เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7477 อัตชีวประวัติ ศาสตาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 15:30



        แม่ไปอยู่ได้ ๗ วัน  ท่านเหนื่อยมากเลยถึงแก่กรรม        ผมไปทันท่านก่อนสิ้นลม

รู้สึกปลงอนิจจังว่า   แม่ผมซึ่งเป็นคุณหญิงต้องไปนอนตายที่กระต๊อบหลังคาจาก   มันเป็นภาพอันประเสริฐ

ให้เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้า     ถึงเวลาเข้าหีบ  ชาวนาก็ไปตามสัปเหร่อที่วัดคลอง ๗ ที่ใกล้ ๆ นั้น  มาทำ

ความสะอาดศพแม่ผม      ผมนั่งฟังเขาตอกหีบศพ   นั่งนิ่ง   นี่ถ้าไม่มีสงคราม  แม่เราก็เป็นคุณหญิง

เป็นภรรยาเจ้าคุณอธิบดีศาล    ก็อาจจะขอพระราชทานของหลวงให้  ส่งกรมสนมพลเรือนนุ่งผ้าม่วงใส่เสื้อนอกมาจัดการศพแม่ผมก็ได้

แต่ผลสุดท้ายผมก็เอาศพท่านไว้ที่คลอง ๗ นั้นปีกว่า     จนปี ๒๔๘๘  สงครามสงบลง     ผมถึงเอาเรือไปรับศพแม่มาเผาที่วัดมกุฎ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 17:08



        ต่อมากระทรวงก็ให้ผมเข้ามารับราชการในกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา      ซึ่งเป็นการทำงานด้านค้นคว้ากฎหมาย

ช่วยเหลือผู้พิพากษาศาลฎีกา    อยู่ภายใต้การฝึกปรือของท่านอาจารย์เสนีย์ ปราโมช   ท่านเป็นผู้ช่วย   ผมเป็นผู้ช่วยของท่าน

อีกทีหนึ่ง       เป็นผู้ช่วยของผู้ช่วยอยู่นานถึง ๑๓ ปี     นานมากจึงได้เป็นผู้ช่วยจริงๆเมื่ออาจารย์เสนีย์บ้ายไปอยู่ศาลอุทธรณ์

ต่อจากนั้นก็ไปเป็นข้าหลวงยุติธรรมภาค ๔ ที่เชียงใหม่        มีหน้าที่ดูแลศาลยุติธรรม ๑๔ จังหวัดภาคเหนืออยู่ไม่นานนัก

สองปีก็มาเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมอยู่ ๕ ปี      ก็ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาตามลำดับ      ปี ๒๕๐๕ โปรดเกล้า ฯ ให้เป็น

อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อยู่ ๑ ปี


       ๒๕๐๖  โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นประธานศาลฎีกา  เป็นอยู่ ๔ ปี  ถึงปี ๒๕๑๐ ก็เกษียณอายุ ๖๐ ปีพอดี        ปี ๒๕๑๐ - ๑๑   

ในหลวงโปรดเกล้าให้เป็นองคมนตรี   ปีเดียวกันนั้นก็เป็นคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ ๓ ปี  รัฐบาลก็

ขอให้เป็นอธิการบดีและองคมนตรีอยู่ด้วย    อันนี้ก็เป็นไปตามแบบแผนไม่ได้ขัดอะไร   เป็นอธิการบดีอยู่จนวันมหาวิปโยค ๒๕๑๖   วันที่ ๑๔ ตุลาคม

ในหลวงก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกฯ    ก็ต้องขาดจากองคมนตรีอีกระยะหนึ่ง  ก็ต้องออกจากตำแหน่งอธิการบดีธรรมศาสตร์ด้วย   

เพราะมาทำงานการเมืองแล้วก็ไม่ควรอยู่ฝ่ายประจำต่อไป         เป็นนายกอยู่ ๑ ปี ๔ เดือน   ก็กราบถวายบังคมลาออก

โปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีใหม่       และในปี ๒๕๑๘  วันเฉลิม  ก็โปรดเกล้าฯ   ให้เป็นประธานองคมนตรีสืบต่อมาจนทุกวันนี้"



(ฯพณฯ ศาสตราจารย์ สัญญา  ธรรมศักดิ์  ถึงแก่อนิจกรรม  เมื่อวันที่ ๖  มกราคม  ๒๕๔๕  ขณะดำรงตำแห่งองคมนตรี)




บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 06:06



ประวัติท่านผู้หญิงพงา   ธรรมศักดิ์


เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕ ที่จังหวัดพังงา    เป็นธิดาคนโตของพระยาอรรถกฤตนิรุตต์(ชม  เพ็ญชาติ)  กับคุณหญิงแม้น

ขณะนั้นบิดาดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล "เมืองพังงา"


น้องมี ๓ คนคือ

๑.   นางประชุม  ชัยรัตน์  สมรสกับนายจินดา  ชัยรัตน์

๒.   นางอาภรณ์  บุญโสภณ   สมรสกับ นายวินัย  บุญโสภณ

๓.   รองศาสตราจารย์นายแพทย์เสริมศักดิ์  เพ็ญชาติ  สมรสกับ น.ส. โดโรธี  ครูซ


สมรสกับ ฯพณฯ ศาสตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์  เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๗๗      มีบุตร ๒ คนคือ


๑.    นายชาติศักดิ์   ธรรมศักดิ์    สมรสกับ น.ส. วิไลพร  คุณจักร์
       เกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กลาง

๒.    นายแพทย์จักรธรรม   ธรรมศักดิ์   สมรสกับน.ส. สาคร  ศรีสวัสดิ์
       ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕  ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข


ศึกษาชั้นมูลประถม และ ประถมศกษา ณ โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนราชินี

จบการศึกษาชั้นมัธยม ๖  จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓    ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนการเรือนอีกประมาณปีเศษ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 06:20



        ท่านผู้หญิงพงา  ได้รับการเลี้ยงดูตั้งแต่แบเบาะจากคุณตา  คุณยาย  และคุณป้าสาวโสด ๒ คนในกรุงเทพ ฯ

จนอายุได้ ๑๐ ปี   เพราะบิดาได้โยกย้ายไปรับราชการต่างจังหวัด  มารดาและน้องสาวได้ติดตามไป

เมื่อครอบครัวได้ย้ายกลับมากรุงเทพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  และพำนักที่บ้านของบรรพบุรุษใน "ชุมชนคนไทย"  ของ

"ชุมชนวัดกัลยา  ท่านผู้หญิงจึงถูกคืนตัวให้บิดามารดาใน พ.ศ. ๒๔๖๕   หลังจากการพยายามขอคืนตัวอยู่หลายปี


       ท่านผู้หญิงได้รับการเลี้ยงดูอบรมจากคุณยายและคุณป้าอย่างอบอุ่น    คุณยายตักบาตรวันละ ๑๐๐ รูปทุกวัน

และเปิดโรงทานให้คนจนทุกวัน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 06:37



หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของ ศ. สัญญา และ ท่านผู้หญิง พงา  ธรรมศักดิ์ ในหน้า ๒๓ลงไว้ว่า


     "ก่อนการสมรสกับศาตราจารย์สัญญา  ธรรมศักดิ์ เมื่ออายุได้ ๒๒ ปี       ท่านผู้หญิงใช้เวลานานถึง ๕ ปีกว่า  รอคอยท่านสัญญา

(ระหว่างการสู่ขอ  และการสมรส)"  ใช้เวลาดูแลบ้าน  บิดามารดา  ย่า  ป้า และน้องเล็ก ๆ


        ท่านผู้หญิงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔   สิรีอายุได้ ๘๗ ปี

ท่านใช้ชีวิตคู่ร่วมทุกข์สุขกับสามีเป็นเวลาถึง  ๖๗ ปี   และครอบครัวทั้งสองฝ่ายมีความสนิทสนมผูกพันกันมาเกิน ๘๐ ปี


ท่านประพฤติสัมมาปฎิบัติมาตลอดชีวิตอันยาวนาน      อยู่อย่างเงียบ ๆ  โดยมิได้เข้าไปยุ่งในการงานของสามีเลย

เป็นปูชนียบุคคลของครอบครัว  พี่น้อง  และญาติมิตร

บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 12:30

ขออนุญาต คุณwandee แก้ไขนิดนึงนะครับ

ผมว่า อายุของท่านผู้หญิงพงา ขณะถึงแก่อนิจกรรม น่าจะ 89 ปี มากกว่า 87 นะครับ(2455-2544)

ด้วยความเคารพ

...............
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ม.ค. 12, 14:22


หนังสืออ้างอิงลงรายละเอียดว่า

ท่านผู้หญิงสิริอายุ ๘๗ ปี ๕๐  วันค่ะ


        ในการย่อประวัติท่านผู้ใหญ่  ดิฉันสื่อความหมายที่สำคัญ ว่า ท่านเป็นใคร  สายสกุลมาจากไหน

ญาติพี่น้องและบุตรธิดาได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศอย่างไร     คู่สมรสเป็นใคร   มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร

มิได้อาลัยแต่ท่านที่ยศศักดิ์หรือเป็นฐานะอันสูงแต่สังคมไม่รู้จักค่ะ

        ชีวิตส่วนตัวของบางท่านที่เป็นที่รู้จักดี เพราะเป็นข่าวลงในหน้าหนังสือพิมพ์อย่างเปิดเผย    ดิฉันก็ไม่เคยจะก้าวล่วงล้ำ

หนังสืออ้างอิงนั้นมีอยู่มากมาย   ถ้าเป็นสกุลใหญ่เราก็จะรู้ได้ว่า พ่อของทวดท่านเป็นถึงเจ้าพระยา   ทวดเป็นพระยา

ปู่ยังเป็นพระยา   แสดงว่าตระกูลได้รับราชการมาเป็นหลายชั่วคน

       ความสนใจของดิฉันอยู่ที่ชีวิตเรียบง่ายของบุคคลที่ยิ่งใหญ่     การที่ท่านผู้หญิงอยู่กับคุณยายที่ทำบุญตักบาตรทุกวัน  และตั้งโรงทานด้วย

น่าสนใจนะคะ   เป็นการหล่อหลอมบุคคลิกภาพอย่างธรรมชาติทีเดียว    การที่คุณพ่อคุณแม่ของท่านพยายามขอตัวท่านกลับไปเลี้ยงดูพร้อมน้องๆ

เป็นเรื่องที่ประทับใจมากค่ะ             รายละเอียดเหล่านี้มีความสำคัญต่อการอ่านมากค่ะ     ใจของคนที่รับรู้จะอ่อนโยน  นึกถึงรายละเอียดได้เอง

โดยไม่ต้องเล่า


        ที่  ศาสตราจารย์สัญญา  เดินหลายรอบในเรือเดินสมุทรตั้งใจจะกลับมารับใช้บ้านเมืองแก้ไขเรื่องศาลกงศุล     เป็นความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว

ขนาดไหน   ที่ไม่จำเป็นต้องบรรยายให้กระเทือนใจ   เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้สงบ  อยู่อย่างสงบ  และจากไปอย่างสงบค่ะ


       ขอบคุณที่สนใจเรื่องประวัติบุคคล       เพราะเราก็ได้สนทนากันหลายวาระแล้ว  ในเรือนไทยและในพันทิป

       
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 ม.ค. 12, 08:57

ขออนุญาต คุณwandee แก้ไขนิดนึงนะครับ

ผมว่า อายุของท่านผู้หญิงพงา ขณะถึงแก่อนิจกรรม น่าจะ 89 ปี มากกว่า 87 นะครับ(2455-2544)

ด้วยความเคารพ

...............

การคำนวณอายุผู้วายชนม์จากการเอาปีเกิดตั้งลบด้วยปีที่วายชนม์นั้น
ทำให้อายุผู้วายชนม์คลาดเคลื่อนได้มาก  ยิ่งถ้าไปดูสมัยก่อนการนับปีนับเป็นปีย่าง
คือเมื่อเกิดปีใด ปีนั้นก็นับว่า ๑ ขวบ อย่างท่านผู้หญิงพงา ก็นับว่าอายุ ๑ ขวบตั้งแต่ปี ๒๔๕๕
ถ้านับอย่างนี้ (ตามคติโบราณ) ท่านผู้หญิงพงา จะอายุ ๙๐ ปี เมื่อถึงแก่อนิจกรรม
การนับอย่างนี้จะทำให้สับสน  โบราณท่านก็มีวิธีอายุให้ตรงตามความเป็นจริงด้วย
คือนับกันเป็นวัน  อย่างนี้จะได้อายุกันตามจริง  ไม่ขาดไม่เกิน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 20 คำสั่ง