NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 210 เมื่อ 25 ก.พ. 12, 10:30
|
|
เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง มาร์ติน นี้ ไทยซื้อมาได้๑ฝูงจำนวน๖เครื่อง เข้าประจำการในพ.ศ.๒๔๘๐ ซึ่งปีนั้นควันสงครามเริ่มกรุ่นขึ้นแล้ว ฮิตเลอร์ประกาศฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายแล้วเข้าผนวกออสเตรีย สถาปนาอาณาจักรไรซ์ที่๓ ส่วนในเอเซียนั้น กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าทำสงครามกับจีนเต็มรูปแบบ
บรรยากาศสงครามอวลมาถึงสยาม ซึ่งกำลังเทหน้าตักซื้ออาวุธทุกชนิดมาเสริมให้แก่๓ทัพ ความจริงตอนนั้นก็ไม่ได้คิดว่าจะไปบุกใคร นอกจากคิดจะพยายามรักษาความเป็นกลางของตนเองหากเกิดสงคราม ทางใต้และตะวันตกคืออังกฤษ ทางตะวันออกคือฝรั่งเศส ที่กำลังพยายามจะแทรกเข้ามาคือญี่ปุ่น ซึ่งยินดีขายอาวุธให้ในราคามหามิตร อเมริกายังไม่ใช่มหาอำนาจแถบนี้แต่อดสงสัยไม่ได้ว่าสยามคิดอย่างไร
เมื่อไทยขอซื้อเครื่องบินทิ้งระเบิดอีกสักฝูงนึง บอกว่าจะเอาไว้ป้องกันตนเอง อเมริกาก็ตอบว่า ถ้าอย่างงั้นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด เอาขนาดเครื่องบินขับไล่ก็พอ แล้วไม่ขายให้ซะงั้น ไทยก็หันไปซื้อจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รู้อยู่ว่าคุณภาพรองลงมา ญี่ปุ่นก็จัดให้เต็มที่เพราะเห็นแล้วว่าโอกาสที่จะขัดแย้งกันถึงกับใช้กำลังเข้าตัดสินนั้น ไทยคงมีกับฝรั่งก่อนญี่ปุ่น ถ้ารบกันจริงทั้งสองฝ่ายก็ต้องบอบช้ำทั้งคู่ ญึ่ปุ่นก็จะได้ประโยชน์โดยปริยายเมื่อพร้อมจะเปิดสงครามเข้ามาในแนวนี้
กรณีย์พิพาทอินโดจีนไม่ใช่สิ่งนอกเหนือความคิดของทุกฝ่าย แต่ผิดแผนญี่ปุ่นไปนิดนึงที่ฝรั่งเศสถอดใจยอมอ่อนน้อมให้โดยดีก่อนหน้าที่หลวงพิบูลคิดจะบุกทวงดินแดนคืน ญี่ปุ่นจึงไม่อยากให้ไทยและฝรั่งเศสห้ำหั่นกันจนเละเทะ เพราะกะจะบีบใช้กองทัพของทั้งสองฝ่ายให้ไปรบกับจีน(เพื่อญี่ปุ่น)ในภายหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 211 เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:10
|
|
กรณีย์พิพาทอินโดจีนไม่ใช่สิ่งนอกเหนือความคิดของทุกฝ่าย แต่ผิดแผนญี่ปุ่นไปนิดนึงที่ฝรั่งเศสถอดใจยอมอ่อนน้อมให้โดยดีก่อนหน้าที่หลวงพิบูลคิดจะบุกทวงดินแดนคืน ญี่ปุ่นจึงไม่อยากให้ไทยและฝรั่งเศสห้ำหั่นกันจนเละเทะ เพราะกะจะบีบใช้กองทัพของทั้งสองฝ่ายให้ไปรบกับจีน(เพื่อญี่ปุ่น)ในภายหน้า นับเป็นโชคดีของหลวงพิบูล ที่ประกาศสงครามอินโดจีนในช่วงที่ฝรั่งเศสยังไม่พร้อมจะทำศึกในอินโดจีนเต็มรูปแบบ หรือว่าเป็นการคำนวณล่วงหน้าอย่างดีแล้วว่ายังไงฝรั่งเศสก็ไม่พร้อมแน่ๆ ถ้าไม่เปิดศึกตอนนี้จะไปเปิดตอนไหนก็คงไม่เหมาะเท่า ได้ชัยชนะแล้วยังได้ใจประชาชนอีกด้วย เครื่องบินขับไล่ทั้งฝูง คงจะได้ใช้งานกันในสงครามให้คุ้มกับที่ซื้อมานะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 212 เมื่อ 25 ก.พ. 12, 20:38
|
|
เครื่องบินขับไล่ทั้งฝูง คงจะได้ใช้งานกันในสงครามให้คุ้มกับที่ซื้อมานะคะ ท่านอาจารย์ล่อเข้าลึกไปทุกทีแล้ว เดี๋ยวผมก็ต้องเขียนทั้งเรื่องเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Siwawuth
อสุรผัด

ตอบ: 5
|
ความคิดเห็นที่ 213 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 05:00
|
|
เข้ามานั่งฟัง พร้อมกับมีคำถามครับ
อาวุธเบาของหมู่รบ ทั้งของไทยและกองพลต่างด้าว มีอะไรบ้างหรือครับ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 214 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 08:45
|
|
คุณนี่มาจากพันทิป ที่ว่าจะเขียนการ์ตูนเรื่องสมรภูมิบ้านพร้าวใช่ไหมครับ
ขอเวลาหน่อยผมจะค้นให้
แต่ลองเอาฝีไม้ลายมือที่เขียนมาอวดเป็นหนังตัวอย่างสักหน่อยจะได้หรือไม่นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 215 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 10:25
|
|
เครื่องบินขับไล่ทั้งฝูง คงจะได้ใช้งานกันในสงครามให้คุ้มกับที่ซื้อมานะคะ ท่านอาจารย์ล่อเข้าลึกไปทุกทีแล้ว เดี๋ยวผมก็ต้องเขียนทั้งเรื่องเท่านั้น เรือนไทยมีโปรโมชั่นพิเศษตลอดกาลค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 216 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 10:58
|
|
^ ^ โอ้ยโย๋ อย่าเพิ่งนะครับ ได้โปรดเถิด
เดี๋ยวรอเรื่องอาวุธเบาของคุณศิวาวุธก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 217 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 11:31
|
|
เรื่องอาวุธเบาที่ึคุณศิวาวุธถามมา ก็แยกเป็นอีกกระทู้่ได้นี่คะ ก่อนกระทู้เครื่องบินขับไล่ไงคะ แต่ถ้าไม่แยก จะรวมเรื่องอาวุธเบาไว้ในกระทู้ละเลงเลือดฯ ดิฉันก็จะรอจนกว่าจะจบ แล้วค่อยแยกกระทู้ใหม่
ไม่รีบร้อนค่ะ ตามสบาย เลือกแบบไหนก็ได้ ตามแต่เจ้าของกระทู้จะสะดวก ขอเสิฟน้ำชากาแฟล่วงหน้าก่อนนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 218 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 15:34
|
|
http://cgi2.nhk.or.jp/shogenarchives/jpnews/movie.cgi?das_id=D0001300422_00000&seg_number=004เอาภาพยนต์ข่าวมาซื้อเวลา ถ่ายทำระหว่างนายทหารญี่ปุ่นไปตรวจแนวรบของฝรั่งเศสและไทยระหว่างการหยุดยิงชั่วคราวมาให้ชม ช่วงหนึ่งท่านจะได้เห็นประตูชัยที่ปอยเปตที่เป็นที่มั่นฝ่ายฝรั่งเศสที่ถูกไทยถล่มยับเยิน ท่านกูเกินได้แปลภาษาญี่ปุ่นที่บรรยายประกอบไว้เป็นภาษาไทยแนวถนัดของท่านตามที่ผมคัดมาแสดงไว้นี้ ผู้ใดเชี่ยวชาญภาษาไทยของท่านกูเกิน จะแปลให้พอดีๆที่คนทั่วไปจะอ่านรู้เรื่องได้ก็โปรดช่วยด้วย การต่อสู้รุนแรงมากที่สุดที่อยู่ใกล้ชายแดนข้อพิพาทที่ดิน Shisofon เครื่องหมาย, ฝรั่งเศส, Tai สวมบุกอากาศทหารและปลอกกระสุนทั้งบ้านเผาต้นไม้สูญเสียใบของพวกเขากิจการของสงครามแสดงบาร์เรล (หายนะ) Santander สายของ พล. ต. Sumida หยุดสงครามเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ที่ 5 กุมภาพันธ์เพื่อลาดตระเวนพื้นที่นี้มาเป็นเวลานานเพื่อประชุมผู้บัญชาการแนวหน้าของกองทัพที่นี่และต้องล่าถอย Beshi 10km ร่วมกัน ให้ที่ประชุมเกี่ยวกับข้อตกลงการปฏิบัติงาน กองทัพทั้งสองจะเผชิญหน้ากันทั่ว 100m จาก 50m (ทารกในครรภ์) และยังคงประสาทมากและยังคงระมัดระวังอย่างเข้มงวด ทันทีหลังจากที่หยุดยิงและชาวที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่แสดงที่ยังคงรูปแบบ, อาทิตย์เขตร้อนที่รุนแรงและหายไฟในถิ่นทุรกันดารอ้างว้าง นี่คือการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่โดยการระเบิดของกองทัพอากาศ Tae-25kg บุคคลที่ทำขบวนแห่ของเจ้าหน้าที่ด้านหน้าสายและทหารได้กลับดวงอาทิตย์ขึ้นควรสังเกตประเทศไทย เกี่ยวกับเส้นขอบของความผิดปกติของกัมพูชาหมอกเป่าของสงครามในลักษณะนี้ไฟแห่งความสงบเป็นครั้งแรกที่เข้าชมเราเร่งของกรณีที่จะมีมติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 219 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 16:18
|
|
อ่านแล้ว ขอแสดงความนับถือด้วยภาพข้างล่าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 220 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 16:35
|
|
ในช่วงเวลาที่ท่านเจ้าของกระทู้ไปแต่งองค์ทรงเครื่องอยู่หลังโรง ดิฉันขอคั่นรายการหน้าม่านไปพลางๆก่อน จนกว่าท่านจะกลับมาพร้อมกับคำตอบให้คุณ siwawuth
วันนี้ไปค้นหนังสือ แล้วก็เป็นอย่างที่เกิดขึ้นบ่อยๆคือเล่มที่หาก็ไม่เจอ กลับไปเจอเล่มที่ไม่ได้หา และมักจะเป็นว่า เล่มที่เจอโดยบังเอิญ นั้นก็มีข้อมูลที่ตรงกับกระทู้ใดกระทู้หนึ่งในเรือนไทยเข้าพอดี เล่มที่ว่านี้ เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีหลวงเสนียุทธกาจ (ม.ล.จวง เสนีวงศ์) ในคำไว้อาลัยท่านผู้ซึ่งเป็นอดีตผู้บังคับกองร้อยนักเรียนนายดาบ มีนักเรียนนายดาบรุ่น พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านหนึ่ง เล่าถึงชีวิตนักเรียนนายดาบ และเหตุการณ์สมัยนายดาบออกรบในสงครามอินโดจีนไว้ยาวเหยียด ๔๐ กว่าหน้า ท่านผู้เล่าชื่อพ.อ. แสง จุละจาริตต์ เป็นอดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
พ.อ. แสงท่านมีความจำยอดเยี่ยมมาก หรือไม่ก็เขียนบันทึกเอาไว้ละเอียดลออ ในหนังสืออนุสรณ์เล่มนี้ ท่านจำได้ขนาดได้ยินเสียงอีเก้งร้องในคืนที่ไทยถล่มทหารฝรั่งเศส
ขอลอกมาให้อ่านค่ะ
๑๕ ม.ค. ๒๔๘๔ ร.พัน ๓ คงยึดอยู่ในลำห้วยแห้งอย่างสงบและมีวินัย มีการทบทวนให้มีการรออย่างสงบเงียบ และมีวินัยอย่างกวดขัน ได้มีเสียงอีเก้งร้องในทุ่งหญ้าระหว่างเวลา ๑๘.๐๐-๒๒.๐๐ น. แสดงว่าตกใจ มีผู้คนเข้าไปในบริเวณหากินของอีเก้ง ดึกขึ้นไปมีเสียงรถยนต์จำนวนมาก ไกลๆ ทางทิศตะวันออกด้านศรีโสภณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 221 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 16:48
|
|
วันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๘๔ เวลา ๐๔.๐๐ น. ได้มีเสียงปืนยิงโต้ตอบกันดังมาจากบ้านยาง แม้จะไกลประมาณ ๔ กม.เศษก็ตาม แสดงว่าฝ่ายข้าศึกกำลังเข้าตี ร.พัน ๑ ซึ่งตั้งรับอยู่ที่บ้านยาง(เป็นการโจมตีเพื่อพรางความมุ่งหมาย) พ.ต.ขุนนิมมานกลยุทธ์ จึงนึกถึงการยิงของร. พัน ๓ ที่เตรียมไว้ยิ่งขึ้น ผบ.ร.พัน ๓ จึงโทรศัพท์สั่งทุกหน่วยเพื่อเน้นให้แน่นแฟ้น เตรียมตัวทำการยิงตามแผนการยิงให้ปฏิบัติเป็นไปตามคำสั่งสัญญาณปืนกล นำโดยเคร่งครัด จะยิงตามลำพังไม่ได้ ผบ.ร.พัน ๓ ให้หลักการแก่พลปืนกลยิงนำ (ร.ต.ยง ณ นคร) ว่าการยิงให้ยิงต่อแถวทหารส่วนมากที่เข้ามาในเขตกำหนด สำหรับหน่วยลาดตระเวนข้าศึกกำลังต่ำกว่า ๑๐ คนลงไป ไม่ให้ยิง ให้ปล่อยไป
ระหว่างนั้นทหารประจำแนวฝ่ายเราได้ยินเสียงข้าศึกปลุกกันตื่นจากการนอน ห่างจากเราไปประมาณ ๒๐๐ เมตร และจากนั้นก็มีทหารข้าศึกอีก ๓ คน กับสุนัขพื้นเมือง ๒ ตัว ๑๕ ม. คืนนั้นเป็นคืนเดือนหงายค้างฟ้า และเห็นได้ไกล ทหารไทยในแนวเห็นข้าศึกสามคน แต่คนสงบนิ่งตลอดแนว ทหารลาตตระเวนฝ่ายข้าศึกไม่ได้เดินจากทางลำลองไปที่ห้วงยาง(ห้วยธรรมชาติ) เป็นแต่ยืน และเดินมองๆ เรื่อยไป สุนัข ๒ ตัว ของข้าศึกได้วิ่งมาถึงแนวทหารไทย และวิ่งดมทหารไทยคนโน้นคนนี้บ้าง แต่ไม่เห่า การลาดตระเวนของข้าศึกเข้ามาในแนวตั้งรับประมาณ ๑๕ นาที ก็กลับออกไป คงจะไปรายงานว่าไม่มีทหารไทยที่ห้วยยาง ทั้งๆมีกำลังทหารไทยอยู่ทั้งกองพัน
หมา ๒ ตัวนั่นพันธุ์ไหนหนอ ขนาดเป็นสุนัขสงคราม เจอข้าศึกแปลกกลิ่นยังไม่เห่าสักแอะ เลี้ยงเสียขนมปังฝรั่งเศสจริงๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 222 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 17:00
|
|
จากนั้นเวลา ๐๕.๐๐ น. กรมทหารราบต่างด้าวที่ ๕ กองพันที่ ๓ (Regiment Legion Etrangere Infantterie) เป็นหน่วยกล้าตายชั้น ๑ มีกิตติศัพท์การรบอันเกรียงไกรมาแล้วในหลายสมรภูมิ ในอินโดจีนฝรั่งเศส ก็เคลื่อนขบวนเข้าไปในแผนการยิงของฝ่ายไทย เป็นแถวตอนเรียงสาม เดินตามสบาย เพราะถือว่ายังอยู่ไกลจากบ้านพร้าวอีกตั้ง ๔ ก.ม. เวลา ๐๕.๐๐ น.เศษเล็กน้อย เสียงปืนกลนำเป็นสัญญาณก็ปะทุขึ้น และตลอดความยาวของแถวตอนเรียงสาม ทหารข้าศึกก็อยู่ในแผนการยิงอย่างถี่ยิบของทหาร ร.พัน ๓ ที่ส่งกระสุนปืนเล็กยาว ปืนกลเบา ปืนกลหนัก ที่สาดกระสุนเหล็กเข้าบดขยี้จนละลายไปหมดทั้งกองพัน มีการยิงต่อสู้ประปราย จนเวลา ๐๗.๐๐ น. ผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ ได้เข้าเก็บเชลยศึกที่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่ของกองร้อย ได้เชลยศึก ๗ คน ทำหน้าที่หมู่ลาดตระเวณข้างหน้าขบวนตอนเรียงสาม ชุด ๗ คนนี้ ได้หลบอยู่หลังต้นไม้ที่ล้มขวาง ลำห้วยแห้งที่ตัดกับทางลำลอง กับทหารอีก ๕ คน รวม ๑๒ คน ยึดธงชัยเฉลิมพลที่มีเหรียญกล้าหาญครัวซ์เดอแกรร์ติดอยู่ มียุทโธปกรณ์หนักคือ ปืนกลหนัก ๑ กระบอก ปืนกลเบา ๕ กระบอก กระสุนและปืนเล็กประจำกายมาก แต่เครื่องยิงระเบิดไม่มี ผู้บังคับกองพันที่ ๓ กรมทหารราบต่างด้าวฝรั่งเศส ๕ พ.ต.เรเมอรี่ตายในที่รบ(ค้นได้จากบัตรประจำตัว) นอกจากนั้นได้เอกสารเกี่ยวกับการรบ ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 223 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 17:10
|
|
การสูญเสียของทหารฝรั่งเศส ผบ.ร.พัน ๓ สั่งการนับศพบริเวณสู้รบได้ ๕๐ ศพ ถูกจับเป็นเชลย ๒๐ ที่เหลือหลบหนีไปขณะยังไม่สว่าง หนีไปได้มีทั้งบาดเจ็บและไม่บาดเจ็บ หลักฐานฝ่ายฝรั่งเศสตาย ๑๑๐ บาดเจ็บ ๒๕๐ สูญหาย ๕๘ ถูกจับ ๒๑ ต่อมาผบ.ร.พัน ๓ ได้สอบถามนายเนตเจ้าของนาที่ฝรั่งเศสใช้เป็นที่รวมพลอยู่หลังบริเวณสมรภูมิรบกันไปทางศรีโสภณ ประมาณ ๒-๓ ก.ม. ได้ความว่าหลังรบกันแล้ว มีรถยนต์บรรทุกทหารบาดเจ็บสาหัสไปรับการพยาบาลที่นั้นประมาณ ๑๐ คันเศษ ทหารตายก็ขนใส่รถไปด้วย ทำให้กองหนุนของฝรั่งเศสที่รอคำสั่งจะต้องเข้าตีต่อเนื่องที่บ้านพร้าว และพักอยู่ที่นั้นอีก ๓ กองพัน ได้เห็นรถยนต์บรรทุกทหารตาย บาดเจ็บสาหัส ไม่สาหัส มากมายเป็นที่น่ากลัวน่าหวาดเสียว ต่างก็ใจเสียไปตามกัน พวกที่อยู่ใกล้ๆนั้นก็ร้องขึ้นว่า ทหารไทยมาแล้ว และแยกจากพวกเดินหนีไปทางศรีโสภณ นำอาวุธประจำตัวไปด้วย พวกที่เหลือส่วนมากเป็นทหารพื้นเมืองที่อยู่ใกล้ๆกัน ก็ร้องบอกกัน และทั้งสามกองพันก็พร้อมใจกันเดินมุ่งหน้าไปศรีโสภณ นายทหารนายสิบผู้บังคับบัญชาของทหารก็เลยวิ่งตามไปอีก และร้องบอกว่าศรีโสภณ ศรีโสภณๆๆ เพื่อให้ลูกน้องวิ่งไป และจะมีที่พักข้างหน้า
ทั้งหมดนี้เป็นการบอกเล่าของนายเนต เจ้าของนา แก่พันตรีขุนนิมมานกลยุทธ์ และผบ.ร.พัน ๓ ท่านได้บันทึกไว้ด้วยลายมือท่านเอง พวกเราเสียชีวิตในที่รบ ๑ นาย คือ พลทหารจวน ปรีพงศ์ และบาดเจ็บสาหัส ๒ นาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33479
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 224 เมื่อ 26 ก.พ. 12, 17:27
|
|
กว่าดิฉันจะเจอข้อเขียนของพ.อ.แสง จุละจาริตต์ กระทู้ก็วิ่งเลยไป 219 ค.ห. รวม 15 หน้ากระทู้แล้ว ความจริงเรื่องนี้ควรจะอยู่ในหน้าแรกของกระทู้ ท่านที่ตามอ่านกรุณาย้อนกลับไปหน้าแรกก็จะปะติดปะต่อกันได้ รายละเอียดเกือบไม่ต่างจากบันทึกของพ.อ.นิ่ม ชโยดม แต่มีเพิ่มอะไรขึ้นบ้าง เช่นเรื่องทหารฝรั่งเศสหนีอ้าวกลับไปศรีโสภณตามคำให้การของนายเนตเจ้าของนาแถวนั้น แต่พวกนี้ก็ยังได้ครัวซ์เดอแกรร์มาบำรุงขวัญปลอบใจจากรัฐบาลฝรั่งเศสอยู่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|