เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 16662 พระนิพนธ์บทตาโบลวิวังต์ ในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 14:11

เรื่องนางซิน มีการแปลมาก่อนแล้วในรัชกาลที่ ๕   ถ้าไม่ลงในดรุโณวาทก็วชิรญาณวิเศษ  ดูเหมือนจะเป็นพระนิพนธ์แปลของน.ม.ส.     เล่าจากความทรงจำ ไม่มีหนังสืออยู่ใกล้มือค่ะ
อ่านมาจากที่ไหนอีกสักแห่งว่า นางแอนนา เลียวโนเวนส์ บอกว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงเลิกทาสจากหนังสือ Uncle Tom's Cabin ของนักเขียนอเมริกัน ที่นางให้อ่าน     แต่เรื่องนี้จะจริงหรือเปล่าไม่แน่ใจ  เพราะแหม่มแอนนาเป็นชาวอังกฤษ  ไม่ใช่อเมริกัน    ไม่น่าจะสนใจกับการเลิกทาส    คนอังกฤษยุควิคตอเรียนสนใจเรื่องแปลจากอินเดียและตะวันออกกลางมากกว่า

จึงเชื่อว่า อาหรับราตรี หรือ Arabian Nights  เป็นหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงอ่านเมื่อทรงพระเยาว์    อาจจะแหม่มแอนนาสอนก็เป็นได้    ถ้าไม่ใช่แหม่มแอนนาก็เป็นครูฝรั่งชายที่เข้ามาถวายพระอักษรในภายหลัง     กลายมาเป็นพระราชนิพนธ์นิทราชาคริต ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของอาหรับราตรี

พระราชนิพนธ์เรื่องนี้  ก็มาเป็นตาโบลวิวังต์อีกเรื่องหนึ่งของสมเด็จฯกรมพระยานริศราฯ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 16:57

เรียนถามค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

การแสดง ตาโบลวิวังต์ นี้ ผู้แสดงนิ่งอยู่ท่าเดียวแบบภาพในกรอบรูป อยู่อย่างนี้จนจบเรื่องเลยหรือคะ
หรือว่ามีการเปลี่ยนท่าทางเมื่อจบเพลงแต่ละช่วง หรือแต่ละองก์
ปัจจุบัน มีการแสดงแบบนี้หรือไม่คะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 19:47

เรียนถามค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

การแสดง ตาโบลวิวังต์ นี้ ผู้แสดงนิ่งอยู่ท่าเดียวแบบภาพในกรอบรูป อยู่อย่างนี้จนจบเรื่องเลยหรือคะ
หรือว่ามีการเปลี่ยนท่าทางเมื่อจบเพลงแต่ละช่วง หรือแต่ละองก์
ปัจจุบัน มีการแสดงแบบนี้หรือไม่คะ

มีตัวอย่างเล็ก ๆ มาให้คุณดีดี ชมครับ และใน youtube มีทั้งเปลี่ยนท่าทางเพื่อจัดองค์ประกอบใหม่ก็มีให้เห็นครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 20:36

ตาโบลวิวังต์  แปลตามตัวว่ารูปภาพที่มีชีวิต    คือเอาคนแสดงเป็นภาพนิ่ง    ลักษณะสำคัญคือความนิ่ง   ถ้าหากว่าเคลื่อนไหวก็ไม่ใช่ตาโบล  ตาโบลยุคแรกๆจึงนิ่ง  ไม่ขยับตัวเคลื่อนไหว
แต่ศิลปะไม่เคยหยุดนิ่ง  จึงมีพัฒนาการสืบต่อมา ให้เคลื่อนไหวนิดๆหน่อยๆ ได้บ้าง    เปลี่ยนแปลงไปแล้วแต่เห็นงามในแต่ละยุค  แต่ถ้าเคลื่อนไหวเสียจนหมดสภาพนิ่ง   ก็ไม่ใช่ตาโบลวิวังต์ของแท้อีกต่อไปละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 17:22

ตาโบลวิวังต์เรื่องนิทราชาคริต  ทรงจับตอนอาบูหะซันวิวาห์กับนางนอซาตอลอัวดัด เท่านั้น   ไม่มีเหตุการณ์ตอนกาหลิบปลอมตัว  อาบูหะซันกลายเป็นกาหลิบ หรือตอนแกล้งตาย   
ประกอบด้วยเพลงไทยเดิมในเนื้อสั้นๆจากพระราชนิพนธ์ ๖ เพลง  ขึ้นต้นด้วย"แขก" เกือบทั้งหมด   สมกับเนื้อเรื่อง คือ
- แขกกล่อมเจ้า
- แขกถอนสายบัว
- ร้องแขกหนัง
- ร้องแขกต่อยหม้อ
- ร้องแขกเจ้าเซ็น
- เพลงสุดท้ายคือพราหมณ์ดีดน้ำเต้า 
วาภาพตามเพลงที่ทรงเลือกมา   ภาพนิ่งบนเวทีน่าจะแสดงตอนพระเอกนางเอกในเรื่องมีพิธีวิวาห์ และเบิกบานสำราญใจกัน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 21:47

นายแพทย์พูนพิศ   อมาตยกุล เขียนไว้ในบทความเรื่อง แผ่นเสียงร่องกลับทางของวังบ้านหม้อ

ได้มีโอกาสไปสำรวจแผ่นเสียงโบราณรุ่นนี้ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี  ก็ได้พบสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกว่า  มีแผ่นเสียงรุ่นเดียวกันนี้บันทึกเพลงตับอยู่ไม่น้อยกว่าสามเรื่อง  คือเรื่องสามก๊ก ตอนจูล่งออกไปช่วยนางบีฮูหยินเมียเล่าปี่แล้วนำเอาเต๊า ลูกนางบีฮูหยินฝ่าดงข้าศึกมามอบให้เล่าปี่ ได้เรียกเพลงชุดนี้ว่า "ตับจูล่ง" ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ใช้ครั้งแรกปี  ๒๔๓๗ ในงานชุดเพลงภาพนิ่งตาโบลวิวังต์ (Tableux  Vivante) มีเพลงตับเรื่องเรื่องอาบูหะซันตอนแต่งงานเรื่องพระลอ  ตอนพระลอคลั่งรัก  ที่เรียกว่า " ตับพระลอคลั่ง '' กับยังมีเพลงเกร็ดต่าง ๆ รวมมาด้วยซึ่งในคราวนี้จะเขียนเฉพาะส่วนของเพลงที่เป็นของวังบ้านหม้อเท่านั้น

ได้ค้นพบแผ่นเสียงตับเพลง " เรื่องอาบูฮาซันน่าหนึ่ง " (เขียนตามภาษาอย่างเก่าที่ปรากฎบนหน้าแผ่นเสียง) หมายเลข ๔๗๐๕๖/๑ เพลงสร้อยสม  ร้องโดยนายอิน  นายใหญ่ ที่น่าสังเกต คือ ตัวหนังสือนั้นเขียนด้วยลายมือ  แสดงว่ายังไม่ได้ใช้พิมพ์ดีด  แถมผู้เขียนข้อความบนหน้าแผ่นเสียงซึ่งเป็นกระดาษสีดำ ก็เขียนภาษาบกพร่อง คือคำว่า " ตอน " เขียนว่า "ตอ " ตกตัวอักษร "น" ไปหนึ่งตัว ซึ่งเรื่องความผิดพลาดในอักขรวิธีนี้  พบได้บ่อย ๆ ในแผ่นเสียงรุ่นนี้



ขอขยายความเรื่องเพลงตับอาบูหะซันต่อไปอีกเล็กน้อยว่า  เป็นเพลงชุดที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงจัดขึ้นโดยใช้บทร้องมาจากพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๒๑)  อันเป็นคำประพันธ์ประเภทลิลิต  เรียกว่า"ลิลิตนิทราชาคริต" (เรื่องอาบูหะซัน)เดิมใช้ร้องประกอบการแสดงภาพนิ่ง  (Tableux  Vivante) คือใช้ละครแต่งตัวสวยงาม  ให้ตรงตามบทร้อง  ในที่นี้ก็จะแต่งเป็นแขก  มีฉากสวยงามเป็นภาพแขก  แล้วให้ตัวแสดงยืนหรือนั่งอยู่ในท่านิ่ง  ไม่กระดุกกระดิกตาก็ไม่กระพริบ  ใช้ไฟส่องให้เห็นเด่นชัด แล้วบรรเลงร้องเพลงประกอบ  พอถึงตอนดนตรีบรรเลงรับร้อง  ก็ดับไฟ  ผู้แสดงก็ขยับเขยื้อนได้นิดหน่อย  พอเพลงบรรเลงรับร้องจะหมด  ไฟก็จะสว่างขึ้น  ตัวแสดงก็นิ่งอยู่เหมือนการจัดภาพนิ่งหรือหุ่นนิ่งนั่นเอง

เพลงตับเรื่องอะบูหะซันนี้  เล่าเรื่องฉากการแต่งงานของอะบูหะซันกับนางนอซาตลอัวดัด  โดยมีพระทางศาสนาอิสลามเรียกว่า "อีแมน" เป็นผู้ทำพิธีและยังมีพรเจ้ากาหลิบพระนางโชบิเดกับตัวประกอบอื่น ๆ มาร่วมอยู่ในฉากนี้เป็นจำนวนมาก  การแสดงเป็นภาพนิ่งหรือหุ่นนิ่งจึงดูสวย  เหมือนไปชมพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไม่ผิดกันเลย

เพลงที่ร้องในตับนี้ขึ้นต้นด้วยเพลงแขกกล่อมเจ้าสองชั้น  ติดตามมาด้วยเพลงแขกถอนสายบัว  แขกหนัง  แขกต่อยหม้อ  แขกเจ้าเซ็น  และพราหมณ์ดีดน้ำเต้า  รวมหกเพลงซึ่งจะใช้เวลาบรรเลงราว ๒๕-๓๐ นาทีครบทั้งตับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 20 ม.ค. 12, 10:27

การใช้ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์สำหรับบรรเลงร่วมกับการแสดงละครภาพนิ่งหรือตาโบลวิวังต์ (Tableaux Vivants)

ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ในระยะที่เรียกว่าคอนเสิร์ตแบบไทยนั้น นอกจากจะใช้บรรเลงและขับร้องในลักษณะเป็นคอนเสิร์ตเรื่องหรือละครมืดแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ยังได้ทรงปรับปรุงบทขับร้องจากเนื้อเรื่องเก่าและบทกวีมาใช้ในการแสดงละครภาพนิ่ง หรือที่เรียกกันว่า ตาโบลวิวังต์ (Tableaux Vivants) ซึ่งเข้าใจว่าจัดทำขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๗ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ที่โปรดให้พระอนุชา และพระราชวงศ์ที่ยังทรงพระเยาว์แต่งพระองค์ต่างๆ แสดงตามท้องเรื่องในท่าที่หยุดนิ่ง ระหว่างนั้นก็ใช้ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์บรรเลงประกอบละครที่เป็นภาพนิ่งเหล่านั้น การแสดงดังกล่าวโปรดให้จัดขึ้นในพระราชฐานเพื่อทรงเก็บเงินบำรุงการกุศล

หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงพระราชดำริว่าบทเพลงตับเรื่องสั้น ๆ เช่น เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามหนี ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นไว้แล้วนั้น จะนำมาใช้แสดงได้ จึงโปรดให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงคิดหาเรื่องอื่นๆ มาแต่งเป็นบทเพลงตอนสั้น ๆ แบบนั้น เป็นการบรรยายเรื่องประกอบภาพในฉากเพิ่มขึ้นอีก

ในครั้งนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงจัดบทเพลงถวายรวม ๘ ชุด มีแนวเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชนชาติต่างๆ ทำนองแบบ ๑๒ ภาษาของไทย คือ

ชุดที่ ๑ กล่าวสรรเสริญเทพยดา ประกอบภาพพระเป็นเจ้าทั้ง ๓ ประเภทเป็นการไหว้ครู

ชุดที่ ๒ เรื่องราชาธิราช ประกอบภาพฉากแบบพม่า

ชุดที่ ๓ เรื่องนิทราชาคริต ประกอบภาพฉากแบบแขก

ชุดที่ ๔ เรื่องนางซินเดอร์เรลลา ประกอบภาพฉากแบบฝรั่ง

ชุดที่ ๕ เรื่องสามก๊ก ประกอบภาพฉากแบบจีน

ชุดที่ ๗ เรื่องพระลอ ประกอบภาพฉากแบบลาว

ชุดที่ ๘ เรื่องอุณรุท ประกอบภาพฉากแบบไทย

บทเพลงชุดต่าง ๆ เหล่านั้น ต่อมาก็เป็นที่นิยมนำมาใช้บรรเลงกันแพร่หลายอยู่ในวงการดนตรีไทยจนทุกวันนี้ ตั้งชื่อเรียกกันว่า ตับสมิงพระราม ตับอาบูหซัน ตับนางซิน และตับจูล่ง เป็นต้น

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 20 ม.ค. 12, 10:42

ตับนิทราชาคริต



ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ขับร้อง : กัญญา โรหิตาจล , สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนำเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องลิลิตนิทราชาคริต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตอนวิวาห์อาบูหะซันกับนางนอซาตอลอัวดัต มาปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ลักษณะพิเศษของบทร้องชุดนี้อยู่ที่แต่งเป็นร่ายกับโคลง เพลงประเภทตับเรื่อง ประกอบด้วยเพลงสำเนียงแขก ๖ เพลง มีดังนี้ ร้องแขกกล่อมเจ้า ร้องแขกถอนสายบัว ร้องแขกหนัง ร้องแขกต่อยหม้อ ร้องแขกเจ้าเซ็น ร้องพราหมณ์ดีดนํ้าเต้า - นักดนตรีปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ - ขลุ่ยเพียงออ : สุวัฒน์ อรรถกฤษณ์ , ขลุ่ยอู้ : ปี๊บ คงลายทอง , ซออู้ : ธีระ ภู่มณี , ระนาดเอก : ศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน , ระนาดทุ้ม : เผชิญ กองโชค , ฆ้องวงใหญ่ : สมชาย ดุริยประณีต , ระนาดทุ้มเหล็ก : มนัส ขาวปลื้ม , ฆ้องหุ่ย ๗ เสียง : ม.ล.สุลักษณ์ สวัสดิกุล , กลอง : บุญช่วย แสงอนันต์ , เอนก อาจมังกร , ฉิ่ง : บุญสร้าง เรืองนนท์

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 ม.ค. 12, 20:20

เรื่องต่อไปที่จะเอ่ยถึงคือ สามก๊ก  ตอนจูล่งพาอาเต๊าตีฝ่าทัพโจโฉ
เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อเล่าปี่แตกทัพ เพราะแพ้โจโฉ    ลูกเมียก็กระจัดพลัดพรายไปคนละทาง   จูล่งทหารเอกอีกคนหนึ่งของเล่าปี่ควบม้าเดี่ยวไปค้นหาอาเต๊าลูกชายคนเดียวของเล่าปี่    พบนางบีฮูหยิน เมียรองของเล่าปี่อุ้มทารกอยู่   นางได้รับบาดเจ็บถูกทวนแทงขาเดินไม่ไหว    จูล่งก็คะยั้นคะยอให้นางอุ้มเด็กขึ้นม้าไป เขาจะจูงม้าให้เอง 
นางบีฮูหยินเห็นว่าทำอย่างนั้นจะไม่รอดกันทั้งหมด   นางก็ส่งทารกให้  แล้วตัวเองก็โจนลงบ่อใกล้ๆกัน ฆ่าตัวตายไปเสียให้หมดเรื่องหมดราว
จูล่งเสียใจมาก  เอาดินถมบ่อกลบศพนางไว้ให้มิดชิด  แล้วอุ้มอาเต๊าขี่ม้าตีฝ่าทัพโจโฉไปได้จนสำเร็จ

สงสัยว่านางบีฮูหยินเดินไม่ไหว  ทำไมมีแรงปีนขอบบ่อ โดดน้ำตายได้ก็ไม่รู้  จูล่งก็ไม่เห็นจะห้ามปรามอะไร

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 ม.ค. 12, 20:24

เพลงประกอบในตอนนี้เป็นเพลงไทยเดิมขึ้นต้นว่าจีน ทั้งหมด  เริ่มต้นด้วยร้องเกริ่น  จากนั้นก็คือ จีนฮูหยิน  จีนเสียผี  จีนขิมเล็ก และจีนช้วน
วาดภาพว่าตาโบลวิวังต์ในตอนนี้   มีคนแต่งเป็นนักรบจีนกันทั้งโรง   มีแต่งตัวเป็นคุณนายอยู่คนหนึ่ง    สีสันเสื้อผ้า อาวุธ และเครื่องประดับคงจะออกมาสีสันสว่างตา สวยมาก

เพลงชุดในเรื่องนี้  เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่าเพลง "ตับจูล่ง"

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง