ขอโทษคุณจขกท.ด้วยที่ยังค้นไม่เจอว่าอ้างอิงจากหนังสือเล่มไหนค่ะ จำได้แต่ว่าเป็นหนังสือต้องห้าม แต่ไม่คิดว่าจะถึงขั้นถูกเผาอย่างนิราศหนองคาย
เมื่อเลิกทำหนังสือในวัยชรา นายกุหลาบเลิกทำหนังสือ แต่เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างพิมพ์หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆและนามบัตร
ด้วยราคาถูกกว่าที่อื่น ทำให้มีผู้มาว่าจ้างไม่ขาดระยะ ก็พอเลี้ยงชีพได้แม้ว่ายากจนลงกว่าเมื่อวันต้นมากก็ตาม
ในบั้นปลาย นายกุหลาบเริ่มเลอะเลือน หนังสือสยามประเภทในยุคท้ายๆจึงผิดเพี้ยนไปอย่างมาก
ทำให้หนังสือสยามประเภทถูกเก็บและทำลาย เพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดอีกต่อไป
แต่ก็ยังมีจำนวนหนึ่งเหลือรอดอยู่เป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชน จึงมีมาให้อ่านจนทุกวันนี้
นายกุหลาบถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อพ.ศ. 2464 ในรัชกาลที่ 6 อายุ 87 ปี
คุณเทาชมพูคงอ้างอิงจากหนังสือ ก.ส.ร. กุหลาบ ของ คุณมนันยา ธนะภูมิ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๗๐-๗๑)
นายกุหลาบมีอายุยืนมากและยังได้เขียนหนังสือโดยอาศัยการค้นคว้าจากเอกสารประวัติศาสตร์และโบราณคดีของตนอยู่จนถึงบั้นปลายของชีวิต แต่ในเมื่อความจำเลอะเลือนเสียแล้ว ผลงานที่ปรากฏในระยะหลังการทำหนังสือสยามประเภทจึงไม่มีคุณค่าอะไรหรือผิดเพี้ยนไปจากความจริงอย่างมาก ดังนั้นจึงปรากฏว่าผู้มีอำนาจทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้สั่งเก็บและทำลายหนังสือของนายกุหลาบอย่างถอนรากถอนโคน หนังสือของนายกุหลาบเท่าที่เหลือรอดมาได้ก็โดยการเก็บซ่อนตามบ้านต่าง ๆ ของบุตรหญิงหรือตามบ้านผู้ชอบสะสมของเก่าไม่กี่ท่าน ซึ่งเรื่องนี้นายกุหลาบได้บันทึกไว้และดูเหมือนจะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในวงการผู้รักหนังสือคุณมนันยามีเชิงอรรถตอนนี้ไว้ด้วย
แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการสั่งเก็บและทำลายหนังสือเลยสักนิด
