เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4447 อยากทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นมีไฟฟ้าใช้ตามบ้านเรือนประชาชนหรือยังคะ?
นารีจำศีล
อสุรผัด
*
ตอบ: 46



 เมื่อ 14 ม.ค. 12, 21:55

ค้นข้อมูลจากในกูเกิ้ลดูแล้วว่าไฟฟ้าเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ไม่แน่ใจว่าตามบ้านเรือนของประชาชนทั่วไปนั้นเริ่มมีไฟฟ้าใช้กันตั้งแต่ปี พศ.ไหน
และในสมัยรัชกาลที่ ๖ เราเรียกกรุงเทพฯ ว่า กรุงเทพฯ หรืออะไรคะ? แล้วต่างจังหวัดนี่เรียกว่าอะไรคะ?

รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 ม.ค. 12, 22:07

๑  พิมพ์คำว่า ประวัติความเป็นมาการไฟฟ้าในประเทศไทย ลงในกูเกิ้ล   นะคะ   คุณจะได้คำตอบ
๒  เรียก กรุงเทพ หรือพระนคร   ถ้าเป็นชาวบ้านต่างจังหวัดเรียกกรุงเทพว่าบางกอก
๓  ต่างจังหวัด = หัวเมือง
บันทึกการเข้า
นารีจำศีล
อสุรผัด
*
ตอบ: 46



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ม.ค. 12, 22:20

ขอบคุณคุณเทาชมพูมากๆ ค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ม.ค. 12, 20:03

เห็นหัวข้อกระทู้ถามว่า "อยากทราบว่าในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นมีไฟฟ้าใช้ตามบ้านเรือนประชาชนหรือยังคะ?"
แต่ในเนื้อคำถามกลับถามไปอีกอย่าง  ซึ่งท่านอาจารย์ใหญ่ได้กรุณาตอบไปแล้ว

สำหรับคำถามที่เป็นหัวข้อกระทู้ถามนั้น  พอจะตอบได้ว่า บ้านเรือนราษฎรในกรุงเทพฯ ได้เริ่มมีไฟฟ้าใชกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ แล้วครับ  แต่กิจการไฟฟ้าในรัชกาลที่ ๕ นั้นเป็นการให้สัมปทานฝรั่งชาติยุโรปเป็นคนจัดการ  ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อการขุดคลองประปาและการก่อสร้างสร้างประปาสถาน (โรงกรองน้ำสามเสน) ที่เริ่มมาแต่ตอนปลายรัชกาลที่ ๕ ใกล้จะแล้วเสร็จ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงนครบาลจัดสร้างโรงไฟฟ้าหลวงสามเสนขึ้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปัจจุบันเป็นการไฟฟ้าสามเสน  ริมถนนสามเสนใกล้สี่แยกศรีย่าน  แล้วได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าให้แก่พระราชวังดุสิต  รวมทั้งประปาสถานและบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ตอนเหนือคลองผดุงกรุงเกษมมาตั้งแต่วันที่  ๒๒  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๔๕๗
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ม.ค. 12, 20:59

ส่งข้อมูลเพิ่มเติม อ. V_mee สักเล็กน้อย

ในเบื้องแรกหลัง พ.ศ. ๒๔๓๔ การจำหน่ายไฟฟ้าผูกขาดโดย "บริษัทไฟฟ้าสยาม" ซึ่งทำการจ่ายไฟฟ้าละแวกคลองผดุงกรุงเกษมและย่านคลองบางลำพูฝั่งใต้ (สำหรับประชาชน) และรัฐบาลและพระบรมมหาราชังก็ซื้อไฟในราคาพิเศษ เมื่อความเจริญแผ่ขยายออกไปการใช้ไฟฟ้าก็มากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลสยามทำการสร้างการประปาสามเสน ติดตั้งเครื่องสูบน้ำซึ่งต้องใช้ไฟฟ้ามาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่พอหากจะดึงไฟจากบริษัทไฟฟ้าสยาม

ดังนั้นระหว่างการเช่าซื้อไฟฟ้า กับเป็นเจ้าของไฟฟ้าเอง ก็เลือกที่จะทำอย่างหลัง จึงขอกราบบังคมทูลขอก่อสร้างโรงไฟฟ้าสามเสนเป็นต้นมาครับ
บันทึกการเข้า
ศิณาวรรณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 เม.ย. 12, 19:07

ขอเรื่องบางกอกไว้สักนิดนะครับ มีหลักฐานว่าวัดบางมะกอกนอกนั้นได้แก่วัดนวลนรดิษฐ์ ส่วนวัดบางมะกอกในนั้นได้แ่ก่วัดอรุณราชวราราม
คำว่าบางกอกก็น่าจะมาจากคำว่าบางมะกอกนี่เอง ส่วนพื้นที่เมืองบางกอก ก็น่าจะได้แก่พื้นที่ติดคลองบางกอกใหญ่ตั้งแต่วัดนวลนรดิษฐ์
ถึงวัดอรุณราชวราราม พื้นที่นี้เป็นชุึมชนสำคัญมาแต่เดิมก็ด้วยเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับท่าจีน ด้านแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วน
ด้านท่าจีนก็ได้แก่มหาชัย คราวเมื่อสมัยพระชัยราชาเสด็จพื้นทีชายฝั่งทะเล โดยออกเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงแม่น้ำท่าจีน ได้โปรดให้
ยกชุมชนบางกอกขี้นเป็นเมืองบางกอก และให้ตั้งด่านภาษีขึ้นที่วัดอัปสรสวรรค์ ปัจจุบันยังมีอาคารเก่าของโรงเรียนวัดอัปสรสวรรค์ที่สร้างสมัน
ร 5 ตั้งอยู่บริเวณสถานที่ที่เป็นด่านภาษีเดิม คลองตรงนี้ก็เลยเรียกคลองด่านไปด้วย ด่านนี้เป็นด่านตะวันตกเชื่อมกับแม่น้ำท่าจีน ส่วนด่านตะวันออก
อยู่ที่สมุทรปราการเชื่อมแม่น้ำบางปะกงกับแม่น้ำเจ้าพระยา เหมือนกัน ถัดจากคลองด่านนี้ไป เรียกคลองสนามไชย คลองหัวกระบือ ตัดออกทะเล
ที่ปากคลองวัดโคกขาม เรียกคลองโคกขาม ที่เป็นตำนานเรื่องพันท้ายนรสิงห์ นั่นแหละครับ ส่วนคลองมหาไชยทืี่เชื่อมตั้งแต่ปากคลองวัดโคกขาม
ถึงมหาชัยน่าจะขุดขึ้นราวสมัย ร 4 พร้อมคลองภาษีเจริญ คลองสุนัขหอน คลองดำเนินสะดวก เพื่อเชื่อมไปถึงแม่น้ำแม่กลอง อัมพวาสวนนอก
บางกอกสวนในก็น่าจะมีสัมพันธ์กันมานานแล้วทีเดียว

อีกเรื่องเมื่อคราวพระชัยราชายกชุมชนบางกอกขึ้นเป็นเมืองบางกอกนั้น คือการขุดแม่น้ำเจ้าพระยา (พศ 2065) ลัดตรงจากคลองบางกอกน้อย ถึงคลองบางกอกใหญ่และสร้างเมืองบางกอกขึ้นที่ปากคลองบางกอกใหญ่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ขุดขึ้น เพื่อควบคุมเส้นทางแม่น้ำสัญจรทั้ง 3 ทาง 3 ทิศ และ 5 เมืองใหญ่อันได้แก่ ท่าจีน บางกอก พระประแดง นนทบุรี และอยุธยา ปากคลองตลาดจึงน่าจะเป็นตลาดปากคลองมาแต่เดิมขนาดของตลาดคงใหญ่มาก
จนมาจรดวัดท้ายตลาดทีเดียว เนื่องจากเป็นตลาดที่ทำการค้ากับต่างประเทศด้วย คราวเมื่อสร้างกรุงเทพ ให้อพยพคนจีนค้าขาย ไปไว้ที่สำเพ็ง คนคงเป็น
คนจีนที่ตลาดนี้นี่เอง คนจีนที่บางกอกก็คงเป็นคนจีนที่ท่าจีนนั่นเอง เพราะก่อนหน้านี้ปากน้ำเจ้าพระยายังไม่มีบทบาทเท่าปากน้ำท่าจีน ปากน้ำท่าจีนน่า
จะมีมาตั้งแต่คราว สุพรรณภูมิ ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาเสียด้วยซ้ำ คนจีนมาปักหลักที่นี้ ก็เพื่อซื้อข้าวส่งไปเมืองจีน
ท่าฉลอมก็เป็นท่าเรือ อู่เรือ สำหรับต่อเรือฉลอม ซึ่งก็ได้แก่เรือใบขนสินข้าวสารไปเมืองจีนนั่นเอง อุตสาหกรรมการต่อเรือของไทยนี้ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุด
ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เลยทีเดียว ศูนย์กลางการต่อเรือก็กระจายอยู่ทั่ว ตั้งแต่ เมืองตราด ถึงเมืองบางกอก ถึงนนทบุรี อยุธยา ถึงท่าจีน เหมือนกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ คราวเมื่อพระเจ้าตากสินยกทัพจากตะวันออกมาตีกรุงธนบุรี ก็ได้ทัพเรือจาก เมืองตราดนี้เอง (เรื่องกองทัพของพระเจ้าตากสินนี้ถ้ามีโอกาสจะขยายอีกที คราวนี้จะว่าเรื่องเมืองบางกอกเสียก่อน) เมื่อขุดแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จตลาด ปากคลองทางทิศตะวันออกกับท้ายตลาดทางทิศตะวันตกก็ขาดออกจากกัน เป็นปากคลองตลาดฝั่งหนึ่ง กับท้ายตลาดฝั่งหนึ่ง ถนนอรุณอมรินทร์ก็ถูกกล่าวถึงว่าเป็นทางลัดทางบกที่เชื่อมปากคลองบางกอกน้อย
กับปากคลองบางกอกใหญ่มาตั้งแต่ก่อนขุดแม้ำเจ้าพระยาเสียอีก   

คนจีนท่ามาอยู่ปากแม่น้ำท่าจีนก็เพื่อค้าขายกับสุพรรณภูมิ ดังนั้นคนจีนที่มาอยู่เมืองบางกอกก็เพื่อค้าขายกับอยุธยาเช่นกัน และเมื่อบางกอกเป็นจุดเชื่อมระหว่าง
สุพรรณภูมิและอยุธยาด้านแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาบางกอกก็ย่อมมีต้องมีอิทธิพลเหนือกว่าอยุธยาอยู่ดี นี่คือเหตุผลหนึ่งพระเจ้าตากสินตัดสินใจตั้งราชธานีที่
ธนบุรี เหมือนกับอยุธยาที่เป็นจุดเชื่อมของสุพรรณภูมิ จากลุ่มแม่น้ำสุพรรณ ละโว้จากลุ่มน้ำลพบุรี สุโขทัยจากลุ่มน้ำยม และตากจากลุ่มน้ำปิง เมื่อเวลาผ่านไป
อยุธยาจึงเป็นใหญ่เหนืออาณาจักรอื่น และสุดท้ายก็สามารถเข้าครอบครองเอาไว้ได้ทั้งหมด

ถ้าเป็นอย่างที่ผมว่า ชุมชนบางกอกก็น่าจะมีมานานกว่า 500 ปีแล้ว และเมืองบางกอกก็น่าจะสถาปนามาเกือบ 500 ปีแล้วเช่นกัน และก็น่าจะเป็นไปได้ว่า
คนท่าจีนนี่แหละที่สร้าง บางกอก ขึ้นมา

2565 ฉลองเมืองบางกอกครบ 500 ปี ผมว่าเท่ดีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง