เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13499 ขอถามคุณเทาชมพู-เอกสารจากที่ใดบอกว่าหนังสือก.ศ.ร.กุหลาบถูกเผา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:08

17 พ.ย. 2548 (10:35)

ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน หนังสือสยามประเภทในยุคท้ายๆจึงผิดเพี้ยนไปอย่างมาก

ทำให้หนังสือสยามประเภทถูกเก็บและทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกต่อไป




เท่าที่อ่านนะครับ ไม่เห็นมีคำว่า "เผา" เลยสักคำเดียว

"ถูกเก็บและทำลาย" อาจจะไม่ได้หมายความว่า "เผา" นะครับ  ตกใจ

นี่คุณอาร์ต ทำยังกะอยู่สมัยจิ๋นซีหว่างตี้  ยิงฟันยิ้ม..... หนังสือสยามประเภท ต่างตกอยู่ในมือบรรดาเศรษฐีและนักเล่นหนังสือเก่ามิใช่หรือท่าน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:10

หนังสือเล่มนั้นต่างหากที่มีคำว่า  "เผา"

ราชกิจจาปี วันอาทิตย์ เดือน ๙  แรม ๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๑      ลงว่า
หนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น  ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง  ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง 
เก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น  อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

ให้เอาตัวอ้ายทิมขุนพิพิธภักดี ในกรมพระสุรัสวดี เป็นคนคิดนิราศหนองคาย ถ้อยคำฟุ้งซ่านร่านระเหลือเกินมากนัก ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๕๐ จำคุกไว้ และหนังสือนิราศหนองคายที่ตีพิมพ์เย็บเป็นเล่มไว้นั้น ใครได้ซื้อมาอ่านมาฟัง ให้พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเก็บเอามาเผาไฟเสียให้สิ้น อย่าให้มีแบบฉบับเหลืออยู่ได้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕ นำเบอร์ ๑๕๓
วันอาทิตย์เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ ปีขาล

ล้วนความจริงไม่แกล้งมาแต่งปด      ได้จำจดผูกพันจนวันกลับ
ถึงความร้ายการดีที่ลี้ลับ               ได้สดับเรื่องหมดจดจำมา
ซึ่งบางพวกไม่ได้ขึ้นไปทัพ             บางคนกลับผูกจิตริษยา
แล้วกล่าวโทษติฉินแกล้งนินทา        ค่อนขอดว่ากองทัพเสียยับเยิน


หลวงพัฒนพงษ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)


Where they have burned books, they will end in burning human beings.
Dort, wo man Bücher verbrennt, verbrennt man am Ende auch Menschen.


Heinrich Heine
จากบทละคร Almansor (๑๘๒๑)

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:21

ขอโทษคุณจขกท.ด้วยที่ยังค้นไม่เจอว่าอ้างอิงจากหนังสือเล่มไหนค่ะ    จำได้แต่ว่าเป็นหนังสือต้องห้าม  แต่ไม่คิดว่าจะถึงขั้นถูกเผาอย่างนิราศหนองคาย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:33


        หนังสือของก.ศ.ร. นั้น  เป็นหนังสือหายากจริง  แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะหาไม่ได้

ในระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้  มีนายหน้าหาหนังสือเก่า/นักสะสม ที่ขายหนังสือของ ก.ศ.ร. เสียเพลิน  

ฉายาที่เรียกกันคือ "คุณแว่นดำ"    เขามีรูปชุดต่างๆที่ขายไปแล้วด้วย   ทำให้หลายคนได้เห็นว่ามีชุดเหล่านี้อยู่จริง
  
ที่สามปีมานี้ไปทำธุรกิจส่วนตัวเสียแล้ว      

        เจ้าของร้านหนังสือเก่าแทบทุกคนเป็นคนสมัยใหม่   มีความรู้ที่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดี

        นักสะสมหนังสือเก่าระดับอาวุโสผู้มีธุรกิจส่วนตัว   ก็ตามเก็บหนังสือของก.ศ.ร. กุหลาบ  และ นายวรรณกัน

มีอยู่รายหนึ่ง   น้ำท่วมบ้านเสียหายพอประมาณ    แต่โรงงานส่งออกท่วมจนมิดหลังคา    ได้ติดต่อดิฉันมาขอข้อมูล

เรื่อง "ตุลวิภาคพจนกิจ"   ที่เพิ่งไปเจอมาหยก ๆในราคาไม่แพง      โรงงานยังไม่ทันแห้งเลย

       กระดาษพิมพ์ในยุคต้นรัชกาลที่ ๔ นั้น  มาจากอเมริกาพร้อมกับเครื่องพิมพ์เลย       ต่อมาก็ใช้กระดาษจากฝรั่งเศส

ถ้าหนังสือรุ่นนั้นไม่เก็บดีจริงๆ   ประคองขึ้นอ่านก็แทบขาดกลางแล้วค่ะ     เท่าที่เห็นในสภาพดี  คือกรุที่เก็บในตู้ไม้เนื้อแข็งทั้งหนาและหนัก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 12:54

ขอโทษคุณจขกท.ด้วยที่ยังค้นไม่เจอว่าอ้างอิงจากหนังสือเล่มไหนค่ะ    จำได้แต่ว่าเป็นหนังสือต้องห้าม  แต่ไม่คิดว่าจะถึงขั้นถูกเผาอย่างนิราศหนองคาย

เมื่อเลิกทำหนังสือในวัยชรา  นายกุหลาบเลิกทำหนังสือ  แต่เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างพิมพ์หนังสือ  สิ่งพิมพ์ต่างๆและนามบัตร

ด้วยราคาถูกกว่าที่อื่น ทำให้มีผู้มาว่าจ้างไม่ขาดระยะ  ก็พอเลี้ยงชีพได้แม้ว่ายากจนลงกว่าเมื่อวันต้นมากก็ตาม


ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน    หนังสือสยามประเภทในยุคท้ายๆจึงผิดเพี้ยนไปอย่างมาก

ทำให้หนังสือสยามประเภทถูกเก็บและทำลาย  เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกต่อไป

แต่ก็ยังมีจำนวนหนึ่งเหลือรอดอยู่เป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชน   จึงมีมาให้อ่านจนทุกวันนี้


นายกุหลาบถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อพ.ศ. 2464 ในรัชกาลที่ 6   อายุ 87 ปี

คุณเทาชมพูคงอ้างอิงจากหนังสือ ก.ส.ร. กุหลาบ ของ คุณมนันยา ธนะภูมิ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๗๐-๗๑)

นายกุหลาบมีอายุยืนมากและยังได้เขียนหนังสือโดยอาศัยการค้นคว้าจากเอกสารประวัติศาสตร์และโบราณคดีของตนอยู่จนถึงบั้นปลายของชีวิต แต่ในเมื่อความจำเลอะเลือนเสียแล้ว ผลงานที่ปรากฏในระยะหลังการทำหนังสือสยามประเภทจึงไม่มีคุณค่าอะไรหรือผิดเพี้ยนไปจากความจริงอย่างมาก ดังนั้นจึงปรากฏว่าผู้มีอำนาจทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้สั่งเก็บและทำลายหนังสือของนายกุหลาบอย่างถอนรากถอนโคน  หนังสือของนายกุหลาบเท่าที่เหลือรอดมาได้ก็โดยการเก็บซ่อนตามบ้านต่าง ๆ ของบุตรหญิงหรือตามบ้านผู้ชอบสะสมของเก่าไม่กี่ท่าน ซึ่งเรื่องนี้นายกุหลาบได้บันทึกไว้และดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการผู้รักหนังสือ

คุณมนันยามีเชิงอรรถตอนนี้ไว้ด้วย

แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการสั่งเก็บและทำลายหนังสือเลยสักนิด

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 13:17

เชิงอรรถนี้ คุณมนันยาต้องการขยายความข้อความตอนท้ายนี้มากกว่า

ซึ่งเรื่องนี้นายกุหลาบได้บันทึกไว้และดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการผู้รักหนังสือ

ที่โรงพิมพ์ซึ่งเป็นที่อยู่ของนายกุหลาบด้วยนั้นมีสรรพตำรามาก เจ้านายหลายพระองค์เสด็จมาประทับคุยด้วยเป็นประจำในฐานะคนชอบหนังสือและวิชาความรู้ด้วยกัน เท่าที่บุตรหลานของนายกุหลาบจำได้มีกรมหมื่อนพงศาดิศรมหิป กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ส่วนกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณนั้นโปรดนายกุหลาบมากกว่าใคร มักเสด็จมาคุยเวลาค่ำ ๆ เสมอ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่เคยเสด็จมาหานายกุหลาบ แต่บุตรหลานในสกุลตฤษณานนท์กล่าวตรงกันว่าเคยให้มหาดเล็กถือลายพระหัตถ์มาถามนายกุหลาบเรื่องความรู้ต่าง ๆ หลายครั้ง ลายพระหัตถ์เหล่านั้นนายกุหลาบเคยเก็บรักษาไว้ แต่ต่อมาภายหลังไฟไหม้บ้านหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ผู้เป็นหลาน จึงสูญไป

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 17:28

ผมทราบแต่ว่า  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดี
หรือในลายพระหัตถ์ประทานแก่เจ้าคุณอนุมานฯ ว่า  หนังสือนายกุหลาบนั้น
ที่หอพระสมุดมีอยู่  พระองค์ได้โปรดให้เจ้าหน้าที่หอพระสมุดใส่ตู้ลงกุญแจ
อายัดไว้ไม่ให้เอาออกให้บริการแก่ผู้ใด  การที่มีหนังสือนายกุหลาบที่หอพระสมุด
ก็เป็นเพราะไปตามข้อบังคับว่าต้องส่งหนังสือที่พิมพ์ให้หอพระสมุดด้วยเป็นหลักฐานการพิมพ์
ส่วนหอพระสมุดได้รับแล้ว จะให้บริการหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหอพระสมุด

กรณีหนังสือนายกุหลาบนั้น  แม้หอพระสมุดไม่ให้เอาออกบริการ 
แต่ก็ใช่ว่า  นอกหอพระสมุดจะไม่มีให้อ่าน  แต่หนังสือของนายกุหลาบ
เป็นหนังสือเล่มหนาเล่มใหญ่หรือเป็นชุด มีราคาไม่เบา คนทั่วไปคงซื้อหาไม่ไหว
ส่วนเล่มเล็กๆ น้อยๆ ก็มีบ้าง  แต่ก็มักจะสูญหายไปตามกาลเวลา
เพราะคนไทยมักเก็บหนังสือไม่ใคร่ดี  (บวกกับคุณภาพหนังสือของนายกุหลาบ
ก็ไม่สู้ดีมากนัก) ทำให้เก็บรักษาให้อยู่ในสภาพดีได้ยาก

หนังสือของนายกุหลาบ ไม่ได้มีเนื้อหาอันตรายมากขึ้นขนาดหนังสือบางประเภท
ที่มีการห้ามเผยแพร่ในยุคหนึ่ง   แต่เพราะความน่าเชื่อถือของตัวนายกุหลาบ
ซึ่งมีเหตุจากการออกหนังสือสยามประเภทก็ดี หนังสือพระประวัติ...ก็ดี
มีส่วนทำให้ชื่อเสียงนายกุหลาบตกต่ำลง  ในสยามประเภทเล่มหลังๆ  ผู้ที่เคยอ่านแล้ว
บอกว่า  อ่านไม่สนุก ไม่ค่อยมีเรื่องน่าสนใจอย่างเล่มต้นๆ และมีหน้าน้อยลง  เหมือนว่า
นายกุหลาบเริ่มหมดวัตถุดิบในการเขียน  (ที่สำคัญ จำนวนสมาชิกก็ถดถอยลงมาก
ซึ่งมีผลต่อต้นทุนในการพิมพ์ครั้งต่อๆ มาด้วย) แต่นายกุหลาบรักการเขียนพิมพ์หนังสือ
จึงยอมขาดทุนพิมพ์ต่อมาอีกหลายปี 

หนังสือนายกุหลาบนั้นแม้จริงก็มีที่เป็นคุณเป็นสาระที่หาอ่านจากหนังสือไม่ได้หลายเรื่อง
แต่เพราะนายกุหลาบมีตำหนิเรื่องความน่าเชื่อถือ  ทำให้การยอมรับข้อมูลที่นายกุหลาบเขียน
ย่อมไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคมไทย   แม้จะมีจะผู้หยิบยืมข้อมูลนายกุหลาบมาใช้
(มากบ้างน้อยบ้าง บ้างก็คัดลงทั้งดุ้น) ก็ไม่กล้าอ้างว่าเอามาจากหนังสือนายกุหลาบ
เพราะเกรงว่าจะเสียชื่อตัวเอง  จนกระทั่งผ่านมาหลายสิบปี หรือเกือบศตวรรษ
จึงเริ่มมีคนเริ่มอ้างอิงหนังสือนายกุหลาบมากขึ้น  เป็นที่ยอมรับมากกว่าเดิมในระดับหนึ่ง
แต่ระยะเวลาที่ผ่านมา  ได้ทำให้หนังสือของนายกุหลาบสูญไปกับกระแสสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ที่คงเหลืออยู่ก็มีน้อยมาก   และมีราคาซื้อขายในวงการสูงมาก  อันเป็นธรรมชาติของหนังสือเก่าหายาก


เรื่องเอาหนังสือนายกุหลาบไปเผานั้น  ยังไม่เคยได้ยินหรืออ่านจากที่ใด
ส่วนการทำลายนั้น  คงต้องหาหลักฐานอ้างอิงที่ไม่ใช่การพูดอ้างตามกันมา
ยิ่งถ้าได้หลักฐานร่วมสมัยด้วยยิ่งดี  จะได้น่าเชื่อถือ  หลักฐานชั้น ๒ ๓ ๔ ...
อ้างบ่อยๆ บางทีคนรุ่นหลังมาอ่านก็อาจคิดสงสัยว่า น่าเชื่อเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด
ทีนี้กระบวนขุดค้นพิสูจน์ความจริงก็จะเกิด  แล้วข้อเท็จจริงก็จะตามมา
ซึ่งหลายเรื่องก็ได้เกิดขึ้นแล้ว  เช่น สตรีสูงศักดิ์คนหนึ่งวายชนม์ด้วยเหตุอันใดแน่ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 20:30

โทร.ไปถามคุณมนันยาเมื่อครู่นี้เอง  ถึงแหล่งข้อมูล เรื่องหนังสือนายกุหลาบถูกทำลาย

เรื่องนี้ไม่มีหลักฐานในหนังสือใดๆ แต่เป็นการบอกเล่าจากปากของหลานปู่นายกุหลาบ  ชื่อคุณหลวงอภิบาลบุริมสิทธิ์    ท่านเป็นบุตรของนายชาย บุตรชายนายกุหลาบ

คุณมนันยามีศักดิ์เป็นหลานของคุณหลวง  แต่ไม่ใช่หลานแท้ๆ     คุณตาของเธอเป็นบุตรของธิดานายกุหลาบที่ชื่อลูกจันทน์    ส่วนคุณยายเป็นธิดาของธิดานายกุหลาบอีกคนหนึ่งชื่อตลับ    สรุปว่าคุณตาคุณยายเป็นลูกพี่ลูกน้องสืบเชื้อสายจากนายกุหลาบทั้งคู่
ส่วนคุณหลวงอภิบาลเป็นน้องชายของคุณตลับอีกทีหนึ่ง
เมื่อคุณมนันยาอยากจะศึกษาเรื่องนายกุหลาบ  ได้ไปเรียนถามคุณหลวงอภิบาลฯ ขออ่านหนังสือของนายกุหลาบที่คุณหลวงอาจจะมีอยู่บ้าง   ก็ได้คำตอบว่า
" ไม่มีหรอก ในบ้าน  'ท่าน' สั่งให้ทำลายหมด"
แต่ ' ท่าน' ที่ว่านี้คือท่านไหน  คุณหลวงฯไม่ได้บอก คุณมนันยาก็ไม่ทราบ

ไม่รู้ว่าคำบอกเล่าของคุณหลวงอภิบาลฯ จะถือเป็นหลักฐานชั้นที่หนึ่งได้หรือไม่       แต่คุณมนันยายืนยันว่าเรื่องนี้เป็นที่รู้กันในบรรดาลูกหลานเครือญาติ  ไม่มีใครมีหนังสือนายกุหลาบอยู่ในครอบครองสักคน

แม้แต่ตอนที่คุณมนันยาไปที่หอสมุดแห่งชาติเพื่อหาหนังสือของนายกุหลาบมาอ่าน  ก็ได้รับแจ้งว่าอยู่ในห้องหนังสือต้องห้าม(ภาษาราชการเรียกว่าอะไรไม่ทราบ   ภาษาบอกเล่าเป็นคำนี้)  ถ้าจะเข้าไปอ่านต้องขออนุญาตจากผอ.หอสมุด ในขณะนั้นคือคุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ
คุณมนันยาก็ไปขออนุญาตคุณหญิง  ก็ได้รับอนุญาต   พบว่าหนังสือนายกุหลาบที่ถูกต้องห้ามนั้นมีอยู่หลายเล่ม หลายประเภท  ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือประเภทใดประเภทหนึ่ง      ห้ามถ่ายเอกสาร ต้องจดด้วยมือ ลอกข้อความออกมา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 21:19


อ้างอิงลำดับวงศ์ตระกูล ก.ศ.ร. กุหลาบ  กล่าวข้อความพิสดาร  โดย ก.ศ.ร. เป็นผู้เรียบเรียงเอง
พิมพ์ ๓๐๐ ฉบับ
สำหรับชำร่วยแถมพกญาติมิตรบันดาที่มาช่วยในการศพนาย ก.ศ.ร. กุหลาบ
ลงพิมพ์ไว้เป็นที่รฤก
กรุงเทพมหานคร
ร.. ๑๒๐


หน้า ๑๐๖ -  ๑๐๗

ธิดาเกิดณะวันพฤหัสบดีเดือนยี่ขึ้นสิบห้าค่ำ  ปีเถาะ  นพศกจุฬศักราช ๑๒๒๙ ปี  เวลา ๘ ทุ่มกับ ๙ นาที

พระองค์เจ้ากินรีประทานชื่อว่า  "ลูกจันทน์"     มารดาชื่อหุ่นเป็นภรรยาแต่งงาน

ลูกจันทน์มีสามีแต่งงานชื่อนายแช่ม   เป็นมหาดเล็กในพระราชวังบวร ฯ รัชกาลที่ ๕  กรุงเทพฯ 

และเป็นหลานพระยาโยธาเขื่อนขันธ์(โต)

แม่ลูกจันทน์ มีบุตรกับนายแช่ม ๕ คนเป็นคนชั้นที่ ๘

๑.   นายเชื้อ

๒.   นายชิต

๓.   เป็นหญิงไม่มีชื่อ

๔.   เป็นหญิงไม่มีชื่อ

๕   เป็นชายชื่อชวน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 21:25


อ้างอิงเดิม

ธิดาเกิดณะวันอาทิตย์เดือนอ้ายแรมเก้าค่ำ  ปีระกา  เบฯจศกจุฬศักราช ๑๒๓๕
เวลาเช้า ๓ โมงกับ ๔๐ นาที
พระองค์เจ้ากินรีประทานชื่อว่า  "ตลับ"   มารดาชื่อหุ่น  เป็นภรรยาแต่งงาน

แม่ตลับมีสามีชื่อนายถมยา  เป็นบุตรพระศรี(เป๋า)เจ้ากรมตำรวจภูธร เมืองนครราชสีมา

แม่ตลับมีบุตรหญิงชื่อแม่ดรุณ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 21:54

เรื่องนี้ไม่มีหลักฐานในหนังสือใดๆ แต่เป็นการบอกเล่าจากปากของหลานปู่นายกุหลาบ ชื่อคุณหลวงอภิบาลบุริมสิทธิ์ ท่านเป็นบุตรของนายชาย บุตรชายนายกุหลาบ

ชื่อคุณหลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ (นัดดา ตฤษณานนท์) กระมัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 22:39


ชีวประวัติส่วนตัว   บันทึกโดยตนเอง
หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ (นัดดา  ตฤษณานนท์)

เริ่มบันทึก  วันที่ ๒๔ กันยายน  พ.ศ. ๒๕๐๗

เรื่องราวของฝ่ายบิดาของคุณหลวงเป็นที่ทราบดีกันอยู่ทั่วไป      ขอคัดลอกทางมารดา



ตาชื่อ  นายชื่น  จรุงศรี(ผู้ใหญ่บ้าน)   ยายชื่อ นางหนู     แม่ชื่อสว่าง

ตากับยายเป็นเจ้าของตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนทิพากกร  จังหวัดนครปฐม    บัดนี้ตลาดไม่มีแล้ว  เพราะถูกตัดเป็นถนนไปหมด


นัดดา เกิดที่บ้านถนนทิพากร  ตำบลตลาดเก่า  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม

เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ  บิดาย้ายไปรับราชการ ณ จังหวัดชลบุรี   แม่และน้องสาว(นางหญิง  ทรัพยสาร)ก็ได้ติดตามไปอยู่ด้วย

บ้านพักเป็นบ้านเช่าอยู่ใกล้สพานศาลเจ้า


การศึกษานั้น   เรียนมูลบทบรรพกิจกับคุณเหรียญ  อัศวนนท์
ต่อมาเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา  ถนนราชบพิธ

ต่อมาย้ายไปอยู่โรงเรียน บำรุงวิทยาของคุณแม่พันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล  ปาจิณพยัคฆ์)

ต่อมาไปเรียนที่โรงเรียนวัดสุทัศน์        ตอนเย็นเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมที่โรงเรียน United School ของพันเอกพระยาวรรณศาสตร์พลยุทธ(ดาลูซ  ลุศนันท์)

คัดลอกมาฝากพอเป็นสังเขปค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 05:26




รองอำมาตย์เอก หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์ (นัดดา  ตฤษณานนท์)

ชาตะ  วันที่ ๒๔ กันยายน  พ.ศ. ๒๔๔๑

มรณะ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๒๖

   
        น่าเสียดายที่คุณหลวงมิได้เล่าเรื่องปู่ของท่านไว้เพราะทันเห็นกัน

พี่น้องของคุณหลวง

๑.   เจ้าของประวัติ
๒.   นางหญิง  ทรัพยสาร
๓.   ด.ญ. ประคอง     ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๘ ขวบ
๔.   ด.ญ. สงวน   ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๕ ขวบ
๕.   ด.ช. อุดม   ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๑๔  ขวบ
๖.   นายประชุม  ตฤษณานนท์
๗.  น.ส. มานิตย์   ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๑๘ ปี
๘.  นางอนงค์  วัณณรถ   ภรรยา นายเชย วัณณรถ
๙   คุณหญิงโฉมศรี  กระจ่างเนตร  ภรรยา พลเรือเอก ศิริ  กระจ่างเนตร

น้องอีก ๔ คน  หญิง ๒  ชาย  ๒  เสียชีวิตตั้งแต่เล็กมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 05:50

        

ขออภัยที่เลี้ยวออกนอกเรื่องเล็กน้อย

ตามคคห ๓๑  ของคุณหลวงเล็ก

"อ้างบ่อยๆ บางทีคนรุ่นหลังมาอ่านก็อาจคิดสงสัยว่า น่าเชื่อเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด

ทีนี้กระบวนขุดค้นพิสูจน์ความจริงก็จะเกิด  แล้วข้อเท็จจริงก็จะตามมา

ซึ่งหลายเรื่องก็ได้เกิดขึ้นแล้ว  เช่น สตรีสูงศักดิ์คนหนึ่งวายชนม์ด้วยเหตุอันใดแน่ เป็นต้น"


         ขอเรียนคุณหลวงที่นับถือว่า   เรื่องราวของสตรีสูงศักดิ์อีกคนหนึ่ง  ที่แต่งกายเป็นชาย

ได้ลงเรือเดินสมุทรติดตามนักการทูตไทยผู้กำลังไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ   จนก่อความยุ่งเหยิง

กระทั่งนักการทูตผู้นั้นต้องลาออกจากราชการและจำต้องออกจากสยามไป  คนรุ่นหลังก็ได้เขียนขึ้นแล้ว
        
รอคอยการตรวจสอบจากราชการ    นับถือในความความคิดที่แหลมคมของคนรุ่นหลังเป็นอันมาก   สมัยหนึ่งในพันทิป

มีการสนทนาเรื่องนี้กัน     แต่ครานั้น  ไม่มีใครรู้จักสตรีผู้นั้นเลย

        
        สักวันหนึ่งคงมีผู้เขียนเรื่องสตรี ...ที่ไปหว่านเสน่ห์แถวภูเขาทอง  มีคนตามกรอ  จนเจ้าพระยา ๑ คน  และ

พระยา ๑ คนเดือดร้อน  พร้อมหลักฐานอ้างอิง


      
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 10:58

เลี้ยงตามคุณวันดีมาติด ๆ

       
         ขอเรียนคุณหลวงที่นับถือว่า   เรื่องราวของสตรีสูงศักดิ์อีกคนหนึ่ง  ที่แต่งกายเป็นชาย

ได้ลงเรือเดินสมุทรติดตามนักการทูตไทยผู้กำลังไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ   จนก่อความยุ่งเหยิง

กระทั่งนักการทูตผู้นั้นต้องลาออกจากราชการและจำต้องออกจากสยามไป  คนรุ่นหลังก็ได้เขียนขึ้นแล้ว
        
รอคอยการตรวจสอบจากราชการ    นับถือในความความคิดที่แหลมคมของคนรุ่นหลังเป็นอันมาก   สมัยหนึ่งในพันทิป

มีการสนทนาเรื่องนี้กัน     แต่ครานั้น  ไม่มีใครรู้จักสตรีผู้นั้นเลย
 
      
        สักวันหนึ่งคงมีผู้เขียนเรื่องสตรี ...ที่ไปหว่านเสน่ห์แถวภูเขาทอง  มีคนตามกรอ  จนเจ้าพระยา ๑ คน  และ

พระยา ๑ คนเดือดร้อน  พร้อมหลักฐานอ้างอิง

คงเป็นกระทู้นี้ในพันทิป

ชีวิตดั่งนิยาย-พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กระดูกสันหลังพระปิยะมหาราช?

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.114 วินาที กับ 20 คำสั่ง