผู้บังคับกองพันได้สั่งการไว้แล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ให้ขับไล่ด้วยอาวุธปืนเล็ก ห้ามใช้อาวุธหนักและปืนกลถ้าไม่จำเป็น เพื่อลวงข้าศึกถึงศักยภาพในการรบของฝ่ายเรา
การที่ข้าศึกเกิดคันมือยิงเราเข้ามานัดนึงนี้ นี้ทำให้ท่านทราบได้ทันทีว่า ฝรั่งเศสใกล้จะโจมตีจะเอาที่มั่นคืนแล้ว
วันรุ่งขึ้น ๑๔ มกราคม หลวงไกรชิงฤทธิ์ผู้บัญชาการกองพลพระนครก็มาตรวจภูมิประเทศ พร้อมกับผู้บังคับกองพันที่ ๓ พันตรีหลวงนิมฯจึงรายงานพร้อมขออนุมัติเคลื่อนกำลังพลออกไปข้างหน้าอีกประมาณ ๔ ก.ม. ผู้บัญชาการกองพลเห็นด้วย แต่เมื่อรายงานขออนุมัติไปทางกองทัพบูรพา กลับถูกสั่งห้ามไม่ให้หน่วยนี้เคลื่อนที่โดยเด็ดขาด เพราะจะผิดแผนที่กองทัพวางไว้
แต่ผู้บังคับกองพันที่ ๓ ก็สั่งประชุมนายทหารบอกว่า เราอยู่ที่นี่ไม่ได้แล้ว ข้าศึกรู้ภูมิประเทศดีและคงกำหนดเป้าหมายไว้หมด ถ้าขืนถูกโจมตีเราจะเสียเปรียบมาก ดังนั้นกองพันที่๓จึงเคลื่อนกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งในตอนค่ำ เดินเท้าไปทางตะวันออกห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ ก.ม.แล้ววางกำลังเรียงรายลงในห้วยแห้งที่หมายตาไว้แล้ว ลำห้วยนี้ขนานกับถนนที่ข้าศึกได้กรุยทางไว้ทั้งสองข้าง เป็นที่มั่นตามธรรมชาติแนวรูปตัวยู เหมาะสมที่สุดสำหรับจะใช้เป็นพื้นที่สังหาร ทหารทุกคนเข้าที่ วางปืนกลหนักไว้ที่ก้นตัวยู แล้วทั้งกองพันถูกกำชับให้อยู่ด้วยความสงบ จะยิงพร้อมกันเมื่อได้รับคำสั่ง และให้ยิงตามแผนการยิงเท่านั้น ใครถูกกำหนดให้ยิงไปทางทิศใดก็ให้ยิงไปโดยเฉพาะทิศที่ว่า ถ้าทำเช่นนี้ในทางทฤษฎีบอกว่าพื้นที่สังหารจะไม่มีจุดอับกระสุนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว
ไหนๆก็เข้ามาแล้ว ฝากท่านอาจารย์ใหญ่กรุณาตอบหน่อยครับ ชื่อหลวงไกรชิงฤทธิ์นี้ ผมฟังจากเครื่องบันทึกเสียง พลเอกพรไม่ได้ระบุยศและชื่อสกุลของท่านไว้ด้วย ผมค้นแล้วในพ.ศ.๒๔๗๕ ปรากฏชื่อนายทหารระดับผู้บังคับกองพันชื่อพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พุฒ วินิจฉัยกุล) ถามว่า คือบุคคลเดียวกันใช่หรือไม่ ๙ปีผ่านไป ท่านเลื่อนจากผู้บังคับกองพันมาเป็นผู้บัญชากองพลหรือเปล่า ยศในขณะนั้นคืออะไร
ผมไม่ได้ไปตีกอล์ฟหรอกครับ แต่ค่ำนี้จึงจะมีเวลากลับมาดูกระทู้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:04
|
|
ไหนๆก็เข้ามาแล้ว ฝากท่านอาจารย์ใหญ่กรุณาตอบหน่อยครับ ชื่อหลวงไกรชิงฤทธิ์นี้ ผมฟังจากเครื่องบันทึกเสียง พลเอกพรไม่ได้ระบุยศและชื่อสกุลของท่านไว้ด้วย ผมค้นแล้วในพ.ศ.๒๔๗๕ ปรากฏชื่อนายทหารระดับผู้บังคับกองพันชื่อพันตรีหลวงไกรชิงฤทธิ์ (พุฒ วินิจฉัยกุล) ถามว่า คือบุคคลเดียวกันใช่หรือไม่ ๙ปีผ่านไป ท่านเลื่อนจากผู้บังคับกองพันมาเป็นผู้บัญชากองพลหรือเปล่า ยศในขณะนั้นคืออะไร
คนละคนกันค่ะ พันตรีหลวงราญรณกาจ (พุฒ วินิจฉัยกุล) เสียชีวิตจากกระสุนของนายตำรวจที่บุกเข้าไปยิงทิ้งในบ้าน ต่อหน้าลูกเมีย ในการจับกุมกวาดล้างปรปักษ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ โดยรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2482 ส่วนสมรภูมิบ้านพร้าวเกิดในเดือนมกราคม 2484 ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:40
|
|
เริ่มเรื่องสงครามอินโดจีน ถ้าจะค้นคำนี้ในกูเกิ้ล พิมพ์คำว่า The French-Thai war ลงไปนะคะ อย่าใช้คำว่า Indochina war เพราะจะเจอเข้าหลายสงคราม ไม่รู้ครั้งไหนเป็นครั้งไหน เนื่องจากสงครามในอินโดจีนมีหลายครั้งมาก
ถ้าอ่านกระทู้เก่าๆของเรือนไทย ในห้องประวัติศาสตร์ ของท่าน Navarat.C มีอยู่หลายกระทู้ด้วยกัน ใครสนใจลองเลือกจากชื่อเจ้าของกระทู้ ก็จะมองเห็นภาพว่าหลังจากรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามได้กวาดล้างฝ่ายอำนาจเก่าหมดไปตั้งแต่พ.ศ. 2482 แล้ว นโยบายต่อจากนั้นก็คือสร้างไทยให้เป็นมหาอำนาจ ว่ากันว่ามาจากแนวนิยมทางฝ่ายตะวันตก จุดประกายขึ้นจากผู้นำดาวรุ่งพุ่งแรง อย่างฮิตเลอร์และมุสโสลินี ที่รุ่งเรืองกันอยู่ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
นโยบายหนึ่งที่รัฐบาลนำมาใช้ก็คือการปลุกใจประชาชนด้านชาตินิยม ความคิดแนวชาตินิยม คือจูงใจประชาชนสามัคคีเป็นปึกแผ่นเป็นอันหนึ่งอันเดียว เพื่อรวมพลังให้พุ่งไปทางเดียวกันตามผู้นำ จอมพลป. คิดต่อไปว่า รวมพลังประชาชนในประเทศยังไม่พอ แต่ควรรวมกำลังจากประเทศใกล้เคียงที่เคยเป็นของไทยด้วย เพื่อเพิ่มความเป็นมหาอำนาจให้ไทย และสามารถหยิบยกประเด็นมาก่อความฮึกเหิม เพื่อรวมพลังได้ง่าย เมื่อจะทำอย่างนี้ก็ต้องข้ามกำแพงแห่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ไปเสียก่อน จึงจะได้ผล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:53
|
|
ก่อนหน้านโยบายชาตินิยมที่ว่ามานี้ คนไทยเรามักจะมองว่าลาวก็คือประเทศลาว เขมรก็คือประเทศเขมร ถึงแม้ว่าติดต่อคบหาสมาคมกันมานานหลายร้อยปี ดีกันบ้าง รบกันบ้าง แต่ก็ไม่ได้ปะปนเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่เมื่อนโยบายใหม่ก่อตั้งขึ้นมา ความพยายามจะสร้างสำนึกให้คนไทยเห็นว่าลาวและเขมรไม่ใช่แค่เพื่อนบ้านก็เกิดขึ้น
แนวคิดเห็นได้จากผลงานของคุณหลวงวิจิตรวาทการ ผู้เป็นมือขวาของจอมพลป.หลายๆด้าน โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรม เขมรกับไทยถูกปูพื้นมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2479 ในบทละครประวัติศาสตร์เรื่อง ราชมนู ในบทละคร พระราชมนู พระเอกของเรื่องซึ่งมีบทบาทเป็นทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร ก็มีบทพูดตอนหนึ่งว่า
"เขมรกับไทยก็รูปร่างหน้าตาเหมือนกัน.....ก็ใครที่ไหนกันเล่า ก็ไทยเราทั้งนั้น เผอิญมาตกอยู่ในถิ่นของขอมโบราณ ก็เลยมีชื่อว่า “เขมร” ไป ซึ่งเขมรเป็นชื่อสมมติแท้ๆ ที่จริงก็ไทยพี่น้องของเราทั้งนั้น”
ถ้าตีความตามนี้ "ขอม" กับ "เขมร" ก็คนละพวกกัน “ขอม” หมายถึงคนโบราณเผ่าหนึ่งที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศกัมพูชา ก่อนหน้าที่คนไทยจะอพยพย้ายถิ่นจากเทือกเขาอัลไตเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแหลมทอง ส่วน“เขมร” นั้นเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลัง ใช้เรียกคนไทยที่อพยพจากตอนใต้ของจีนเช่นกัน แต่ว่าแยกทางไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนของขอม สรุปจากพระราชมนูว่า ขอมกับไทย เป็นคนละพวกคนละเหล่า แต่ว่าเขมรกับไทย เป็นพวกเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 16:03
|
|
แนวคิดว่าเขมรกับไทยมิใช่อื่นไกลพี่น้องกัน พบได้อีกครั้งในละครประวัติศาสตร์เรื่อง พ่อขุนผาเมือง ของคุณหลวงวิจิตรฯ เช่นกัน ใน พ.ศ. 2483 เรื่องนี้นางเอกคือนางสิขร เป็นเจ้าหญิงเขมร มเหสีของพ่อขุนผาเมือง มีบทพูดตอนหนึ่งว่า ควรจะเห็นว่าเขมรก็คือไทย เลือดขอมหมดไปเสียนานแล้ว ขอมโบราณป่านนี้มีแต่ชื่อ เขมรคือไทยแท้ทั้งเชื้อแถว เพราะไทยแตกแยกไปเป็นหลายแนว ทั้งญวนแกวและเขมรล้วนเป็นไทย ดูซิ หน้าตาและผิวพรรณ เราผิดแผกแปลกกันที่ตรงไหน นับตั้งหลายหลายร้อยปีที่เลือดไทย เข้าอยู่ในเลือดเขมรเป็นชาติเดียว อันที่จริงเขมรไทยชาติทั้งสอง ก็คือพี่คือน้องที่ข้องเกี่ยว ควรผูกมิตรสนิทสนมให้กลมเกลียว เหมือนพี่น้องท้องเดียวกันโดยแท้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 27 ม.ค. 12, 16:28
|
|
ในเมื่อเขมรกับไทยเป็นพี่น้องกัน แต่ตอนนั้นเขมรตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงถูกยกขึ้นมาเป็นผู้ร้าย มิใช่ว่ามีอำนาจเหนืออย่างเดียว แต่ชี้ให้เห็นว่า กดขี่ข่มเหงบีบคั้นเอาเปรียบเขมรด้วย หลวงวิจิตรวาทการได้เปรียบเทียบน้ำในแม่น้ำโขงว่า "คือน้ำตาของเราชาวไทย พวกเราในฝั่งนี้เป็นอิสสระเสรี แต่พี่น้องเราทางฝั่งโน้นถูกกดขี่ข่มเหงอยู่ทุกวัน"
ในหนังสือเรื่อง Thailand’s Case (พ.ศ. 2484) หลวงวิจิตรวาทอธิบายเชิงประวัติศาสตร์ว่า ชาวกัมพูชา (The Cambodians) กับขะแมร์ หรือขอม (The Khmer) เป็นคนละพวกกัน ขะแมร์หรือขอมมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของอ่าวเบงกอล ชาวขอมอพยพตามชาวอินเดีย (The Indians) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของอ่าวเบงกอล เข้ามาในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ตั้งแต่ราวๆ 2,000 ปีก่อน ขอมและอินเดียผสมผสานวัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์นานนับหลายศตวรรษ กลายมาเป็นเผ่าพันธุ์ใหม่ที่มีอำนาจปกครองดินแดนส่วนที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และเป็นผู้นำวัฒนธรรมฮินดูเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ด้วย
ต่อมาอีกประมาณ 500 ปี มีชาวเอเชียอพยพอีกเผ่าหนึ่งเรียกว่าชาวไทย (The Thai) อพยพจากทางใต้ของจีนลงมาในสุวรรณภูมิ (Suvarna Bhumi) หรือแหลมทอง (The Golden Peninsula) ซึ่งขอมแผ่อิทธิพลเข้ามาถึง เจ้าของถิ่นใหม่รุ่งเรืองขึ้นมาแทนเจ้าของถิ่นเดิม เกิดจากผสมผสานทางสายเลือดและวัฒนธรรมยาวนานหลายศตวรรษ ชาวขอมก็ค่อยๆ กลายเป็นไทย แยกกันไม่ออกทั้งรูปร่างหน้าตาและนิสัยใจคอ
ในพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณเก้าร้อยปีมาแล้ว คำว่าขะแมร์หรือขอมก็เลือนหายไป คำเรียกใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาคือ“กัมพูชา (Cambudju)” มีความหมายว่า “เกิดอยู่ในแผ่นดินทอง” การเกิดของ “กัมพูชา” หมายถึงจุดสิ้นสุดของเชื้อชาติเขมรเดิม (The old Khmer Race) และเป็นจุดเริ่มต้นของคนกลุ่มใหม่ที่มีเลือดไทยผสมประมาณร้อยละ 90”
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|