เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 13523 ขอถามคุณเทาชมพู-เอกสารจากที่ใดบอกว่าหนังสือก.ศ.ร.กุหลาบถูกเผา
sakoln1
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 09 ม.ค. 12, 11:56

  ผมสงสัยว่าในปัจจุบันหนังสือของก.ศ.ร.หายากมากและราคาแพงมาก ทั้งที่ท่านก็ทำหนังสือตลอดอายุของท่าน(คาดว่าไม่ต่ำกว่า30ปี)
แต่กลับกลายว่าในปัจจุบันหาหนังสือของท่านไม่ได้ คุณเทาชมพูก็เคยเขียนเหมือนกันว่าถูกเผา ถ้าเป็นจริงอยู่ในช่วงเวลาไหน ช่วยอธิบายด้วยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 14:13

ปัจจัยที่ทำให้หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบมีราคา

๑. ความนิยมในตัว ก.ศ.ร. ที่ทำให้เกิดการเสาะหาหนังสือมาเป็นสมบัติของตัวเองมากขึ้นในหมู่นักสะสมหนังสือเก่า และมิใคร่จะยอมปล่อยหนังสือออกมาในวงการเท่าใดนัก บางท่านเก็บหนังสือมิใช่ฉบับเดียว หากแต่มีหลายฉบับ

๒. อายุของหนังสือทำให้คุณภาพกระดาษสลายตามกาลเวลา ทำให้หนังสือเก่าเหลือน้อย

๓. ไม่ใช่นักสะสมในประเทศเท่านั้นที่ชมชอบหนังสือเก่าของไทย นักสะสมชาวต่างประเทศก็ล้วนแสวงหาไม่น้อยไปกว่ากัน อีกทั้งมีเงินหนามากกว่าเสียด้วย ดังนั้นแล้วคาดว่าหนังสือดี ๆ ราคาแพง ๆ ย่อมตกไปอยู่ต่างประเทศได้ง่ายกว่า

ทั้งนี้ล้วนป็นปัจจัยทำให้ปริมาณการหมุนเวียนของหนังสือเก่า ก.ศ.ร. ดูเหมือนมีน้อยและหายาก เมื่อหายาก ก็เป็นไปตามกลไก อุปสงค์ อุปทาน สามารถเบ่งราคาได้เมื่อเป็นของหายากครับ

สำหรับเรื่องการเผาหนังสือของ ก.ศ.ร. ยินดีรับฟังสมาชิกท่านอื่นต่อไป
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 14:48

จำได้ว่าเคยอ่านพบเรื่องนี้เช่นกัน

ไปค้นและอ่านแบบผ่านตาในหนังสือ จดหมายเหตุเรื่องไต่สวนนายกุหลาบ ฉบับ pdf ก็ไม่พบเรื่องนี้



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 15:08

หนังสือเก่าแพงหรือไม่แพง ยังมีปัจจัยเสริมอีกคือ คุณภาพของหนังสือ และอายุของหนังสือที่ส่วนมากจะเล่นหากันในสมัยรัชกาลที่ ๔-๖ หาหากหนังสือไม่บอบช้ำ ไม่มีรอยพับ ก็ย่อมเบ่งราคาได้

โรงพิมพ์หนังสือก็เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพงานได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

โรงพิมพ์ครูสมิท
โรงพิมพ์บ้านพระเทพลู
โรงพิมพ์นายสิน
โรงพิมพ์วัชรินทร์
โรงพิมพ์นายทเพ
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
โรงพิมพ์พัสดุอุษมะยนต์
โรงพิมพ์พานิชเจริญศรี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 16:14




        ในฐานะนั่งเล่นอยู่ในเรือนมานานแล้ว     ไม่ค่อยได้ทำประโยชน์สมใจนึก     จึงเรียนขออนุญาตตอบแทนท่านเจ้าของเรือน

เพราะจู่ๆจะบุกมาชวนท่านผุ้ใหญ่ไปเล่นเพลงเรือได้อย่างไร    อย่างน้อยที่สุดดิฉันก็นั่งปัดฝุ่นหนังสือเก่าอยู่นอกชาน

วันนี้ก็ไปตามหนังสือหายากแถวพัฒนาการมา  ได้มา ๕ เล่ม   เป็นภาษาอังกฤษ ๑ เล่ม
     

        ความเข้าใจผิดที่ว่าหนังสือต้องห้ามทั้งหลายมักโดนเผา  มาจากการทำลายหนังสือครั้งใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศจีน

ยึดไปเผาจนที่ตำราแพทย์ศาสตร์เหลือแต่ตำราตอนเป็ดตอนไก่


       เมืองไทยนั้น   มีคนดีมีสติปัญญามาปกครองบ้านเมืองเรื่อยมา     ท่านเห็นว่าหนังสือกฎหมายจะเอื้อผลประโยชน์ให้กับต่างชาติ 

จะกระทบกระเทือนการเจรจาต่อรองต่าง ๆ  ท่านก็สั่งให้เก็บเสียบ้าง   โดยจ่ายค่าเสียหายให้กับผู้พิมพ์เป็นค่าจ้างค่าออนไป     

เรื่องที่สมัยเจ็ดแปดปีก่อนเขียนกันมาๆอย่างผิด ๆ  จนหวิดจะถูก  คือ หนังสือกฎหมายของนายโหมด

เขียนว่าเผาทั้งนั้น           วารสารที่ลงเรื่องนี้มีการ อับเดท  หลายครั้ง  และในที่สุดก็ถูกต้องที่ว่าจะนำไปบรรจุเจดีย์แต่ยังไม่ได้บรรจุ  เลยคืนเจ้าของไป

เจ้าของคือนายโหมดท่านไม่ได้เดือนร้อนจิตใจดังไฟผลาญแต่ประการใด    เพราะท่านเป็นขุนนางตระกูลผู้ภักดี  และสตางค์ก็เยอะ  ขุดหลุมฝังไว้ข้างเว็จถมไป

เรื่องลูกท่านไปแต่งงานกับลูกฝรั่งเข้าก็ผิดจริงนั่นแหละ     พี่น้องท่านสามสี่คนก็ยังกตัญญูต่อเจ้าแผ่นดิน         ต่อมาก็ได้รับราชการกันใหม่

ตัดหนังสือประวัติตัวเองออกไป ๑ หน้าเท่านั้นเอง


        ก.ศ.ร. กุหลาบ  หาหนังสือมาทั้งชีวิต  ตั้งแต่ท่านบวชเณร    ท่านคลานเข้าไปเก็บจดหมายที่พระสงฆ์โยนทิ้ง

        หนังสือที่ท่านนำไปแสดงที่ห้องเลขที่ ๑๗   ครูสมิทก็ยืมไปพิมพ์ตั้งหลายเรื่อง       ลงไว้มั่นคงมายืมมาจากห้อง ๑๗ ในงานแสดงสินค้า

รายชื่อหนังสือ คุณอ้วนธงขัยเธอก็พิมพ์ไว้ยาวเหยียดเชียว


        เมื่อก.ศ.ร. กุหลาาบ สึกมาหลังจากบวชพระ  อายุ ๒๗   ท่านก็พิมพ์หนังสือกฎหมายนายโหมดขึ้นเป็นครั้งแรก   บรัดเลก็รับพิมพ์ต่อไป 

ใครโมเมว่าบรัดเลพิมพ์ก่อน   ใช้หลักฐานอะไรคะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 16:31



        หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ  เป็นหนังสือระดับนักสะสมงอนคนขาย      เพราะไปขายให้นักอ่านหน้าใหม่

นักอ่านมีขบวนการสนับสนุน   อ่านกันตั้งแต่ก.ศ.ร. อาบน้ำในอ่างเคลือบสีเหลืองขอบเขียว   นุ่งผ้าผืนสั้น ๆ

ใส่ทองเต็มตัว    มีพริกชี้ฟ้าเขียวๆแดง ๆคาดเอวด้วย   เพราะท่านอยู่กับเจ้านายฝ่ายใน   ท่านเลี้ยงเพื่อให้บวชให้

นับเป็นบุพการีผู้ทำคุณให้เป็นคนแรก              ก.ศ.ร. กุหลาบก็บังอาจคุยไว้หน่อยว่า "พระมารดาฉันนั้นเป็นเจ้า"

เป็นมหาดเล็กไล่กา        ต่อมาท่านก็เขียนหนังสือขาย    เขียนซ้ำกันจังเลย  เพราะถอดออกมาจากสยามประเภททุกบท


        เรื่องก.ศ.ร. กุหลาบนี้    เล่ากันได้นาน     รับรองไม่มีซ้ำกับคนอื่น
         
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 16:48



        สมัยรัชกาลที่ ๔          ก.ศ.ร. พิมพ์ คำประกาศของทางการออกขายหลายเล่ม         คนขายก็ตื่นเต้นว่าหนังสือหายาก

เพราะความที่ตัวเองไม่เคยอ่าน         เก็บเศษผุ ๆ ของหนังสือมาขาย   ก็ยังขายได้ขายดี        คนที่มีสยามประเภทเล่ม ๗ ขึ้นไปก็นั่งทำหน้าเฉยๆ

ไม่มีสัมพันธไมตรีกันอย่างแรง  ฉันจะไม่แอะเลยฉันเป็นหนึ่งในสามที่มีครบชุด     สองในสามคนนี้รับมรดกบิดามาคนหนึ่ง   รับมรดกญาติผู้ใหญ่ที่เป็นคุณข้างในมาคนหนึ่ง

ลำพังตนเองคงไม่มีกำลังพอ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 20:09

เข้ามาฟังคุณวันดีเล่าเรื่อง ก.ศ.ร. เมื่อเยาว์วัยกับอ่างน้ำ สมบัติอันล้ำค่าติดตัวมาแต่เด็ก ทราบเช่นกันว่าเป็นเด็กที่ถูกอุปการะและเติบโตในรั้วในวัง แต่ที่สงสัยที่เอาพริกชี้ฟ้าเขียว ๆ แดง ๆ มาคาดเอวไว้ ก็ชวนสงสัยอยู่  ฮืม

อันที่จริงความคิดของ ก.ศ.ร. กุหลาบนั้นนับว่าล้ำสมัยเกินสังคมในยุคดังกล่าวจะคิดทัน เสมือนออกเกียร์ออโต้มาขับ ทุกคนตามกันไม่ทัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 20:22

หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่มีใครสั่งให้เผา

สิริ ประชาลักษณ์ ให้ความเห็นไว้ในเรื่อง "ก.ศ.ร.กุหลาบ : ผู้ดิ้นรนเพื่ออารยธรรมเยี่ยงโลก" ในหนังสือ "หลังเทวาลัย" ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่า

"เป็นเรื่องประหลาดและน่าเศร้าที่รัฐบาลสยามทำตัวเป็นปฏิปักษ์คอยจองล้างจองผลาญบุคคลผู้ใฝ่ความรู้ท่านนี้ ในทำเนียบ "รายนามหนังสือพิมพ์ข่าวซึ่งออกเป็นระยะในประเทศสยาม" ซึ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อวันที่  ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ ไม่ปรากฏว่ามีนาม "สยามประเภท" อยู่เลย!  รัฐบาลสยามปฏิเสธหนังสือทุกเล่มของท่าน ก.ศ.ร.กุหลาบ กล่าวว่าไม่ใช่ "หนังสือ" (ทำนองเดียวกับงานเขียน ๒ เล่มของแหม่มแอนนา ซึ่งรัฐบาลสยามใช้ความพยายามทุกวิถีทางขัดขวางมิให้มีการจัดพิมพ์ขึ้น) หนังสือของท่านจึงหาอ่านได้ยากจนทุกวันนี้ เพราะมันถูกนำไปใส่หีบลั่นกุญแจ และติดป้าย "ทรงอายัด" ห้ามประชาชนอ่าน!!  เมื่อมีผู้ไปขอค้นคว้า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ องค์สภานายกหอพระสมุด ทรงให้พิมพ์หนังสือว่าด้วยเรื่อง "จดหมายเหตุเรื่องไต่สวนนายกุหลาบ" ออกมาเผยแพร่แทน ภาพของท่าน ก.ศ.ร.กุหลาบจึงเลอะเลือนไป และมีอยู่ ๒ ทางสำหรับอนุชนรุ่นต่อมา นั่นคือทางแรกไม่ทราบและไม่รู้จักว่าท่าน ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นใคร แม้แต่ชื่อก็ไม่เคยได้ยิน หรือมิฉะนั้น,ในทางที่สอง ถ้าจะรู้จักก็รู้จักในฐานะที่ท่านเป็นนัก "กุ" ผู้มีสติไม่สมบูรณ์นัก"


 รูดซิบปาก

แต่ถูกกระทำเทียบเท่ากับการเผา

 เศร้า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 20:38

ถ้าที่ไหนเผาหนังสือกันได้ ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ต่อไปจะเผาคน”
“Where they have burned books, they will end in burning human beings.”
ไฮน์ริช ไฮเนอ, จากบทละคร Almansor (1821)

ตกใจ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 22:02



คุณหนุ่ม!!!        สายห้อยเอวทำด้วยทองคำลงยาค่ะ


        ก.ศ.ร. กุหลาบ   ภูมิใจในการมีหนังสือมากกว่าใคร ๆ     ในบั้นปลายของชีวิต   ท่านแต่งงานใหม่อีกหนหนึ่ง

ได้ข่าวมาจาก น.ส.พ. ในสิงคโปร์     ที่พาดหัวหน้ารองแสดงความยินดี        ท่านคงหาคนไว้ปรนนิบัตินั่นเอง

หนังสือฝรั่งจะยกย่องคนหนังสือพิมพ์ด้วยกันไม่ใช่เรื่องแปลก      ความเข้าใจผิดของท่านที่ได้ข่าวมา แน่นอนท่านเป็นคนเขียนท่านก็ต้องรับผิด

แต่จะเป็นการซักถามแหล่งข่าวเรื่องงานพระศพ  แล้วชี้นำและสรุปเรื่องเองก็เป็นได้          หลายเรื่องในวังท่านก็คงสับสนอยู่เหมือนกัน

เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ท่านจะจำได้ทุกเรื่องเพราะออกจากวังเมื่ออายุ ๑๓   


        ถ้าท่านไม่มัวพิมพ์หนังสือแจกในโอกาสต่าง ๆ   ท่านคงมีสตางค์  ใกล้เคียงกับเสมียนฝรั่งคนอื่น ๆ       และตัวคนเดียวเข็นสยามประเภทได้สิบกว่าปี 

สาแหรกต่างๆท่านได้นำมาลงก่อนใคร   ดูจากปีพิมพ์ของหนังสือก็พอ     ถ้าข้อมูลผิดพลาดทายาทก็คงนินทาท่านกันกระหึ่มเพราะเป็นเวลาที่ตระกูลอำมาตย์ดังๆ

มีอยู่ไม่กี่ตระกูล             

       
       คนไทยไม่เผาหนังสือหรอกค่ะ   จะข้ามกรายยังทำไม่ลง    อากาศร้อนอยู่แล้ว     

       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 10:40

  ผมสงสัยว่าในปัจจุบันหนังสือของก.ศ.ร.หายากมากและราคาแพงมาก ทั้งที่ท่านก็ทำหนังสือตลอดอายุของท่าน(คาดว่าไม่ต่ำกว่า30ปี)
แต่กลับกลายว่าในปัจจุบันหาหนังสือของท่านไม่ได้ คุณเทาชมพูก็เคยเขียนเหมือนกันว่าถูกเผา ถ้าเป็นจริงอยู่ในช่วงเวลาไหน ช่วยอธิบายด้วยครับ
ดิฉันเคยเขียนไว้ที่ไหนว่าถูกเผาคะ   กรุณาค้นหาให้ด้วย เพราะค้นเองแล้วไม่เจอ
บันทึกการเข้า
sakoln1
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 21:10

17 พ.ย. 2548 (10:35)
เมื่อเลิกทำหนังสือในวัยชรา นายกุหลาบเลิกทำหนังสือ แต่เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างพิมพ์หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆและนามบัตร

ด้วยราคาถูกกว่าที่อื่น ทำให้มีผู้มาว่าจ้างไม่ขาดระยะ ก็พอเลี้ยงชีพได้แม้ว่ายากจนลงกว่าเมื่อวันต้นมากก็ตาม



ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน หนังสือสยามประเภทในยุคท้ายๆจึงผิดเพี้ยนไปอย่างมาก

ทำให้หนังสือสยามประเภทถูกเก็บและทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกต่อไป

แต่ก็ยังมีจำนวนหนึ่งเหลือรอดอยู่เป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชน จึงมีมาให้อ่านจนทุกวันนี้



นายกุหลาบถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อพ.ศ. 2464 ในรัชกาลที่ 6 อายุ 87 ปี
เทาชมพู   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 10:12

การรับรู้ข้อมูลว่าหนังสือของ ก.ศ.ร. นั้นถูกเผา อาจจะเป็นเพราะได้ข้อมูลในเชิงที่ว่า

"โรงพิมพ์สยามประเภทของนายกุหลาบได้เกิดเพลิงไหม้"...(เอนก นาวิกมูล) ซึ่งทำให้ผลงาน สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ได้รับความเสียหายจำนวนมาก อาจจะมีการพูดกันไปว่าเอกสารโดนเผา ๆ ๆ จนเกิดความเข้าใจผิดดังกล่าวได้
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:01

17 พ.ย. 2548 (10:35)

ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน หนังสือสยามประเภทในยุคท้ายๆจึงผิดเพี้ยนไปอย่างมาก

ทำให้หนังสือสยามประเภทถูกเก็บและทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกต่อไป




เท่าที่อ่านนะครับ ไม่เห็นมีคำว่า "เผา" เลยสักคำเดียว

"ถูกเก็บและทำลาย" อาจจะไม่ได้หมายความว่า "เผา" นะครับ  ตกใจ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง