เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 16666 พระนิพนธ์บทตาโบลวิวังต์ ในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 07 ม.ค. 12, 20:12

บทตาโบลวิวังต์ คืออะไร  
คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Tableaux vivants  หมายถึงการแสดงที่ตัวแสดงในประวัติศาสตร์หรือวรรณคดี แต่งตัวออกมายืนบนเวทีเป็นหุ่นนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวแสดงบทบาท    แล้วมีคำบรรยาย หรือเพลงประกอบให้คนดูรู้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
ศัพท์นี้ เดิมเรียกว่า "รูปภาพ"  สมเด็จฯ ท่านทรงไว้ 8  เรื่องด้วยกัน  เป็นตอนสั้นๆจากวรรณคดีขนาดยาวบ้าง จากนิทานต่างประเทศบ้าง  คือ
- พระเป็นเจ้า  บรรยายถึงพระเจ้า 3 องค์ในศาสนาพราหมณ์
- ราชาธิราช
- นิทราชาคริต
- ซิลเดอร์ริลลา(สะกดตามพระนิพนธ์)
- สามก๊ก
- ขอมดำดิน
- พระลอ
- อุณรุท
  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 21:12

ตัวอย่างตาโบลวิวังต์ ของตะวันตก
ตัวแสดงไม่เคลื่อนไหว   แสดงท่าค้างอยู่ในอิริยาบถที่เห็นบนเวที


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 11:06

คำนี้เป็นภาษาฝรั่งเศส   ตาโบล ออกเสียงควบกล้ำ -บล- แล้วต่อด้วยสระโอ  ไม่ใช่ โบน  นะคะ  ส่วนวิวังต์ เป็นการถอดเสียงแบบไทย  ฝรั่งเศสออกเสียงว่า วิวอง ค่ะ
ตอนอยู่ป.๑  รู้จักตาโบล วิวังต์เป็นครั้งแรก เมื่อทางโรงเรียนจัดแสดงหุ่นนิ่งจากเพลงต้นตระกูลไทยของคุณหลวงวิจิตรวาทการ    เปิดฉากม่านแหวกจากกันก็ได้ยินเพลงจากแผ่นเสียง  เพื่อนๆแต่งชุดไทยเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ตามเนื้อเพลง   ยืนเรียงแถวกันแน่นเวที  ตอนนั้นก็ได้แต่สงสัยไปตามประสาเด็ก ว่าทำไมเพื่อนไม่ร้องไม่รำอะไรเลย   ออกมายืนถือดาบอยู่เฉยๆ    คงเมื่อยอยู่เหมือนกันกว่าจะจบเพลง

โตขึ้นจนได้เรียนภาษาฝรั่งเศส  จึงรู้จักคำนี้   ก็เลยทำให้เข้าใจได้ว่า การแสดงแบบที่เราเคยเห็นตอนป. ๑ เป็นของอิมพอร์ตจากตะวันตกแน่นอน     นึกไม่ออกว่าการแสดงไทยเดิมของเราตั้งแต่อยุธยามีอะไรนิ่งๆแบบนี้หรือไม่     เพราะการแสดงไทยพอขึ้นเวทีแล้วต้องเคลื่อนไหวกันทั้งนั้น     ไม่ว่าโขน ละคร หรือหุ่นกระบอก 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 11:32

หลักการของตาโบล วิวังต์คือ
๑  ต้องแสดงเรื่องอะไรที่คนดูรู้จักดีแล้ว    เพลงหรือบทพากย์เป็นส่วนประกอบเพื่อจะเข้าใจดีขึ้น     ถ้าหากว่าไปเอาเรื่องอะไรที่ไม่มีใครรู้จักมาแสดง   คนดูก็จะไม่เข้าใจว่าแสดงหุ่นนิ่งอะไรกันอยู่  ถึงมีเสียงเล่าประกอบก็คงช่วยไม่ได้มากเท่าไร
๒  ฉากที่เลือกมาควรจะมีเอกลักษณ์เด่นชัด มองแล้วรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร    ตัวแสดงบนเวทีควรมีลักษณะพิเศษ เช่นมีการแต่งกายโดดเด่นเฉพาะตัว ให้รู้ว่าเป็นตัวนั้นตัวนี้ในตำนาน ประวัติศาสตร์ หรือวรรณคดี      ถ้ามีลักษณะพื้นๆซ้ำกันเป็นสิบเป็นร้อย อย่างพระเอกนางเอกในละครจักรๆวงศ์ๆของไทย   คนดูก็ไม่รู้ว่าตัวไหนที่มาแสดงท่าให้ดูอยู่ 

เข้าสู่พระนิพนธ์
สมเด็จฯกรมพระนริศ ทรงเข้าพระทัยหลักการเหล่านี้ดี      ในตาโบลวิวังต์เรื่องพระเป็นเจ้า   ท่านทรงเลือกเทพเจ้า ๓ องค์ที่คนไทยรู้จักกันดีที่สุด  คือพระนารายณ์  พระอิศวร  และพระพรหม
วรรณคดีเก่าแก่ของไทยที่บรรยายลักษณะเอาไว้ชัดเจนกว่าเพื่อนก็คือลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือประกาศแช่งน้ำโคลงห้า     
อยู่ในตอนต้นเรื่อง
โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี ภีรุอวตาร  อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย (แทงพระแสงศรปลัยวาต)
โอมบรเมศวราย ผายผาหลวงอะคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าพิฆนจัญไร (แทงพระแสงศรอัคนิวาต)
โอมชัยชัยไขโสฬสพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทมิตรดา  มหากฤตราไตร อมไตยโลเกศ จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิพ่อ เสวยพรหมาณฑ์ใช่น้อย ประถมบุญภารดิเรก บูรภพบรู้กี่ร้อย ก่อมา (แทงพระแสงศรพรหมาศ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 10:49

พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีแช่งน้ำ น่าจะเป็นพราหมณ์ในไวษณพนิกาย  คือนิกายบูชาพระนารายณ์ว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุด     จึงสรรเสริญพระนารายณ์ก่อนเทพเจ้าอีกสององค์ อันได้แก่พระอิศวรและพระพรหม

โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี ภีรุอวตาร  อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย
บทนี้หมายถึงพระนารายณ์ ที่ชาวอินเดียเรียกว่าพระวิษณุ เป็นคำแพร่หลายมากกว่านารายณ์  ถ้าจะค้นในกูเกิ้ลก็หาได้จากคำว่า Vishnu
ในตาโบลวิวังต์   สมเด็จฯ ทรงตัดเอามาแบบย่อ  เป็น
โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว                   แผ้วมฤตยู
เอางูเป็นแท่น                             แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน
บินเอาครุฑมาขี่                           สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี
ภีรุอวตาร                                  อสูรแลงลาญทัก
ส่วนวรรคสุดท้ายตัดออกไป

ภาพข้างล่างนี้คือเทพเจ้าในรูปลักษณ์แบบอินเดีย   จากซ้าย พระพรหม  พระนารายณ์ และพระอิศวร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 22:00

บทตาโบลวิวังต์ คืออะไร  
คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Tableaux vivants   หมายถึงการแสดงที่ตัวแสดงในประวัติศาสตร์หรือวรรณคดี แต่งตัวออกมายืนบนเวทีเป็นหุ่นนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวแสดงบทบาท    แล้วมีคำบรรยาย หรือเพลงประกอบให้คนดูรู้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

เอกพจน์ว่า Tableau vivant

หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุลเล่าไว้ในหนังสือ "บันทึกความทรงจำ" ว่า

ตาโบลลิว่อง ร.ศ. ๑๑๓

ในปี ร.ศ. ๑๑๓ พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงจัดให้เล่นตาโบลวิว่องเป็นภาพนิ่งประกอบเป็นโรงใหญ่ เหมือนดูภาพยนตร์เป็นกรอบรูปนิ่ง สมเด็จพระพันปีทรงตื่นเต้นมาก เล่นที่ศาลาสหัย ข้าพเจ้าได้ไปดู ทรงเล่นเป็นชุด ๆ ต่าง ๆ กัน เท่าที่จำได้มี

ชุดที่ ๑ พระผู้เป็นเจ้าทั้ง ๓ ของพราหมณ์ มี

พระอิศวร  สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ทรงแสดง

พระพรหม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนนครศรีธรรมราช ทรงแสดง

พระนารายณ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ทรงแสดง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 09:28

งดงามมากครับ สำหรับการแสงละครภาพนิ่งแบบนี้ ซึ่งละครภาพนิ่งจะบรรเลงด้วยดนตรีสากล หากแต่อยากถาม อ.เทาชมพูว่า มีการบรรยายถึงการใช้เตรื่องดนครีหรือไม่ครับว่าเป็นแบบฝรั่งหรือแบบไทย และเจ้านายที่ทรงเล่นละครภาพนิ่งดังกล่าวคงตื่นเต้นกันน่าดู
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:09

มีค่ะ
เพลงที่ใช้ประกอบ เป็นเพลงไทยเดิม บอกชื่อเพลงไว้ทุกชุด
สมัยครึ่งหลังของรัชกาลที่ 5   อิทธิพลตะวันตกในสยามมองเห็นหลากหลายเกือบทุกวงการ ไม่ว่าสถาปัตยกรรมตึกรามบ้านช่อง  หนังสือ  ดนตรี การแต่งกาย   อาหารการกิน   พวกเราคุยกันมาหลายกระทู้แล้วในเรื่องเหล่านี้
ที่ดีก็คือเราไม่ได้เอามา  อย่างลอกแบบเอาดื้อๆ หากแต่เอามาแบบดัดแปลงผสมผสานให้เข้ากับของไทยแต่เดิม    กลายเป็นรสชาติที่กลมกล่อมพอเหมาะกับรสนิยมไทย
อย่างตาโบลวิวังต์ชุด นางซิลเดอร์ริลลา      เรื่องเอามาจากเทพนิยายฝรั่ง   แสดงภาพนิ่งให้คนไทยดู   เพลงประกอบก็เลยคัดเลือกมาแต่เพลงไทยเดิมออกทำนองฝรั่ง ทั้งหมด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:11

สมเด็จฯทรงนิพนธ์เนื้อร้องด้วยพระองค์เอง  ตัดตอนสาวงามซินเดอเรลลาอยากไปงานเต้นรำของเจ้าชาย แต่ติดขัดว่าเสื้อผ้าเก่า   นางจึงระลึกถึงเทพธิดาแม่ทูนหัว  เทพธิดาก็เสด็จมาประทานเสื้อผ้าและรถ แต่กำชับว่าต้องกลับภายใน 2 ยาม มิฉะนั้น ความงามทั้งปวงจะหายหมด
ซินเดอเรลลารับคำ   แต่งตัวเสร็จ  ไปสู่วังเจ้าชาย  ได้เต้นรำคู่กับเจ้าชาย จนนาฬิกาเกือบ 2 ยาม จึงรีบลาเจ้าชายกลับ เจ้าชายก็ไม่ยอมให้กลับ พอระฆังย่ำ 2 ยาม นางจึงวิ่งหนีออกจากห้องจนเกือกแก้วกระเด็นหายไปข้างหนึ่ง เสื้อผ้าก็กลับเก่าขาดตามเดิม
เจ้าชายให้มหาดเล็กเที่ยวหาเป็นจ้าละหวั่นก็ไม่พบ  ได้แต่เกือกมา
จบลงแค่นี้

เชิญฟังเพลงไทยเดิมในตาโบลวิวังต์    แล้ววาดภาพตามอัธยาศัยว่าตัวแสดงอยู่ในท่าไหน ตอนไหนของเรื่อง

ร้องวิลันดาโอด

โอ้สงสารนางซินเดอเรลลา                    เสียอารมณ์ก้มหน้าน้ำตาไหล
เจ้าเธอรับเศรษฐีผู้ดีไป                         ประชุมในวังเล่นเต้นรำกัน
รูปเจ้าพอไปได้ไม่อายเขา                      แต่ผ้าเสื้อเหลือเก่าสุดผายผัน
คิดถึงเทพธิดาขึ้นมาพลัน                      ถ้าโปรดช่วยเหมือนวันก่อนจะดี

ร้องฝรั่งจรกา

แฟรีกอดมาเดอร์                                เธอทราบเสด็จมาหา
ให้ภูษารถรัตน์                                   ตรัสสั่งว่าถ้าไป
จงกลับในสองยาม                              ภูษางามงามยืน
ฝืนสั่งงามจะกลาย                               เสร็จสั่งหายวับไป

ร้องครอบจักรวาล

นางดีใจคมคัล                                   ทรงสุพรรณภูษิตแพร้ว
ขึ้นรถไปวังแก้ว                                  สู่ห้องประชุมพลันฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:14

ร้องฝรั่งรำเท้า

ทันใดเจ้าหนุ่มเชื้อ                  เชิญนาง
แนบเกาะคู่กันพลาง                แสะเต้น
ผู้ดีเศรษฐีต่าง                      จับคู่ เต้นนา
เต้นสนุกน้อยขณะเว้น              สนุกนั้นฤๅทราม

ร้องเวสสุกรรม

นางซิลเดอร์ริลลา                  เห็นนาฬิกาเกือบสองยาม
ตกประหม่าลาเจ้างาม              เจ้าไม่ตามใจให้ไป
จนใจยืนจังงัง                       พอระฆังหง่างเสียงใส
วิ่งออกนอกห้องใน                  ลงบันไดเกือกแก้วกระเด็น
*เสื้องามกลับขาดเปื้อน            รีบไปเรือนกลัวคนเห็น
เจ้าชายให้หาเป็น                   จ้าละหวั่นหายได้เกือกมา
(ลูกบทฝรั่ง)

จบแค่นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:15

ถ้าใครอยากฟังทำนองเพลง  คงไม่เกินความสามารถคุณเพ็ญชมพูจะไปหามาให้ได้ยินกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:23

^
^

ขอเชิญฟัง

ตับนางซินเดอรินล่า (ครูท้วม) ตรากระต่าย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:36

^
รวดเร็วปานหนุ่มคนข้างขวาในรูป
v


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 11:36


ไพเราะมาก ๆ ครับ เจ้านานน้อย ๆ ทรงยืนนิ่ง ๆ กว่า 10 นาที  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 13:34

น่าคิดนะครับว่า "ซินเดอร์เลรา" ได้เข้ามาโลดเล่นในราชสำนักไทย ไม่รู้ว่าการเล่านิทานก่อนนอนให้กับเจ้านายต่าง ๆ จะเป็นที่นิยมขนาดไหน และน่าจะเป็นช่วงที่รัชกาลที่ ๔ ทรงจ้างครูสอนภาษาอังกฤษเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง  ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง