เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 85469 รูปใหม่ เล่าเรื่องเก่า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 16:02

พาเลี้ยวมาฝั่งตรงกันข้าม
ร้านอาหารตรงนี้ เคยเป็นโรงเรียนสอนตัดเสื้อชื่อดังค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 17:39

แถมให้อีก 2 สะพานใกล้ ๆ กัน แห่งหนึ่งซ่อมแล้ว-อีกสะพานสร้างใหม่




สะพานหกที่ คลองหลอดวัดราชบพิธ (คลองคูเมืองเดิม) สะพานหก สร้างตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสะพานแบบฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) สามารถชักขึ้นลงให้เรือผ่านได้ ต่อมาแม้มีสภาพเปลี่ยนไปเป็นสะพานให้รถข้าม แต่ก็ยังคงเรียกชื่อ "สะพานหก" ครั้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ รัฐบาลดำริอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร จึงร่วมใจกันบูรณะปฏิสังขรณ์สะพานหกขึ้นไว้ตามแบบเดิม สำหรับเป็นอนุสรณ์เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เปิดเมื่อวันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐

 ยิงฟันยิ้ม  

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 17:45

ก.ศ.ร. กุหลาบ กล่าวถึงสะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่ไว้ในนิราศยี่สาร

โบถเจ้าเซ็นพวกที่เต้นตบตีอก                   อยู่ริมตีนตะพานหกฝั่งเหนือหนา
ตะพานหกใหญ่ทยาดประหลาดตา              แต่เกิดมาไม่เคยมีเช่นนี้เลย
โอ้พระคุณทูลกระหม่อมจอมโมลิศ              ช่างทรงคิดให้ราษฎร์เย็นเดินเล่นเฉย
ข้ามคล่องคลองบางกอกใหญ่ได้สะเบย        เรือที่เคยแล่นลัดไม่ขัดคอ
ทั้งเรือเสาเรือใบไปได้สิ้น                        น้ำมันดินทาดำดูขำหนอ
เรือเสาใบไปได้คล่องแต่ต้องรอ                ชักโซ่ปร๋อหดขวับแล้วงับลง
ตะพานหกยกได้ว่องไวนัก                       พระจอมจักรหลักเมืองเรืองระหง
รัชกาลที่ห้าวราพงษ์                             ประสาททรงโปรดให้คิดประดิษฐดี
ทำตามเลศเพทช่างยุโรปเพี่ยน                 ดูแนบเนียนพูนเพิ่มเฉลิมศรี
ตั้งสี่เสาเกลากลมอุดมดี                         ข้างบนมีสี่มุมหุ้มเหล็กตรึง
ทำที่แคร่แม่เตาไฟมิใช่เล็ก                     สะกรูเหล็กแน่นรายโซ่สายขึง
สี่สายห้อยร้อยตะพานไม่ยานตึง                ภอเหนี่ยวถึงโซกร่างง้างตะพาน
โปลิศอยู่ดูแลคอยแก้ไข                         ช่วยยกให้ทุกเวลาน่าสงสาร
เงินเดือนมีได้ไม่ขาดพระราชทาน              เพราะโปรดปรานทั่วน่าประชาชน

สมณชีพราหมณ์ได้ความชื่น                    ทั่วแผ่นพื้นปุถพีได้มีผล
เพราะพระเดชเดชาฝ่ายุคล                     มาปกบนเกล้าข้าฝ่าลออง

ภาพสะพานหกข้ามคูเมืองเดิมในอดีต



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 18:06

สะพานหกในภาพ ข้ามคลองคูเมืองเดิม

แต่ในนิราศยี่สาร ข้ามคลองบางกอกใหญ่
อยู่ช่วงไหน พอจะทราบไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 18:20

อยู่ช่วงไหน-ไม่ทราบ ทราบแต่ว่าสะพานหกมีหลายแห่ง

ในหนังสือ องค์ประกอบทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำขึ้น  แบ่งการศึกษาออกเป็นหลายสมัย

ได้กล่าวถึงถนนสามเพ็ง ว่ามีขึ้นตั้งแต่ ช่วงสมัย รัชกาลที่ 1-3 แต่ถนในสมัยนั้นเป็นแค่แนวทางเดินเล็กๆ
และได้กล่าวว่า ถนนเยาวราช หรือถนน ยุพราช สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นถนนที่สร้างเคียงมากับถนนสามเพ็งเดิม  แต่ถนนเดิมขยายลำบาก  ถนนยุพราชช่วงแรก เริ่มต้รที่ถนนมหาไชยหน้าวังบูรพา ไปสิ้นสุดที่ถนนราชวงศ์ 
และยังเล่าถึง สะพานแบบใหม่ที่สร้างตามรูปแบบตะวันตก ในสมัย รัชกาลที่ 4-5 มี สะพานหก  สะพานหัน  และสะพานโครงเหล็กรูปโค้ง

สะพานหก มีดังนี้
สะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทย ข้ามคูเมืองเดิม
สะพานหกหลังกระทรวงกลาโหม ข้ามคูเมืองเดิม
สะพานหก ริมวังพระองค์เจ้าสายปัญญา
สะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่
สะพานข้ามคลองมอญ


ขอกลับไปท่าน้ำราชวงศ์ หน่อยค่ะ  คิดถึงในหนังสือสมัยก่อน เวลาเดินางไปหัวเมืองชายทะเล  เป็นต้องไปขึ้นเรือที่ท่าราชวงศ์ นึกถึงปริศนา ของท่านชายพจน์ ตอนไปรับ-ส่งแม่และพี่สาวที่ท่าน้ำราชวงศ์นะคะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 18:41

ขอบคุณมากค่ะ

เลยตามไปอ่านเรื่อง เยาวราช-สำเพ็ง ต่อด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 19:44

เรื่องนี้ไม่มีใครยืนยัน เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ แต่ได้ฟังจากคุณแม่ที่ปัจจุบันอายุ 85 ปีเคยบอกไว้ว่า

ตอนเย็น ๆ ท่านเจ้าคุณฯ ท่านจะให้คนพาช้างที่เลี้ยงไว้ในวังบ้านหม้อ มาอาบน้ำที่ตรงนี้

 ยิ้มกว้างๆ ยิงฟันยิ้ม

ที่อาบน้ำ พลายมงคล กระมัง

พลายมงคลเจ้าของตำนาน “ช้างโศก...คนเศร้า!”


 
 เศร้า
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 20:48

ในวังบ้านหม้อเลี้ยงช้างด้วยค่ะ นามสกุลท่านคือ กุญชร
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 23:44

ภาพเก่า ไม่ระบุเวลา กับ เวลานี้ค่ะ

ภาพที่เห็นเป็นสะพานทิพยเสถียรที่เก่าพอสมควร จะเห็นได้ว่ารถบัสวิ่งจากขวาไปซ้ายคือวิ่งสวนกันได้ ซึ่งตั้งแต่ผมจำความได้(อย่างน้อย40ปี) สะพานทิพยเสถียรก็เป็นวันเวย์แล้วคือต้องวิ่งจากซ้ายไปขวาทางเดียว
อีกประการหนึ่งตรงหลังรูปจะเห็นโบสถ์กาลหว่าร์หรือวัดแม่พระลูกประคำซึ่งผมไม่เคยเห็นโบสถ์ที่ชัดเจนจากมุมนี้มาก่อน โบสถ์นี้เป็นโสสถ์คาทอลิคที่สวยงามมากอายุมากกว่า100ปีแล้ว
ผมก็แต่งงานที่โบสถ์นี้ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 ม.ค. 12, 09:03

โบสถ์วัดกาลหว่าร์ สวยงามมากค่ะ
ข้าง ๆ กันยังมี ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย สวยงามพอกัน
ทั้งหมดนี้ ยังรักษาสภาพอาคารเดิมไว้เป็นอย่างดี

เสียดายที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์หลังเก่าที่เป็นไม้ ไฟไหม้ไปก่อน

คุณ Sujittra เป็นศิษย์ กลว. ด้วยหรือเปล่าคะ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 19 ม.ค. 12, 09:17

โบสถ์วัดกาลหว่าร์สมัยรัชกาลที่ ๕

แถวนั้นมีตรอกโรงน้ำแข็ง ซึ่งสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นห้างที่ผลิตโซดาและน้ำแข็งที่โด่งดังมาก


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 19 ม.ค. 12, 11:02

โบสถ์วัดกาลหว่าร์ สวยงามมากค่ะ
ข้าง ๆ กันยังมี ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย สวยงามพอกัน
ทั้งหมดนี้ ยังรักษาสภาพอาคารเดิมไว้เป็นอย่างดี

เสียดายที่ว่าการอำเภอสัมพันธวงศ์หลังเก่าที่เป็นไม้ ไฟไหม้ไปก่อน

คุณ Sujittra เป็นศิษย์ กลว. ด้วยหรือเปล่าคะ

ธ.ไทยพาณิชย์ที่ตลาดน้อยนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์แหงแรกของไทยและอดีตเป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ เดิมใช้ชื่อว่า "สยามกัมมาจล" (Siam Commercial)
 
ใช่ครับผมภูมิใจที่เป็นศิษย์่เก่า กลว. (โรงเรียนกุหลาบวิทยา)
แต่เดิมนั้นมีโรงเรียนติดกันอยู่คนละฝั่งของสนามหน้าโบสถ์วัดกาลหว่าร์ชื่อว่า กลน. (กุหลาบวัฒนา) (ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง "Succeed ห่วยขั้นเทพ" จะมีฉากหนึ่งที่พระเอกและพวกมากรุงเทพฯหลังจากอกหักที่เชียงใหม่ ทั้งสามมาที่โบสถ์วัดกาลหว่าร์และแอบดูนักเรียนหญิงโรงเรียน กลน.) แต่ด้วยนโยบายอะไรก็ไม่ทราบของเจ้าของที่ดินในละแวกนั้นคือสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทำให้บ้านเรือนแถวนั้นเปลี่ยนสภาพจากชุมชนคริสตังค์ (คาทอลิค) ที่เก่าแก่(ซึ่งทุกคนเช่าที่วัดอยู่ในราคาที่ afford ได้) กลายสภาพเป็นคอนโดมิเนียม ชาวคริสตังค์เลยแตกกระสานซ่านเซ็น (รวมทั้งครอบครัวผมด้วย) ส่งผลให้ชาวคริสตังค์ในละแวกนั้นเหลือน้อยลง รวมทั้งเด็กรุ่นใหม่ก็มีน้อยมากเพราะครอบครัวย้ายถิ่นฐานไปที่อื่น เด็กผู้หญิงจึงมาเรียนน้อยลง สุดท้ายโรงเรียน กลืน.ก็ต้องปิดตำนานลงและไปรวมกับ กลว. เป็นโรงเรียนสหศึกษา ใช้ชื่อว่า กุหลาบวิทยา

ผลสะท้อนกลับไปยังโบสถ์ก็คือ จากเดิมที่เป็นโบสถ์ที่มีคนเข้าหนาแน่นทุกครั้งที่มีพิธีทางศาสนากลับกลายเป็นลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ จากเดิมในสมัยผมที่เด็กในละแวกต้องแย่งกันเพื่อจะได้มีโอกาสเป็นเด็กช่วยมิสซา(ช่วยเป็นมือเป็นไม้เวลาบาดหลวงทำพิธี)กลับกลายเป็นว่า ทั้งพิธีมีบาดหลวงคนเดียวและต้องช่วยตัวเองทุกอย่าง ความน่าเลื่อมใสของพิธีจึงย่อมลดน้อยถอยลงในสายตาคนทั่วไป (สภาพเหมือนโบสถ์ในยุโรป ทั้งโบสถ์คาทอลิคและโบสถ์โปรเตสแตนท์หรือที่เรียกในหมู่คนไทยว่า "คริสเตียน" ที่ถูกคนหมางเมิน มีแต่บาดหลวงองค์เดียวทำพิธีและนับคนเข้าร่วมพิธีไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของเก้าอี้ที่มีอยู่ ข้อที่น่าห่วงคือมีแต่คนสูงอายุเท่านั่นที่เข้าโบสถ์ เป็นภาพที่สะเทือนใจมาก)

ต้องขออภัยที่ออกนอกกระทู้แต่ก็คิดว่าเป็นข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 19 ม.ค. 12, 11:06

ขอบคุณท่าน "Siamese" ที่นำรูปโบสถ์เก่ามาโพสต์ เป็นรูปที่เก่ามากครับ ผมขออนุญาต Save ไว้เพื่อนำไปให้พี่น้องได้ชมกัน
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 19 ม.ค. 12, 12:11

ชุมชนรอบโบสถ์ เป็นชุมชนที่น่ารักมากจริงค่ะ เสียดายที่ไม่มีรูปถ่ายเก็บไว้
เป็นบ้านแถวแบบ Indo-Chinese อยู่ทางด้านซ้ายของโบสถ์ มีที่นั่งเล่นด้านหน้า ที่กรุงเทพฯ ไม่ค่อยเห็นมีแบบนี้ค่ะ
บ้านแถวนี้จำเป็นต้องรื้อ เพราะโรงเรียนจะขยาย ชุมชนเลยหายไป พอชุมชนหาย คนก็หายไปด้วย ดูเป็นปัญหาวกวนชอบกลนะคะ

ตอนนี้ขออีกอย่างหนึ่ง คือให้โบสถ์รักษาสภาพลานด้านหน้าริมน้ำไว้ เพราะถ้า Plaza นี้หายไป ก็แย่เลย
เคยเห็นแผนสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางแผน จะเอาที่ตรงนี้เป็นทางลงสะพานค่ะ โชคดีที่แผนนี้ล้มไปแล้ว

ดิฉันเป็นศิษย์ กลน.ค่ะ ยังแค้นใจไม่หาย ที่ รร.หญิงหายไป กลายเป็น รร.สหศึกษา ใช้ชื่อ รร.ชายเสียนี่
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 19 ม.ค. 12, 12:20

พากลับมาที่คลองคูเมืองเดิมค่ะ

พาเลี้ยวมาฝั่งตรงกันข้าม
ร้านอาหารตรงนี้ เคยเป็นโรงเรียนสอนตัดเสื้อชื่อดังค่ะ


ร้าน ช.ประทุมทอง ย้ายมาจากละแวกหน้าพระลาน  ที่ปัจจุบันปรับปรุงอาคารใหม่ตามแบบอาคารอนุรักษ์แล้ว
ที่ตั้งร้านนี้แต่เดิมนั้น  เป็นโรงเรียนสอนตัดเสื้อ ดวงใจ ของคุณแม่ของคุณตั้ว-กีรติ ชลสิทธิ์

สมัยก่อน ใครอยากเรียนตัดเสื้อ ต้องมาที่นี่ สมัยนี้ไม่ค่อยมีใครตัดเสื้อเข้ารูปกันแล้ว ซื้อสำเร็จเอาง่ายกว่า

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 19 คำสั่ง